#公開課
【Did you want a refill?】紐約小酒館的對話 vs. 語用力
曾經有位學生跟我分享她飛去美國找在紐約念書的弟弟的語言學習小趣事。
【2019 • 紐約 • 小酒館】
她跟弟弟在某小酒館吃晚餐,聊天聊到一半,店員走過來問他們:Did you want a refill? (需要續杯嗎)
• 她「想了一下」,看一看自己的杯子裡還有一半,應該夠喝,便回答了:No, it’s enough for me.
• 店員再將視線轉移到弟弟身上時,她說她弟弟「不假思索地」說了:I’m good. Thx.
她誇張一點地說,她當下感到晴天霹靂。因為她馬上知道她弟弟用的比較自然,但她卻無法用出那樣的英文,即便她說她在多益考了滿分 (990)、高中學測英文也考了15 級分。
「沒想到面對這樣的 task 卻是回答地如此生硬不自然。」跟我訴說她多需要「語用力」(pragmatics / language use)的訓練。
【這樣的情境,你會怎麼說?】
我也曾經給過公開課學生出過一個情境題 (使用一種語言學裡叫 Discourse Completion Task 的設計),情境如下:
✔︎ 如果今天你在逛衣服時,店員前來問你需不需要幫你找些什麼? 問你今天有沒有特別想買什麼? 你想說「不用」,要怎樣有禮貌地表達呢?
如我料想般,很多同學會直接回答:No. 或是 I’m fine. (實際上,也有人可能是尷尬笑一笑)。
雖說講 No 的確可以表達出你的觀點和「態度」,但是這樣的使用稍微欠缺 social appropriateness,也不是該情境中常使用的 conventional / routine expression (慣用表達).
這時候,你可以接 Oh I'm just looking, (thanks)! 這樣的 routine expression. 沒有 No,但同時可以表達拒絕的功能。這是語用力中的 pragmatic strategy。
【語用力在台灣也學得起來】
過去30年的語用力研究普遍發現,待國外待了多久 (length of stay) 其實跟語用能力沒有很大的相關性。
語言能力 (proficiency level) 和 input 密集度 (intensity) 有著更高的相關性。這對於住在台灣的我們是件好事,因為教室像是個 lab,這樣的 intensity 是相對容易複製的。
如果你想要更深入地理解語用力的學習和培養,我在 5/25 (一) 會有一場免費的語用力公開課,歡迎你來參加!
我會融合世界知名語用學4大專家: Austin 的言語行為理論 (speech act theory)、Bardovi-Harlig 的語意公式、和 Cohen 的慣用表達以及 Kasper 對於語用和文化差異性對習得的影響,帶你們最系統性、有效率地打造英語語用力!
✔︎ 公開課一秒報名:https://www.accupass.com/event/2005140901401210103902
• 時間: 5/25 (一) 7:30 - 8:30 pm (7:00 開放入場)
• 地點: 台北市朱崙街 60 號 2F (MRT 南京復興站)
austin theory 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的精選貼文
"แอ็ดส์เคอร์ ไดก์สตรา" ได้ให้ คำคมที่ลึกซึ้งกินใจ #โปรแกรมเมอร์ ว่า
“If debugging is the process of removing software bugs ,then programming must be the process of putting them in.”
แปลเป็นไทยได้ว่า
“ถ้าการดีบักคือ กระบวนการเอาบั๊กซอฟแวร์ออกไปละก็ …
เมื่อนั้นการเขียนโปรแกรมต้องเป็น กระบวนการใส่บั๊กเข้าไปแน่ ๆ”
++++รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม++++
ประวัติ Edsger Dijkstra (แอ็ดส์เคอร์ ไดก์สตรา)
เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวดัชต์
ที่สร้างคุณานุประโยชน์ แก่วงการคอมอย่างมาก
เกิดเมื่อค.ศ. 1930 และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อ 6 ส.ค. 2002
รวมอายุได้ 72 ปี
เขาจบดอกเตอร์ทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ที่ University of Amsterdam เมื่อปี 1959
ปี 1972 ได้รับรางวัล "ACM Turing Award"
และปี 1984 ได้เป็นศาสตราจารย์ที่ Uninversity of Texas at Austin
ผลงานของเขา ที่คนเรียนสายคอมทุกคน ต้องรู้จักคือ
“Dijkstra’s algorithm”
ตำราเรียนอาจแปลว่า "ขั้นตอนวิธีของไดก์สตรา" (คุ้น ๆ ใช่มั๊ยละ)
มันเป็นวิธีแก้ปัญหาเรื่อง shortest path หรือก็คือหาระยะทางสั้นที่สุด จากจุดหนึ่งไปยังจุดใด ๆ ในกราฟ นั่นเอง
(ถ้าไม่รู้จักแสดงว่าโดดเรียน และทำข้อสอบไม่ได้นะ)
ผลงานดังอีกชิ้น ที่เราต้องเคยเรียนคือ
การแก้ปัญหาการกินอาหารของนักปราชญ์
หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ "dining philosophers problem"
+++ส่วนผลงานดังด้านอื่น ๆ+++
-เป็นหัวหน้าทีมคิดค้นระบบ OS ที่เรียกว่า “THE” Multiprogramming System
-คิดค้นหลักการ Semaphore
-เป็นผู้เขียนบทความ “Go To Statement Considered Harmfull” จนปลุกกระแสต่อต้านคำสั่ง Goto ในยุคนั้น
-เขียนหนังสือ “A Discipline of Programming” ซึ่งรวบรวม Algorithms ที่ตัวเขาเองคิดค้น
-แต่งหนังสือร่วมกับ C. A. R. Hoare Ole-Johan Dah ชื่อหนังสือคือ “Structured Programming”
นอกจากนี้แล้ว เขายังเป็นผู้บุกเบิกศาสตร์ทางคอมหลายเรื่อง ยิ่งคนจบคอมมา ล้วนเคยเรียน หรือเคยอ่านผ่านตามาทั้งสิ้น ได้แก่
Distributed Computing, Compiler Writing, Heuristics, stream, Computer Hardware Design, Dining Philosopher, Software Configuration Management, Sorting Algorithms, Fast Fourier Transform, Deadlock, Concurrent Programming, Garbage Collection, Memory Design, AI: Pattern Matching, Graph Theory, Scope of Variables, Transaction และอื่นๆ อีกมากกว่า 1,000 บทความ
อ่านเพิ่ม -> http://www.patanasongsivilai.com/…/การเขียนโปรแกรม-คือการใ…/
austin theory 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ถาม แนวคิดแบบปฏิฐานิยมทางกฎหมายของจอห์น ออสติน เป็นอย่างไร
ตอบ ปฏิฐานนิยมแบบดั้งเดิมในศตวรรษที่ 19: แนวคิดจอห์น ออสติน
จอห์น ออสติน (John Austin : 1790-1859) ซึ่งเป็นศิษย์ของ เบนแธม ประสบการณ์จากการเป็นทหารของออสติน มีอิทธิพลต่อความคิดของเขามากเกี่ยวกับการที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัดใน ระบบทหาร งานเขียนของ ออสติน ที่อธิบายถึงทฤษฎีคำสั่งแห่งกฎหมาย (The Command Theory of Law) หรือเรียกกันแพร่หลายว่า “สำนักนิติศาสตร์วิเคราะห์” (Analytical School of Jurisprudence) หรือ “นิติศาสตร์เชิงวิเคราะห์” (Analytical Jurisprudence) ซึ่งถือว่า
วิธีการศึกษากฎหมายโดยทั่วไปจะต้องใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบของลักษณะข้อความในกฎหมายที่เห็นได้ชัดเจนว่า “คือ คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ที่มีสภาพบังคับ” โดยเหตุนี้เองที่ทำให้จอห์น ออสติน สรุปว่า “กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์” (Sovereign) ซึ่งกำหนดมาตรฐานความประพฤติให้กับ
ผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองของตน ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามแล้วจะต้องได้รับโทษ
จากข้อสรุปดังนี้ทำให้กฎหมายอันแท้จริง (Positive Law) ซึ่งเป็นเรื่องของคำสั่ง
จะประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
1. ความประสงค์หรือความปรารถนา (Wish) ของผู้สั่ง
2. บทลงโทษหรือสภาพบังคับ (Sanction) ซึ่งกินความถึงการก่อให้เกิด “หน้าที่” ที่บุคคลทั่วไปต้องปฏิบัติ
3. การแสดงออกซึ่ง ความประสงค์หรือความปรารถนา (Expression of the Wish)
4. การมีผลบังคับทั่วไป (Generality)
5. การประกาศใช้โดยรัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) ผู้มีอำนาจสูงสุดทางการเมือง ที่อาจเป็น
บุคคลหรือองค์รัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้แสดงเจตนาออกกฎหมายและกำหนดการลงโทษผู้ฝ่าฝืน
เมื่อพิจารณษศึกษาถึงทฤษฎีนิติศาสตร์วิเคราะห์ ของ ออสติน นั้นได้จำแนกแยกแยะความหมายของคำว่า “กฎหรือกฎหมาย” (Law) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กฎ ซึ่งไม่อาจเป็นกฎหมายหรือกฎในความหมายเทียบเคียง (Law by Analogy) เช่น กฎว่าด้วยกระแสไฟฟ้าหรือกฎทางฟิสิกส์อื่น ๆ รวมทั้งธรรมชาติทั่วไป กฎเหล่านี้ จะมีชื่อเรียกในภาษอังกฤษว่า “Law” แต่มิใช่ Law ในความหมายในทางนิติศาสตร์
2. กฎซึ่งจะเป็นกฎหมาย (Law properly so-called) หมายถึง คำสั่งหรือกฎเกณฑ์ความประพฤติทั่วไปและออสติน แยกออกเป็น 3 ประการคือ
1) คำสั่งของพระเจ้า (Divine Laws หรือ Commands of God) หรือกฎที่ผู้มีอำนาจเหนือมนุษย์ตรงขึ้น ออสติน ถือว่า คำสั่งหรือกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้านี้เป็นเสมือนหลักที่พึ่งเป็นสำหรับกฎหมายอันแท้จริง
2) คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ (Command of the Sovereign) หรือกฎเกณฑ์ส่วนบัญญัติ (Positive Law) อันถือเป็นกฎหมายในความหมายอันแท้จริง
3) คำสั่งอื่น ๆ (Command of Others) ซึ่งมิใช่คำสั่งของพระเจ้าหรือคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ คำสั่งหรือกฎเกณฑ์ในลักษณะนี้ ออสติน เรียกว่า หลักศีลธรรมเชิงปฏิฐานหรือเชิงประจักษ์
ข้อเปรียบเทียบในทรรศนะของ เบนแธม และ ออสติน ที่ตอบคำถามว่า กฎหมายควรจะเป็นอย่างไร
ด้วยการใช้หลักบรรทัดฐานของอรรถประโยชน์ เป็นเสมือนบรรทัดฐานในทางจริยธรรมทางกฎหมาย นั่นก็คือการยืนยันเรื่องเกี่ยวกับความสุขที่เกิดขึ้นว่า เป็นบรรทัดฐานทางศีลธรรมที่ถูกต้อง ดังนั้น การใดที่ก่อให้เกิดความสุขกับคน ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ดี กฎหมายที่ดีก็ต้อง หมายถึง กฎหมายที่ทำให้เกิดความสุขให้กับ
คนจำนวนมากที่สุด ดังนั้น ในความคิดของปฏิฐานนิยมของ เบนแธม และ ออสติน (ที่เรียกว่า “ปฏิฐานนิยมแบบดั้งเดิม”) การตอบคำถามว่า “กฎหมายคืออะไร” กับ “กฎหมายควรจะเป็นอย่างไร” นั้น คำตอบจะแยกจากกันโดยมีทฤษฎีสองตัวมารองรับ กล่าวคือ คำถามว่ากฎหมาย คืออะไร ปฏิฐานนิยมจะเป็นผู้ให้คำถาม ส่วนคำถามที่ว่า กฎหมายควรจะเป็นอย่างไรทฤษฎีอรรถประโยชน์เป็นผู้ให้คำตอบ
อนึ่ง ในการทำความเข้าใจต่อนักทฤษฎีปฏิฐานนิยม ให้พิจารณาด้วยว่า แม้พวกปฏิฐานนิยมจะอธิบายว่า “กฎหมายไม่จำเป็นต้องเกี่ยวโยงกับศีลธรรม” บางครั้งอาจทำให้รู้สึกว่าพวกปฏิฐานนิยม เป็นพวกไร้ศีลธรรมหรืออำนาจนิยม ซึ่งเป็นการมองที่ไม่ถูกต้องตามแบบแนวคิดของปฏิฐานนิยม การมองปฏิฐานนิยม ที่ยืนยันว่ากฎหมายไม่จำเป็นต้องเกี่ยวโยงกับศีลธรรมนั้นเป็นเพียงการชี้ขาดสภาพความเป็นกฎหมาย กล่าวคือ การเป็นคำสั่งที่ออกโดยใช้อำนาจรัฐแล้ว คำสั่งนั้น คือ “กฎหมาย” (Law)
จุดยืนข้อนี้ จึงเป็นจุดยืนที่ใช้สำหรับการตรวจสอบหรือให้คำตอบว่า “กฎหมายนั้นคืออะไร” ซึ่งเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ต้องตอบ จากการพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้ปฏิฐานนิยมในศตวรรษที่ 19 ยืนยันว่า “กฎหมายคือคำสั่งของรัฐ” กล่าวคือ “กฎหมาย คือ คำสั่งบัญชาของผู้ปกครองแผ่นดินที่มีต่อประชาชนและประชาชนต้องปฏิบัติตามใครไม่ปฏิบัติตามต้องรับโทษ”
ดังนั้น คำตอบว่า “กฎหมายคืออะไร” ปฏิฐานนิยมจึงตอบชัดเจนว่า “กฎหมาย คือคำสั่งของรัฐ” โดยที่คำสั่งของรัฐนั้นอาจจะไม่เกี่ยวกับศีลธรรมหรือความยุติธรรมก็ได้ ส่วนคำถามที่ว่า “กฎหมายควรจะเป็นอย่างไร” นั้น นักอรรถประโยชน์ถือว่า “เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิด ความปรารถนา ความหวังรวมตลอดถึงค่านิยมในเรื่องความถูกผิด” ซึ่งปฏิฐานนิยมจะตอบคำถามออกจากกันโดย คือ
1. คำถามที่ว่ากฎหมายคืออะไร จะเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งและ
2. คำถามที่ว่ากฎหมายควรจะเป็นอย่างไร ก็เป็นขั้นตอนหนึ่ง
คำตอบที่จะตอบว่ากฎหมายควรจะเป็นอย่างไร ในสายตาของพวกปฏิฐานนิยมจะถือว่าเป็นคำถามในขั้นตอนของการบัญญัติกฎหมาย ขณะที่ร่างกฎหมายขึ้นมาผู้ร่างต้องมีคำตอบขึ้นอยู่ในใจ ซึ่งในขั้นตอนนี้เราจะใช้มาตรการบางอย่างอันอาจจะเป็นจริยธรรมบางอย่างก็ได้แต่มันอาจจะแปลไปตามทรรศนะของแต่ละคน