กรณีศึกษา Ben Ali ประธานาธิบดีตูนิเซีย กินรวบประเทศ จนโดนปฏิวัติ /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า “อาหรับสปริง” การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลในช่วงปี 2011 ของกลุ่มประเทศอาหรับ ไล่มาตั้งแต่อียิปต์ ลิเบีย เยเมน บาห์เรน ไปจนถึงการเกิดสงครามกลางเมืองที่ซีเรีย ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการปฏิวัติในประเทศเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาที่มีชื่อว่า “ตูนิเซีย”
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การปฏิวัติตูนิเซียนี้
เกิดขึ้นโดยปราศจากผู้นำการปฏิวัติ และไม่ได้มาจากประเด็นทางการเมือง
แต่เป็นเรื่องของการว่างงานและสภาวะเศรษฐกิจที่ผลักดันให้ประชาชนในประเทศรวมตัวกันลุกขึ้นมาปฏิวัติ โดยมีจุดเริ่มต้นจากประธานาธิบดีของตูนิเซียที่มีชื่อว่า Ben Ali
เกิดอะไรขึ้นที่ตูนิเซีย ภายใต้การปกครองของ Ben Ali จนนำไปสู่การปฏิวัติในประเทศ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สาธารณรัฐตูนิเซีย เป็นประเทศอาหรับมุสลิมในแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีขนาดพื้นที่ราว ๆ 160,000 ตารางกิโลเมตร พอ ๆ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ตูนิเซียมีประชากรเพียง 12 ล้านคน มากกว่า 90% นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี แต่เนื่องจากเคยถูกปกครองโดยฝรั่งเศสมาก่อน ทำให้มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอารบิก
ประกอบกับผู้คนที่มีหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ทำให้วัฒนธรรมจะเป็นการผสมผสานระหว่างอาหรับและยุโรป
ในอดีตประเทศตูนิเซียนั้นถูกปกครองโดยประธานาธิบดี Habib Bourguiba ซึ่งปกครองตูนิเซียมายาวนานตั้งแต่ได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในปี 1956
แต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ทั้งเศรษฐกิจและสังคมของตูนิเซียกลับเกิดขึ้นหลังจากการมาถึงของชายที่ชื่อว่า Ben Ali
Zine al-Abidine Ben Ali หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Ben Ali
ก่อนที่เขาจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีตูนิเซียนั้น เขาเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมามากมาย
ทั้งหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง เอกอัครราชทูต รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ รัฐมนตรีมหาดไทย
จนในปี 1987 เขาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของตูนิเซีย โดยถือได้ว่าเขาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจอย่างมากในรัฐบาลตูนิเซีย
ซึ่งในขณะนั้นประธานาธิบดีคนแรก Habib Bourguiba กำลังป่วยหนักและหลายฝ่ายเห็นว่าไม่เหมาะที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป
Ben Ali จึงได้ทำการรัฐประหารโดยสันติและปลด Bourguiba ออกจากตำแหน่ง จากนั้นจึงแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของตูนิเซียในปี 1987
หลังจากที่ Ben Ali ได้ขึ้นมาปกครองประเทศ เขาพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้การบริหารประเทศของเขาเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยตามเสียงเรียกร้องของผู้คนในประเทศ
โดยได้ดำเนินการหลากหลายมาตรการ เช่น
- การเปลี่ยนชื่อพรรคการเมืองของตัวเองจาก Neo-Destour Party เป็น Democratic Constitutional Rally
- การเปิดให้ประชาชนสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้
- การยกเลิกระบบพรรคการเมืองเดียว
- การปล่อยนักโทษทางการเมืองซึ่งได้รับผลกระทบจากการปกครองของประธานาธิบดีคนเก่า
แม้การเลือกตั้งใหม่ในปี 1989 มีขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครองประเทศ และพรรคของเขาเองก็ได้ที่นั่งในสภามากกว่า 80% แต่ Ben Ali ก็ได้เริ่มจุดไฟแห่งความขัดแย้งขึ้น
Ben Ali เริ่มการจับกุมแกนนำและนักกิจกรรมของฝ่ายตรงข้ามที่เขามองว่ามีแนวโน้มจะได้รับความนิยมในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีรายงานการคุกคามนักกิจกรรมทางการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งการข่มขู่และทรมานจากภาครัฐ รวมถึงการบังคับให้ลี้ภัยไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีการแก้กฎหมายเลือกตั้งให้เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายตนเอง ส่งผลให้การเลือกตั้งที่จัดขึ้นหลังจากนั้น เขาได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลาย ไร้คู่แข่งที่จะมาเทียบเคียง
โดยการเลือกตั้งในปี 1999 Ben Ali มีคู่แข่งเพียง 2 คนเท่านั้น และฝ่ายค้านไม่เคยได้ที่นั่งในสภาเกิน 25% เลยแม้แต่ปีเดียว
จนสุดท้ายแล้วตูนิเซียภายใต้การปกครองของ Ben Ali มีลักษณะทางการเมืองแทบไม่ต่างจากยุคของประธานาธิบดีคนก่อน ที่ถูกเรียกว่าเป็นระบอบเผด็จการ
นอกจากการแก้กฎหมายเพื่อความมั่นคงของตำแหน่งทางการเมืองแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งที่เขาทำในระหว่างที่อยู่ในอำนาจ คือการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง
โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่อยู่ในเครือข่ายของเขา
ในฉากหน้านั้น Ben Ali ได้ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ทันสมัยขึ้น
ทั้งการแก้กฎระเบียบต่าง ๆ ให้ผ่อนคลายลงจากสมัยอดีตประธานาธิบดีคนเก่า
การปรับโครงสร้างและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ส่งผลให้ตลอดระยะเวลาที่ Ben Ali อยู่ในอำนาจนั้น ตูนิเซียมีอัตราการเติบโตของ GDP ไม่น้อยกว่า 5% มาโดยตลอด และระบบเศรษฐกิจของตูนิเซียโดดเด่นและเติบโตเร็วกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน
จนแม้แต่ IMF และธนาคารโลกยังเคยยกย่องให้ตูนิเซียเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ทว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ไม่ได้ไปถึงประชาชนในประเทศ
แต่กลับตกอยู่ในมือเครือข่ายของ Ben Ali
Ben Ali มีเครือข่ายธุรกิจกระจายตัวอยู่ในทุกภาคส่วนของประเทศ
โดยมีการตรวจพบว่ามีบริษัทกว่า 220 บริษัทที่อยู่ในเครือข่ายดังกล่าว
ซึ่งมีทั้งธุรกิจสายการบิน โทรคมนาคม การขนส่ง การเงินและธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ร้านอาหารและอื่น ๆ อีกมาก และนาย Ben Ali ก็ได้เอื้อผลประโยชน์ให้กับธุรกิจของตัวเอง โดยการออกกฎหมายเพื่อกีดกันทางการค้า และกำจัดคู่แข่งทางธุรกิจ ส่งผลให้มีการทุจริตคอร์รัปชันโดยเจ้าหน้าที่รัฐกระจายอยู่ทั่วประเทศ
โดยตั้งแต่ปี 1994 นาย Ben Ali ได้ออกกฎระเบียบและข้อบังคับกว่า 25 ฉบับ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อเครือข่ายธุรกิจของตน ซึ่งในบางธุรกิจถ้าไม่มีชื่อของเครือข่าย Ben Ali อยู่ในบริษัท ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
อย่างเช่นกรณีเชนร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง McDonald’s ที่ได้มอบสิทธิ์แฟรนไชส์ให้กับพาร์ตเนอร์ที่ไม่ใช่เครือข่ายของ Ben Ali สุดท้ายแล้วภาครัฐก็ได้ปฏิเสธข้อตกลงดังกล่าว และ McDonald’s ก็ต้องยอมถอยออกจากตลาดไป
หรืออีกกรณีหนึ่งคือการผูกขาดระบบโทรคมนาคมของประเทศ
ราคาค่าบริการโทรระหว่างประเทศที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีราคาสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 10-20 เท่า
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็เป็นรายได้เข้ากระเป๋ากลุ่มบริษัทในเครือข่ายของนาย Ben Ali
จากการออกข้อกฎหมายที่ยากต่อการแข่งขันและทำให้เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้การเติบโตของภาคเอกชนในประเทศกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มเครือข่ายของนาย Ben Ali
โดยจากรายงานของธนาคารโลกระบุว่า เครือข่ายของนาย Ben Ali ที่มีกว่า 220 บริษัท
มีผลกำไรคิดเป็น 21% ของภาคเอกชนทั้งหมดภายในประเทศ
และมีมูลค่าบริษัทประมาณ 4.22 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของ GDP ประเทศในปี 2010
เมื่อการกระจายความเติบโตของเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง
ส่งผลให้ตูนิเซียมีอัตราการว่างงานที่สูงมาก สวนทางกับ GDP ที่เติบโตต่อเนื่อง
บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งการส่งออก ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
ทำให้ตูนิเซียมีอัตราการว่างงานของคนวัยหนุ่มสาวสูงถึง 30% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกมีเพียง 15% เท่านั้น
สุดท้ายแล้วเมื่อเศรษฐกิจภายในประเทศถูกผูกขาดด้วยคนบางกลุ่ม ทำให้สินค้าหลายอย่างมีราคาสูง
บวกกับอัตราการว่างงานในประเทศที่ยากเกินกว่าจะแก้ไข ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนจึงเพิ่มมากขึ้นในตูนิเซีย
จนในที่สุดความอดทนของประชาชนในประเทศก็หมดลง..
หนุ่มชาวตูนิเซีย Mohamed Bouazizi อายุ 27 ปี ตัวเขาเรียนไม่จบและต้องออกมาขายผลไม้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวตั้งแต่เด็ก ซึ่งเขามักจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกสินบนและริบสินค้าของเขาอยู่หลายครั้ง
จนกระทั่งในวันที่ 17 ธันวาคม 2010 เจ้าหน้าที่ได้ยึดสินค้าและอุปกรณ์ในการค้าขายของเขา โดยอ้างว่าเขาไม่มีใบอนุญาตสำหรับขายผลไม้ในพื้นที่ และมีพยานในเหตุการณ์กล่าวว่าเขายังถูกเจ้าหน้าที่ตบเข้าที่หน้าอีกด้วย
Bouazizi ได้ไปร้องเรียนที่สำนักงานเทศบาลในเมือง Sidi Bouzid แต่กลับไม่มีใครรับฟังข้อร้องเรียนของเขา Bouazizi จึงราดน้ำมันและจุดไฟเผาตัวเองทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเดือนมกราคม ปี 2011
หลังจากการเผาตัวเองของ Bouazizi เรื่องราวของเขาก็แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างเช่น Facebook และ Twitter ซึ่งยากต่อการควบคุมและตรวจสอบโดยภาครัฐ
ทำให้ไม่กี่วันหลังจากนั้นมีผู้คนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนและโกรธแค้นรัฐบาล โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในขณะนั้น ซึ่งเกือบทั้งชีวิตของพวกเขาเติบโตมาภายใต้การปกครองของ Ben Ali
คนหนุ่มสาวได้ออกมาชุมนุมประท้วงในเมือง Sidi Bouzid จำนวนมากและจากการประท้วงในท้องถิ่น จนกลายเป็นระดับภูมิภาคและแพร่กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว
Ben Ali ได้ออกประกาศตำหนิผู้ประท้วงและใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
จึงมีภาพการปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐถูกเผยแพร่ออกไปในสื่อออนไลน์ทั่วโลก
เมื่อแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายแล้ว Ben Ali จึงได้ประกาศจะไม่ลงเลือกตั้งอีกหลังจากหมดวาระในปี 2014 และจะให้เสรีภาพรวมถึงดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
แต่ตัวเขากลับปฏิเสธว่าตำรวจไม่ได้ยิงใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะขัดแย้งกับภาพที่อยู่บนสื่อออนไลน์ ทำให้การชุมนุมแผ่ขยายมากขึ้นไปอีก
Ben Ali ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและออกคำสั่งให้ทหารใช้ปืนยิงผู้ชุมนุมที่ต่อต้าน แต่ทหารปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว เมื่อเห็นว่าตัวเขาไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อีกต่อไป Ben Ali จึงหนีออกนอกประเทศและลี้ภัยในประเทศซาอุดีอาระเบีย
เมื่อ Ben Ali พ้นจากตำแหน่ง ศาลธรรมนูญวินิจฉัยให้นาย Fouad Mebazaa ประธานรัฐสภาดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี
นาย Fouad Mebazaa จัดตั้งรัฐบาลโดยแต่งตั้งผู้ที่เคยอยู่ในระบอบเก่า และภักดีกับอดีตประธานาธิบดี Ben Ali เป็นรัฐมนตรีกระทรวงที่สำคัญ
เมื่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีประกาศออกมา จึงเกิดความไม่พอใจอย่างมากตามมา ฝ่ายค้านลาออกจากรัฐสภา, เยาวชนหนุ่มสาวออกมาประท้วงอีกครั้ง และเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ในที่สุด ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรักษาการชุดนี้ก็ต้องลาออก
การจัดตั้งคณะรัฐบาลรักษาการเกิดขึ้นอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีรักษาการคนใหม่สั่งการให้จับกุม, สอบสวน และดำเนินการลงโทษเจ้าหน้าที่พรรคของรัฐบาล ครอบครัวและญาติของอดีตประธานาธิบดี Ben Ali
รวมทั้งดำเนินการยุบพรรคและยึดทรัพย์สินของพรรค ขณะเดียวกันก็ประกาศปล่อยนักโทษการเมือง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปีนั้นเอง
เรื่องราวทั้งหมดนี้นอกจากจะสะท้อนความล้มเหลวในการบริหารประเทศและการทุจริตคอร์รัปชันจนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและนำไปสู่การปฏิวัติแล้ว
ในวันที่ Mohamed Bouazizi จุดไฟเผาตัวเองเพียงคนเดียว
แต่เรื่องราวของเขาบนโลกอินเทอร์เน็ต ก็ได้ปลุกให้ผู้คนทั่วประเทศ
ต่างมารวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาล จนบานปลายเป็น “อาหรับสปริง” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ทั่วโลกกล่าวถึง..
เหตุการณ์นี้ยังเป็นกรณีศึกษาชั้นดี ของอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย
ยิ่งสื่อเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงผู้คนให้เข้าหากัน ภายในเวลาอันรวดเร็วเท่าไร
ก็ยิ่งทำหน้าที่เผยแพร่ “สิ่งที่พยายามปกปิด” ออกไปสู่สาธารณชน
ในเวลาอันรวดเร็วได้เท่านั้น
ในยุคที่มีคนโจมตีความน่ากลัวของโซเชียลมีเดีย ว่าจะทำให้เกิดข่าวปลอมเผยแพร่ได้โดยง่าย
แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ทำให้ข่าวจริงที่ถูกปิดไว้ ถูกเผยแพร่ได้ง่ายขึ้น เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.washingtonpost.com/news/monkey-cage/wp/2014/03/27/tunisias-golden-age-of-crony-capitalism/
-https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/17726/WPS6810.pdf?sequence=1&isAllowed=y\
-https://www.aljazeera.com/news/2020/12/17/bread-and-gas-economic-boost-needed-after-arab-spring
-https://www.wider.unu.edu/publication/youth-unemployment-arab-world
-https://www.pewresearch.org/journalism/2012/11/28/role-social-media-arab-uprisings/
-https://www.silpa-mag.com/history/article_55976
-https://www.aljazeera.com/features/2011/1/26/how-tunisias-revolution-began
-https://www.dw.com/en/zine-el-abidine-ben-ali-the-robber-baron-of-tunisia/a-50501648
-https://www.britannica.com/event/Jasmine-Revolution
-https://theconversation.com/ben-ali-the-tunisian-autocrat-who-laid-the-foundations-for-his-demise-124786
-https://www.theatlantic.com/technology/archive/2011/09/so-was-facebook-responsible-for-the-arab-spring-after-all/244314/
zine archive 在 NYDeTour Facebook 的精選貼文
NYDeTour週末何處去:3/4-3/5 (Sat & Sun)
*High Line Open Studios
週末兩天在High Line Park靠近Chelsea Gallery 一帶有開放工作室活動,超過60位在Chelsea從事創作的藝術工作者將開放他們的工作室讓民眾參觀。有興趣的民眾可以到508 or 516 W. 26th Street大樓Lobby索取open studios的地圖。
地點:High Line Park between W. 23rd & W. 27th Street
時間:3/4-3/5 (Sat & Sun) 12pm-6pm
http://highlineopenstudios.org
*Zine, Pin & Patches Popup Fair at Quimby's Bookstore
去年底剛在紐約開幕來自芝加哥的獨立書局Quimby's Bookstore這個週末將舉辦一個小雜誌,別針和徽章的展覽會。這是一個認識接觸小眾印刷出版的好機會,同時也可以逛逛這個在芝加哥頗負盛名的獨立書店。
地點:Quimby's Bookstore, 536 Metropolitan Avenue, Brooklyn
時間:3/4-3/5 (Sat & Sun) 12pm-9pm
https://www.facebook.com/events/685685498270183/
*EmBodied" pop-up exhibition at Sideshow Gallery
想了解科學和藝術之間的關係或是一探人體構造和科學影像的朋友,這週末在Williamsburg的Sideshow Gallery有一項由SciArt Center主辦的人體構造展覽可以前往參觀。有將近20位藝術工作者以不同科學方式呈現人體組織構造為主題的藝術創作。
地點:Sideshow Gallery, 319 Bedford Avenue, Brooklyn
時間:Opening reception: 3/4 (Sat) 5pm-8pm; Exhibition: 3/5 (Sun) 12pm-5pm
https://www.facebook.com/events/1231513413581043/
*Paper Jazz Small Press Festival at The Silent Barn
星期六在Bushiwick的Silent Barn有另一個小眾雜誌出版的展示活動,我個人很喜歡逛者些小眾出版是因為許多真正別出心裁的創意只能在這些小眾出版看到,很有啟發性。
地點:Silent Barn, 603 Bushwick Avenue, Brooklyn
時間:3/4 (Sat) 12pm-6pm
https://www.facebook.com/events/704455999715506/
*Brooklyn Museum Target First Saturdays
這星期六是三月的第一個星期六,表示Target贊助的Brooklyn Museum First Saturday夜晚免費入場活動又來了!從下午五點到晚上11點的時間中有多項音樂表演,講座和導覽等活動。非常值得參加!
地點:Brooklyn Museum, 200 Eastern Parkway, Brooklyn
時間:3/4 (Sat) 5pm-11pm
https://www.brooklynmuseum.org/visit/first_saturdays
*REFEST 2.0 at ITP/NYU
這是一個抗拒的年代,要用什麼形式表達自己的意見,如何善用科技與媒體,是門學問也是一種藝術的展現。星期天在NYU的ITP有一項研討會將討論言論自由,社會公義和個人隱私與安全等多項公共議題。關心社會議題參與社會運動的朋友應該來觀摩觀摩!
地點:ITP/NYU 721 Broadway, 4th Floor, New York
時間:3/5 (Sun) 10am-5pm
http://www.culturehub.org/events/2017/2/22/refest-20
*Building Resistance Propaganda Party
「宣傳」是一個與社會運動和公共議題是否能引起注意非常重要的的一環,Building Resistance Propaganda Party除了可以認識許多社會運動工作者也可以索取許多不同議題的活動海報,貼紙和標籤。是一項蠻有趣的社交活動。
地點:Interference Archive, 131 8th Street, #4, Brooklyn
時間:3/5 (Sun) 12pm-5pm
http://interferencearchive.org/building-resistance-propaganda-party/
*NYC Feminist Zinefest 2017
再來一項小眾出版的展覽活動,不過這是專以女性主義為主題的出版。在UWS的Barnard College舉行。
地點:Barnard Hall of Barnard College, 3009 Broadway, NY
時間:3/5 (Sun) 12pm-6pm
https://feministzinefestnyc.wordpress.com
週末天氣嚴寒,朋友出門記得保暖!
Have a great weekend!
zine archive 在 VOP Facebook 的最佳解答
【新刊發行 NEW RELEASE】
▒ Voices of Photography 攝影之聲 ▒
Issue 14 : 謎途 Journey Into Mystery
在這期開始之前,我們追思藝術家陳順築。
生於1963年的陳順築,其濃烈的家族記憶與原鄉羈愁所轉印建構的複合影像及攝影裝置作品,是當代台灣藝壇重要的標誌與代表。在台北市立美術館正為陳順築舉辦首次個人大型回顧展之際,他卻於2014年10月和我們告別遠行……。為了紀念他,我們重新刊載三年前在《攝影之聲》和陳順築的對話,並再收錄藝術家陳界仁與姚瑞中寫給順築的信,以及我們從他1989年至近期的個人札記中,節錄出的隨筆、塗鴉與奇想。他說,藝術就是心裡的事,而我們試著跟隨他的喃喃私語,想像他這一生創作總念念不忘的家。
本期我們特別介紹藝術家赤鹿麻耶、宇田川直寬和付羽,他們的作品令人陷入當代攝影看不清的謎霧中——赤鹿奇異佈局的詭祕時刻、宇田川在家庭照片上綿密塗畫的燥灼抒發,以及付羽冷峻枯寂的形骸景象,我們嘗試前往他們自身也難以剖解的影像謎團中尋路。專欄中,張世倫則以攝影家張乾琦的錄像新作《Side Chain》切入析論攝影的毀壞與創生 ; 顧錚書寫捷克攝影家斯沃博達的攝影生涯,追尋他的自傳性內心影像 ; 黃翰荻帶我們重返1940年代,細數台灣前輩攝影家張才在上海留下的鏡頭足跡。而這期夾帶的《SHOUT》第六輯,是台灣新一代攝影創作者鄭弘敬的獨白詩篇,他遊移於日常卻捉摸不定的破格視線,則是另一個謎題。
新的一年準備開始,我們也回顧2014年的攝影出版。在VOP編輯室被愈來愈多來自世界各地的攝影書淹沒的情況下,我們特別增加頁數、一口氣邀集了五位不同國家的攝影評論人與攝影書收藏者——陣容包括獨立攝影書庫創辦人Larissa Leclair、亞太攝影書資料庫創辦人Daniel Boetker-Smith、法國Le Bal藝術總監Sebastian Arthur Hau、德國卡塞爾攝影書節創辦人Dieter Neubert,以及日本資深藝評家大竹昭子——在2014年的攝影書海中,評選出他們最喜歡的攝影書單推薦給大家。如果你和我們一樣是攝影書迷,那麼絕對不能錯過這些精彩的書。
蕭永盛的「台灣攝影史」連載五,此次回望甲午戰爭時期日人龜井茲明與其寫真班在台灣留下的戰爭影像紀錄 ; Q單元,我們則專訪中國《老照片》主編馮克力,這份18年來由讀者投稿、蒐集整理民間照片資料的叢刊,是庶民影像史觀的珍貴報告。
然而在埋首編務的同時,我們接獲中國海關查禁《攝影之聲》並出動「文化市場執法總隊」接連查抄書店據點、全面下架雜誌的消息,其中更特別針對了《攝影之聲》上期的「抗議、行動與影像」專題,試圖以非法進口的理由在中國進行打壓淨化。此舉非但證實了中國政府對於出版與表意自由已更加限縮,同時也說明了即使是一份小小的刊物也足以讓強權畏怕。我們在這裡要再次聲明,《攝影之聲》將堅持獨立刊物的精神,寧做異音,也不會配合任何掌權者的和諧曲調。在此特別感謝關心及支持我們的讀者。
---
關於本期 ABOUT :
http://www.vopmagazine.com/vop014/
購買本期 ORDER:
www.vopmagazine.com/vop014shop/
訂閱SUBSCRIBE:
www.vopmagazine.com/subscribe/
---
This issue of VOP pays tribute to artist Chen Shun-Chu.
Born in 1963, Chen’s composite images and photographic installation art pieces, which capture the vivid memories of his family and longing for his ancestral home, are iconic pieces in Taiwanese contemporary art. Chen passed away in 2014 just as his major retrospective exhibition was being held in the Taipei Fine Arts Museum. We interviewed him in 2011, and published the interview in the now out-of-print third issue of VOP. We decided to re-publish the interview in this issue, alongside letters to Chen Shun-Chu from artists Chen Chieh-Jen and Yao Jui-Chung, as well as some drawings, words and musings from his personal notebooks. He once said that art is something that comes from deep in his heart, and we try to imagine the home and family that were always on his mind from his murmurings.
Also in this issue, we introduce artists Akashika Maya, Utagawa Naohiro and Fu Yu, seeking a path through their mysterious images that perhaps even they themselves would find difficult to decipher—Akashika’s eccentric layouts, Utagawa’s frustrated graffiti on his family photos and Fu Yu’s indifferent images of animal remains. In their columns, Chang Shih-Lun analyses the deconstruction and creation of photography through Side Chain, a new film by photographer Chang Chian-Chi; Gu Zheng writes about the life and works of Czech photographer Jan Svoboda in search of the autobiographic images in his photographs; Huang Han-Di brings us back to the 1940s and shows us footprints of Taiwanese photographer Chang Tsai in Shanghai through his pictures. The 6th issue of the bonus zine SHOUT is a soliloquy by teikoukei, one of the new generation of Taiwanese photographers. Through his lenses, we enter yet another mysterious journey and break free of normal points of view.
At the start of 2015, we look back at the publications of 2014. The VOP team has been —gladly—overwhelmed by recommendations from all over the world. We decided to increase the number of pages for this issue and invited 5 photography critics and photobook collectors from 5 different countries to submit a list of their favorite photobook lists of 2014. The panel includes the founder of Indie Photobook Library Larissa Leclair, Director and founder of Asia-Pacific Photobook Archive Daniel Boetker-Smith, Creative Director of Le Bal Books Sebastian Arthur Hau from France, founder of Kassel Photobook Award Dieter Neubert from Germany and renowned critic Akiko Otake. If you, too, love photobooks, then these titles are definitely worth your time.
In “History of Photography in Taiwan” Part V, Hsiao Yong-Seng looks back at the wartime images left by Japanese photographer Kamei Koreaki and his Photography Unit in the army; Q features a special interview with Feng Keli, editor-in-chief for Old Photographs, a publication that has become a valuable archive of photography from the historical perspective of the common people through 18 years of collecting, organizing and publishing photographs sent in by its readers.
As we were busy working on this issue of VOP, we received word that VOP has been banned from import by China customs. In addition, the authorities have also sent the “Integrated Law Enforcement in Cultural Market Team” to VOP retailers in China to remove and confiscate issues of VOP from the stores, especially our recent issue on “Protests, Activism and Images”. This act confirms that the Chinese government is still oppressing freedom of speech and publishing, and also proves that even a small magazine like ours can cause great fear to a totalitarian regime. Although we are concerned about the impact of such a policy on cultural and ideological dialogue, as an independent magazine, VOP will continue on its path and risk being different, rather than dance to the tune of the oppressor. We sincerely thank our readers for your concern and support.
---
Voices of Photography 攝影之聲
Issue 14 : 謎途 Journey Into Mystery
www.vopmagazine.com