Mark Cuban จากเด็กขายถุงขยะ สู่ มหาเศรษฐีแสนล้าน /โดย ลงทุนแมน
เมื่อพูดถึงวงการอาหาร หลายคนคงจะนึกถึง Gordon Ramsay
ชายที่เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด แต่ฝีไม้ลายมือและความอัจฉริยะด้านอาหาร
ก็เปี่ยมไปด้วยคุณภาพจนเถียงไม่ออก
สำหรับวงการธุรกิจเอง ก็มีคนหนึ่งที่มีบุคลิกคล้าย Ramsay ไม่มีผิด
เขาคนนั้นก็คือ Mark Cuban มหาเศรษฐีวัย 63 ปี ผู้ที่เด็ดขาดกับเรื่องธุรกิจ
และเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่สร้างผลตอบแทนได้อย่างมหาศาล
เขาคนนี้มีจุดเริ่มต้นเป็นเพียงเด็กธรรมดาคนหนึ่ง
แต่ปัจจุบัน เขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีแสนล้าน
แล้วเรื่องราวของ Cuban น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Mark Cuban เกิดในเมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 1958
โดยพ่อของเขาประกอบอาชีพเป็นช่างทำเบาะรถยนต์และแม่ของเขาทำงานรับจ้างทั่วไป
จุดเริ่มต้นของเส้นทางการเป็นผู้ประกอบการของ Cuban เกิดขึ้นเมื่อเขามีอายุเพียง 12 ปี
ในขณะนั้น เขาได้ขอเงินจากพ่อเพื่อซื้อรองเท้าคู่ใหม่ แต่แทนที่จะได้รองเท้า
เขากลับได้คำตอบที่จำได้ไม่เคยลืมว่า รองเท้าที่เขามีนั้นดีอยู่แล้ว ไม่เห็นจำเป็นที่จะต้องซื้อใหม่เลย แต่ถ้าอยากได้รองเท้าคู่ใหม่ ก็ต้องทำงานเก็บเงินเอง จะได้มีเงินซื้อ
คำพูดของพ่อเขาทำให้ Cuban เกิดแรงบันดาลใจในการหาเงินด้วยตัวเอง
จึงนำไปสู่ธุรกิจแรกในชีวิตคือ “การขายถุงขยะ”
ไอเดียของเขาในตอนนั้นก็คือ ซื้อสินค้าราคาส่งมาขายในราคาปลีก
โดย Cuban เริ่มจากไปซื้อถุงขยะชุดใหญ่ในราคา 100 บาท แล้วนำมาแบ่งขายต่อราคา 200 บาท
สำหรับวิธีการขาย ก็คือเดินเคาะขายตามบ้านเรือนรอบข้างและจี้จุด Pain Point เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนอยากซื้อ เช่น การอธิบายข้อเสียของการไม่มีถุงขยะและบอกข้อดีคือไม่ต้องเหนื่อยเดินทางออกไปซื้อเอง
จากธุรกิจนี้เอง ก็ได้ทำให้เขาตกหลุมรักการทำธุรกิจอย่างมาก เพราะเขารู้สึกว่านอกจากมันจะสร้างเงินได้แล้ว เขายังสนุกไปกับมันอีกด้วย
นั่นจึงทำให้ Cuban ในวัยเด็กรู้จักการหาเงินด้วยตัวเองอยู่เสมอ
ซึ่งนอกจากขายถุงขยะ เขายังขายของสะสม เช่น แสตมป์ หรือเหรียญต่าง ๆ ด้วย
ในเวลาต่อมา บริษัทสำนักพิมพ์ท้องถิ่นของเมืองที่ Cuban อาศัยอยู่
โดนพนักงานประท้วงหยุดงานจนต้องหยุดส่งหนังสือพิมพ์
Cuban ก็ได้ใช้เหตุการณ์นี้เป็นโอกาสเพราะเขามองว่านิสัยของคนมักชอบเสพและติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก
ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจออกเดินทางไปเมืองอื่นเพื่อซื้อหนังสือพิมพ์ แล้วนำกลับมาวางขาย
และนั่นก็ทำให้เขาสามารถสร้างเงินก้อนใหญ่ให้กับตัวเองอีกครั้ง
แม้กระทั่งช่วงที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัย
Cuban ก็ยังคงอยู่บนเส้นทางผู้ประกอบการเสมอ
เขาและเพื่อน ๆ เช่าบาร์ใกล้มหาวิทยาลัยเพื่อทำธุรกิจจัดงานปาร์ตี
ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดี จนทำให้ในที่สุดเขาสามารถซื้อบาร์เป็นของตัวเองได้
เมื่อเรียนจบ Cuban เลือกกลับมาบ้านเกิดอีกครั้ง และทำงานที่ธนาคารแห่งหนึ่ง
แต่ในเวลาต่อมา เขาตระหนักได้ว่า เมืองนี้เล็กเกินกว่าที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่
เขาจึงตัดสินใจลาออกและย้ายชีวิตไปอยู่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส แทน
ก็ต้องบอกว่าช่วงแรกของเขาไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่คาดหวังไว้
เพราะ Cuban ต้องทำงานเป็นบาร์เทนเดอร์ ประทังชีวิตในแต่ละวัน และอาศัยอยู่ในอะพาร์ตเมนต์กับเพื่อนอีก 5 คน เพื่อประหยัดอดออม
แต่แล้วในที่สุดเขาก็ได้รับโอกาส เมื่อ “Your Business Software”
บริษัทซอฟต์แวร์รับเขาเข้าทำงาน ในตำแหน่งพนักงานขาย
ซึ่ง Cuban บอกว่าตอนแรกเขาไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เลย
แต่เขาก็ได้ใช้ความพยายามในการเรียนรู้ หากไม่รู้ในสิ่งไหนก็ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
Cuban ยังได้บอกอีกว่าแม้จะกลับมาที่พักดึกแค่ไหน เขาต้องอ่านหนังสืออยู่เสมอ และแม้กระทั่งที่ทำงาน ก็จะใช้เวลาในการเรียนรู้คอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่
จากความพยายามครั้งนี้ จึงทำให้ตัวเขาเองมีความรู้ความเชี่ยวชาญมากขึ้น
ลูกค้าหลายรายจึงเชื่อใจในตัวเขา จนเขาสามารถสร้างยอดขายได้มหาศาล
เมื่อทุกอย่างกำลังไปได้ดี บริษัทที่เขาทำงานอยู่กลับไล่ Cuban ออก
เนื่องจากมองว่าเขากำลังสะสมลูกค้าเป็นของตัวเองมากเกินไป
ซึ่ง Cuban ก็ได้ยืนยันว่าเขาเพียงช่วยเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทเท่านั้น
หลังจากถูกไล่ออก Cuban จึงตัดสินใจเอาคืน Your Business Software
ด้วยการเปิดบริษัทของตัวเองที่ชื่อว่า “MicroSolutions”
บริษัทที่จัดจำหน่ายซอฟต์แวร์และบริการให้คำปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์
โดยในเวลานั้นเขาสามารถสร้างรายได้ต่อปีสูงที่สุดถึง 980 ล้านบาท
ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็คือ ลูกค้าเก่าจากบริษัทที่ไล่เขาออกมา
ต่อมาเขาตัดสินใจขายธุรกิจจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ในปี 1990 ด้วยมูลค่าราว 200 ล้านบาท
เพื่อที่จะได้เกษียณการทำงานและกลับไปใช้ชีวิตของตนอย่างปกติ
แต่เมื่อเกษียณไปได้ไม่นาน Cuban กลับรู้สึกเบื่อและโหยหาการทำงานอีกครั้ง
เขาจึงเริ่มมองหาโอกาสการทำธุรกิจใหม่และก็ได้พบเข้ากับ AudioNet
บริการสตรีมการแข่งขันกีฬา ที่มีผู้ก่อตั้งคือ Christopher Jaeb
Cuban มองว่าบริการลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ต้องการ แม้กระทั่งตัวเขาเอง
เขาจึงให้เงินสนับสนุนไป และเมื่อ AudioNet เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
บริษัทแห่งนี้ก็ได้ผลตอบรับที่ดีอย่างที่คาดการณ์ไว้
ทำให้เวลาต่อมา Cuban ตัดสินใจซื้อหุ้นจาก Jaeb จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทจาก AudioNet เป็น “Broadcast.com”
หลังจากนั้นไม่นาน บริษัทได้เสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป หรือ IPO
ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะราคาหุ้นของ Broadcast.com
พุ่งขึ้นในวันแรกเกือบ 300% จึงทำให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่าง Cuban ร่ำรวยอย่างก้าวกระโดด
และสิ่งที่ทำให้ Cuban รวยเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลอีก คือการเข้ามาซื้อกิจการของ Yahoo
โดยเป็นการเข้าซื้อด้วยวิธีแลกหุ้นกัน ซึ่ง Cuban ก็ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใน Yahoo
แต่หลังจากที่ Cuban ได้รับหุ้นมาแล้ว เขาก็ได้มองว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีกำลังจะเกิดฟองสบู่แต่การแลกหุ้นกับ Yahoo ยังติดเงื่อนไขห้ามขายหุ้นอยู่ เขาจึงทำการประกันความเสี่ยงโดยใช้อนุพันธ์โดยร่วมมือกับ Goldman Sachs
และก็เป็นอย่างที่รู้กันดีว่าฟองสบู่ดอตคอมก็ได้เกิดขึ้นจริง
และ Cuban ก็สามารถรอดจากวิกฤติครั้งนั้นมาได้
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา Cuban ได้นำเงินไปลงทุนในเหล่าธุรกิจอยู่เรื่อยมา
และเขาได้เข้าซื้อทีมบาสเกตบอลในดวงใจอย่าง Dallas Mavericks
ด้วยมูลค่าถึง 9,000 ล้านบาท
ช่วงที่ Cuban เข้าซื้อ Dallas Mavericks เป็นช่วงที่ Performance ของทีมตกอย่างมาก
อัตราการชนะของทีมอยู่ที่เพียง 40% เท่านั้น
แต่หลังจากการเข้ามาบริหารของ Cuban ทีม Dallas Mavericks ก็มีผลงานที่ดีขึ้นและอัตราการชนะของทีมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 69%
สิ่งที่ Cuban ใช้สำหรับบริหารทีม คือ การใช้ความเป็นแฟนคลับผสมกับความสามารถด้านธุรกิจ
เช่น สำหรับแฟนคลับ เขาเองก็เป็นแฟนบาสเกตบอลเช่นกัน จึงทำให้รู้ว่าคนต้องการอะไร
เขาลงทุนในสิ่งต่าง ๆ ที่ช่วยให้แฟนคลับได้รับประสบการณ์ที่ดี อย่างช่องทางการสื่อสารกับผู้เล่น
นอกจากนั้น ก็ยังมีเรื่องของการดูแลและสนับสนุนผู้เล่นในทีม
Cuban สนับสนุนและดูแลสมาชิกของทีมในหลาย ๆ เรื่องอย่างที่พักและการเดินทาง
ซึ่งแตกต่างจากเจ้าของทีมคนเก่า ที่ดูจะไม่ค่อยให้การสนับสนุน
และนั่นก็เปรียบเหมือนว่า Cuban ให้ใจกับพวกเขา จึงทำให้ผู้เล่นในทีมมีความสุขและมีความเชื่อมั่น ทั้งหมดนี้จึงส่งผลให้การซ้อมและการแข่งขันเป็นไปอย่างเต็มที่
เขาเป็นคนที่คอยช่วยสร้าง Culture ใหม่ในทีมร่วมกับโค้ช Don Nelson ด้วย
เพื่อให้สมาชิกในทีมคลิกกันและให้ความสำคัญกับผลงานมากกว่าความอาวุโส
อีกส่วนสำคัญคือ การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์
โดย Cuban จ้าง Roland Beech นักคณิตศาสตร์สถิติ เพื่อเก็บข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ ของผู้เล่น
แล้วนำมาวิเคราะห์ ในการวางแผนกลยุทธ์สำหรับการแข่งขัน และนั่นก็ส่งผลให้ทีมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากการเข้ามาบริหารของ Cuban ส่งผลให้ Dallas Mavericks กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง
และมีการประเมินว่า มูลค่าทีมปัจจุบันสูงถึง 80,000 ล้านบาท
โดยสิ่งที่ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังไม่ใช่เพียงแค่ Broadcast.com กับ Dallas Mavericks เท่านั้น
แต่การมาเป็นนักลงทุนในรายการ Shark Tank ก็ทำให้ชื่อเสียงของเขาพุ่งทะยานอีก เช่นกัน
Shark Tank คือรายการสุดฮิตของสหรัฐอเมริกาที่เหล่าผู้ประกอบการจะต้องพรีเซนต์ให้นักลงทุนฟัง
เพื่อโน้มน้าวนักลงทุนให้มาลงทุนในธุรกิจของตน
ด้วยสไตล์การวิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจของเขาที่ให้แก่ผู้ประกอบการอย่างดุดันและตรงไปตรงมา
ซึ่งอาจจะฟังแล้วเจ็บแสบ แต่ล้วนเป็นความรู้และข้อคิดที่ดี
จึงทำให้มีแฟนคลับมากมาย ทั้งนักธุรกิจ นักลงทุน รวมถึงผู้รับชมทั่วไป
ตั้งแต่ Cuban เข้าร่วมรายการ Shark Tank
เขาลงทุนไปแล้วรวมธุรกิจมากกว่า 80 แห่ง
คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 650 ล้านบาท
นอกจากนี้ เขายังได้ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับกลุ่ม Blockchain และ Cryptoasset อีกด้วย
เช่น OpenSea และ SuperRare แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ขนาดใหญ่
Polygon Blockchain ที่ได้รับความนิยมในช่วงที่ผ่านมา
ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า แม้เขาจะอายุ 60 กว่าปีแล้ว แต่ก็ไม่หยุดที่จะเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่
ปัจจุบัน Cuban ยังคงเป็นทั้งผู้ประกอบการและนักลงทุนไปพร้อม ๆ กัน
จึงทำให้เขามีมูลค่าทรัพย์สินรวมที่ 140,000 ล้านบาท
ปิดท้ายด้วยคำกล่าวของ Mark Cuban
ที่ได้พูดถึงเคล็ดลับความสำเร็จของเขาว่า
“สิ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จนั้น
เกิดขึ้นจากความพยายามค้นหาและศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
สิ่งเหล่านี้เอง ที่คนส่วนใหญ่ไม่มี จึงทำให้เขาได้เปรียบในการแข่งขันอยู่เสมอ”
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.cnbc.com/2020/10/05/mark-cuban-this-is-the-best-investment-i-ever-made.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Mark_Cuban
-https://www.capitalism.com/mark-cuban-net-worth/
-https://markcubancompanies.com/marks-bio/
-https://www.sportscasting.com/how-much-did-mark-cuban-pay-for-the-dallas-mavericks/
-https://www.businessinsider.com/how-mark-cuban-turned-around-dallas-mavericks-2015-4
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「audionet」的推薦目錄:
- 關於audionet 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於audionet 在 元毓 Facebook 的最佳貼文
- 關於audionet 在 Lee388 Hi Fi 發燒專頁 Facebook 的最讚貼文
- 關於audionet 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於audionet 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於audionet 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於audionet 在 普洛影音網音響論壇/新視聽 - Facebook 的評價
- 關於audionet 在 iamvishnuks/AudioNet: Audio Classification using Image ... 的評價
- 關於audionet 在 230 Audionet ideas | reference sources, high end ... - Pinterest 的評價
audionet 在 元毓 Facebook 的最佳貼文
花25萬買一對德國名牌Audionet 擴大機,沒聽幾年壞了一個。
原廠維修報價30萬台幣?!
難怪這家知名hifi廠要倒閉了。😏
PS 有趣的是,總代理商定價可要73萬台幣喔!可見hifi音響設備殺價空間有多大。而其商業模式其實更接近古董業 — 三年不開張,開張吃三年。
幾個心得:
1. Hifi音響很貴,動輒幾百萬,往往不是因為技術多高超深奧、用料多好(其實電子零件或單體售價都不是多貴)。純粹就是產量太少,固定成本攤提下來墊高單項商品成本。
2. 這種商業模式很吃現金,軋不過來倒閉的店可不少。撿便宜就趁這些景氣反轉時段。
這邊順便鞭一下某大媽阿萍,你那錯誤財經水準推出的景氣大好在哪呀?
3. 現代電子產品價格掉得快,D類放大技術也很成熟了。沒必要浪費錢去聽A類放大的真空管機,除非自身品味獨特。
補充網友提問:
我大概可以猜到你的錯亂何在。
有關上頭成本與直接成本的經濟學概念(特別強調,不是會計學上的成本)建議先讀幾遍張五常的最新版經濟解釋。
而此文我切入兩個點沒有講明:
1.從hi-fi音響裝置製造商角度來看,因為產量遠較一般電子裝置來得少,所以類似上頭成本下分攤到每一商品的平均成本高,這會造成定價先天就比較高。
但此定價高並不必然反應「用料較好」或「技術較高深」這兩點一般人容易有的誤解。這是我想強調的第一點。
此外,定價高不見得能成交,實際成交價就音響業而言,我所知道的差距還不小。
2. 而我忽略沒談的第二點(容我補充),是hifi音響界充滿各種神話鬼扯,在線材上面尤其明顯。
因此我們可以看到單結晶銀製作的線材售價竟然是等重純銀的好幾十甚至百倍。
更有售價每公尺上百萬的含金線材(但"金"的導電性比純銀、純銅還差,其實根本不是優秀線材原料),可線材廠偏偏可以編出一堆違反基礎電學甚至物理學的謊言,而也有笨笨的消費者買單。當然,人數不多就是了。
這又是價格與成本脫離現象的背後侷限條件之一。
3. 我們往下看經銷商層面,店家的店面租金(自有者算利息收入為代價)、裝潢、部分或全部人員薪資是上頭成本,這些成本必須由邊際租值回頭累積。若累積的量或速度不夠,都是會關門大吉的。
這部份最簡單理解的例子就是周星馳食神電影的牛丸店:剛開張因為生意不佳,每碗價格直直落,邊際租值落至零。但生意轉佳,價格立刻跟著攀升,整個生意總租值也跟著上升。
換言之實際價格在不同侷限條件下都可以與成本發生分離。成交價可以跟成本完全無關。但成本會左右供應行為。
http://www.myav.com.tw/market/showthread.php…
audionet 在 Lee388 Hi Fi 發燒專頁 Facebook 的最讚貼文
音響技術 433期
【音響技術】10 月號第 433 期音響技術現已出版!
各位粉絲,最新一期雜誌今日出版了,礙於各地點送書時間不一,某些購書地點或會在下午時間才能購買到,敬請留意。【音響技術】除了可在全港書報攤、音響店及 CD 店鋪、OK 便利店出售之外,信昌唱片的門市店也可以購書了,希望能為大家帶來購書方面的便利性,而外地的讀者可透過訂閱之外,亦可考慮購買電子版,【音響技術】已於兩大電子平台登陸,歡迎選購是月新書或補購過往期數,台灣的朋友可到青峰音響或誠品書店購書,如有任何查詢,歡迎透過facebook 或電郵聯絡我們,多謝支持!
433期封面專題:Audionet STERN前級 / HEISENBERG單聲道後級
audionet 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
audionet 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
audionet 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
audionet 在 iamvishnuks/AudioNet: Audio Classification using Image ... 的推薦與評價
AudioNet. This project is only tested on Ubuntu 16.04. AudioNet is an opensource experiment done using tensorflow and Google's Inception model. ... <看更多>
audionet 在 230 Audionet ideas | reference sources, high end ... - Pinterest 的推薦與評價
Audionet. Reference sources, network components, amplifiers and power supplies. Best German High End brand 2016. ·. 230 Pins. 1y. CTPremium. Collection by. ... <看更多>
audionet 在 普洛影音網音響論壇/新視聽 - Facebook 的推薦與評價
而近日Furutech又推出一款HF-A-NCF,不僅有NCF技術,而且還結合了光纖導體,有長距離的優勢,現在就來了解。 AUDIONET.COM.TW. Furutech HF-A- ... ... <看更多>