Def Jam Video Game ส่วนผสมสุดแปลกระหว่าง ฮิปฮอป และ มวยปล้ำ
.
เมื่อเราพูดถึงฮิปฮอป หลายคนน่าจะนึกถึงบทเพลง สไตล์การแต่งตัว วิถีชีวิตการอยู่เป็นหมู่คณะ หรือชุมชน และการทำกราฟิตี้ตามตึกรามบ้านช่อง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะฮิปฮอปเป็นคัลเจอร์ที่มีความกว้าง ฉะนั้นการที่เราจะนึกถึงหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน คงไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไรนัก
.
แต่ใครจะไปนึกว่าฮิปฮอป เคยแทรกตัวเข้ามาอยู่ในวงการเกมด้วยฐานะ “เกมต่อสู้” ซึ่งถ้าเรามาลองคิดกันดี ๆ มันแทบจะไม่ใช่เนื้อหาหลักของวัฒนธรรมเลย แน่นอนว่าเราอาจจะเห็นการนองเลือดในวงการนี้บ่อย ๆ แต่เชื่อเถอะว่ามันไม่ใช่ความปกติที่ยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาได้
.
เกมต่อสู้ที่ว่า มันคือ Def Jam Video Game เกมต่อสู้สามภาคที่ EA และ AKI Corporation พัฒนาร่วมกันในฐานะของ “เกมมวยปล้ำ” ที่ใช้สัญญาจาก Def Jam Recordings ค่ายเพลงฮิปฮอปที่โด่งดังอย่างมากในยุคนั้น แต่ไม่รู้ว่าอะไรดลใจให้ EA เลือกที่จะทำเกมต่อสู้ แทนเกมแนวดนตรีที่น่าจะสื่อถึงความเป็นฮิปฮอปมากกว่า
.
พวกเขาก็เลยส่งงานให้ AKI Corporation ยอดฝีมือด้านการทำเกมมวยปล้ำ รับหน้าที่ในการพัฒนาตัวเกม ซึ่งตรงนี้ถ้าใครชอบเล่นเกมมวยปล้ำบ่อย ๆ ก็น่าจะรู้ว่าบริษัทนี้เชี่ยวชาญในด้านเกมมวยปล้ำมาก ๆ โดยเฉพาะ WWF No Mercy ที่ขึ้นหิ้งไปเรียบร้อยในสายตาของนักเล่นเกม
.
งานนี้ EA ก็เลยเหมือนถูกหวย เพราะ AKI พร้อมแทบทุกอย่าง ทั้งในส่วนของ Engine ที่เอาของ Virtual Pro Wrestling มาใช้เลย แค่ปรับแต่งปุ่มบางส่วนเท่านั้น เนื้อหาก็เอาของ WWF No Mercy มาดัดแปลง กลายเป็น Def Jam Vendetta ภาคแรกของซีรีส์ ที่ทำออกมาได้ดีมาก ๆ เพราะผู้พัฒนาใช้วิธีคัดสิ่งที่ดีจากเกมรุ่นพี่มาใส่โดยเฉพาะ
.
ธีมเกมก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้เกมได้รับความนิยม ใครจะไปคิดว่าระหว่างเราฟังซีดีของ Ghostface Killah หรือ DMX เราสามารถเอาเขาทั้งคู่มาต่อสู้กันในสังเวียนมวยปล้ำไปด้วยได้ แค่คิดก็สนุกแล้ว ยังไม่รวมสังเวียนแบบใต้ดินที่เห็นแล้วจินตนาการไปถึงสงครามระหว่างแก๊งอีก ทำให้ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่สนใจฮิปฮอปมาก่อน คุณก็สนุกกับ Def Jam Vendetta ได้ไม่ยาก
.
เพราะประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ทั้งในด้านยอดขายและเสียงวิจารณ์ EA ก็เลยขนภาคต่อออกมาในชื่อ Def Jam: Fight for NY เรื่องราวในภาคนี้ต่อเนื่องจากภาคแรกทันทีทันใด รวมถึงระบบก็ต่อเนื่องมาจากภาคแรกด้วย อีกทั้งยังเสริมความเป็นออริจินัลของตัวเองเข้าไปอีก ทำให้ภาคนี้ถือเป็น “ยุคทอง” ของซีรีส์นี้อย่างแท้จริง
.
จากเดิมที่เล่นหมากง่าย ๆ ในการใช้ข้อดีของเกมก่อนหน้ามาตัด ๆ รวมกัน ในภาคนี้มีความเป็นตัวเองมากขึ้น มีการเพิ่มสไตล์การต่อสู้ใหม่ ๆ ไม่ใช่เพียงแค่มวยปล้ำ มีการเปลี่ยนสังเวียนจากผืนผ้าใบที่มีความเป็นทางการ กลายมาเป็นการต่อสู้ตามมุม ตรอก ซอกซอย ของเมืองมากกว่า
.
ณ เวลานี้ถ้าจะให้ตัดสิน Def Jam: Fight for NY ไม่ใช่เกมมวยปล้ำอีกแล้ว แต่กลายมาเป็นเกมต่อสู้ ที่มีกลิ่นอายของมวยปล้ำมากกว่า อีกทั้งยังให้อารมณ์ของความเป็นฮิปฮอปมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ชาวแก๊งมากหน้าหลายตา หรือแม้กระทั่งระบบโมเมนตั้มจากเครื่องประดับ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา มันคือการตีความวัฒนธรรมฮิปฮอป ผสานรวมเข้าไปในเกมต่อสู้อย่างแยบยล
.
ด้วยความยอดเยี่ยมของตัวเกมในภาคแรก ผสานกับการเดินหมากที่ “ไม่พลาดเลย” ของตัวเกมภาคที่สอง ทำให้คำวิจารณ์ของ Def Jam: Fight for NY เรียกได้ว่าถล่มทลาย หลายสื่อหลายสำนักให้คะแนนเต็ม-เกือบเต็ม คว้ารางวัลเกมที่ดีที่สุดของเครื่อง GameCube และรางวัลรองชนะเลิศเกมต่อสู้ที่ดีที่สุด ในปี 2004
.
เรื่องราวจะจบลงอย่าง Happy Ending ตรงนี้ทันที หากไม่มีการพัฒนาซีรีส์นี้ต่อ แต่จะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อเกมสองภาคแรกประสบความสำเร็จมากขนาดนั้น แม้ AKI Corporation จะไม่เอาด้วยแล้ว แต่ EA รู้สึกว่าพวกเขาเข้าใจมากพอที่จะทำภาคต่อของซีรีส์นี้ออกมา
.
โปรเจกต์ Def Jam: Icon จึงเริ่มต้นขึ้นโดยฝีมือของ EA Chicago ซึ่งในขณะนั้นก็พัฒนาเกมกีฬาชกมวยอยู่แล้ว และได้ Kudo Tsunoda มาอำนวยการสร้างให้ ซึ่งในการสัมภาษณ์หลาย ๆ ที่ ดูเหมือนเจ้าตัวจะไม่ค่อยชอบการผูกติด “มวยปล้ำ” และ “ฮิปฮอป” เข้าด้วยกันสักเท่าไหร่
.
ฉะนั้น Def Jam: Icon จึงออกแบบมาโดยคิดถึงความเป็นคัลเจอร์ของสังคมฮิปฮอปเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีอีกแล้วความดิบเถื่อนแบบสองภาคก่อนหน้า เปลี่ยนเป็นการต่อสู้แบบสังเวียนมวยภายใต้ฉากของวงการเพลงแรป
.
แม้ว่าเกมจะมีไอเดียที่ดีในการผูกติดเรื่องเพลง เข้ากับการต่อสู้ เช่น การพยายามทำให้ BGM เล่นจังหวะเดียวกับการชก ให้เสมือนว่าเราออกหมัดตรงกับบีท ซึ่งก็เป็นการตีความวัฒนธรรมฮิปฮอปที่ดี แต่ถ้าถามว่ามันสนุกไหมในฐานะของเกม ต้องบอกตามตรงว่ายังค่อนข้างห่างไกล
.
และด้วยความพยายามจะล้ำยุคของเกม ทำให้เสียงวิจารณ์ออกมาค่อนข้างแตก ฝั่งหนึ่งบอกว่าการแสดงผลระหว่างการต่อสู้ และเพลง คือจุดเด่นสำคัญที่ดีมากของภาคนี้ แต่อีกฝั่งก็บอกว่ามันไม่สนุกเอาเสียเลย เพราะกลไกที่มากมายแถมยังเข้าใจยาก ทำให้เหนื่อยที่จะเล่น
.
ปัจจุบันซีรีส์นี้ไม่ได้ถูกสานต่อตั้งแต่ปี 2007 เพราะเรื่องสัญญาที่น่าจะเซ็นกันไว้เท่านี้ ในขณะที่ AKI Corporation เปลี่ยนชื่อเป็น syn Sophia และมูฟออนไปทำเกมดนตรี เกมไอดอล เกมสาวน้อย ทิ้งความเถื่อนไว้ข้างหลัง ส่วน EA Chicago ก็ถูกยุบไปในปีเดียวกัน ถือว่าปิดตำนานซีรีส์มวยปล้ำฮิปฮอปนี้แบบเศร้า ๆ แต่ไม่มีอะไรค้างคา
def jam icon 在 Reaz:on /reason/ Facebook 的精選貼文
又是一個嘻哈與電音交會的好例子
Young Jeezy 的新歌 F.A.M.E.
當中蘊藏了一首令人為之驚艷的電音
大家猜得出是哪一首麼?猜對的
沒~有~獎~~~啾咪!❤
我個人蠻討厭 T.I. 不過倒不是因為他的歌不好聽
而是因為… 在 Def Jam: Icon 裡面都被他巴假的… "囧rz
def jam icon 在 Def jam icon game - Pinterest 的推薦與評價
Def jam icon game Fighting Games, Couple Photos, Couples, Fictional Characters, Inspiration. ridgewalker316. Kyle PRYME chea. 12 followers. ... <看更多>