การแก้ปัญหา ส้มหล่น ของสเปน /โดย ลงทุนแมน
48,000 ต้น คือจำนวนต้นส้ม ที่ปลูกประดับประดาไปทั่วเมืองเซบิยา
เมืองหลวงของแคว้นอันดาลูซิอา ทางตอนใต้ของประเทศสเปน
ด้วยความที่มีภูมิอากาศเหมาะสม แคว้นแห่งนี้จึงเป็นเขตปลูกส้มที่สำคัญที่สุดของประเทศสเปน ซึ่งการปลูกส้มก็ไม่ได้เพื่อการส่งออกเพียงอย่างเดียว แต่ยังนิยมปลูกไว้เพื่อประดับประดาไปทั่วเมืองด้วย
แต่ปัญหาก็มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว เมื่อต้นส้มทั่วทั้งเมือง ต่างออกผล
จนเกิดมหกรรม “ส้มหล่น” จำนวนกว่า 5.7 ล้านกิโลกรัม เกลื่อนกลาดไปทั่วทางเท้าและถนนหนทาง
สำนวน “ส้มหล่น” ในภาษาไทย มักมีความหมายสื่อถึงสิ่งดี ๆ ที่ได้มาโดยไม่คาดคิด
แต่สำหรับเมืองเซบิยาแล้ว มหกรรม “ส้มหล่น” ในแต่ละครั้ง คงไม่ได้นำสิ่งดี ๆ มาให้สักเท่าไร
แล้วเซบิยา มีแผนจัดการกับปัญหานี้ อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นมารู้จักความสัมพันธ์ของส้มกับประเทศสเปนกันสักนิด..
แต่เดิมส้มเป็นผลไม้พื้นเมืองของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบตอนเหนือของอินเดียและจีนตอนใต้ โดยพ่อค้าชาวอาหรับเป็นผู้นำผลไม้ชนิดนี้มาเผยแพร่ในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
เมื่อดินแดนสเปนถูกยึดครองโดยชาวมัวร์ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือในช่วงศตวรรษที่ 7 ชาวมัวร์ก็ได้นำต้นส้มเข้ามาทดลองปลูกบนแผ่นดินสเปน
ความโชคดีประการหนึ่ง คือ ผลไม้ตระกูลส้ม จะเจริญเติบโตได้ในที่ที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งในฤดูร้อน และมีฝนตกมากในฤดูหนาว ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของสเปนมีภูมิอากาศแบบนี้
ซึ่งเรียกว่า ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
จากจุดเริ่มต้นโดยชาวมัวร์ สเปนได้กลายเป็นแหล่งปลูกส้มที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน
ในปี 2020 สเปนส่งออกส้มเป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็นมูลค่า 46,200 ล้านบาท
และคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของโลก
พื้นที่ปลูกส้มส่วนใหญ่ของสเปนจะอยู่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะในแคว้นอันดาลูซิอา ที่ให้ผลผลิตส้มมาจากแคว้นนี้ปีละกว่า 1.6 ล้านตัน
หนึ่งในส้มที่ปลูกมากในแคว้นนี้ คือ Bitter Orange หรือ ส้มขม เป็นส้มที่มีรสชาติออกขม และคนสเปนก็ไม่ค่อยนิยมกินสด ๆ เท่าไร นิยมนำไปทำ Marmalade หรือแยมผิวส้มมากกว่า
โดยประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของการส่งออกส้มและแยมผิวส้มมากที่สุด ก็คือ สหราชอาณาจักร ซึ่งคนอังกฤษจะเรียกส้มชนิดนี้ว่า “ส้มเซบิยา”..
ซึ่งแน่นอนว่าในเมืองหลวงของแคว้นอันดาลูซิอา อย่างเมืองเซบิยา
เราก็จะสามารถพบเห็นต้นส้มเซบิยาได้อย่างง่ายดาย เพราะจะถูกปลูกประดับประดาอยู่ริมถนน สถานที่สำคัญ สวนสาธารณะ หรือแม้แต่ในเขตที่อยู่อาศัย
ข้อโดดเด่นอีกอย่างของต้นส้มเซบิยา คือกลิ่นดอกที่หอมหวน ทำให้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ต้นส้มในเมืองกว่า 48,000 ต้นก็จะผลิดอกหอมหวน ตลบอบอวลไปทั่วทั้งเมือง
แต่สัญญาณของความวุ่นวายก็มักจะเกิดขึ้น เมื่อเมืองเซบิยาเข้าสู่ฤดูหนาวในช่วงปลายเดือนตุลาคม ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน
ส้มเป็นผลไม้ไม่กี่ชนิดที่จะออกผลในช่วงฤดูหนาว และฤดูหนาวของเซบิยาก็ไม่ได้หนาวรุนแรงเหมือนเมืองอื่น ๆ ทางตอนเหนือของยุโรป
และเมื่อส้มทั้งเมืองออกผลในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
นั่นก็ทำให้เซบิยาเต็มไปด้วย “ส้มหล่น” กว่า 5.7 ล้านกิโลกรัม
ด้วยความที่ส้มเหล่านี้มีรสขม และไม่เป็นที่นิยมของชาวเมือง พื้นถนนและทางเท้าจึงเต็มไปด้วยส้มหล่นที่ไม่มีใครต้องการ
บางแห่งก็เจิ่งนองไปด้วยน้ำส้มที่แตกจากผล บางแห่งมีแมลงวันตอมและเริ่มส่งกลิ่นเหม็น มีผู้คนไม่น้อยที่เดินเหยียบส้มเหล่านี้จนเกิดอุบัติเหตุ จนกลายเป็นความวุ่นวายไปทั่วทั้งเมือง
ทางเทศบาลเมืองเซบิยาต้องใช้พนักงานกว่า 200 คน ทำการเก็บกวาดส้มตลอดทั้งเดือน ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการกำจัดซากส้มหล่นมหาศาลที่ไม่มีใครต้องการเหล่านี้
“ส้มหล่น” สำหรับชาวเมืองเซบิยา นอกจากจะไม่ได้นำสิ่งดี ๆ เข้ามาแล้ว
ยังกลายเป็นปัญหาที่สร้างความกระอักกระอ่วนใจให้กับผู้คน และผู้บริหารในเมืองมานานแสนนาน จะตัดทิ้งก็ไม่ได้เพราะเป็นเหมือนต้นไม้ประจำเมือง จะกินก็ไม่ได้เพราะรสชาติไม่อร่อย
จึงนำมาสู่การคิดแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง ในปี 2020..
บริษัท Emasesa บริษัทบริหารจัดการน้ำของเทศบาลเมืองเซบิยา ได้คิดโครงการนำร่องเพื่อแก้ปัญหาส้มหล่น โดยได้ทดลองนำส้ม 35,000 กิโลกรัม ไปหมักบ่ม
การหมักบ่มทำให้เกิดแก๊สชีวภาพอย่างแก๊สมีเทน ที่สามารถนำไปผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในกระบวนการกรองน้ำให้บริสุทธิ์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
Benigno Lopez ผู้บริหารฝ่ายสิ่งแวดล้อมของ Emasesa ได้เสนอให้มีแผนการต่อไป
คือการนำส้มทั้งหมดในเมืองมาหมักเพื่อให้เป็นพลังงานชีวมวล สำหรับใช้ผลิตไฟฟ้าให้กับระบบกรองน้ำของเมืองทั้งหมด
โดยทางเทศบาลอาจต้องลงทุนเพิ่มประมาณ 250,000 ยูโร หรือราว 10 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าพลังงานที่ได้ จะเหลือให้นำไปผลิตไฟฟ้าเพื่อแจกจ่ายให้ครัวเรือนในเมืองเซบิยาอีกด้วย
โดยส้ม 1,000 กิโลกรัม สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานเป็นระยะเวลา 1 วัน เพียงพอสำหรับ 5 ครัวเรือน
ซึ่งหากคำนวณส้มหล่นทั้งหมดในเมืองกว่า 5.7 ล้านกิโลกรัม ซึ่งรวมทั้งส้มที่ร่วงหล่นลงมาแล้วและยังไม่หล่น ก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าให้ผู้คนในเมืองได้ไม่ต่ำกว่า 28,500 ครัวเรือน
ซึ่งคิดเป็นเกือบ 20% ของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองเซบิยา
Juan Espadas Cejas นายกเทศมนตรีของเซบิยา ได้ให้คำสัญญาว่าจะผลักดันโครงการนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ชาวเมืองเซบิยามีน้ำสะอาดสำหรับใช้อุปโภคบริโภค โดยใช้พลังงานสะอาดจากชีวมวล และต่อยอดไปสู่การสร้างเศรษฐกิจพึ่งพาตัวเอง และการแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน..
สเปนตั้งเป้าว่าจะเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนเป็น 0 หรือ Carbon Neutral ภายในปี 2050 หรืออีก 29 ปีข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายแรก ๆ คือการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 100% จากพลังงานหมุนเวียน
ในปี 2020 พลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของสเปน มาจากพลังงานหมุนเวียน 43% โดยเป็นพลังงานลม 21% พลังงานน้ำ 12% พลังงานแสงอาทิตย์ 8% และชีวมวลราว 2%
การจัดการ “ส้มหล่น” ของเมืองเซบิยา อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้สเปน พัฒนากระบวนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลในอนาคต เพื่อให้สามารถเติมเต็มเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมได้เร็วขึ้น
เรื่องราว “ส้มหล่น” อาจสร้างปัญหาให้กับชาวเมืองเซบิยามาเนิ่นนาน
แต่สำหรับอนาคตของพลังงานและสิ่งแวดล้อมแล้ว
เมืองเซบิยาก็อาจกำลังเจอ “ส้มหล่น” ที่ได้รับสิ่งดี ตามความหมายของสำนวนไทย ขึ้นมาจริง ๆ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=5282&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://www.statista.com/statistics/743119/orange-production-volume-spain-by-region/
-https://www.worldstopexports.com/oranges-exports-by-country/
-https://globalshakers.com/how-a-city-in-spain-is-making-electricity-out-of-oranges/?fbclid=IwAR1yTR9FwkunabzT9Cbo1x3n0CI39-l795Kxw5vDIhVtDMpsEl_CK4zI4o4
-https://www.theguardian.com/environment/2021/feb/23/how-seville-is-turning-leftover-oranges-into-electricity?fbclid=IwAR3d4IPlyhtfZQpnQZp0LTxYLpSsPBN9xjgc8ZY_bKp7NnTGiKU1RSiCcfA
-https://ourworldindata.org/renewable-energy
-https://www.euractiv.com/section/circular-economy/news/spain-sets-2050-target-for-a-circular-carbon-neutral-economy/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「carbon neutral 2050」的推薦目錄:
- 關於carbon neutral 2050 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於carbon neutral 2050 在 媽媽監督核電廠聯盟 Facebook 的最佳貼文
- 關於carbon neutral 2050 在 非凡電視台 Facebook 的最佳解答
- 關於carbon neutral 2050 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於carbon neutral 2050 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於carbon neutral 2050 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於carbon neutral 2050 在 This is how we will become carbon neutral by 2050 - YouTube 的評價
carbon neutral 2050 在 媽媽監督核電廠聯盟 Facebook 的最佳貼文
能源轉型大勢所趨,掌握碳中和儲能商機!一次搞懂什麼是碳中和、鋰電池、固態電池、燃料電池(07/12/2021 TechNews科技新報)
作者 姚 惠茹
聯合國在 1997 年 12 月通過京都議定書將大氣中的溫室氣體含量穩定在一個適當的水平,以保護地球的生態系統。從那之後,碳排量就逐漸成為評估環境成本的一項重要指標。2015 年 12 月,各國在《巴黎協定》中承諾,在 2050~2100 年實現全球「碳中和」目標。
什麼是碳中和呢?
碳中和是「從環境中消除的碳排超過所排放的碳」。通常透過使用低碳能源取代化石燃料、植樹造林、節能減排等形式,來達到相對「零排放」。目前為止全世界已經有超過 50 個國家宣告在本世紀中葉達到碳中和,超過 100 個國家在政策中提及,2050 年是大部分國家設定的目標年。
分析碳中和商機,首先要來了解主要碳排產業,目前全球最大的碳排放產業是電力產業,其碳排放量佔全球碳排放量比重高達四成,而再生能源發電的比重近幾年來雖然持續增加,也約略佔三成左右,如扣除水力發電、地熱發電等,以風電及太陽能為主的再生能源佔比又僅有一成,富邦證券表示,未來持續增加風電與太陽能發電仍將是主要的發展趨勢。
車輛的二氧化碳排放佔全球碳排放量比重超過二成,因此未來電動車取代內燃機汽車的趨勢,將會加快進行,另外包含製造業的工廠與建築業等佔全球碳排放量也達到二成,因此將被迫更新其生產設備,降低排放量,中國及其他第三世界等地區,必須要淘汰高汙染高排碳的產能,建置更具效能且符合環保碳排規範的產能取代,否則其出口將會被先進國家課以碳稅。
從前面分析主要碳排來源,就可以知道為什麼再生能源和電動車會成為近年來的重要產業發展趨勢,然而電動車雖然不排放 CO2,但若使用的電力是火力發電,則會增加發電廠的碳排量,因此電力來源由火力發電轉為再生能源,再使用電動車才能真正達到減碳的效果。
富邦證券表示,由於再生能源如太陽能與風電都是屬於間歇性發電,受到日照時間與季節性風力強弱的影響,必須透過儲能系統,將再生能源發電做妥適的儲存應用,故儲能系統將在碳中和發展趨勢中,扮演著重要的關鍵角色。
近年來光電、風電產業快速崛起,因綠能發電具間歇性特質,尚需儲能系統搭配,才能避免再生能源受到天氣因素的波動影響供電,確保長期供電穩定,儲能系統市場規模因此快速成長,2018年全球儲能系統放電量 5,971 百萬瓦時,預估至 2024 年,全球儲能系統規模年複合成長率超過七成。
富邦證券指出,現階段全球儲能系統主要可分為三大類,機械能儲能、電化學儲能(鋰離子電池)及化學儲能(燃料電池)三大類,其中以電化學儲能為目前的市場主流,而化學儲能為近年備受市場期待的另一種儲能系統。
鋰離子電池
目前全世界車廠所生產的電動車,其儲能電池的應用種類,以「鋰離子電池」為市場應用主流,而再生能源儲能系統方面,也大部分同樣採用「鋰離子電池」,作為協助電網進行電力調節的輔助設備,例如特斯拉在各地建置超級充電站,就會利用到鋰電池儲能系統。
鋰電池材料中以正極材料最為重要,一般都是以鋰合金氧化物所構成,也是常聽到的三元鋰電池就是以鎳鈷錳等三種材料組成正極的鋰電池,另外常聽到的磷酸鋰鐵,也是正極材料的一種。負極材料目前多以石墨為主,未來會往矽負極來發展電解質現階段都是液態(膠狀),目前業界正積極開發固態電解質的鋰電池,作為下一世代鋰電池的發展方向。
固態電池
鋰電池為「液態電池」,其電解液為膠狀電解質,而液態電池性能容易受溫度高低影響,並有電解液外漏爆炸的風險,當前普遍使用的有機電解液存在爆炸等安全隱憂,已成為限制鋰離子電池發展的瓶頸,而固態電解質的重量較輕,只有液態鋰電池的一半、充電速度比鋰離子電池快,只要 10~15 分鐘,而且沒有腐蝕性的問題,壽命較長。
目前日本豐田、南韓三星、中國寧德時代、美國的 Quantum Scape(QS),德國的 Solid Power 與台灣輝能等公司業已開啟固態電池產業化進程,目前預估最快 2023~2025 年間,有可能量產車用固態電池。
燃料電池
燃料電池為一種將燃料(通常是氫氣)與氧化劑產生的化學能通過化學反應轉換成電能的儲能系統,通常又稱為氫能源,利用氫燃料的氧化作用,產生電力,沒有排碳,只有排水,若是將太陽光電或風力發電的電力來產製氫氣,產製後的氫氣可做為燃料電池的燃料來源。
藉由氫能載體整合各式再生能源,能平衡各類再生能源供電缺口或不穩定。富邦證券表示,現階段包含美國、日本、南韓、歐盟、澳洲及中國都積極發展燃料電池,企業界與日韓車廠也都努力開發各式產品應用。
富邦證券表示,2050 年是大部分國家設定的碳中和的目標年,降低碳排放量的碳中和商機,已經成為未來十年的重大商機,因此使用何種電池能達到安全又具效能的綠能發電儲能系統,將會是未來產業發展的重點,也值得投資人持續關注。
完整內容請見:
https://technews.tw/2021/07/12/carbon-neutral/
♡
carbon neutral 2050 在 非凡電視台 Facebook 的最佳解答
「#碳中和」終極目標 2050年全球零碳排⁉️ 哪些產業將受惠🤔
根據IPCC(聯合國政府間氣候變遷專門委員會)定義,所謂「碳中和(carbon neutral)」是指一家企業或組織二氧化碳的排放量,在一段時間內(通常為一年),以節能減排或是植樹造林方式來清除,當排放與清除量達到平衡就是「碳中和」,若清除量高於排放量則為「負碳排(carbon negative )」。
而現在全球環保意識抬頭,在拜登政府強勢回歸巴黎氣候協定、中國啟動減碳政策之下,「碳中和」議題進入大眾視野。
除了汽車產業早早響應「零碳排」目標,致力能源轉型讓電動車迅速崛起,你知道還有哪些產業,能在各國「碳中和」願景下分一杯羹嗎?
👉👉全文報導請見留言區新聞連結💥
#財經懶人包 #科技 #非凡新聞 #新聞 #ustvnews
carbon neutral 2050 在 This is how we will become carbon neutral by 2050 - YouTube 的推薦與評價
Zero emissions by 2050. Our climate ambition towards 2050 is built on three pillars: 1) Delivering zero carbon products to our customers. ... <看更多>