สรุปประเด็นจากงาน LiVE Demo Day - โอกาสใหม่ของ SMEs และ Startups บนเส้นทางตลาดทุน
รู้ไหมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี SMEs และ Startups รวมกันแล้วมากกว่า 3 ล้านราย
ก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 13 ล้านคน และสร้างมูลค่าถึง 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทย
ซึ่งนับว่า ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง เป็นกลไกที่สำคัญของเศรษฐกิจประเทศไทย เลยทีเดียว
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจ SMEs และ Startups เหล่านี้ ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอยู่มาก ทำให้ต้องอาศัยการกู้สถาบันการเงินหรือแหล่งเงินนอกระบบที่ให้วงเงินต่ำแต่ดอกเบี้ยสูง ซึ่งส่งผลให้บริษัทกลุ่มนี้เติบโตได้ลำบาก
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้น ให้ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พัฒนา “LiVE Exchange” ซึ่งทำหน้าที่เป็นตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups ที่ระดมทุนในวงกว้าง
และ “LiVE Platform” ที่ทำหน้าที่เป็น Education Platform ให้เหล่าผู้ประกอบการเริ่มต้นเข้ามาศึกษาหาความรู้ด้านธุรกิจและเตรียมความพร้อมในการระดมทุน
โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ธุรกิจ SMEs และ Startups มีช่องทางการระดมทุนใหม่ ผ่านกลไกตลาดทุน และเป็นตัวช่วยในการเตรียมความพร้อมพัฒนาธุรกิจอย่างรอบด้าน ให้กับทั้งผู้ประกอบการ SMEs และ Startups
แล้วรายละเอียดของ “LiVE Exchange” และ “LiVE Platform” เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปจากงาน LiVE Demo Day ให้ฟัง
หลายคนทราบกันดีว่า การที่จะนำบริษัทไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ว่าจะเป็นบนกระดาน SET หรือ mai นั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ใช้ทุนทรัพย์สูง และต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ หลายขั้นตอน
ทำให้การระดมทุนผ่านตลาดทุนนั้นกลายเป็นเรื่องยากสำหรับหลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัทระดับ SMEs และ Startups
เพราะต้องบอกว่า ถึงแม้ว่าจะมีกระดาน mai ขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่ามีกฎเกณฑ์สำหรับเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ยากเกินไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
เช่น บริษัทต้องทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs เป็นระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาทขึ้นไป และต้องมีกำไรไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
กฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเท่านั้น แต่ต้องใช้ระยะเวลาทำธุรกิจพอสมควร อย่างน้อย 4 ปีขึ้นไป จึงจะสามารถเข้าระดมทุนตามกฎเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่สูง
อย่างการทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs บริษัทต้องจ้างผู้ตรวจสอบบัญชี ปีละ 1-2 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาทางการเงินอีก 5 ล้านบาท ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เก็บอีก 3% ของเงินที่ระดมทุน คิดรวมแล้วมีค่าใช้จ่ายจะถึง 10 กว่าล้านบาทเลยทีเดียว
จากเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเป็นต้องพัฒนาแหล่งระดมทุนกระดานใหม่ขึ้นมา ที่มีชื่อเรียกว่า LiVE Exchange ซึ่งจะลดกฎเกณฑ์ ผ่อนปรนข้อกำหนดบางอย่างลง บนการดูแลนักลงทุนที่เหมาะสม
เช่น
- จากต้องทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs ถึง 3 ปี เหลือเพียงแค่ 1 ปี
- บริษัทมีทางเลือกว่าจะจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน Financial Advisor (FA) หรือไม่ก็ได้
เพื่อให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบตลาดทุนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็พบปัญหาอีกว่า
บรรดาบริษัทขนาดเล็ก ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการทำระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน ความรู้ด้านกฎหมาย การจัดการระบบข้อมูลในองค์กร
นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้เกิด “LiVE Platform”
โดย LiVE Platform ทำหน้าที่เป็น Education Platform ให้เหล่าผู้ประกอบการเริ่มต้นเข้ามาศึกษาหาความรู้ด้านธุรกิจ ตั้งแต่การทำบัญชีการเงิน การตลาด การจัดการ จนไปถึงการระดมทุน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลากหลายหลักสูตร และเปิดให้บริการเรียบร้อยแล้ว บนเว็บไซต์ https://www.live-platforms.com
และเมื่อบริษัทมีความต้องการในการเข้าระดมทุน ก็สามารถเข้าสู่ “Scaling Up Platform” ซึ่งเป็นโปรแกรมการเตรียมธุรกิจให้พร้อมสำหรับการระดมทุน โดยมี 4 กระบวนการที่คอยช่วยเหลือคือ
1. Advanced Courses หรือหลักสูตรอบรมเชิงลึกจากบริษัทที่เชี่ยวชาญ
เช่น เรื่องของบัญชี ก็จะได้ PwC หนึ่งใน Big 4 หรือบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ระดับโลก เข้ามาแนะนำและให้ความรู้โดยตรง หรืออยากรู้เรื่องกฎหมาย ก็มี Baker McKenzie มาทำหลักสูตรให้
2. สนับสนุนเครื่องมือและระบบต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ
เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น
เช่น บัญชี การควบคุมภายใน ระบบ ERP Back Office HR และอื่น ๆ อีกมากมาย
3. ให้คำปรึกษาต่าง ๆ ผ่านโครงการและแพลตฟอร์มต่าง ๆ
อย่างเช่น LiVE Acceleration Program โครงการที่ให้เหล่าธุรกิจเข้าร่วม เพื่อรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้เงินทุนสนับสนุนสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อบริษัท จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เพื่อจ้างที่ปรึกษาหรือปรับปรุงระบบงาน
โดยตัวอย่างบริษัทที่เคยเข้าร่วมคือ “Specialty Natural Products (SNP)” ซึ่งเป็น SMEs ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากสมุนไพรไทย
และ “Shippop” ซึ่งเป็น Startups ผู้ให้บริการจองขนส่ง เทียบราคาขนส่ง และจัดการการขนส่งพัสดุออนไลน์ครบวงจร
ผู้ประกอบการจากทั้งสองบริษัทเล่าให้ฟังว่า หลังจากเข้าร่วม LiVE Acceleration Program ก็ไม่เพียงแต่ได้รับความรู้และเงินสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมเท่านั้น แต่ยังได้พันธมิตรมาเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจตนเองด้วย
4. สนับสนุนการพบปะเจรจากับผู้บริหารบริษัทรุ่นใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว เพื่อเปิดโอกาสในการต่อยอดธุรกิจร่วมกัน หรือสร้างความร่วมมือด้วยกัน
นอกจากนี้ LiVE Platform ยังได้ร่วมมือกับอีกหลายหน่วยงาน
เช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำ MOU ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดตัวโครงการ Embryo Incubation Program ที่ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการระดมทุนใน LiVE Exchange
นอกจากนั้นยังมีการร่วมมือกับอีกหลายองค์กรพันธมิตร ทั้งจากภาครัฐและเอกชน มากกว่า 25 ราย
เช่น สภาวิชาชีพบัญชีฯ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย Baker Mckenzie และองค์กรชั้นนำอื่น ๆ อีกมากมาย
อีกเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ ก็คือ บริการทั้งหมดบนเว็บไซต์ LiVE Platform นั้น “ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น”
เมื่อธุรกิจ SMEs และ Startups เตรียมความพร้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และต้องการระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุน ก็จะถูกส่งต่อไปที่ LiVE Exchange ตลาดสำหรับ SMEs และ Startups เพื่อระดมทุนในวงกว้าง ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในปี 2021 นี้
ในเบื้องต้น ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้นักลงทุน 5 ประเภท ที่มีความรู้ความเข้าใจ และรับความเสี่ยงจากการลงทุนในธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถลงทุนในกระดาน LiVE Exchange ได้
โดยนักลงทุน 5 ประเภท ประกอบด้วย
1. ผู้ลงทุนสถาบัน
2. Venture Capital (VC) หรือธุรกิจเงินร่วมลงทุน
3. Angel Investor
4. Qualified Investor ตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควรว่า สามารถรับความเสี่ยงได้และมีทักษะการลงทุนที่เพียงพอ ซึ่งจะดูจากขนาดสินทรัพย์ที่มี หรือรายได้ต่อปี หรือพอร์ตการลงทุน
5. กลุ่มคนคุ้นเคยของบริษัท เช่น พนักงาน
ซึ่งตรงนี้ต้องหมายเหตุเอาไว้ด้วยว่า ทางสำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการประกาศรายละเอียด กฎเกณฑ์ในการพิจารณาผู้ลงทุนอย่างชัดเจนเต็มรูปแบบในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งทางลงทุนแมนก็จะสรุปมาเล่าให้ฟังกันอย่างแน่นอน
สรุปแล้ว LiVE Platform คือ ศูนย์รวมความรู้ด้านธุรกิจที่หลากหลาย สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ตั้งแต่การทำบัญชี การตลาด การจัดการ ไปจนถึงการเตรียมความพร้อมสู่การระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุน
ส่วน LiVE Exchange คือ ตลาดสำหรับ SMEs และ Startups ที่ต้องการระดมทุนในวงกว้าง และช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถยกระดับธุรกิจของตนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และเติบโตพร้อมระดมทุนต่อไป ใน SET หรือ mai
ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เชื่อว่าทั้ง LiVE Platform และ LiVE Exchange จะสร้างองค์ความรู้ เตรียมความพร้อม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อการพัฒนา SMEs และ Startups ให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ เติบโตอย่างเข้มแข็ง และเป็นกลไกของเศรษฐกิจไทย
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และ Startups หรือนักลงทุน ที่สนใจในโครงการดี ๆ แบบนี้ ลองเข้าไปชมเว็บไซต์ www.live-platforms.com กันได้เลย
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過21萬的網紅Bundit Ungrangsee บัณฑิต อึ้งรังษี,也在其Youtube影片中提到,คลิปนี้ ผมเผยเคล็ดลับ ที่ไม่มีใครบอกกัน ผมสอนลูกศิษย์ในสัมมนาคนหนึ่ง ให้เปลี่ยนคำๆเดียว ในคำโฆษณา เธอทำปุ๊บ ได้เงินมาเป็นหกหลัก มาช่วยกันขนของไทย ไปขา...
gdp ประเทศไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
เหตุการณ์ 9/11 ที่โลกไม่เคยลืม / โดย ลงทุนแมน
วันนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ได้เกิดเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 หรือที่เรารู้จักในชื่อ 9/11
เป็นการโจมตีแบบพลีชีพทางอากาศของผู้ก่อการร้ายที่เรียกตัวเองว่า
กลุ่มอัลกออิดะฮ์จำนวน 19 คน
แล้วเรื่องราวในวันนั้น เกิดอะไรขึ้นบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ผู้ที่ริเริ่มการก่อเหตุร้ายในครั้งนี้คือ คาลิด เชค โมฮัมเหม็ด โดยเขาได้นำแผนการดังกล่าวไปบอกกับ อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ในปี 1996 และ 2 ปีหลังจากนั้น บิน ลาดิน ก็ได้เริ่มดำเนินการตามแผนอย่างจริงจังตามที่คาลิด เชค โมฮัมเหม็ด แนะนำ
วันที่เกิดเหตุ กลุ่มผู้ก่อการร้ายได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อไปอยู่บนเครื่องบินโดยสารทั้ง 4 ลำ โดยช่วงเวลาในการก่อเหตุนั้นใช้ระยะเวลาทั้งหมด 1 ชั่วโมง 42 นาที หรือตั้งแต่ 8.46 น. – 10.28 น
เวลา 8.46 น. ผู้ก่อการร้ายชุดแรกจำนวน 5 คน ได้จี้เครื่องบินสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 พุ่งเข้าชนกับตึกเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
ไม่นานนักหลังจากที่เครื่องบินลำแรกพุ่งชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เครื่องบินลำที่สองก็ตามมา
เวลา 9.03 น. ผู้ก่อการร้ายชุดที่สองอีก 5 คน ได้นำเที่ยวบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งเข้าชนตึกใต้ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
เหตุการณ์ครั้งนี้ที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 2,606 คน รวมกับนักบิน ลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องทั้ง 2 ลำอีก 157 คน
เวลา 9.37 น. หรืออีกเพียง 34 นาทีต่อมา ผู้ก่อการร้ายชุดที่สามอีก 5 คน ได้บังคับให้สายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นที่ทำการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ทำให้ที่นี่มีผู้เสียชีวิตเท่ากับ 125 คน รวมกับนักบิน ลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องอีก 64 คน
กลุ่มผู้ก่อการร้ายชุดสุดท้ายอีก 4 คน บนสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตั้งใจที่จะเอาเครื่องบินพุ่งชนอาคารรัฐสภาหรือไม่ก็ทำเนียบขาว แต่ดันเกิดการต่อสู้กันของลูกเรือและผู้โดยสารกับผู้ก่อการร้าย
สุดท้าย
เมื่อผู้ก่อการร้ายเห็นท่าว่าแผนการจะไม่สำเร็จ จึงฆ่านักบินและพนักงานต้อนรับ พร้อมทั้งบังคับให้เครื่องบินตกใกล้กับรัฐเพนซิลเวเนีย ทำให้นักบิน ลูกเรือ และผู้โดยสารทั้งหมดเสียชีวิต 44 คน
ในตอนนั้น รัฐบาลได้มีคำสั่งให้เครื่องบินทุกลำภายในสหรัฐอเมริกาห้ามขึ้นบิน ขณะที่เครื่องบินที่กำลังบินอยู่ถูกบังคับให้ลงจอดทันที นอกจากนี้ เครื่องบินระหว่างประเทศทั้งหมดถูกห้ามลงจอดในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 3 วัน
ซึ่งต่อมาภายหลังจากที่ คาลิด เชค โมฮัมเหม็ด ถูกจับ เขาสารภาพว่า เป้าหมายแรกในการก่อเหตุร้ายนั้น กลับไม่ใช่ที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และอาคารเพนตากอน แต่เป็นที่ตั้งฐานทัพนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา แต่สุดท้ายเขา พร้อมทั้ง บิน ลาดิน และกลุ่มอัลกออิดะฮ์เปลี่ยนใจ..
มีการประเมินกันว่า กลุ่มอัลกออิดะฮ์ใช้เงินในการก่อเหตุร้ายครั้งนี้เพียง 16.5 ล้านบาท แต่กลับสร้างความเสียหายให้แก่สหรัฐอเมริกากว่า 109 ล้านล้านบาท
109 ล้านล้านบาทมากขนาดไหน?
เพื่อให้เห็นภาพ จำนวนเงินนี้เป็น 7 เท่าของ GDP ประเทศไทย
ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยทั้งประเทศต้องใช้เวลา 7 ปีในการผลิตสินค้าและบริการถึงจะมีมูลค่าเท่ากับความเสียหายครั้งนี้
เหตุการณ์ 9/11 ยังทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาปิดทำการ ตั้งแต่วันที่ 11-16 กันยายน 2001 โดยเมื่อตลาดกลับมาเปิดอีกครั้งดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ติดลบไปกว่า 685 จุด หรือ 7.1% ใน 1 วัน
และภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ ดัชนีดาวโจนส์ยังคงติดลบกว่า 1,369 จุด หรือ 14.3% โดยมูลค่าตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาหายไปกว่า 46.2 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นมูลค่าที่ลดลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ในรอบ 1 สัปดาห์
ภายใน 3 เดือนหลังเหตุการณ์นี้ คนงานกว่า 430,000 ตำแหน่งในเมืองนิวยอร์กได้ตกงาน ขณะที่มูลค่า GDP ของเมืองนี้ได้ลดลงกว่า 900,900 ล้านบาท ในช่วงปลายปี 2001-2002
แต่ไม่ว่าความสูญเสียด้านตัวเงินจะมากแค่ไหน ก็คงเทียบไม่ได้กับการสูญเสียชีวิตของคนจำนวนเกือบ 3,000 คน ยังไม่รวมผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 6,000 คน
หลายคนต้องพลัดพลากกับคนที่ตนเองรัก
หลายคนขาดผู้นำครอบครัวนับแต่นั้น
เด็กหลายคนต้องกำพร้าพ่อแม่ตั้งแต่อายุยังน้อย
แม้เหตุการณ์ในวันนั้นจะผ่านมานานแล้ว
แต่เชื่อว่าหลายคนคงยังไม่ลืม
ซึ่งก็ได้แต่หวังว่า เหตุการณ์แบบนี้คงไม่เกิดขึ้นอีก
ไม่ว่าที่ไหนและเวลาไหน
เพราะแท้จริงแล้ว ความขัดแย้งไม่ได้ทำให้ใครชนะ
ทุกคนที่อยู่ในความขัดแย้ง จะสูญเสียกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหนก็ตาม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/September_11_attacks
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_11_%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2544
-https://en.wikipedia.org/wiki/The_Pentagon
-https://finance.yahoo.com/quote/%5EDJI/history?period1=1000141200&period2=1001782800&interval=1d&filter=history&frequency=1d
-https://archive.nytimes.com/www.nytimes.com/interactive/2011/09/08/us/sept-11-reckoning/cost-graphic.html?_r=1
gdp ประเทศไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ปรากฏการณ์ หนี้ล้นมือ ที่ครัวเรือนไทยกำลังเจอ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าในแต่ละเดือน เราหารายได้ได้ 100 บาท แต่มีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายสูงถึง 90 บาท
ปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่า “Debt Overhang”
ซึ่งหมายถึง การที่เรามีหนี้อยู่มาก มากเสียจนก่อหนี้เพิ่มได้ลำบาก
และปรากฏการณ์นี้ มันกำลังเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึง ประเทศไทย
Debt Overhang คืออะไร มีผลอย่างไรกับอนาคตของลูกหนี้
ทำไมตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกว่า ครัวเรือนของไทยกำลังอยู่ในภาวะแบบนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Debt Overhang คือ สถานการณ์ที่ลูกหนี้ซึ่งในที่นี้รวมไปถึง ภาคธุรกิจ รัฐบาล ครอบครัว และบุคคล มีหนี้สินอยู่สูงมาก จนไม่สามารถขอกู้เงินเพิ่มอีกได้โดยง่าย
ไม่ว่าจะกู้มาเพื่อหมุนจ่ายคืนหนี้เดิม หรือแม้แต่กู้มาเพื่อไปลงทุนให้ธุรกิจเติบโตในอนาคต
ในทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการที่ผู้บริโภคเลื่อนการบริโภคในอนาคต มาใช้จ่ายในปัจจุบันมากเกินไป (Over Consumption) จนส่งผลให้การบริโภคในอนาคตนั้นหดตัวลง และกระทบภาพรวมกับเศรษฐกิจในเวลาต่อมา
อย่างกรณีของบุคคลหรือครัวเรือน ที่มีหนี้สูงอยู่แล้ว ต้องการก่อหนี้เพิ่ม เพื่อมาจ่ายคืนหนี้เดิมหรือมาหมุนใช้จ่าย เจ้าหนี้รายใหม่ก็อาจไม่ค่อยเต็มใจที่จะปล่อยกู้ให้ลูกหนี้ประเภทนี้
เพราะการที่ลูกหนี้มีภาระหนี้จำนวนมากอยู่ก่อนแล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามแผน เจ้าหนี้รายใหม่ก็อาจไม่ได้รับเงินที่ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปกลับคืนมา สุดท้ายก็กลายเป็นหนี้เสีย หรือที่เรียกว่า Non-Performing Loan หรือ NPL
หรืออย่างกรณีของการที่บริษัทต้องการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น ที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่บริษัทมีภาระหนี้สินสูง ๆ จนไปขอกู้สถาบันการเงินได้ยาก
กรณีนี้ ผู้ถือหุ้นซึ่งมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัท ก็อาจไม่เต็มใจให้เงินทุนเพิ่ม เพราะเงินที่เพิ่มทุนไป ต้องถูกนำไปจ่ายคืนหนี้ก้อนโต แทนที่จะเป็นการนำไปลงทุนสร้างการเติบโตที่ดีให้บริษัทในอนาคต
จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดา ครัวเรือน หรือภาคธุรกิจ ถ้ายิ่งมีหนี้สูง โอกาสจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ ก็ยิ่งทำได้ยากมากขึ้นเรื่อย ๆ
สำหรับประเทศไทยในตอนนี้ ภาคส่วนที่ดูน่าเป็นห่วงมากที่สุดภาคส่วนหนึ่งก็คือ “ภาคครัวเรือน”
หนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP กำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปี 2019 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 79.8%
ปี 2020 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 89.4%
ไตรมาส 1 ปี 2021 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP อยู่ที่ 90.5%
เมื่อแบ่งตามประเภทหนี้ที่หนี้ครัวเรือนของไทยก่อ ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย จะแบ่งเป็น
- หนี้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ 34.2%
- หนี้จากการอุปโภคบริโภค 20.7%
- หนี้เพื่อประกอบอาชีพ 18.1%
- หนี้จากการซื้อหรือเช่ายานพาหนะ 12.7%
- หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 7.0%
- หนี้เพื่อการศึกษา 2.0%
- หนี้อื่น ๆ 5.3%
หลายคนอาจบอกว่า หนี้ครัวเรือนที่สูงเป็นผลมาจากการที่รัฐบาล ได้ออกมาตรการช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19
ทั้งผ่านการปรับโครงสร้างหนี้และการพักชำระหนี้ หรือเลื่อนจ่ายออกไปก่อน จนทำให้หนี้ครัวเรือนในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่ามีส่วนถูก
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า หลายปีที่ผ่านมาก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 หนี้ครัวเรือนไทยก็อยู่ในระดับค่อนข้างสูงมาโดยตลอด
ซึ่งน่าจะมาจากหลากหลายเหตุผล เช่น รายได้ของครัวเรือนที่น้อย จึงทำให้การออมต่ำ ดังนั้นเมื่อต้องการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ก็ต้องพึ่งพาการก่อหนี้ในสัดส่วนที่มาก
นอกจากนั้น ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย เวลาซื้อของอาจเลือกผ่อนนาน ๆ ซึ่งการผ่อนสินค้านาน ๆ ยิ่งทำให้ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้น อย่างเช่น กรณีของการผ่อนรถยนต์
รวมถึงการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่ทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินกู้สะดวก รวดเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นตัวเร่งให้ภาระหนี้ของครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อหนี้ครัวเรือนสูงมาพร้อมกับการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง อย่างเช่น วิกฤติโควิด 19 ในครั้งนี้ ที่ทำให้หลายคนตกงาน หลายคนค้าขายลำบาก
หลายครัวเรือนอาจต้องพยายามหาแหล่งเงินกู้มาเพิ่มสภาพคล่องเพื่อมาใช้จ่าย แต่กลับถูกปฏิเสธ เพราะภาระหนี้ที่มีอยู่ในมือ ก็อยู่ในสัดส่วนที่มากอยู่แล้ว
เรื่องนี้อาจกำลังทำให้ หลายครัวเรือนหันหน้าเข้าหา “หนี้นอกระบบ” ที่ต้องแลกด้วยการแบกรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงมาก ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่กับทั้งภาคครัวเรือน และภาคเศรษฐกิจโดยรวม
จริง ๆ แล้ว การเป็นหนี้ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป
หากจำนวนหนี้ที่กู้มานั้นไม่สูงจนเกินไปเมื่อเทียบกับความสามารถในการชำระหนี้
หรือหากหนี้ก้อนนั้น เป็นหนี้ที่กู้มาเพื่อสร้างโอกาส สร้างธุรกิจ ที่ช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเราได้ในอนาคต
แต่สิ่งที่น่ากังวลตอนนี้ คือภาพรวมครัวเรือนไทยกำลังมีภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่รายได้ของหลายครัวเรือนกำลังหดหายหรืออยู่ในระดับต่ำ
ที่สำคัญคือ หลายครัวเรือนกำลังขาดสภาพคล่อง
และถ้าพวกเขาหาเงินกู้ก้อนใหม่ไม่ได้
หนี้เก่าที่มีอยู่ทั้งหมด ก็อาจจะต้องกลายเป็นหนี้เสียเช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/Pages/AnalystMeeting02_2021.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/Debt_overhang
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=891&language=TH
-https://thaipublica.org/2021/07/eic-sees-looming-household-debt-overhang/
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Oct2019.aspx
gdp ประเทศไทย 在 Bundit Ungrangsee บัณฑิต อึ้งรังษี Youtube 的最讚貼文
คลิปนี้ ผมเผยเคล็ดลับ ที่ไม่มีใครบอกกัน
ผมสอนลูกศิษย์ในสัมมนาคนหนึ่ง
ให้เปลี่ยนคำๆเดียว ในคำโฆษณา
เธอทำปุ๊บ ได้เงินมาเป็นหกหลัก
มาช่วยกันขนของไทย ไปขายนอก ให้ได้ราคาสูงๆนะครับ
(อย่างต่ำ เพิ่มได้ 20 เท่าของราคาทุน)
ยกระดับGDP ประเทศไทย
ให้ร่ำรวยกันถ้วนหน้า
ถึงเวลาแล้ว ที่ประเทศไทย จะเป็นมหาอำนาจ
ไม่เอาแล้ว ซื้อของนอกราคาแพง
แต่ชาติอื่น มาซื้อของเราราคาถูก
กระแสมาแล้ว รีบฉวยกันนะครับ ทุกคน
เคล็ดลับอยู่ในนี้แล้ว
ใครเอาไปใช้ แล้วได้เงินมาเพิ่มหกเจ็ดหลัก
อย่าลืมมาเล่าให้ฟัง
=====================
ติดตามผลงานผม เพิ่มเติมได้ที่
Website : http://bundit.org/
Instagram : Bunditu
Twitter : BunditUngrangse
Facebook : https://www.facebook.com/BunditUngrangsee
FB messenger : @BunditUngrangsee
Youtube : https://www.youtube.com/user/TheBunditChannel
Line@Bundit หรือกดได้ที่ลิงค์นี้ http://line.me/ti/p/%40mdl4971x
Search ทุกคําถามเกี่ยวกับปัญหา หรือ ความสําเร็จ ที่
www.AskBundit.com