สรุปการล่มสลาย Mt. Gox กระดานคริปโท ที่เคยใหญ่สุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า 650,000 บิตคอยน์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 9 แสนล้านบาทในปัจจุบัน เคยโดนขโมยไปจากที่แห่งนี้ และเป็นสาเหตุทำให้กระดานคริปโทเคอร์เรนซีที่เคยใหญ่สุดในโลกต้องล่มสลาย
ก่อนหน้าที่ Binance จะกลายเป็น Exchange ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีที่ใหญ่สุดในโลกในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยมี Crypto Exchange รายหนึ่งเป็นเจ้าตลาดมาก่อน
โดยมีส่วนแบ่งปริมาณการซื้อขายสูงถึง 80% ของการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีทั่วโลก
Exchange นี้มีชื่อว่า “Mt. Gox” ที่ถูกก่อตั้งโดยผู้สร้างเหรียญ XRP
แต่สุดท้าย Exchange นี้ต้องปิดตัวเพราะถูกแฮกเกอร์ขโมยบิตคอยน์จากระบบไปจำนวน 650,000 เหรียญ หากคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันจะสูงถึง 960,365 ล้านบาท
การแฮกเป็นเพียงแค่ปลายทาง ของสาเหตุการล่มสลาย
แต่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาจริง ๆ คือ การบริหารจัดการที่ไม่ดีของผู้บริหาร
Mt. Gox ถือเป็นตัวอย่างที่ดีว่า หากผู้บริหารไม่ดี ละเลย และขาดประสบการณ์
สามารถส่งผลที่ร้ายแรงต่อบริษัทขนาดไหน
เรื่องราวของ Mt. Gox น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปลายปี 2006 โปรแกรมเมอร์คนหนึ่งชื่อว่า Jed McCaleb คิดอยากสร้างเว็บไซต์สำหรับแลกเปลี่ยนการ์ดเกมออนไลน์ที่ชื่อว่า Magic: The Gathering Online ขึ้นมา
หลายคนคงคุ้นชื่อของคนคนนี้ ก็ไม่ต้องแปลกใจ
เพราะว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้ง Ripple และเหรียญ XRP ที่เจ้าตัวชอบเทขายเป็นประจำ
รวมไปถึง Stellar และเหรียญ XLM อีกด้วย
ต่อจากเหตุการณ์ข้างต้น เขาจึงไปจดโดเมนเว็บไซต์เป็นของตัวเองชื่อว่า Mt. Gox
ซึ่งย่อมาจาก Magic: The Gathering Online eXchange
แต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่ง McCaleb คำนวณแล้วว่าไม่คุ้มกับเวลา จึงเปลี่ยนไปทำโปรเจกต์อื่นแทน
จนกระทั่งปี 2010 เขาได้รู้จักกับชุมชนบิตคอยน์ผ่านบอร์ดออนไลน์แห่งหนึ่ง
ชุมชนออนไลน์นี้ทำให้ McCaleb รับรู้ว่าระบบการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงนั้นไม่ค่อยดีนัก
เขาจึงตัดสินใจลงไปลุยธุรกิจนี้ โดยการเปลี่ยน Mt. Gox ให้กลายเป็น Crypto Exchange
แต่เวลาต่อมา McCaleb พบว่าการพัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพ ต้องใช้แรงกายและเวลาอย่างมาก
ดังนั้นการส่งมอบธุรกิจให้กับคนอื่นที่พร้อม ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
เขาเลยขายธุรกิจให้แก่ Mark Karpeles โปรแกรมเมอร์ผู้คลั่งไคล้บิตคอยน์ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น
โดยทั้งสองทำข้อตกลงเพิ่มด้วยว่า McCaleb จะยังคงได้รับส่วนแบ่ง 12% จากรายได้ตลอดไป
หลังจากตกลงกันเรียบร้อยแล้ว Karpeles ไม่รอช้าเริ่มเขียนซอฟต์แวร์เสริมให้กับเว็บไซต์ทันที
และเปิดให้ใช้บริการ Crypto Exchange อย่างเป็นทางการ
อย่างที่รู้กัน เมื่อใดที่เกี่ยวกับเรื่องเงิน ก็เป็นปกติที่มักจะมีผู้ไม่หวังดีอยู่เสมอ
Mt. Gox โดนแฮกครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2011
ส่งผลให้เว็บไซต์ต้องออฟไลน์เป็นเวลาหลายวัน
ในเรื่องโชคร้ายก็มีโชคดีอยู่บ้าง เมื่อ Jesse Powell และ Roger Ver สองโปรแกรมเมอร์ระดับมืออาชีพจากชุมชนบิตคอยน์อาสาเข้ามาช่วยเหลือได้ทันพอดี
จึงทำให้ Mt. Gox สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้ง
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้บริษัทกลายเป็นที่ชื่นชอบของชุมชนบิตคอยน์
เพราะปกติแล้วบริษัท Crypto Exchange รายอื่น ๆ หลังจากโดนแฮกแล้ว มักจะปิดตัวลงโดยทันที
แต่ Mt. Gox ที่บริหารโดย Karpeles กลับไม่ได้ทำเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม 2 อาสาสมัครแปลกใจว่าทำไม Karpeles ถึงดูนิ่งเฉยกับเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างมาก
ขนาดที่ว่าเขายังประกาศหยุดงาน ทั้ง ๆ ที่ปัญหายังแก้ไขไม่สำเร็จ
แต่สุดท้ายทั้งสองก็ไม่ได้คิดอะไรและแยกย้ายกลับไป
หลังจากนั้นเป็นต้นมา Mt. Gox ยังคงให้บริการ Crypto Exchange เรื่อยมา
จนกระทั่งปี 2013 บริษัทได้ขึ้นแท่นมาสู่อันดับ 1 ของ Crypto Exchange
ทั้งด้านมูลค่าปริมาณการซื้อขายที่สูงที่สุดในโลก ด้วยปริมาณสูงถึง 80% ของโลก
รวมถึงเป็น Crypto Exchange ที่ได้รับความเชื่อถือจากเหล่าบริษัทต่าง ๆ
ในตอนนั้นราคาบิตคอยน์ พุ่งทะยานแตะ 30,000 บาทจาก 300 บาท ภายในเวลาเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ส่งผลให้ Karpeles กลายเป็นมหาเศรษฐีในชั่วพริบตา
จากการเป็นทั้งผู้ถือเหรียญบิตคอยน์ และเจ้าของบริษัท Mt. Gox
แม้ว่าฐานะทางการเงินและผลประกอบการของบริษัทจะเติบโตไปในทิศทางที่ดี
แต่ Karpeles ก็ยังดูไม่ให้ความสำคัญกับการบริหารบริษัทให้ดีนัก บางครั้งดูละเลยด้วยซ้ำ
เช่น Karpeles ไม่ค่อยลงทุนในซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของนักพัฒนา
บ่อยครั้งพนักงานเหล่านี้ ต้องเสียเวลาในการเขียนโคดขึ้นมาเองใหม่หมด
อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับธุรกิจคือ Karpeles รวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้ที่ตนเอง
ส่งผลให้การจะทำอะไรสักอย่างเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและยุ่งยากมากขึ้น
อย่างเช่น Karpeles เป็นเพียงคนเดียวที่สามารถอนุมัติการเปลี่ยนแปลงโคดของเว็บไซต์ได้
แสดงว่าหากเว็บไซต์เกิดปัญหาขึ้นมา จะต้องรออนุมัติจากเขาก่อน
ซึ่งจากคำกล่าวของพนักงานบางรายบอกว่า ที่ผ่านมามีหลายครั้ง พวกเขาต้องใช้เวลานานเกือบสัปดาห์ถึงจะสามารถแก้ไขโคดที่เป็นปัญหาได้
และที่หนักหนาที่สุดคือหลายครั้งที่ระบบ Crypto Exchange มีการอัปเดต
บริษัทไม่มีการทดสอบระบบ พวกเขาปล่อยให้ใช้บริการโดยทันที
นั่นหมายความว่า ระบบอาจยังหลงเหลือข้อผิดพลาด ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อลูกค้า
การบริหารที่ย่ำแย่ของ Karpeles ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะส่งผลเลวร้ายโดยทันที
แต่ค่อย ๆ สร้างปัญหาทีละเล็กทีละน้อย จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ในที่สุด
จากการไม่สนใจเรื่องกฎระเบียบระหว่างประเทศ Mt. Gox ถูกหน่วยงานของสหรัฐอเมริกายึดเงินจำนวน 166 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทไม่ได้ลงทะเบียนกับรัฐบาลในฐานะตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ
ต่อมา Mt. Gox ถูกฟ้องเป็นเงิน 2,500 ล้านบาทโดยอดีตหุ้นส่วนธุรกิจชื่อ CoinLab
ด้วยสาเหตุจากความล่าช้าของการถอนเงินจากบัญชีในระบบ
แค่ 2 เรื่องนี้ก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับวงการการเงิน
ส่งผลให้ความนิยมของ Mt. Gox ค่อย ๆ ตกอันดับลงไปอยู่อันดับที่ 3
แต่อย่างที่หลายคนคงจะคาดเดาได้ไม่ยาก Karpeles ยังไม่ใส่ใจกับการแก้ปัญหานี้เลย
เขากลับหมกมุ่นในโครงการใหม่แทนที่มีชื่อว่า The Bitcoin Cafe
โครงการร้านแฮงเอาต์สุดเก๋ โดยตั้งอยู่ในอาคารเดียวกับสำนักงาน Mt. Gox
ซึ่งทุกอย่างภายในร้าน สามารถชำระด้วยบิตคอยน์
มีรายงานว่า Mt. Gox ใช้เงินจำนวนถึง 33 ล้านบาทสำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะ
ซึ่งหากพิจารณาโครงการนี้แล้ว จะพบว่าแทบไม่สำคัญต่อธุรกิจหลักเลย
แต่เขาก็ยังคงทุ่มเทแรงกาย แรงใจ รวมถึงเม็ดเงินไปกับโครงการนี้
เมื่อทุกอย่างถูกสะสมจนเข้าที่ เหตุการณ์เลวร้ายก็ได้เริ่มขึ้น
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2014 Mt. Gox ก็มีข่าวเซอร์ไพรส์แก่ลูกค้า
อยู่ดี ๆ บริษัทสั่งระงับการถอนบิตคอยน์ทั้งหมด แต่ไม่ระงับการซื้อขายบนกระดาน
โดยให้สาเหตุว่า ระบบ Crypto Exchange มีปัญหาทางเทคนิคบางอย่าง จึงต้องระงับการถอนบิตคอยน์ไปก่อน
ผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ Mt. Gox ก็ยังคงไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานถอนเงินออกไปได้
จนทำให้เกิดการประท้วงอย่างหนักที่หน้าอาคารที่บริษัทตั้งอยู่
Mt. Gox จึงได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่อื่น โดยอ้างว่าเพื่อความปลอดภัยของบริษัท
ช่วงเวลานี้ราคาบิตคอยน์บนกระดาน Mt. Gox ลดลงเหลือ 20% เมื่อเทียบกับรายอื่น ๆ
ซึ่งสะท้อนถึงการคาดการณ์ของตลาดว่า บริษัทไม่น่าจะสามารถจ่ายเงินให้กับลูกค้าที่ทำการถอนได้
และแล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปตามนั้นจริง Mt. Gox ระงับการซื้อขายทั้งหมด
หลายชั่วโมงต่อมา เว็บไซต์ของ Mt. Gox ก็เป็นหน้าว่างเปล่า
และบริษัทก็ได้ยื่นขอล้มละลายในเวลาต่อมา ปล่อยให้ลูกค้าหลายรายต้องสูญเสียเงิน
โดยในภายหลังมีข้อมูลเปิดเผยออกมาว่า
สาเหตุที่ Mt. Gox ปิดตัวลง ก็เพราะบริษัทโดนแฮกเกอร์ขโมยบิตคอยน์มาตลอดหลายปี ซึ่งเป็นจำนวนถึง 650,000 เหรียญ แต่บริษัทปกปิดปัญหาและไม่ยอมแก้ไข จึงนำไปสู่การล้มละลายในท้ายสุด
เหตุการณ์ในครั้งนั้น ถูกตีเป็นมูลค่าความเสียหาย 15,000 ล้านบาท
ถือว่าเป็นอันดับ 3 ของเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายในโลกคริปโทเคอร์เรนซีเลยทีเดียว
ถ้าหากถามว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นความผิดของใคร ?
ส่วนหนึ่งก็คงตอบได้ว่าแฮกเกอร์
แต่อีกส่วนสำคัญที่ไม่แพ้กันเลยคือ การบริหารจัดการที่ล้มเหลวของ Karpeles..
ซึ่งหากเขาวางแผนและเตรียมตัวป้องกันหลังจากโดนแฮกครั้งแรก ก็คงไม่เจอกับจุดจบเช่นนี้
นี่จึงเป็นตัวอย่างที่สำคัญว่า ทำไมผู้บริหารถึงสำคัญต่อธุรกิจมาก ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมากอย่าง ตลาดซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
เหตุการณ์ Mt. Gox ถึงแม้จะถูกแฮกไป 650,000 บิตคอยน์ แต่ถ้าเทียบกับมูลค่าในสมัยนั้นจะมีมูลค่าแค่ 15,000 ล้านบาท สำหรับเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายในโลกคริปโทเคอร์เรนซีอันดับ 1 เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้เอง โดยเกิดขึ้นกับ Poly Network เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมูลค่าความเสียหายในครั้งนี้มีมากถึง 20,000 กว่าล้านบาท แต่โชคดีที่คราวนี้แฮกเกอร์อ้างว่าแฮกเพื่อความสนุกเท่านั้น จึงทยอยคืนเงินในภายหลังจนใกล้ครบแล้ว...
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.wired.com/2014/03/bitcoin-exchange/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-01-31/-trillion-dollar-mt-gox-demise-as-told-by-a-bitcoin-insider
-https://en.wikipedia.org/wiki/Mt._Gox
-https://en.wikipedia.org/wiki/Jed_McCaleb
-https://www.in2013dollars.com/bitcoin-price
-https://cointelegraph.com/top-people-in-crypto-and-blockchain/jesse-powell
「magic: the gathering price」的推薦目錄:
- 關於magic: the gathering price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於magic: the gathering price 在 These Card Prices Just Spiked! | Magic the Gathering - YouTube 的評價
- 關於magic: the gathering price 在 Price of Progress | Magic the gathering cards ... - Pinterest 的評價
- 關於magic: the gathering price 在 How do I find out a fair price for my Magic the Gathering cards? 的評價
magic: the gathering price 在 Price of Progress | Magic the gathering cards ... - Pinterest 的推薦與評價
Set: Commander 2013 Type: Enchantment Rare Cost: {4}{R} Players can't gain life. At the beginning of your upkeep, Witch Hunt deals 4 damage to you. ... <看更多>
magic: the gathering price 在 How do I find out a fair price for my Magic the Gathering cards? 的推薦與評價
If you want to know what you can actually sell individual cards for, I think you can't do better than ebay. If you look at price indices ... ... <看更多>
magic: the gathering price 在 These Card Prices Just Spiked! | Magic the Gathering - YouTube 的推薦與評價
The Commander's Quarters is your Magic the Gathering source that helps you Command Your Budget! These card prices just spiked! ... <看更多>