Uber บริษัทที่มีคู่แข่งเกิดขึ้น เต็มไปหมด /โดย ลงทุนแมน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “Uber” เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจแพลตฟอร์มเรียกรถ
ที่เข้ามา DISRUPT รูปแบบบริการขนส่งให้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่พวกเขาคิดค้นขึ้น ได้กลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายบริษัท
พัฒนาแพลตฟอร์มในลักษณะเดียวกัน มาแข่งขันกับรุ่นพี่อย่างดุเดือด
จนตอนนี้ Uber มีคู่แข่งอยู่เต็มไปหมด
แล้วใครคือคู่แข่งของ Uber บ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อปี 2009 หรือ 11 ปีที่แล้ว
Uber สร้างแพลตฟอร์มเรียกรถ จากแนวคิด Sharing Economy ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้มีรถกับผู้ต้องการใช้รถ
และด้วยระบบอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจนี้เติบโตต่อเนื่อง
ปัจจุบัน Uber มีผู้ใช้งาน 110 ล้านคน จาก 785 เมืองทั่วโลก
โดยบริษัทมีรายได้ 440,000 ล้านบาท และมูลค่าตลาดล่าสุดอยู่ที่ราว 1,420,000 ล้านบาท
จากตัวเลขดังกล่าว หลายคนอาจคิดว่า Uber สามารถครองโลกได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว
แต่ความจริง พวกเขาต้องเผชิญกับสงครามแพลตฟอร์มเรียกรถ ในแทบทุกแห่งที่ไปทำธุรกิจ
จริงอยู่ที่ช่วงแรก Uber คือผู้นำที่เข้าไปสร้างตลาด Ridesharing
แต่พอเวลาผ่านไป ผู้เล่นรายอื่นที่เห็นโอกาส ก็พัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเองบ้าง
เราลองมาดูตัวอย่างบริษัทที่ Uber ต้องแข่งขันด้วยในแต่ละพื้นที่
ประเทศสหรัฐอเมริกา: Lyft
จำนวนผู้ใช้งาน: 23 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 230,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม Lyft ให้บริการอยู่ใน 656 เมือง ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
มีส่วนแบ่งตลาด 29% สูงเป็นอันดับ 2 รองจาก Uber ที่ครองตลาดราว 70%
โดย Lyft ได้รับความนิยมขึ้น หลังจากหลายปีก่อน Uber มีข่าวอื้อฉาวเรื่องล่วงละเมิดทางเพศพนักงานหญิง
ทวีปยุโรป แอฟริกา: Bolt
จำนวนผู้ใช้งาน: 30 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 31,400 ล้านบาท
Bolt หรือชื่อเดิมคือ Taxify เป็นแพลตฟอร์มจากประเทศเอสโตเนีย
ให้บริการอยู่ใน 35 ประเทศ แถบยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ รวมถึงเอเชีย
ซึ่งการที่ Uber มีปัญหากับภาครัฐในยุโรปบ่อยครั้ง เช่น ไม่ได้รับต่ออายุใบอนุญาตในกรุงลอนดอน เพราะคนขับใช้ข้อมูลปลอม ทำให้ Bolt เข้าไปทำตลาดแทน
ภูมิภาคตะวันออกกลาง: Careem
จำนวนผู้ใช้งาน: 33 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 97,000 ล้านบาท
Careem เป็นแพลตฟอร์มจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ให้บริการกว่า 100 เมือง ใน 14 ประเทศบริเวณตะวันออกกลางและแอฟริกา
จุดแข็งของแบรนด์นี้คือ ความเข้าใจถึงปัญหาและพฤติกรรมผู้บริโภคท้องถิ่น มากกว่าต่างชาติ
ด้วยเหตุนี้ Uber จึงตัดสินใจซื้อกิจการทั้งหมดของ Careem แทนที่จะแข่งด้วย
ประเทศจีน: DiDi Chuxing
จำนวนผู้ใช้งาน: 550 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 1,570,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม DiDi เริ่มให้บริการในจีนเมื่อปี 2012 และมีข้อได้เปรียบเรื่องความเชี่ยวชาญในสภาพตลาดของประเทศตนเอง
หลังจากสู้กันนาน 4 ปี Uber จึงยอมถอยทัพ ด้วยการขายธุรกิจในจีน แลกกับหุ้นสัดส่วน 20% ของ DiDi
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: Grab
จำนวนผู้ใช้งาน: 122 ล้านคน
มูลค่าบริษัท: 440,000 ล้านบาท
Grab ถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวมาเลเซีย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย
ซึ่ง Uber ไม่สามารถสู้ความเชี่ยวชาญของผู้เล่นท้องถิ่นรายนี้ได้
จึงตัดสินใจขายกิจการในภูมิภาค แลกกับหุ้นสัดส่วน 27.5% ของ Grab
ประเทศรัสเซีย: Yandex.Taxi
จำนวนผู้ใช้งาน: 36 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 116,000 ล้านบาท
Yandex เปรียบเสมือน Google แห่งรัสเซีย โดยบริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่แพลตฟอร์มเรียกรถ และให้บริการมากกว่า 1,000 เมือง ทั้งในรัสเซียและกลุ่มประเทศสหภาพโซเวียตเก่า
ในกรณีนี้ Uber ยอมขายธุรกิจทิ้งเช่นเดียวกัน เพื่อแลกกับการถือหุ้นสัดส่วน 36.6% ของ Yandex.Taxi
ประเทศอินเดีย: Ola Cabs
จำนวนผู้ใช้งาน: 150 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 314,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม Ola Cabs เริ่มให้บริการในอินเดียตั้งแต่ปี 2010 ก่อนสร้างความลำบากใจให้ Uber ด้วยการขยายไปยังพื้นที่อื่น เช่น สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย รวมทั้งหมดกว่า 250 เมือง
หลังจากที่มีการแข่งขันทั้งด้านราคาและโปรโมชัน เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศต่างๆ ส่งผลให้ธุรกิจ Ridesharing เริ่มอิ่มตัว และทำให้ Uber ต้องขยายบริการใหม่ ซึ่งได้แก่ การส่งอาหาร หรือ Food Delivery
แต่ในอุตสาหกรรมนี้ ก็มีการแข่งขันที่หนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน
ทั้งจากผู้เล่นแพลตฟอร์มเรียกรถ ที่แทบทุกรายหันมาทำ Food Delivery ด้วย
หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจส่งอาหารโดยเฉพาะ เช่น Grubhub, Just Eat, Deliveroo, Meituan Waimai, Zomato, Amazon
ซึ่ง Uber ต้องยอมถอยออกจากบางตลาด ดังกรณีที่ขายกิจการส่งอาหารในอินเดียให้แบรนด์ Zomato
ส่วนเทคโนโลยีที่น่าจะผลักดันการเติบโตและลดต้นทุนในระยะยาว คือรถยนต์ไร้คนขับ
ก็มีผู้เล่นรายใหญ่ กำลังวิจัยพัฒนาอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Google, Apple, GM, Tesla
ดูเหมือนว่า สงครามแพลตฟอร์ม On-Demand นี้ จะยังดำเนินต่อไปอีกยาวนาน
และคงไม่มีใครสามารถคาดเดาถึงจุดจบของมันได้
แต่ที่แน่ๆ มันมีโอกาสสูง ที่จะมีผู้ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือต้องล้มหายจากไป
ไม่เว้นแม้แต่ต้นแบบของอุตสาหกรรมอย่าง Uber
และรู้หรือไม่ จนถึงวันนี้ พวกเขายังไม่เคยทำกำไรได้เลย..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Uber
-https://investor.uber.com/…/Uber-Announces-Results-for-Fou…/
-https://mashable.com/2017/08/16/uber-global-rivals-didi/
-https://www.cnbc.com/…/uber-s-1-risk-factors-competitors-de…
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lyft
-https://techcrunch.com/…/profitability-expectations-ding-l…/
-https://www.statista.com/…/market-share-of-rideshare-compa…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bolt_(company)
-https://en.wikipedia.org/wiki/Careem
-https://en.wikipedia.org/wiki/DiDi
-https://edition.cnn.com/…/grab-softbank-singapore/index.html
-https://www.statista.com/…/grabtaxi-holdings-number-of-uni…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Yandex.Taxi
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ola_Cabs
「lyft wiki」的推薦目錄:
- 關於lyft wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於lyft wiki 在 矽谷阿雅 Anya Cheng Facebook 的最佳貼文
- 關於lyft wiki 在 Lyft - Wikipedia | Coding, Promo codes coupon, Lyft - Pinterest 的評價
- 關於lyft wiki 在 envoyproxy/envoy: Cloud-native high-performance ... - GitHub 的評價
- 關於lyft wiki 在 Google vs Facebook vs Microsoft - Compare career levels ... 的評價
lyft wiki 在 矽谷阿雅 Anya Cheng Facebook 的最佳貼文
你公司的品牌個性是哪個?你的個人品牌是什麼?矽谷蘋果定位師品牌術揭曉
阿雅最近在做產品的定位與品牌,請到了過去擔任蘋果賈伯斯的品牌定位師。品牌個性包括統治者Ruler、創造者Creator、智者Sage、探險家Explorer、無辜者Innocent、特立獨行者Maverick、英雄Hero、魔術師Magician、諧星Jester、鄰家孩Everyman、愛人Lover、聖人Caregiver。
產品定位是理性的,品牌則是感性的,一體兩面。其中品牌包括品牌個性,賣一樣東西可能品牌個性完全不同,像是優步Uber定位「統治者」,競爭對手Lyft則定位在「聖人」。
大家覺得阿雅是誰呢?大家覺得自己是誰呢?阿雅覺得這是很好的晚餐話題,跟朋友討論身邊的人是誰吧!
#行銷 #品牌 #marketing #positioning #branding
賈伯斯的品牌定位師 Andrea Cunningham
https://en.wikipedia.org/wiki/Andrea_Cunningham
lyft wiki 在 envoyproxy/envoy: Cloud-native high-performance ... - GitHub 的推薦與評價
Code · Issues 1.2k · Pull requests 117 · Actions · Projects 0 · Wiki · Security 49 ... Blog about universal data plane API; Blog on Lyft's Envoy dashboards ... ... <看更多>
lyft wiki 在 Google vs Facebook vs Microsoft - Compare career levels ... 的推薦與評價
Google: L3 / SWE II. L4 / SWE III. L5 / Senior SWE. L6 / Staff SWE. L7 / Senior Staff SWE. L8 / Principal Engineer. L9 / Distinguished Engineer. ... <看更多>
lyft wiki 在 Lyft - Wikipedia | Coding, Promo codes coupon, Lyft - Pinterest 的推薦與評價
Aug 24, 2018 - This Pin was discovered by RCE Love. Discover (and save!) your own Pins on Pinterest. ... <看更多>