ธุรกิจ New S-Curve ของ ปตท. คืออะไร ?
ปตท. x ลงทุนแมน
ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเริ่มเห็นการดิสรัปชันในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงปีที่แล้วที่โรคระบาด ได้ทำให้หลายบริษัทเร่งปรับตัว
หากเรามาดูสถานการณ์ในประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน
ด้วยผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ได้เร่งให้หลายบริษัทจำเป็นต้องมองหาธุรกิจใหม่
เพื่อโอกาสการเติบโตในอนาคตรวมถึงเพื่อกระจายความเสี่ยงในธุรกิจเดิม
ไม่เว้นแม้แต่ ปตท. บริษัทที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย ก็มีสัญญาณการเข้าไปลงทุนทั้งในอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงธุรกิจใหม่
สะท้อนให้เห็นจากในปีที่ผ่านมา ปตท. ได้มีการลงทุนในธุรกิจเดิมอย่างการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติ ต่อยอดไปเป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติระดับภูมิภาค หรือ LNG Hub
รวมไปถึงการกระจายการลงทุนไปพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับ Life Science หรือวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสุขภาพ เช่น ยา ฟิวเจอร์ฟู้ด และอุปกรณ์ทางการแพทย์และได้เข้าไปลงทุนใน Lotus Pharmaceutical บริษัทวิจัย และพัฒนายารักษามะเร็งที่ใหญ่สุดในไต้หวัน เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
แล้ว ปตท. ยังมีกลยุทธ์หาช่องทางการเติบโตกับธุรกิจอะไรอีกบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปัจจุบัน ปตท. ยังมีโครงการที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อผลักดันธุรกิจใหม่และธุรกิจที่มีแนวโน้มจะสร้างการเติบโตในระยะยาวโดยเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่าธุรกิจ New S-Curve แบ่งออกเป็น
1. Express Solutions Project หรือ ExpresSo
2. Booster Project
แล้วแต่ละโครงการ มีแนวทางการค้นหาธุรกิจ New S-Curve กันอย่างไร ?
เริ่มกันที่โครงการ “ExpresSo” ที่ก่อตั้งและเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หรือราว 4 ปีก่อน
เป็นการรวมตัวกลุ่มคนรุ่นใหม่ของ ปตท. ที่จะเข้าไปค้นหาโอกาสในธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีแนวโน้มจะเติบโตเป็นธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต
โดยมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก แบ่งออกเป็น
กลุ่มแรก Corporate Venture Capital หรือ CVC เป็นธุรกิจที่จะค้นหาและเข้าไปลงทุนในกองทุน
หรือสตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความสามารถในการแข่งขันของ ปตท. ควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
ปัจจุบัน ExpresSo กระจายการลงทุนในกองทุนพลังงานและความยั่งยืน 7 กองทุน
และสตาร์ทอัพจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3 บริษัท ได้แก่
- HG Robotics สตาร์ทอัพไทย ผู้พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติหลากหลายรูปแบบ รวมถึงโดรนเพื่อการสำรวจ และ โดรนเพื่อการเกษตร
- Baania สตาร์ทอัพไทย ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
- Sunfolding สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา ผู้คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ติดตามแสงอาทิตย์ในลักษณะแกนเดียว ใช้ระบบหัวขับลมมีตัวควบคุมความดันที่คำนวณและปรับแกนการเอนตัวแผ่นโซลาร์ตามทิศทางของดวงอาทิตย์
โดย ExpresSo มีธีมการลงทุนหลักให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. โดยมองหาสตาร์ทอัพผู้คิดค้น
และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงานใหม่และการจัดการพลังงานเพื่อความยั่งยืน
นอกเหนือจากมุมการเป็นผู้ลงทุนแล้ว ExpresSo ก็ยังมีกลุ่มธุรกิจ Venture Builder หรือ VB
เป็นการจัดตั้งโครงการหรือบริษัทเพื่อทดสอบแนวคิดทางธุรกิจ และพัฒนาต้นแบบที่มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นธุรกิจใหม่ให้กับ ปตท. ตัวอย่างเช่น
- Renewable Energy Acceleration Platform หรือ ReAcc ทำธุรกิจแพลตฟอร์มระบบบล็อกเชนเพื่อรองรับธุรกรรมเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนอย่างครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ที่ช่วยให้บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้เข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียน
- Swap & Go ธุรกิจให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ
- Mekha Tech ธุรกิจให้บริการคลาวด์กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม ปตท.
- Smart Energy Platform: P2P โครงการทดลองการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างบุคคล โดยร่วมมือกับ Sertis GPSC และ VISTEC
ExpresSo ยังมีกลยุทธ์การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่น ๆ ผ่านกลุ่มธุรกิจ Venture Partner หนึ่งในนั้นคือการร่วมมือกับ Elemental Excelerator องค์กร Nonprofit ด้าน Climate tech เพื่อสร้างความยั่งยืนในกับโลก ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยขับเคลื่อนเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 แบบยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ระดับสากล
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้โครงการ ExpresSo
ที่แบ่งกลยุทธ์การหาโอกาสการเติบโตใหม่ทั้งในรูปแบบการลงทุน
การจัดตั้งบริษัทขึ้นเอง และการเข้าไปเป็นพันธมิตรกับผู้อื่น
นอกจากโครงการ ExpresSo แล้ว ยังมีอีกโครงการที่เน้นการค้นหาโอกาสการเติบโตใหม่เหมือนกัน
แต่มุ่งเน้นไปที่ กลุ่ม Food Value Chain เป็นหลัก รวมถึงเป็นศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพให้กับโครงการนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วใน ปตท. และมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่ได้ โดยโครงการนี้ชื่อว่า “Booster Project” ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา
การดำเนินงานของ Booster จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจของโครงการในด้านต่าง ๆ เช่น Strategic fit, market, business model และ financial model ตลอดจนค้นหาโอกาสการเติบโตของธุรกิจนั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Fishery Technology & Innovation
ที่เป็นการพัฒนาให้ประมงไทยกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง
โดยนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและระบบการจัดการใหม่ มาพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงแบบครบวงจร
รวมทั้งการแปรรูป จำหน่าย และบริหารโลจิสติกส์ เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในไทยและต่างประเทศ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรไทย และสร้างโอกาสใหม่เพื่อการเติบโตทางธุรกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยได้คัดเลือกปลาเศรษฐกิจ 2 ชนิดมาเป็นโมเดลต้นแบบ ได้แก่
Sugi Model หรือ โมเดลปลาช่อนทะเล เป็นโครงการเพื่อพัฒนาปลาเศรษฐกิจในอนาคต
ซึ่งจะนำเทคโนโลยีและการจัดการแบบใหม่มาพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงในกระชังต้นแบบ
ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบกระบวนการเพาะเลี้ยง และการทดสอบเรื่องอาหาร
เพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อและสารอาหารในปลาให้ดีขึ้น
ตลอดจนวิจัยผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อให้สามารถใช้ผลผลิตทั้งหมดอย่างคุ้มค่าไม่มีของเหลือทิ้ง
และหาช่องทางจัดจำหน่ายแบบ online offline และ modern trade
โดยที่ผ่านมา ได้มีการจัดการแข่งขัน Sugi Hackathon
ที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาเข้ามาประกวดแผนธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อนำแนวคิดของคนรุ่นใหม่ มาช่วยขับเคลื่อนแผนพัฒนาปลาเศรษฐกิจดังกล่าว
อีกหนึ่งปลาเศรษฐกิจที่ Booster มีส่วนร่วมพัฒนา คือ Gourami Model หรือ โมเดลปลาสลิด
ตั้งแต่การเพาะพันธุ์ เพาะเลี้ยงไปจนถึงการแปรรูป สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค ว่าแต่ละกระบวนการเป็นไปตามมาตรฐานและตรวจสอบได้
ปัจจุบันก่อสร้างโรงงานแปรรูปแล้วเสร็จ 95% อยู่ระหว่างการทดสอบกระบวนการแปรรูป และเริ่มมีการติดตั้งระบบ IoT และระบบอัตโนมัติหรือ Automation สำหรับการผลิตภายในโรงงานแปรรูปเพื่อตรวจสอบและวัดผลตลอดกระบวนการแปรรูป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นโรงงานผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค
โครงการ Fishery Technology & Innovation ยังมุ่งมั่นพัฒนาประมงไทย โดยใช้ระบบ IoT (internet of Things) ร่วมกับการจัดทำ mobile application เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรบันทึกข้อมูลการเพาะเลี้ยง ที่จะช่วยให้การเพาะเลี้ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของผลิดภัณฑ์ และ คุณภาพ
รวมทั้งยังมีการพัฒนา Platform ให้มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
โดยอาศัยเทคโนโลยีของ Blockchain ให้สามารถตรวจสอบได้ตลอด Supply Chain
ในอนาคตอันใกล้ จะมีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้งานร่วมกับ AI (Artificial Intelligence) สำหรับกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานในการออกแบบการผลิตให้เป็นไปความต้องการของตลาดได้ในอนาคต
นอกเหนือจากการสนับสนุนการพัฒนาประมงไทย โครงการ Booster ยังนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยยกระดับภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้น สมุนไพรไทย ครอบคลุมทั้งกระบวนการ
ตั้งแต่การปลูก การสกัด การแปรรูป ไปจนถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
ด้วยความตั้งใจที่จะส่งต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสู่มือผู้บริโภค
จะเห็นได้ว่าแม้ ExpresSo และ Booster จะเป็นโครงการที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาได้เพียงไม่กี่ปี
แต่ทั้ง 2 โครงการมีลักษณะการดำเนินธุรกิจเฉพาะที่ชัดเจนและมีเป้าหมายร่วมกันคือ การมองหาโอกาสการเติบโตทั้งในรูปแบบของการเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพ หรือการวิเคราะห์ตลาดและหาแนวโน้มในการเติบโตในอนาคตเพื่อนำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมให้ธุรกิจ มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น
ก็น่าติดตามกันต่อไปว่าในระยะยาว ทั้ง 2 โครงการของ ปตท. จะสร้าง New S-Curve อะไรให้กับบริษัทได้บ้าง
แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนตอนนี้ คือ ปตท. พร้อมแล้วที่จะรุกเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่
ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่เพียงคำว่าธุรกิจพลังงาน อีกต่อไป
corporate venture capital 在 Anchor Taiwan Facebook 的精選貼文
【 Women in Venture 12! | #創投女力 #從零售龍頭到矽谷創投】
.
Check out the fireside chat between Grace Chou from Felicis Ventures and Elisa Chiu, our founder and CEO. You should not miss this if you want to know:
.
▧ From Taiwan to “10 Women to Watch in VC” according to Wall Street Journal
▧ Future of Retail - lessons from Walmart’s corporate venturing
▧ “Investing with Empathy” - core values and thesis as an investor at Felicis Ventures
.
Another big shoutout for the supporter for this series, SEMI 國際半導體產業協會, whose Global CMO and President Terry Tsao did a lightening round with us in the beginning.
.
It brought huge smiles to our faces to gather brilliant investors from Cherubic Ventures 心元資本, Headline Asia, SparkLabs Taipei, UDN 聯合報系企業創投, Ace Capital, Sabrina CVC, Cathay Ventures 國泰創投, SOSV MOX, #TSRC, #PCHome, #Eslite 誠品 and more!
.
Check it out. Until next time! 🙂
-
#anchortaiwan #womeninventure #womeninvestors #womensupportingwomen #womeninbusiness #SEMITaiwan
-
🎥 Watch on YouTube: https://youtu.be/dn4lKN8JS6M
corporate venture capital 在 經濟部中小企業處 Facebook 的最佳解答
【財經補給讚】FINDIT 觀點:十張圖表揭密疫情下2020年全球企業創投的投資脈動
🔹近年新創生態環境愈來愈趨成熟,一些大型企業也會成立集團內的投資部門或企業創投(Corporate Venture Capital, CVC)投資目標新創。
🔹本文引用CB Insights的數據,解析2020年Covid-19😷疫情下,全球企業創投投資走向、投資熱點地區、投資階段、聚焦的領域等構面,讓新創界的朋友日後評估投資人時參考。
全文連結👉https://bit.ly/3u18v0v
--
FINDIT View:10 Charts that Explain Corporate Venture Capital Trends During the COVID-19 Pandemic
🔹In recent years, the ecosystem of startups has become more and more mature. Some large companies will also set up investment departments within the group or Corporate Venture Capital (CVC) to invest in startups.
🔹This article refers to the data from CB Insights to analyze the global corporate venture capital investment trends, investment hotspots, investment stages, and focus areas under the Covid-19 pandemic in 2020.
Read More👉https://bit.ly/3u18v0v
corporate venture capital 在 Making Sense of Corporate Venture Capital 的相關結果
A corporate VC investment is defined by two characteristics: its objective and the degree to which the operations of the investing company and the start-up are ... ... <看更多>
corporate venture capital 在 How Corporate Venture Capital Works 的相關結果
Corporate venturing – also known as corporate venture capital – is the practice of directly investing corporate funds into external startup ... ... <看更多>
corporate venture capital 在 Corporate venture capital - Wikipedia 的相關結果
Corporate venture capital (CVC) is the investment of corporate funds directly in external startup companies. CVC is defined by the Business Dictionary as ... ... <看更多>