ประเทศไหน ใช้เงินสด น้อยที่สุดในโลก ? /โดย ลงทุนแมน
วิธีการชำระเงินของมนุษย์ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
จากเปลือกหอย เหรียญ ธนบัตร จนมาถึงยุคปัจจุบัน
ที่เราใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
ซึ่งเรียกกันว่ายุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด
หากให้ลองนึกถึงประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้
หลายคนก็น่าจะนึกถึงประเทศจีน หรือไม่ก็สหรัฐอเมริกา
แต่คำตอบที่ได้จะไม่ใช่ทั้ง 2 ประเทศนี้เลย
แล้วประเทศนั้นคือประเทศอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศแห่งนี้มีสัดส่วนการใช้เงินสดอยู่ที่ 51%
เมื่อเทียบกับธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดในประเทศ
รองลงมาจะเป็นประเทศในแถบยุโรปฝั่งเหนือ
ซึ่งก็ได้แก่ ฟินแลนด์, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสวีเดน
ที่สัดส่วนการใช้เงินสดเฉลี่ยอยู่ที่ 55%
แต่พอมาวันนี้ หากเราลองมาดูสัดส่วนการใช้เงินสดของ 5 ประเทศ ที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 สวีเดน 9%
อันดับที่ 2 เนเธอร์แลนด์ 14%
อันดับที่ 3 สหราชอาณาจักร 23%
อันดับที่ 4 ฟินแลนด์ 24%
อันดับที่ 5 สหรัฐอเมริกา 28%
กลับกลายเป็นว่าแชมป์โลกเมื่อ 10 ปีก่อน อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ตกไปอยู่อันดับที่ 5
และประเทศ “สวีเดน” ได้กลายมาเป็นประเทศที่ไร้เงินสดที่สุดในโลก
คำถามที่ตามมาก็คือ เพราะอะไร ?
จริง ๆ แล้ว หากย้อนไปในอดีตจะพบว่าประเทศสวีเดน ถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงินมาอย่างยาวนาน อ้างอิงจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาตั้งแต่
ปี 1661 เป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มใช้ธนบัตร
ปี 1967 เริ่มใช้ตู้ ATM เป็นประเทศที่ 2 ของโลก ช้ากว่าประเทศแรกอย่างอังกฤษเพียง 1 สัปดาห์
และรู้หรือไม่ว่า ภายในปี 2023 เราอาจไม่ได้เห็นการใช้เงินสดในประเทศสวีเดนอีกเลย
เพราะมีการคาดการณ์ว่าภายในเดือนมีนาคม ปี 2023
ประเทศสวีเดนจะเป็นสังคมไร้เงินสดได้อย่างสมบูรณ์ เป็นประเทศแรกของโลก
นอกเหนือจากการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเงินแล้ว
ประเทศสวีเดนยังได้รับความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย
ทั้งผู้พัฒนาและผลักดันเทคโนโลยี รวมถึงผู้ใช้งาน
ในด้านของผู้พัฒนาเทคโนโลยี ประเทศสวีเดนถือว่าเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เห็นได้จากแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกอย่าง Spotify, SoundCloud และ Skype
หรือแม้แต่ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่งมีชื่อว่า Klarna ก็ก่อตั้งจากประเทศแห่งนี้
และแน่นอนว่ามันเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับระบบการชำระเงินผ่านการซื้อของออนไลน์
ที่ขาดไม่ได้คือแรงผลักดันจากรัฐบาลและกลุ่มสถาบันการเงิน
ที่ได้ออกกฎเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้ารับชำระเงินจากลูกค้าในแบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งการที่ภาครัฐผลักดันให้เลิกใช้เงินสด นอกจากเรื่องของความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งานแล้ว
สิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การลดการก่ออาชญากรรม ทั้งการปล้นเงินสด หรือการซื้อขายสิ่งผิดกฎหมาย เพราะธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตจะสามารถตรวจสอบได้
ในขณะเดียวกัน เงินสดยังมีต้นทุนในการจัดการสูง โดยเฉพาะเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย
จุดเปลี่ยนสำคัญที่นำสวีเดนไปสู่สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012
โดยธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน 6 แห่ง รวมถึงธนาคารกลางสวีเดน
ได้ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ตโฟน ที่มีชื่อว่า “Swish”
ตรงนี้ก็น่าคิดเหมือนกันว่า จริง ๆ แล้วประเทศไทยเอง
ก็มีระบบพร้อมเพย์ รวมไปถึงแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ถูกผลักดันโดยรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน
ก็น่าคิดเหมือนกันว่าเราจะมีพัฒนาการในลักษณะเดียวกันกับสวีเดนได้หรือไม่
กลับมาที่ Swish แอปพลิเคชันดังกล่าวมีเป้าหมายหลัก เพื่อสนับสนุนให้ชาวสวีเดน
เปลี่ยนมามีวิถีชีวิตแบบที่ไม่ใช้เงินสดได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ
เพราะปัจจุบันมีชาวสวีเดนที่ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันนี้ มากกว่า 60% ของประชากรแล้ว
และในปัจจุบัน ธนาคารกลางสวีเดนก็กำลังพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง
ชื่อว่า e-krona ที่คาดว่าจะใช้งานได้จริงภายในปี 2025 อีกด้วย
ในส่วนของผู้ใช้เทคโนโลยีก็สำคัญเช่นกัน เพราะชาวสวีเดนถือได้ว่าเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ได้เร็ว
สะท้อนมาจากผลสำรวจเมื่อปลายปี 2020 ที่ว่า คนสวีเดนทุก 3 ใน 4 คน
เลือกที่จะใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงประเทศเกาหลีใต้
ในขณะที่ชาวสวีเดนมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 94% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ได้ขับเคลื่อนสวีเดน
ให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้รวดเร็วที่สุดในโลกนั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยคำถามที่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้วจีนอยู่ตรงไหน ?
เรามาดู อันดับประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในเอเชีย ก็คือ
อันดับที่ 1 เกาหลีใต้ ใช้เงินสด 34%
อันดับที่ 2 สิงคโปร์ ใช้เงินสด 39%
อันดับที่ 3 จีน ใช้เงินสด 41%
จะเห็นได้ว่าตอนนี้ประเทศจีนยังอยู่ในอันดับที่ 3
แต่หากเราย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน
รู้หรือไม่ว่าสมัยนั้นคนจีนยังใช้เงินสดกันทั้งประเทศ
ถึงตรงนี้ เราก็คงสรุปได้ว่าอีกหน่อยโลกของเราก็น่าจะหมุนเข้าหาสังคมไร้เงินสดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และตัวกลางในการรับชำระอย่างเหรียญและธนบัตร ที่ใช้กันมานานกว่าหลายชั่วอายุคน
อาจจะกลายเป็นของสะสม หรือเป็นวัตถุโบราณที่หาดูได้ แค่ในพิพิธภัณฑ์..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/industries/financial%20services/our%20insights/accelerating%20winds%20of%20change%20in%20global%20payments/2020-mckinsey-global-payments-report-vf.pdf
-https://interestingengineering.com/sweden-how-to-live-in-the-worlds-first-cashless-society
-https://www.weforum.org/agenda/2021/01/this-chart-shows-cash-cashless-finance-payment-methods-global-preference/
-https://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.ZS?most_recent_value_desc=true
-https://en.wikipedia.org/wiki/Swish_(payment)
cashless payment คือ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
‘สังคมไร้เงินสด’ หรือ cashless society ได้รับ เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงตลอดเวลาควบคู่ไปกับการพัฒนา การเงิน และเศรษฐกิจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากระบบการชำระเงินที่พัฒนาขึ้นช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้จ่าย และลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงิน ทำให้ผู้คนเริ่มพกเงินสดกันน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก
ตั้งแต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2019 มีการใช้ e-Payment เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 จากระยะเดียวกันปีก่อน จึงเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่าไทยมีการพัฒนาทางด้านการชำระเงินและประชาชนเปิดรับ cashless payments อย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีส่วนทำให้การใช้เงินสดลดลงได้เช่นกันเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อการใช้ e-Payment ของคนไทยในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากระดับปกติ จากธุรกรรมอินเตอร์เน็ตและโมบายแบงก์กิ้งที่ขยายตัวสูงขึ้นกว่า 72% ธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ‘พร้อมเพย์’ โดยมียอดการใช้งานในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา สูงสุดถึง 16.3 ล้านรายการต่อวัน และคาดว่าในระยะข้างหน้าการใช้งานยังคงเติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นผลจากความคุ้นชินในการใช้ e-Payment ภายใต้บริบทใหม่
จากการสำรวจ วีซ่า (VISA) ผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก พบว่า 3 ใน 5 ของคนไทยที่ถูกสำรวจ หรือ 61% กำลังพัฒนานิสัยในการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด โดยเลือกที่จะใช้จ่ายด้วยบัตรชำระเงินหรือผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนมากกว่าการใช้เงินสดนอกจากนี้ เกือบ 7 ใน 10 ของคนไทย หรือ 69% บอกว่า หลังสถานการณ์โรคระบาดสิ้นสุดลง มีแนวโน้มที่จะผูกติดกับการใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิทัลแทนการกลับไปใช้เงินสดแบบเดิม
สำหรับผู้ประกอบการ เมื่อพฤติกรรมการใช้จ่าย และชำระเงินของผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น SME จึงควรทำความเข้าใจ และปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ สอดคล้องกับพฤติกรรมการชำระเงิน และการใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มองหาร้านค้าและเลือกใช้บริการร้านที่สามารถใช้จ่ายเงินด้วยระบบ e-Payment และหลังจากนี้โลกการเงินอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้น เร็วกว่าที่ทุกคนคาดคิดจากการเติบโตของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดอันเกิดจากการพยายามแก้ไขปัญหาการใช้ชีวิตของคนที่มีพฤติกรรมใหม่ๆ ในยุคไวรัส จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการทุกคนที่ต้องเตรียมพร้อมปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า
ที่มา
https://www.salika.co/2020/05/20/covid-19-impact-consumer-behavior-payment/
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_21Jul2020.aspx
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#cashlesssociety #epayment #digital #sme
cashless payment คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ข่าวประชาสัมพันธ์..
e-Wallet = กระเป๋าเงินแห่งอนาคต
ร้านค้าไหนก็อยากรับ
เมื่อ 2 – 3 ปีก่อนภาครัฐเปิดไฟเขียวเดินหน้านโยบาย National E-Payment นำประเทศไทยเข้าสู่ Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด และได้มีการปลดล็อคระบบชำระเงินผ่านโมบายแบงค์กิ้ง ด้วย PromptPay และ QR Code
มาวันนี้วิธีการทำธุรกรรมการเงิน การชำระเงินของคนไทยก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด หลายคนมี e-Wallet และพร้อมจะหยิบโทรศัพท์มือถือมาสแกน QR Code จ่ายเงินกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยเริ่มต้นทำงานและคนรุ่นใหม่ช่วงอายุ 22-29 ปี เป็นสัดส่วนผู้ใช้มากที่สุดถึง 29% จะใช้ e-Wallet เพื่อชำระสินค้าและบริการต่างๆ เฉลี่ยเดือนละ 9 ครั้ง/คน มียอดการใช้จ่ายราว 300 กว่าบาทต่อบิล และมีแนวโน้มใช้งานมากขึ้นตามจำนวนจุดรับชำระที่เพิ่มขึ้น
และคนอีกกลุ่มที่มีพฤติกรรมสังคมไร้เงินสดอย่างชัดเจนมาก คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน เพราะประเทศจีนนับเป็นประเทศแรกๆ ที่เข้าสู่สังคมไร้เงินสดแล้ว พวกเขาคุ้นเคยกับการชำระเงินด้วย e-Wallet ผ่านทาง WeChat Pay และ Alipay ซึ่งในปี 2562 นี้ คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทย ประมาณเกือบ 11 ล้านคน สร้างรายได้ให้ประเทศไทยถึง 723 แสนล้านบาท
จากงานวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมชำระเงินผ่านมือถือมากกว่าเงินสดและบัตรเครดิต ระหว่างท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ ทั่วโลก สูงถึง 60% และ ส่วนใหญ่จะสอบถามร้านค้าในประเทศที่ไปท่องเที่ยวว่ามีรับชำระเงินผ่านมือถือหรือไม่ มากถึง 90%
จากข้อมูลเหล่านี้... ถ้าหากร้านค้ายังไม่เริ่มมีช่องทางการรับชำระเงินจาก e-Wallet หรือปรับตัวเข้าสู่งสังคมไร้เงินสดจะเกิดอะไรขึ้น?
คงเหมือนลูกค้ามายืนตรงหน้าร้านแล้ว แต่เราปิดประตู... เราจะพลาดโอกาสต่อยอดธุรกิจ หรือขยายกลุ่มเป้าหมาย สุดท้ายก็คงขาดรายได้ไป และร้านค้าก็อาจไม่ได้ไปต่อ...
สำหรับร้านค้าที่อยากเริ่มเปิดช่องทางการรับชำระเงินจาก e-Wallet หรือกระเป๋าเงินแห่งอนาคต ของคนรุ่นใหม่การเลือก Ksher เป็นพันธมิตรถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สะดวก และตอบโจทย์การรับชำระเงินแบบ e-Wallet โดยมีระบบแบบครบวงจร
ก่อนอื่นเรามารู้จัก Ksher กันก่อน
Ksher เป็นบริษัทฟินเทคชั้นนำในการให้บริการด้านการชำระเงินที่ครอบคลุมหลายๆ e-Wallet ของจีนและไทย ทั้ง WeChat Pay, Alipay, PromptPay และ True Money ซึ่งร้านค้าที่เป็นพันธมิตรของ Ksher สามารถรับเงินจาก e-Wallet เหล่านี้ ได้ทั้งเงินบาทและเงินหยวน โอนเงินเข้าบัญชีของร้านค้าที่ผูกไว้อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีใหม่อีก
และเมื่อต้นปี Ksher ยังได้รับรางวัล Excellence Service Awards จากงาน WeChat Pay Overseas Partner Conference 2019 ตอกย้ำการเป็นพันธมิตรอันแข็งแกร่งและมีมาตรฐานสูงกับทาง WeChat Pay รวมไปถึงความล้ำหน้าในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่สามารถให้บริการสอดคล้องกับพฤติกรรมในยุคสังคมไร้เงินสด
บริการของ Ksher สามารถใช้ได้ตั้งแต่ร้านค้าเล็กๆ SME ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขา โดยใช้ป้าย QR Code,เครื่องรับเงิน EDC Ksher Cashier รวมไปถึง แอพพลิเคชัน Ksher Boss บนมือถือ ในการรับชำระเงิน อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมต่างๆผ่าน ระบบหลังบ้าน Merchant Platform ได้อีกด้วยเรียกว่า Ksher มีโซลูชันที่ครบวงจรเพื่อรองรับธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ
สำหรับร้านค้าที่ใช้บริการกับทาง Ksher จะได้รับความสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเตรียมเงินทอน และเงินสามารถเข้าบัญชีได้โดยตรง นอกจากนี้ นักธุรกิจและร้านค้ายังได้รับประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
- ร้านค้าสามารถใช้บัญชีไทยที่มีอยู่แล้ว ผูกเข้ากับบริการของ Ksher ได้เลย ไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่อีก
- เมื่อมีการชำระเงินเกิดขึ้น ระบบ Ksher จะแจ้งเตือนเป็นเสียงภาษาไทย
- ร้านค้าสามารถส่งลิ้งค์ยอดเงินเพื่อเรียกเก็บปลายทางกับลูกค้าชาวจีนผ่านช่องทางวีแชทแม้ว่าลูกค้า
จะอยู่คนละพื้นที่หรือคนละประเทศ
- ร้านค้าที่มีหลายสาขา หลายแคชเชียร์สามารถตรวจสอบยอดผ่านระบบหลังบ้านของ Ksher ได้อย่างรวดเร็ว
- ทุกระบบของ Ksher มีการอัพเดทแบบเรียลไทม์ และมีการสรุปยอดอัตโนมัติ ทำให้ธุรกิจร้านค้าสามารถบริหารจัดการธุรกรรมต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น
- Ksher มีบริการหลังการขายที่รวดเร็ว ร้านค้าสามารถติดต่อสอบถามได้อย่างทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ผ่านทาง LINE: @ksherservice และ Call Center ไม่เว้นวันหยุดราชการ ไม่ต้องรอสายนาน
เพื่อสนับสนุนให้ร้านค้าในประเทศไทย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ได้ขยายช่องทางการรับชำระเงินผ่าน
e-Wallet ทาง Ksher มอบสิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับร้านค้า เพียงสมัครใช้บริการ Ksher สำหรับรับเงิน WeChat Pay& Alipay ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคมนี้ รับฟรีค่าธรรมเนียม 0% ในเดือนแรกของการใช้งาน
เพียงลงทะเบียนที่ www.ksher.com และกรอก Promotion Code: Longtunmank
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE: @ksherservice หรือ โทร. 02-150-0508
ข้อมูลอ้างอิง
-ทรู มันนี่ วอลเล็ต
-การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย