ชอบมากกกกกก 5555 แทนที่จะบอกว่าลูกติดเกม ทะเลาะกับลูก คุยกับเค้าเพื่อหาทางเลือกที่ดี เล่นได้วันละกี่เกม ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง ถามลูกว่าแรงค์เท่าไรแล้ว ดีกว่า
ให้ลูกเล่นเกม ผิดตรงไหน?
เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา หลายคนอาจได้ยินข่าวว่า องค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศให้อาการติดเกม หรือ “Gaming Disorder” เป็น “โรค” หรือเป็นอาการผิดปกติร้ายแรงที่ต้องรักษาโดยด่วนเช่นเดียวกับอาการผิดปกติทางจิตอื่น ๆ และในโซเชียลบ้านเราก็มีหลายเพจที่พูดถึงประเด็นนี้ และมีเสียงจากผู้ปกครองหลายคนที่กลัวว่าลูกหลานจะมีอาการ “ติดเกม” และเริ่มคิดจะห้ามลูก ๆ เล่นเกม
ส่วนตัวแอดมองว่า การให้ลูกเล่นเกม ไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย และมีข้อดีที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป ดังนี้ครับ
1.เกมและอีสปอร์ตสอนให้เด็กไทยเป็น “ประชากรโลก”
หลาย ๆ คนที่เล่นกีฬาดั้งเดิม อาจจะพอรู้ว่า คู่แข่งที่เราต้องเจอในช่วงเริ่มต้นเล่นกีฬาใหม่ ๆ นั้น ส่วนใหญ่จะมีเพียงกลุ่มนักกีฬา “ท้องถิ่น” ที่อยู่ในจังหวัดหรือภูมิภาคเดียวกันเท่านั้น เพราะการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปวัดฝีมือกับทีมคู่แข่งที่อยู่ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ล้วนมีค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่มีปัญญาทำเช่นนั้น
แต่ในโลกออนไลน์ คุณมีโอกาสได้เจอกับผู้เล่นจากทั่วโลก และสามารถแข่งขันและร่วมทีมจากผู้เล่นที่อยู่ห่างไปเป็นหมื่นเป็นพันกิโลเมตรได้ ซึ่ง “ความไร้พรมแดน” นี้ถือเป็นข้อได้เปรียบของเกมและอีสปอร์ตเหนือกีฬาดั้งเดิม เพราะเรามีโอกาสจะแข่งขัน สร้างมิตรภาพ และเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลกจากห้องนั่งเล่นของเราเอง! ซึ่งเมื่อเราได้ศึกษาทัศนคติของเพื่อนออนไลน์หลากหลายเชื้อชาติแล้ว การมองโลกของเราก็จะกว้างขึ้นและไม่อยู่ใน “กะลา” อีกต่อไปครับ
แน่นอนครับว่าสังคมออนไลน์ไม่ได้มีแต่สิ่งดี เพราะยังมีประเด็นการด่าทอ เหยียดเชื้อชาติ และกลั่นแกล้งกันอยู่ด้วย แต่ถ้าพ่อแม่คอยจับตามองการใช้ช่องทางออนไลน์ของลูก และคอยให้คำแนะนำเวลาลูก ๆ เจอสิ่งไม่ดี เกมก็มีศักยภาพที่จะสร้างสังคมของเด็กคนหนึ่งให้กว้างและมีคุณภาพ อย่างที่กิจกรรมกายภาพบางอย่างไม่สามารถทำได้ครับ
2.เกมเป็นงานอดิเรกที่ดีสำหรับเด็กที่มีข้อจำกัดด้านร่างกาย
สำหรับเด็กที่เกิดมาปกติ แอดเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ก็อยากให้ลูก ๆ ทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายเช่น วิ่งเล่น เตะฟุตบอล ว่ายน้ำ
แต่ก็มีเด็กบางคนที่ไม่ได้เกิดมาครบพร้อม แต่มีความพิการทางหูตา หรือแขนขา ซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถทำกิจกรรมเหมือนคนปกติได้ แต่ตราบใดที่เด็กคนนั้นไม่ได้มีความผิดปกติทางสมอง เกมและอีสปอร์ตจะกลายเป็นกิจกรรมทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยฝึกสมอง สร้างความบันเทิง และสร้างสังคมให้เด็กคนนั้นได้ครับ
ในแวดวง Street Fighter V มีผู้เล่นชาวดัทช์ที่ใช้ชื่อในเกมว่า “Sven” ที่เข้าแข่งขันทัวร์นาเมนท์ Street Fighter และสู้กับผู้เล่นปกติได้ทั้ง ๆ ที่เขาตาบอดสนิทตั้งแต่อายุ 5 ขวบ! โดย Sven ให้สัมภาษณ์ว่าเขาใช้วิธีจำเสียงเตะและต่อยของฝั่งตรงข้ามเพื่อกะระยะและจับจังหวะของคู่ต่อสู้ครับ ซึ่งเราสามารถมองได้ว่าเกม Street Fighter V เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้ Sven ก้าวข้ามความพิการของตัวเอง ได้ทำในสิ่งที่เขารัก และทำให้เขาเป็นที่ยอมรับในสังคมได้ครับ
3.ความเป็นเลิศควรฝึกตั้งแต่เยาว์วัย
ในกีฬาดั้งเดิม เราเห็นมาแล้วนักต่อนักว่า นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จเริ่มเล่นกีฬานั้นตั้งแต่ยังเด็กมาก เช่นน้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันหญิงแชมป์โลกคนเดียวของไทย ที่เริ่มเล่นแบดมินตันตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และได้ประมือกับนักกีฬาทีมชาติตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้เธอพัฒนาฝีมือจนคว้าแชมป์โลกด้วยวัยเพียง 18 ปี
ในแวดวงอีสปอร์ตก็เช่นกัน ก็มีผู้เล่นระดับแชมป์โลก Dota 2 อย่าง Suma1L ที่เริ่มเล่นเกมนี้มาตั้งแต่ 7 ขวบ จนก้าวขึ้นมาเป็นแชมป์โลกกับ Evil Geniuses ได้ด้วยวัยเพียง 16 ปี
ถ้าเรามีบุตรหลานที่ฉายแววเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตตั้งแต่เด็ก เราก็ควรเปิดโอกาสให้เด็กคนนั้นได้ฝึกความเก่งกาจต่อใช่หรือไม่?
--------------------------------------------------------------------------------------------------
แน่นอนว่าอีกคำถามที่พ่อแม่อยากรู้คือ “ดูแลยังไงไม่ให้ลูกติดเกม” ซึ่งแอดมีเคล็ด (ไม่) ลับจะแนะนำคือคุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาประเภทเกมที่ลูกเล่นก่อน และควบคุมเวลาตามประเภทของเกมครับ ตัวอย่างเช่น
-เกมประเภท RPG หรือ Adventure ที่เล่นคนเดียว อาจอนุญาตให้ลูกเล่นได้วันละ 1-2 ชั่วโมง และให้ลูกหยุดเล่นเมื่อถึงจุดเซฟ หรือเมื่อเก็บเลเวลได้ถึงจุด ๆ หนึ่ง
-เกมออนไลน์ประเภท MMORPG อาจอนุญาตให้ลูกเล่นได้วันละ 1-2 ชั่วโมงเช่นกัน และให้ลูกหยุดเล่นเมื่อทำภารกิจหรืออีเวนท์กับเพื่อน ๆ ในกลุ่มในกิลด์เสร็จ
-เกมที่เป็นอีสปอร์ตประเภท MOBA และ FPS เช่น LoL , Dota 2 หรือ CS:GO ควรอนุญาตให้ลูกเล่นเป็นจำนวนแมตช์ เพราะแต่ละเกมมีความยาวแมตช์ไม่เท่ากัน เช่นใน LoL เราอาจเล่นได้ประมาณ 2 เกมใน 1 ชั่วโมง แต่ใน Dota 2 1 ชั่วโมงอาจเล่นได้เพียงเกมนิด ๆ หรืออาจยังเล่นไม่จบเกมเลยก็ได้ ดังนั้นในเกมประเภทนี้ เราควรกำหนดเวลาให้ลูกเล่นประมาณ 1-2 ชั่วโมง แต่ยังไงก็ต้องรอให้ลูกเล่นให้จบแต่ละแมตช์ก่อนครับ เพราะถ้าเราออกเกมกลางคันถือเป็นมารยาทที่ไม่ดีเอามาก ๆ ในโลกออนไลน์
และสุดท้าย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ พ่อแม่ควรเฝ้าถามความก้าวหน้าในการเล่นของลูก โดยเฉพาะในเกมที่เป็นอีสปอร์ต คุณพ่อคุณแม่ควรถามลูกตลอดครับว่า “แรงค์เท่าไรแล้ว” เพื่อจะได้ประเมินว่า ควรต่อยอดให้ลูกเราพัฒนาเป็นนักกีฬาอาชีพหรือไม่ หรือควรแนะนำให้ลูกเล่นเกมเพียงเพื่อความบันเทิงครับ
หากแฟนเพจ หรือคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนมีคำถาม หรือข้อเสนอแนะก็แบ่งปันกันได้ในคอมเมนท์นะครับผม Happy Gaming คร้าบ!
CGPepe
#GamingIsNotACrime
ขอบคุณรูปจาก gampmedia.com
「evil geniuses lol」的推薦目錄:
evil geniuses lol 在 Never_loses Facebook 的最佳解答
【今日賽事】
。Riot League Championship Series
00:00 Copenhagen Wolves vs. FnaticRC
01:00 Evil Geniuses vs. Against All Authority
。MLG
02:00 Team Solo Mid vs. CompLexity Gaming
03:00 Team Dignitas vs. Vulcun Command
04:00 Counter Logic Gaming vs. Good Game University
05:00 Curse Gaming vs. Good Game University
06:00 MLG邀請賽 總決賽
詳情請見LOL官網
http://lol.garena.tw/news/news_info.php…
ps抱歉這兩天因為很忙沒PO賽事文~><