กรณีศึกษา BBIK กับการเป็น IPO คอนซัลต์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันตัวแรกของไทย
Bluebik x ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตยุคนี้คืออะไร
หนึ่งคำตอบของใครหลายคนก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัล
ปัจจุบันคนไทย 70% ของประเทศกำลังใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเกือบ 9 ชั่วโมงต่อวัน
สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
ผลที่ตามมาคือ ฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เรียกว่า Big Data
รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายอุตสาหกรรมต่างต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อตามทันโลกดิจิทัล
เรื่องนี้กำลังเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล
หนึ่งในนั้นคือ Bluebik องค์กรเล็ก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันได้ และผลักดันให้เกิดการเติบโตในระยะยาวได้
โดยล่าสุด Bluebik กำลังจะ IPO ในชื่อ BBIK (อ่านว่า บี-บิก) ในตลาดหลักทรัพย์ MAI
ซึ่งจะกลายเป็น บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกด้วย
ความน่าสนใจของธุรกิจนี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Digital Transformation เป็นอีกหนึ่งคำคุ้นหูในช่วงเวลานี้
ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบพลิกโฉมด้วยเทคโนโลยี เพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัล
หลายองค์กรมักจะจ้างที่ปรึกษาหรือ Consulting Firm เข้ามาช่วยดูแล
ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- ที่ปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ในระดับผู้บริหารหรือ C-Level
ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ปรึกษามีชื่อเสียงระดับโลก เช่น McKinsey, BCG
มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง เน้นบริการด้านกลยุทธ์ แต่อาจจะขาดการให้คำปรึกษาด้านการดำเนินการ
- ที่ปรึกษาด้านการดำเนินการ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจสัญชาติไทย
ที่มีความเชี่ยวชาญในงานระบบเฉพาะด้านตามความต้องการของลูกค้า
แต่ปัญหาก็คือ มักจะขาดความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์
สังเกตไหมว่าตลาด Consulting Firm กำลังมีช่องว่างที่น่าสนใจเกิดขึ้น
และนั่นจึงเป็นที่มาของ Bluebik หรือก็คือ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ครบวงจร ที่มีบริการ 5 ด้าน ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำเรียกว่า End-to-End Consulting Firm เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
แล้วบริการ 5 ด้านแบบ End-to-End Consulting Firm ของ Bluebik น่าสนใจอย่างไร ?
1. ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ หรือ Management Consulting
เช่น กำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ, ค้นหาปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจ, กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม
2. ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการเชิงยุทธศาสตร์ หรือ Strategic PMO
เช่น บริหารโครงการขนาดใหญ่, วางโครงสร้างระบบไอทีภายในองค์กร
3. ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี หรือ Digital Excellence and Delivery
เช่น การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งานและส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ (UX/UI) บนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
4. ที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ Big Data & Advanced Analytics เช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย AI
5. ให้บริการทรัพยากรบุคคลชั่วคราวด้านไอที หรือ IT Staff Augmentation เช่น พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอย่างโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
พูดง่าย ๆ ว่า Bluebik มีบริการครบถ้วนที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่โลกดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ
สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพตัวจริงในวงการที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation นั่นเอง
ที่สำคัญไม่เพียงจะมี “รูปแบบบริการ” ครบถ้วนทุกขั้นตอนตอบโจทย์ยุค Digital Economy
แต่ Bluebik ยังมี “บุคลากรทำงาน” ที่เป็นตัวจริงในวงการธุรกิจ อีกด้วย
เราจึงเห็น “บอร์ดบริหาร” ล้วนเป็นแนวหน้าหลากหลายธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย เช่น
- คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทในเครือ SCB 10X
- คุณครรชิต บุนะจินดา ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เซ็นทรัล, โรบินสัน
- คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจสายงานดิจิทัลทีวีชั้นนำ เวิร์คพอยท์
- คุณวศิษฐ์ กาญจนหัตถกิจ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ศรีสวัสดิ์
- คุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสื่อมากกว่า 20 ปี
รวมทั้ง “ทีมผู้บริหารและพนักงาน” ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง อายุน้อย แต่มากประสบการณ์
จากธุรกิจที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกกว่า 100 คนมารวมกัน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจให้กับลูกค้าได้
จึงไม่แปลกใจที่กลุ่มลูกค้า Bluebik ล้วนเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
โดยล่าสุด Bluebik ยังได้ร่วมทุนกับ OR ในเครือธุรกิจ ปตท.
จัดตั้งธุรกิจ ORBIT Digital ที่มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนหุ้น Bluebik : OR เท่ากับ 60:40
เป้าหมายก็เพื่อก้าวทันโลก ต่อยอดธุรกิจที่จะสร้างรายได้เติบโตในยุค Digital Economy อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า Bluebik เป็นอีกหนึ่งดวงดาวจรัสแสง
ที่ครบถ้วนด้วยบริการเต็มรูปแบบ พร้อมด้วยบุคลากรทำงานคุณภาพ
และกำลังเดินเคียงข้างองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยสู่ Digital Transformation
แล้วผลประกอบการ Bluebik เป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้รวม 133 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 185 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้รวม 201 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44 ล้านบาท
ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขายและบริการ 126.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 30.06 ล้านบาท คิดเป็นอัตราทำกำไรสุทธิที่ 23.67%
จะเห็นได้ว่า Bluebik มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีงานในมือ (Backlog) 161 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้รายได้ภายใน 1-2 ปีนี้
ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมรายได้ที่จะมาจาก ORBIT Digital จากการร่วมมือกับ OR อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังเดินทางเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ
รู้หรือไม่ว่า ตลาด Digital Transformation ในประเทศไทยปี 2564
ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 280,000 ล้านบาท และจะขยายตัวเป็น 442,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า
ภายใต้เทรนด์ Digital Transformation ที่กำลังเปลี่ยนโลกนี้เอง
เราจะได้เห็น Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกของประเทศไทย จะนำพาธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยจุดเด่นด้านบริการ End-to-End Consulting Firm และทีมบุคลากรคุณภาพระดับผู้บริหาร และระดับบุคลากรทำงาน
ซึ่งโอกาสเติบโตของ Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่กำลังจะ IPO ในครั้งนี้ อาจจะกลายมาเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ ในตลาด Consulting Firm ระดับโลก ด้าน Digital Transformation ก็เป็นได้..
คำเตือน: บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้แต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
Reference
- บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過25萬的網紅iT24Hrs,也在其Youtube影片中提到,AI University หนึ่งในแผนงานของ depa ในปี 2564 นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแผนงาน ไม่ว่าจะเป็น คูปองดิจิทัล Drone University Smart City และอื่นๆอีกมากมายที่จ...
「digital transformation คือ」的推薦目錄:
- 關於digital transformation คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於digital transformation คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於digital transformation คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於digital transformation คือ 在 iT24Hrs Youtube 的最佳解答
- 關於digital transformation คือ 在 iT24Hrs Youtube 的最讚貼文
- 關於digital transformation คือ 在 Human & Tech by May Youtube 的最佳貼文
- 關於digital transformation คือ 在 Digital Transformation คืออะไร? - Facebook 的評價
- 關於digital transformation คือ 在 ยังติดกับดักการทำ Digital Transformation อยู่หรือเปล่า? - YouTube 的評價
digital transformation คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รีแบรนด์ “ฟูจิ ซีร็อกซ์” เป็น “ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น” ก้าวเข้าสู่ผู้นำนวัตกรรมยุคดิจิทัล
ลงทุนแมน x ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ฟูจิ ซีร็อกซ์ ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น” ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญสำหรับบริษัท FUJIFILM Business Innovation เลยทีเดียว เพราะมีการผลักดันผลิตภัณฑ์สำหรับการช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับตัวในการทำ Digital Transformation ได้มากขึ้น
แล้ว FUJIFILM Business Innovation มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมวันนี้ถึงวันที่ต้องรีแบรนด์ และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะเข้ามายกระดับธุรกิจให้องค์กรต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
ก่อนหน้านี้ FUJIFILM ได้กำเนิด “ฟูจิ ซีร็อกซ์” ในปี 1962 ซึ่งเป็นการก่อตั้งบริษัทร่วมทุนแบบ 50:50 ระหว่าง บริษัท ฟูจิ โฟโต้ ฟิล์ม และ Xerox เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในสำนักงาน นั่นก็คือเทคโนโลยี Xerography สำหรับทำสำเนาข้อมูล ลงบนกระดาษ
จากนั้นก็เริ่มขยายธุรกิจไปในประเทศต่าง ๆ โดยมีทั้งการร่วมทุนหรือเป็นร้านตัวแทนจำหน่ายไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งในช่วงปี 1975-2000 ถือเป็นช่วงที่ ฟูจิ ซีร็อกซ์ ทำผลงานที่สร้างชื่อให้กับแบรนด์ได้ดีเลยทีเดียว เช่น จำหน่าย “ฟูจิ ซีร็อกซ์ 6500” ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารสีเครื่องแรก ในวงการอุตสาหกรรม สร้างระบบ “ของเสียเป็นศูนย์” และทำให้มีอัตราการรีไซเคิลเป็น 99.97% ได้สำเร็จ
จากนั้นก็มีการขยายฐานการผลิตขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี 2001 อัตราส่วนการลงทุนระหว่างสองบริษัทก็เปลี่ยนไป โดยบริษัท FUJIFILM มีเปอร์เซ็นต์การลงทุนอยู่ที่ 75% และ Xerox อยู่ที่ 25%
และในปี 2019 บริษัท FUJIFILM ก็ได้ซื้อหุ้น 25% จาก Xerox ทั้งหมด ทำให้ในตอนนั้น ฟูจิ ซีร็อกซ์ กลายเป็นบริษัทย่อยของ FUJIFILM โดยสมบูรณ์
ต่อมาในปี 2020 ทาง FUJIFILM ก็ได้มีการกำหนดการยุติสัญญากับ Xerox โดยวันหมดสัญญาคือวันที่ 31 มีนาคม 2021 ที่ผ่านมา ทำให้ในปี 2021 นี้ คือปีที่ได้กำเนิดชื่อแบรนด์ใหม่ นั่นก็คือ “ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น”
แล้วการปรับเปลี่ยนแบรนด์ครั้งนี้ มีอะไรที่น่าสนใจ และสร้างความคุ้มค่าให้กับลูกค้าอย่างไรบ้าง ?
การปรับเปลี่ยนแบรนด์ครั้งนี้เป็นการดึงจุดแข็งด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของทาง FUJIFILM Group ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามานานกว่า 80 ปี และทำให้ FUJIFILM Business Innovation สามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีมากยิ่งขึ้น
ซึ่งทางลูกค้าของ FUJIFILM ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จะได้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการทำงานอย่างครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้ประหยัดเวลาและได้ผลลัพธ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก FUJIFILM Group มีหลากหลายธุรกิจย่อย ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้แบรนด์มีเครื่องมือในการแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้หลากหลาย และเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นด้วย
แม้ว่าข้อตกลงความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีกับ Xerox จะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม แต่สำหรับลูกค้าเดิม เรื่องของสัญญาก็จะยังคงเป็นไปตามเดิม แต่ทาง FUJIFILM Business Innovation จะยกระดับการบริการให้ดีขึ้นกว่าเดิม ตั้งแต่การพบลูกค้าแบบออนไลน์ ไปจนถึงพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับตรวจสอบการทำงานของช่าง หรือสถานะการแจ้งซ่อม
โดย FUJIFILM ยังคงมีธุรกิจย่อย ดังนี้
- ธุรกิจด้านสุขภาพและวัสดุ (Healthcare & Material Solution)
ประกอบด้วย ธุรกิจการวินิจฉัยและการรักษาโรค เครื่องสำอาง ฟิล์มชนิดพิเศษ
- ธุรกิจด้านการถ่ายภาพ (Imaging Solution)
ซึ่งประกอบด้วย สินค้าและบริการสำหรับการถ่ายภาพ
- นวัตกรรมทางธุรกิจ (Document Solution)
ประกอบด้วย การจำหน่ายและบริการเครื่องพิมพ์อเนกประสงค์สำหรับสำนักงาน และสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์, ธุรกิจโซลูชันและบริการงานเอกสารแบบครบวงจร
แล้วธุรกิจในส่วนไหนของ FUJIFILM Business Innovation ที่เข้ามายกระดับธุรกิจและองค์กรของลูกค้า ?
ธุรกิจในฝั่งของนวัตกรรมทางธุรกิจ (Document Solution) นี้ จะเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นกับองค์กร เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ จะออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหา ช่วยลดต้นทุน และสร้างการเติบโตในด้านธุรกิจของลูกค้าทุก ๆ ด้าน
ตัวอย่างเช่น
- FUJIFILM Business Innovation พัฒนาเครื่องโปรดักชันและเครื่องมัลติฟังก์ชัน ที่มีครบทุกฟังก์ชันในเครื่องเดียว จนสามารถครองอันดับ 1 ของตลาด และยังมีเครื่องพิมพ์ดิจิทัลและโซลูชันการทำงานสิ่งพิมพ์ ทั้งการพิมพ์งาน สําเนา สแกน และแฟกซ์ พร้อมมอบบริการจัดการเอกสารที่สมบูรณ์แบบ เมื่อใช้คู่กับโซลูชัน และระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- FUJIFILM Business Innovation พัฒนาระบบ RPA (Robotic Processing Automation) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีความแม่นยําและรวดเร็วในการจัดการทํางานเอกสารที่มีจํานวนมาก โดยระบบนี้จะมีการจําลองการทํางานของมนุษย์ผ่านทางซอฟต์แวร์อินเทอร์เฟซ เพื่อช่วยองค์กรลดต้นทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์
- FUJIFILM Business Innovation ยังพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยลดขั้นตอนในการจัดเตรียมเอกสารและลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง อย่างระบบ e-Tax Solution คือ บริการให้คำปรึกษาการออกใบกํากับภาษี ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรได้อัตโนมัติ
- Document Management Service ระบบการจัดเก็บเอกสารรูปแบบดิจิทัล
นั่นก็คือ DocuShare และ DocuWorks ซึ่งเป็นโซลูชันที่ช่วยเปลี่ยนเอกสารจากกระดาษ มาเป็นไฟล์ดิจิทัล และสามารถรวบรวมข้อมูลเอกสาร การแก้ไขเอกสาร และอนุมัติงานได้ด้วยระบบ E-Signature สามารถทํางานได้ทุกที่ทุกเวลา เป็นโซลูชันที่เหมาะกับการทำงานทั้งในออฟฟิศและทำงานจากระยะไกล หรือ Work from Home
- All-in-One Workplace Platform คือ ระบบ Cloud Service ของ FUJIFILM Business Innovation โดยพัฒนามาเพื่อช่วยในการอนุมัติเอกสารได้ทุกที่ สามารถอัปเดตเอกสารได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชันที่อยู่ใน Cloud นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบประวัติของผู้อัปเดตเอกสารได้แบบเรียลไทม์เช่นกัน
ทุกบริการของ FUJIFILM Business Innovation ในฝั่ง Document Solution จะเข้ามาช่วยลดต้นทุนสำคัญของทุกองค์กร โดยเฉพาะต้นทุนด้านเวลา
เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ นั้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการทำ Digital Transformation จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าหากองค์กรไม่สามารถลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ในการทำงานออกไปได้
สรุปง่าย ๆ ก็คือ การรีแบรนด์ครั้งใหม่นี้ FUJIFILM Business Innovation นั้นมาพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้ตอบโจทย์ความคุ้มค่า ในทุกด้านของการทํางาน
พออ่านมาถึงตรงนี้ เราคงจะเห็นแล้วว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรับกับกระแสดิจิทัล และการรีแบรนด์เป็นชื่อ “ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น” ก็คงเป็นการประกาศชัดแล้วว่า FUJIFILM Business Innovation กำลังเอาจริงกับนวัตกรรมเรื่องการทำงาน ในยุคอนาคต..
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www-fbth.fujifilm.com
LINE Official: @fbth และ Facebook Page: Fujifilm BI Thailand
digital transformation คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
เมื่อโลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แล้ว CEO ของ AP THAILAND มีแนวคิดอย่างไร ? - ลงทุนแมน
“ต่อให้โลกกลับคืนสู่ปกติ แต่ทุกอย่างจะไม่มีทางกลับไปเหมือนเดิม
ใครที่ก้าวตามไม่ทัน ก็คงไม่สามารถอยู่รอดได้”
เมื่อไม่กี่วันก่อน ลงทุนแมน มีโอกาสได้ฟัง คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน CEO AP THAILAND
พูดถึงผลประกอบการของบริษัทที่เติบโต และแผนธุรกิจ ในงานแถลงข่าวประจำปีของบริษัท
ในมุมของ ลงทุนแมน อาจไม่ได้สนใจเรื่องนี้เท่าไรนัก
แต่กำลังสนใจ สมมติฐานของคุณอนุพงษ์ ที่ว่า หากอนาคตอันใกล้โควิด 19 สูญพันธุ์ไปจากโลกใบนี้
โลกที่ไม่เหมือนเดิมจะมีหน้าตาเป็นแบบไหน
แล้วตัวเราจนถึงบริษัทต่าง ๆ จะต้องทำอย่างไร ให้อยู่รอดและเติบโต
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
คุณอนุพงษ์ เริ่มต้นด้วยข้อมูลที่น่าสนใจเลยทีเดียว
โดยหยิบข้อมูลจาก McKinsey บริษัทที่ปรึกษาด้านบริหารชั้นนำของโลก
ชี้ให้เห็นภาพรวมปัจจุบันร้านค้าปลีกในสหรัฐฯ ที่ช่องทาง E-Commerce คิดเป็น 33% จากยอดขายทั้งหมด
ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าจะเกิดวิกฤติโควิด 19 ได้คาดการณ์ไว้ว่าอย่างต่ำ ๆ ต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี
กว่า E-Commerce จะมีสัดส่วน 24% จากยอดขายทั้งหมด
แต่ภายในปีเดียวตัวเลขนี้ถูกแซงหน้าเป็นที่เรียบร้อย
ส่วนผลสำรวจ We Are Social พบคนไทยใช้โมบายแบงกิ้งติดอันดับ 1 ของโลกคิดเป็น 68.1%
ข้อมูลเหล่านี้กำลังบอกเราว่า โควิด 19 เสมือนสารกระตุ้นที่เร่งพฤติกรรมมนุษย์ให้เปลี่ยนรวดเร็ว
เสมือนเรานั่ง ไทม์แมชชีน เดินทางข้ามเวลาไปอนาคต
ที่น่าสนใจความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มันก็เหมือนโลกใบนี้ได้ตั้งกติกาขึ้นมาใหม่หมด
เมื่อ เศรษฐกิจ, สังคม จนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ อาจไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิมอีกต่อไป
โดยคุณอนุพงษ์ ได้เปรียบบริษัท AP THAILAND ของตัวเอง
เป็นเรือลำหนึ่งที่อยู่ในวงล้อมมรสุมแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
แล้วถ้าจะผ่านมรสุมลูกใหญ่นี้ไปให้ได้ เรือลำนี้จะต้องแล่นไปในทิศทางที่ถูกต้อง
พร้อมกับมีอุปกรณ์เครื่องมือที่จะนำพาไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
และที่สำคัญสุดคือคนในเรือทุกคน ต้องร่วมมือกันและใช้อุปกรณ์ที่มี ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คำถามก็คือแล้วเรือลำใหญ่อย่าง AP ที่มีลูกเรือกว่า 2,000 ชีวิต
จะแล่นผ่านมรสุมนี้เพื่อไปให้ถึงจุดหมายที่วางไว้ได้อย่างไร
คุณอนุพงษ์ อธิบายแนวคิดตัวเองแบบเข้าใจง่าย ๆ
วันนี้หากบริษัทจะเป็น “ผู้กำหนดสิ่งที่จะทำให้ลูกค้า” อาจเป็นแนวคิดที่ล้าสมัยไปแล้ว
แต่ต้องผลิตสินค้าที่เกิดจาก “มุมมองของลูกค้า” ต่างหาก
ก็เลยเป็นที่มาของแนวคิดที่เราได้ยินบ่อย ๆ “Empower Living”
คือ การสร้างสินค้าและบริการเพื่อให้ลูกค้าใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามแบบฉบับตัวเอง
โดยแนวคิดนี้เป็นเสมือนเข็มทิศที่จะพาเรือลำใหญ่อย่าง AP ไปให้ถึงจุดหมาย
อย่างไรก็ตามเรือลำนี้จะอยู่รอดหรืออัปปางลงกลางทาง
คุณอนุพงษ์ รู้ดีว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเขาเพียงคนเดียว แต่มันหมายถึงพนักงานทุกคน
เลยทำให้เขาใส่ใจให้ความสำคัญ กับการอัปเกรดทัศนคติพนักงานของตัวเองใหม่หมด
เพื่อสร้างแนวคิด “Empower Living” อย่างสมบูรณ์แบบให้องค์กร
ก็เลยเป็นที่มาของกลยุทธ์การสร้างคนในแบบฉบับของ AP THAILAND
ที่เชื่อว่าพนักงานทุกคนสามารถเป็นผู้นำที่มีอิสระทางความคิด
อธิบายสั้น ๆ คือ พนักงานทุกคนสามารถตัดสินใจในการทำงานได้ทันที
โดยให้มองไปที่ "ความต้องการของลูกค้า" มากกว่า "ข้อจำกัดของบริษัท"
ทำให้ดีลงานในหลาย ๆ อย่างไม่จำเป็นต้องรอการตัดสินใจจากหัวหน้าแผนก
พนักงานชั้นปฏิบัติงานก็สามารถตัดสินใจเองได้ทันที
ผลลัพธ์คือ AP สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เร็วกว่าบริษัทคู่แข่ง
ที่สำคัญ AP มองว่าพนักงานทุกคนต้องมี Outward Mindset
ด้วยการมองว่าเพื่อนร่วมงานและลูกค้าต้องการอะไร ไม่ได้มองแค่เป้าหมายตัวเอง
ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้พนักงานทุกคนหล่อหลอมหัวใจการทำงานเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
เรื่องต่อมาคือ Design Thinking ต้องบอกว่าเป็นแนวคิดที่ปฏิวัติวงการอสังหาฯ เลยทีเดียว
เมื่อในอดีตการออกแบบที่อยู่อาศัยมักอยู่ในกรอบเดิม ๆ คือ “ฝันถึงสิ่งใหม่ ที่ยิ่งใหญ่”
แปลตรงตัวก็คือ การนำเสนอดีไซน์ใหม่ ๆ ให้ลูกค้ารู้สึกว่ามันยิ่งใหญ่ตลอดเวลา
แต่อาจลืมคิดไปว่าจริง ๆ แล้วเจ้าของที่อยู่อาศัยก็จะมี “ความต้องการที่ซ่อนอยู่”
โดยอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ทำให้หน้าที่ของพนักงาน AP ก็คือคนหาความต้องการนี้ให้เจอ
จากนั้นก็ออกแบบที่อยู่อาศัยให้ลูกค้ารู้สึกว่า “บ้านแบบนี้แหละ ที่ฉันต้องการ”
อีกเรื่องก็คือการลงทุนในเทคโนโลยี
ในอดีตหลายบริษัทอาจตั้งคำถามว่า “จะลงทุนกับดิจิทัลให้เปลืองเงิน เปลืองเวลาทำไม”
แต่วันนี้ต้องยอมรับว่าเกือบทุกอย่างในชีวิตเรากำลังกลมกลืนกับไปเทคโนโลยี
ยิ่งการระบาดของโควิด 19 ก็เป็นตัวเร่งให้เรื่องนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม
ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดคือ คงไม่มีใครคิดว่าวันนี้
เราจะซื้อบ้านและคอนโดฯ ทางออนไลน์ แต่เรื่องนี้มันเกิดขึ้นจริงแล้ว
เป็นเรื่องที่คุณอนุพงษ์ มองเห็นเทรนด์มานานพอสมควร
เลยทำให้เกิดทีมงาน “Digital Transformation Team” ที่จะทำงานร่วมกับทีม IT เดิม
คิดค้นบริการใหม่ ๆ และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาต่อยอดธุรกิจ
แล้วทั้งหมดนี้คือแนวคิดของคุณอนุพงษ์ ในการนำพาบริษัท AP
ทำธุรกิจบนโลกใบใหม่ ที่ไม่มีทางกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป
แล้วสิ่งที่เราเห็นจากแนวคิดนี้ คือนอกจากให้ความสำคัญกับลูกค้าแล้ว AP ยังให้ความสำคัญกับพนักงาน
เพราะ คุณอนุพงษ์ น่าจะรู้ดีว่า บริษัทจะอยู่รอดและเติบโตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
คงไม่ใช่แค่ตัวเขาเพียงคนเดียว แต่มันคือพนักงานกว่า 2,000 ชีวิตในบริษัท
ที่จะสร้างแนวคิด Empower Living ของเขาเพื่อให้บริษัท AP THAILAND
ยังคงเป็นบริษัทอสังหาฯ ที่ทรงพลังและยั่งยืนตลอดไป...
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
digital transformation คือ 在 iT24Hrs Youtube 的最佳解答
AI University หนึ่งในแผนงานของ depa ในปี 2564 นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแผนงาน ไม่ว่าจะเป็น คูปองดิจิทัล Drone University Smart City และอื่นๆอีกมากมายที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชน
เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกๆการใช้ชีวิตของเรา ฉะนั้นมาดูกันเลยว่า ปี 2564 ประเทศไทยจะขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ไปในทิศทางไหน ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ชุมชน และสร้างระบบนิเวศดิจิทัล
รายการดิจิทัลไทยแลนด์ตอนนี้ ดร. เอิ้น ปานระพี ได้มีโอกาสมาร่วมงาน depa 2021 & beyond ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ก็คือสื่อมวลชนจากหลายสำนัก มาฟังว่า ปี 2564 คนไทยทั้งประเทศ จะได้เห็นอะไรกันบ้าง
ภายในงาน ผศ. ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ได้กล่าวทักทายพร้อมเผย ว่าในปี 2564 depa จะสานต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลด้วยการยกระดับกำลังคนผ่านการให้ความรู้ด้านดิจิทัล บนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งประชาชนไม่ว่าจะรุ่นไหน จะเป็นเยาวชน คนทำงาน ผู้สูงวัย ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส จะได้รับการพัฒนาทักษะดิจิทัลที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพด้วย และยังมีอีกหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับทั้งการเกษตร, อุตสาหกรรม, ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในเมือง, startup, การค้าขาย, การท่องเที่ยว เพื่อการผลักดันให้เศรษฐกิจและชีวิตของเราดีขึ้น รวมถึงจะมีแผนงานทำมในส่วน ของ AI University , Drone University, คูปองดิจิทัล Transformation อีกด้วย
นอกจากนี้ ดร.เอิ้น ยังได้มีโอกาสสัมภาษณ์พูดคุยกับท่านรอง ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ถึงเรื่องแผนงาน คูปองดิทิล Transformation เพื่อให้เข้าถึง Digital Technology ได้ง่ายขึ้น ด้วยการช้อปกับ Technology Provider , AI University , Drone University. ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และ ดร. ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มกลุ่มโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ถึงแผนงานต่างๆที่จะเกิดขึ้นในปี 2564 และเป็นประโยชน์กับประชาชน ทั้งในส่วนของโครงการ Smart City ที่จะขยายไปสู่อีกหลายๆเมืองในประเทศไทย นอกจากนี้ยังจะมีการจัดตั้ง ambassador ขึ้นเพื่อมาเป็นคนกลางที่เชื่อมระหว่างคนที่รู้เทคโนโลยีกับคนที่บริหารเมืองอีกด้วย
ติดตามรายละเอียดกันต่อได้ในรายการ Digital Thailand ตอนนี้เลย
.
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2563 ในรายการ Digital Thailand
ออกอากาศ ทุกวันเสาร์ ทางช่อง 3 กด 33 เวลา 4.40 น.- 5.05 น.
.
ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/it24hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/ it24hrs
IG: panraphee
ติดต่อโฆษณา it24hrs@it24hrs.com โทร 0802345023
digital transformation คือ 在 iT24Hrs Youtube 的最讚貼文
พาชมงาน Digital Thailand Big Bang 2019 กันต่อ!!!
งานนี้มีหุ่นยนต์เดินเต็มงานไปหมดค่ะ ทั้งหุ่ยนต์ต้อนรับ และ หุ่นยนต์ใบ้หวย !! นอกจากนี้ยังเจอโชว์กลางแจ้งแบบพิเศษ คือ โชว์โดรนกู้ชีพ ขนส่งคนได้ มาติดตามกันได้ในคลิปนี้เลย
ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563
สามารถติดตาม รายการไอที 24 ชั่วโมง ทางช่อง 9 MCOT HD (เวลาใหม่) ทุกวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 13.00 น.
ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/iT24Hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/it24hrs
IG: panraphee
ติดต่อโฆษณา it24hrs@it24hrs.com
#iT24Hrs #DigitalThailandBigBang #DTBB2019 #หุ่นยนต์ใบ้หวย #โดรน #5G #อากาศยานไร้คนขับ
digital transformation คือ 在 Human & Tech by May Youtube 的最佳貼文
จะรู้ได้อย่างไรว่าคริปโตเคอเรนซี่มีมูลค่าเท่าไหร่ ในเมื่อเวลาที่เราจ่ายเงินซื้อเหรียญมันไม่ได้หมายความว่าเราจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นของบริษัท
เหรียญของคริปโตมีไว้ใช้หมุนเวียนภายในของระบบเอง ดังนั้นความเข้าใจธุรกิจของคริปโตนั้นๆจึงจำเป็นต่อการประเมินมูลค่า และเป็นหัวใจหลักของการลงทุน
----------------------
สามารถติดตามข่าวสารผ่านทางช่อง facebook ได้ที่ช่อง Human and Tech https://www.facebook.com/HumanAndTechByMay/
รับความรู้ สาระบันเทิงผ่านไลน์ https://line.me/R/ti/p/%40fgk4074r
และชมวิดีโอที่
https://goo.gl/EZvcyV
digital transformation คือ 在 ยังติดกับดักการทำ Digital Transformation อยู่หรือเปล่า? - YouTube 的推薦與評價
Digital Transformation ไม่ใช่แค่เรื่องของการเอาดิจิทัลมาใช้หรือการเอาเทคโนโลยีล้ำๆ มาใส่ในธุรกิจ แต่เป็นเรื่องของการปรับทีมงาน ... ... <看更多>
digital transformation คือ 在 Digital Transformation คืออะไร? - Facebook 的推薦與評價
Digital Transformation คือ “การนำ #เทคโนโลยี เข้ามาปรับใช้ในธุรกิจ” ซึ่งสามารถทำได้ทุกภาคส่วน ทั้งส่วนวางแผนกลยุทธ์ ส่วนปฏิบัติการ ส่วนบริการลูกค้า ฯลฯ เพื่อ ... ... <看更多>