สรุปเส้นทาง เว็บเบราว์เซอร์ จาก Netscape สู่ Google Chrome /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงการท่องโลกอินเทอร์เน็ต สิ่งที่เป็นเหมือนประตูบานแรกที่ทุกคนต้องเดินผ่าน ก็คือ “เว็บเบราว์เซอร์”
รู้ไหมว่า ความสำคัญของเว็บเบราว์เซอร์นั้น ได้นำไปสู่การต่อสู้เพื่อแย่งชิงฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างดุเดือด ซึ่งเหตุการณ์ก็ยืดเยื้อมานานเกือบ 30 ปี และพลิกผันอยู่หลายครั้ง จนทำให้ผู้ชนะในศึกแรก ๆ กลับกลายเป็นผู้แพ้ในท้ายที่สุด
สงครามระหว่างผู้ให้บริการเว็บเบราว์เซอร์ มีเรื่องราวเป็นอย่างไร
แล้วตอนจบ ใครเป็นผู้ชนะ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของมหากาพย์ ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 1993
เว็บเบราว์เซอร์หลายเจ้า ถูกคิดค้นขึ้นและนำมาใช้กันแพร่หลาย และถือเป็นประตูบานสำคัญ ที่ทำให้มนุษย์ได้รู้จักกับโลกออนไลน์
ในขณะนั้น เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมมากสุด คือ “Mosaic” ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์การประยุกต์ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา
ต่อมา ก็มีหลายบริษัทขอซื้อลิขสิทธิ์ของ Mosaic ไปสร้างเป็นเว็บเบราว์เซอร์ของตัวเอง โดยหนึ่งในนั้น คือ บริษัท Netscape Communications Corporation ของคุณ Marc Andreessen ซึ่งปัจจุบันเป็นนักลงทุนชื่อดังของวงการ Venture Capital
เว็บเบราว์เซอร์ของ Netscape มีชื่อว่า “Netscape Navigator” ซึ่งได้รับความนิยมในทันที เพราะใช้งานง่าย และแสดงผลการค้นหาได้ดีกว่าเจ้าอื่น ทำให้บริษัทยึดครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 80% ในช่วงปี 1995
ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ Netscape สามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ แม้เพิ่งก่อตั้งมาเพียงปีเดียว และยังถือเป็นการ IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดของตลาดในเวลานั้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต ก็ดึงดูดให้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง “Microsoft” เข้ามาสู่ธุรกิจเว็บเบราว์เซอร์ จนเกิดเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า “สงครามเว็บเบราว์เซอร์ครั้งที่ 1”
หลังจาก Netscape เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ 15 วัน บริษัท Microsoft ก็เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ ชื่อว่า “Internet Explorer”
เนื่องด้วย Microsoft เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ที่มีเงินทุนจากการขายซอฟต์แวร์ จึงทำให้สามารถทุ่มทรัพยากรเพื่อพัฒนา Internet Explorer จนมีฟีเชอร์ก้าวตาม Netscape ทัน ภายในเวลาไม่นาน
และในปี 1997 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสงคราม เมื่อ Microsoft ตัดสินใจผูกโปรแกรม Internet Explorer ไว้เป็นเว็บเบราว์เซอร์เริ่มต้นของระบบปฏิบัติการ Windows แบบฟรี ๆ
หมายความว่า คนที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ไปใช้ จะกดเข้า Internet Explorer ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปดาวน์โหลดหรือหาซื้อเว็บเบราว์เซอร์ใหม่
ซึ่งขณะนั้น Windows ครองส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กว่า 90% ส่งผลให้การใช้งาน Internet Explorer เพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก
จนในปี 2002 Netscape Navigator ก็มีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก
จากข้อมูลของ TheCounter.com
Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 93.9%
Netscape Navigator ส่วนแบ่งตลาด 2.3%
บทสรุปของสงครามเว็บเบราว์เซอร์ครั้งที่ 1 ผลปรากฏว่า Microsoft เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด..
ส่วนผลการดำเนินงานของ Netscape ก็ถดถอยลง และตัดสินใจขายกิจการให้กับบริษัท America Online ในปี 1998 ก่อนที่จะหยุดให้บริการเว็บเบราว์เซอร์ ในเวลาต่อมา
ถึงแม้การต่อสู้ศึกนี้จบลงแล้ว แต่สงครามในสนามรบเว็บเบราว์เซอร์ ยังไม่ปิดฉากลงง่าย ๆ
พอไร้คู่แข่ง ดูเหมือนว่า Microsoft จะตายใจ และแทบไม่ได้พัฒนา Internet Explorer ต่อสักเท่าไร หลักฐานที่ชัดเจนคือ ระหว่างปี 2001-2006 มีการอัปเดตเบราว์เซอร์แค่เวอร์ชันเดียวเท่านั้น
แต่ความประมาทและความตายใจของ Microsoft นี่เอง ที่กลายเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ ที่ทำให้เกิด “สงครามเว็บเบราว์เซอร์ ครั้งที่ 2”
เพราะหลังจาก Netscape พ่ายแพ้ พวกเขาก็ได้เปิดเผยข้อมูลโคดทิ้งไว้ ซึ่งต่อมา องค์กร Mozilla Foundation ได้นำเอาไปพัฒนาเป็นเว็บเบราว์เซอร์ตัวใหม่ ที่ชื่อว่า Mozilla Firefox หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “Firefox”
Firefox ได้มุ่งเน้นพัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่เริ่มเบื่อหน่ายกับประสิทธิภาพการทำงานของ Internet Explorer
จึงทำให้ Firefox สามารถแสดงผลของเว็บไซต์รุ่นใหม่ได้ดีกว่า รวมทั้งเพิ่มฟีเชอร์ลูกเล่นให้กับเบราว์เซอร์อีกมากมาย ส่งผลให้คนเริ่มสนใจลองดาวน์โหลด Firefox ไปใช้งานแทน Internet Explorer
ส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ ในปี 2009 จากข้อมูลของ StatCounter
Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 60.1%
Firefox ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
จะเห็นได้ว่า Firefox แย่งชิงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไปจาก Internet Explorer พอสมควร ถึงขนาดที่หลายฝ่ายมองว่าอาจถึงขั้นแซงขึ้นเป็นเจ้าตลาด
แต่มันก็ไม่ทันได้เกิดขึ้น..
เพราะสงครามครั้งนี้ ยังมีตัวละครอื่นเข้าร่วมวงต่อสู้อีก
ซึ่งตัวละครใหม่ที่ว่า นั่นก็คือ “Google”
Google เป็นเจ้าตลาดเซิร์ชเอนจิน และมีผลิตภัณฑ์ออนไลน์อื่น ๆ มากมาย ซึ่งมีความต้องการจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศบริษัทเพิ่มเติม จึงได้พัฒนาและเปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ ชื่อว่า “Google Chrome” ขึ้นมา และเริ่มเปิดให้ใช้งานในปี 2008
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้บริการทุกอย่างของ Google ผ่านเบราว์เซอร์ Google Chrome ได้อย่างสะดวกสบายและครบวงจรในที่เดียว
รวมทั้ง Google ยังมีความพร้อมด้านทรัพยากรและเงินทุน ที่สนับสนุนให้ทีมงานมีการอัปเดตฟีเชอร์ใหม่ ๆ ของเบราว์เซอร์ อยู่ตลอดเวลา จนรายอื่นเริ่มขยับตามได้ยาก
ด้วยเหตุนี้ ฐานผู้ใช้งาน Google Chrome จึงเติบโตแบบก้าวกระโดด และแซงหน้าขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา
นอกจากนั้น ในยุคสมาร์ตโฟน ผู้เล่นอีกรายหนึ่งที่มาแรง คือ “Apple”
ในช่วงหลัง พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนไปอยู่บนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น ซึ่ง Apple ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ส่งผลให้เว็บเบราว์เซอร์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ iOS ของตัวเครื่อง อย่าง “Safari” ถูกเปิดใช้งานเพิ่มขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง จนสามารถก้าวขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ตั้งแต่ช่วงปี 2015
แล้วในปัจจุบัน สถานการณ์ของสงครามนี้ เป็นอย่างไร ?
ส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ เดือนพฤษภาคม ปี 2021 จากข้อมูลของ StatCounter
- Google Chrome ส่วนแบ่งตลาด 64.8%
- Safari ส่วนแบ่งตลาด 18.4%
- Firefox ส่วนแบ่งตลาด 3.3%
- Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 0.6%
เราคงพอสรุปได้ว่า Google Chrome คือผู้คว้าชัยชนะ ของสงครามเว็บเบราว์เซอร์ ในตอนนี้
ในขณะที่ ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตอย่าง Internet Explorer ได้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปแล้ว ซึ่งทำให้ Microsoft เตรียมยกเลิกโปรแกรมในเดือนมิถุนายน ปี 2022 และมุ่งพัฒนาเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ชื่อว่า “Microsoft Edge” ขึ้นมาแทน
นี่คงเป็นแง่คิดที่ดีว่า การเป็นผู้ชนะนั้นยากแล้ว แต่การรักษาตำแหน่งผู้ชนะอาจเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า
เพราะเมื่อไรที่เราหยุดพัฒนา ก็อาจพลิกมาเป็นผู้แพ้ในสักวัน จนไม่มีโอกาสแก้ตัวใหม่ ก็เป็นได้..
ปิดท้ายด้วยประเด็นที่หลายคนอาจสงสัยว่า
Google Chrome กับ Safari ที่ดูเหมือนเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกันที่สุดในตอนนี้ ความจริงแล้วเขาทั้งสอง เป็นพันธมิตรกันในบางส่วน
เพราะในทุก ๆ ปี Google ตกลงยอมจ่ายเงินมหาศาลให้กับ Apple เพื่อขอให้ Google เป็นเว็บไซต์ค้นหาเริ่มต้นบนเบราว์เซอร์ Safari
โดยในปี 2021 คาดว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.9 แสนล้านบาท
ถ้าถามถึงเหตุผล ก็คงเป็นเพราะ Google ให้ความสำคัญกับการครองส่วนแบ่งตลาดเซิร์ชเอนจินมากกว่า เรื่องเบราว์เซอร์ เพราะตัวสร้างรายได้ให้ Google จะอยู่ที่เซิร์ชเอนจินเป็นหลัก
Google อยากได้แทรฟฟิกการค้นหาข้อมูลเบราว์เซอร์ Safari เพื่อปิดประตูไม่ให้ผู้เล่นรายอื่น เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดเซิร์ชเอนจินไป ถึงแม้จะรู้ว่า ทำให้มีคนใช้งาน Safari เพิ่มมากขึ้นก็ตาม
ส่วนฝั่ง Apple คงเลือกรับเงินดีกว่า เพราะอย่างไร คนส่วนใหญ่ก็จะเข้า Safari แล้วไปค้นหาใน Google อยู่ดี
ซึ่งอาจพอตีความได้ว่า ตอนนี้ทั้งคู่เลือกที่จะอยู่ร่วมกันบนโลกออนไลน์ แบบเป็นพันธมิตรกัน มากกว่าทำสงคราม แล้วต้องมีใครสักคนบาดเจ็บหนัก..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://acodez.in/browser-wars/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Browser_wars
-https://en.wikipedia.org/wiki/Usage_share_of_web_browsers
-https://gs.statcounter.com/browser-market-share#monthly-201201-202105
-https://www.reuters.com/technology/microsoft-unplug-internet-explorer-it-seeks-edge-browser-war-2021-05-20/
-https://9to5mac.com/2021/08/25/analysts-google-to-pay-apple-15-billion-to-remain-default-safari-search-engine-in-2021/
同時也有285部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅MintCat薄荷貓 game,也在其Youtube影片中提到,#MYCARD#原神 ●輸入【薄荷貓】完成註冊驗證抽MyCard1~3000點及Switch主機 立即參加 https://my24.tw/mintcat-n ●儲值用MyCard 萬點十連抽 立即前往 https://my24.tw/mintcat-m ----------------------...
ios wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ใครคือผู้ก่อตั้ง TSMC ผู้ผลิตชิป ให้คนครึ่งโลก /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าระบบปฏิบัติการ iOS ของแอปเปิลและ Android ของกูเกิล จะเรียกได้ว่าเป็นคู่ปรับตลอดกาล
แต่รู้หรือไม่ว่า ชิปเซต หรือ สมองของสมาร์ตโฟนที่อยู่บนสมาร์ตโฟน เช่น ชิป A-Series ของแอปเปิล หรือชิป Snapdragon หลายรุ่นบน Android กลับถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทเดียวกันที่ชื่อว่า Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC
ซึ่งนอกจากชิปบนสมาร์ตโฟนแล้ว TSMC ยังมีส่วนแบ่งการตลาดชิปเซตทั้งหมดบนโลกมากถึง 55.6% หรือเรียกได้ว่าชิปเกินกว่าครึ่งโลก ถูกผลิตขึ้นจากบริษัทแห่งนี้
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกและมีมูลค่าเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย เป็นรองเพียง Saudi Aramco บริษัทน้ำมันแห่งชาติซาอุดีอาระเบีย
แล้ว TSMC มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สำหรับผู้ก่อตั้งบริษัท TSMC ก็คือ “Morris Chang”
Morris Chang หรือ มอร์ริส จาง เกิดที่เมือง Ningbo
ซึ่งเป็นเมืองทางตะวันออกของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1931
แม้จางจะเรียกได้ว่าเติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง แต่ชีวิตในวัยเด็กของเขากลับไม่ได้สุขสบายมากนัก นั่นก็เพราะว่าเขาต้องเจอกับสงครามถึง 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่
- สงครามกลางเมืองในจีน ช่วงปี ค.ศ. 1927 ถึง 1949
- สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สอง ช่วงปี ค.ศ. 1937 ถึง 1945
- สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี ค.ศ. 1939 ถึง 1945
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ครอบครัวของเขาต้องทำการย้ายไปมาอยู่บ่อยครั้ง
จนในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามกลางเมืองในจีน กำลังร้อนระอุ
จางในวัย 17 ปี พร้อมกับครอบครัว จึงได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ ฮ่องกง
แม้ในช่วง 17 ปีแรกของชีวิต จางจะได้รับผลกระทบจากสงครามเป็นอย่างมาก
แต่สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากสงคราม ก็คือ เขาต้องขยันและทำงานหนัก โดยสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อของเขาคอยสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ก็คือ “เรื่องการเรียน” ด้วยเหตุนี้ จางจึงสามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard ได้สำเร็จ
หลังจากเข้าเรียนได้เพียง 1 ปี เขาก็ได้ย้ายไปเรียนที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT และเขาก็ได้จบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
งานแรกของ มอร์ริส จาง เริ่มต้นขึ้นที่ Sylvania Semiconductor เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้กับบริษัทแม่ Sylvania Electric Products อีกทีหนึ่ง
แต่หลังจากทำงานได้ 3 ปี เขารู้สึกว่าแนวทางของบริษัทในอนาคต ไม่ได้เป็นแบบที่เขาคิด
แนวทางของบริษัทคือ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด
ซึ่งต่างจากเป้าหมายของจางที่ต้องการโฟกัสไปที่ การพัฒนาตัวเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
เรื่องดังกล่าว จึงทำให้จางตัดสินใจออกจากบริษัท Sylvania Semiconductor เพื่อมาเริ่มงานใหม่ที่ Texas Instruments ในปี ค.ศ. 1958 และด้วยความสามารถของเขาทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของบริษัท ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี
หลังจากนั้น เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้รับตำแหน่ง รองประธานในการดูแลฝ่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมด แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1980
บริษัท Texas Instruments ต้องการที่จะขยายธุรกิจเข้าไปสู่ลูกค้ารายย่อยมากขึ้น
โดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่น TI-99/4
ซึ่งเดิมทีโมเดลธุรกิจหลักของ Texas Instruments คือเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทอื่น
ไม่ได้ทำการค้าขายกับลูกค้ารายย่อยโดยตรง ซึ่งทางบริษัทก็ได้มอบหมายหน้าที่การขายสู่ลูกค้ารายย่อยให้กับจาง
หลังจากใช้เวลาไป 2 ปีครึ่ง ผลงานภายใต้การบริหารของจางกลับไม่ได้เป็นไปตามที่บริษัทคาดหวังเนื่องจากในช่วงนั้นมีผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งมากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ Apple 2 ในยุคของ สตีฟ จอบส์
แม้ตำแหน่งในบริษัทของเขายังคงเป็นรองประธานก็ตาม
แต่จากผลงานที่ค่อนข้างแย่ เขาจึงถูกทางบริษัทลดตำแหน่งลง
เหตุการณ์นี้เอง ก็ได้สร้างความผิดหวังให้กับจางเป็นอย่างมาก
เพราะที่ผ่านมา เขาได้สร้างผลงานมากมายให้บริษัทเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี
ในปี ค.ศ. 1983 จางในวัย 52 ปี จึงตัดสินใจลาออกจาก Texas Instruments
ซึ่งทันทีหลังจากที่เขาลาออก ก็ได้มีหลายบริษัทติดต่อเขาให้เข้าไปทำงานมากมาย
หนึ่งในนั้นคือ General Instrument Corporation หรือ GIC
บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านเซมิคอนดักเตอร์และเคเบิลทีวี
ซึ่งเขาได้เลือกทำงานในบริษัทนี้ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ด้วยเหตุผลที่ว่า GIC ก็ถือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ แม้จะไม่เท่า Texas Instruments
แต่ก็ตรงกับเป้าหมายของเขา ที่อยากเป็น CEO ของบริษัทระดับโลก
แต่หลังจากเข้าทำงานที่ GIC ได้ไม่ถึง 1 ปี เขาพบว่า
GIC เป็นบริษัทที่มีแนวทางการเติบโต จากการควบรวมกิจการอื่น ๆ
ต่างจากแนวทางการเติบโตแบบ Organic Growth ที่เขาตั้งใจไว้
ทำให้ระยะเวลาไม่นาน จางจึงได้ตัดสินใจลาออกอีกครั้ง
และแล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1985
ในช่วงนั้น รัฐบาลไต้หวันต้องการเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าของประเทศ
ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะสินค้าไอที
และหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ถูกผลักดัน ก็คือ “อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์”
สิ่งที่รัฐบาลไต้หวันทำในตอนนั้นคือ
มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อก่อตั้ง “สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI)
สิ่งที่ยังขาดไปสำหรับ ITRI ของไต้หวัน คือ “ผู้นำ” ที่จะพาให้โครงการนี้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง
และด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของจาง เขาจึงได้รับข้อเสนอจากทางรัฐบาลไต้หวัน ให้เข้ารับตำแหน่งประธานของ ITRI ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการความสามารถของเขาในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ
หลังจากที่เขาตกลงรับข้อเสนอในครั้งนี้ ทางรัฐบาลไต้หวันได้ให้โจทย์กับเขาว่า
ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ผ่านการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา
จางจึงได้เริ่มวิเคราะห์ โมเดลธุรกิจที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ
ซึ่งเขาพบว่าไต้หวันในตอนนั้นมีจุดอ่อนเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยและพัฒนา
การออกแบบ และการตลาด ไต้หวันไม่มีความสามารถมากพอ
ที่จะสู้กับทาง Intel หรือ Texas Instruments ซึ่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ได้เลย
จุดแข็งเดียวที่พอมี คือ “การผลิต” และจากการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง
ทำให้คำตอบของโจทย์นี้ออกมาเป็น “จัดตั้งบริษัทรับจ้างผลิตให้กับบริษัทอื่น”
แม้ความคิดนี้จะโดนคัดค้านในตอนแรก เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มีบริษัทที่มีโมเดลแบบ Fabless หรือ ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง เช่น Apple หรือ Nvidia ในปัจจุบัน จึงทำให้ไม่มีตลาดรองรับ
แต่จากประสบการณ์ทำงานในวงการมาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี เขาสังเกตเห็นว่า
ทุก ๆ ปี จะมีพนักงานหลายคนของ Texas Instruments หรือ Intel ที่มีความคิด อยากออกมาสร้างธุรกิจเกี่ยวกับ ชิปเซตเป็นของตัวเอง
แต่ทุกครั้งความคิดนี้ต้องล้มเลิกไป เพราะการที่จะสามารถดำเนินธุรกิจ ชิปเซต ได้นั้น จำเป็นต้องมีโรงงานการผลิตเป็นของตัวเอง
ทำให้ยุคนั้นยังไม่มีบริษัทไหนที่ทำโมเดลธุรกิจรับจ้างผลิตเลย เพราะการสร้างโรงงานจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ซึ่งต้นทุนในการสร้างโรงงานใหม่ถ้าคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่หลักแสนล้านบาทเลยทีเดียว
ในปี ค.ศ. 1987 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา
ซึ่งมีโมเดลการดำเนินธุรกิจ รับจ้างผลิตชิปเซตให้กับบริษัทอื่นโดยไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งนับเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีโมเดลแบบนี้เกิดขึ้น
โดยในช่วง 3 ปีแรก บริษัทมีลูกค้าเพียงไม่กี่ราย ส่วนใหญ่มาจากภายในประเทศ
แต่หลังจากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา สิ่งที่จางคิดไว้ในตอนแรกก็เริ่มเป็นจริง
เพราะเริ่มมีบริษัทที่ต้องการชิปเซตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีทุนสร้างโรงงานผลิต
บริษัทเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นลูกค้าของ TSMC และได้ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น
เหตุผลที่ทำให้หลายบริษัทเข้ามาเป็นลูกค้าของ TSMC เพราะบริษัทมีเทคโนโลยีในการผลิตที่มีความซับซ้อนสูง สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งเป็นผลจากนโยบายการลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ในปี ค.ศ. 2020 TSMC มีมูลค่าในการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 8.5% เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งบริษัท ซึ่งมากกว่า Apple หนึ่งในเจ้าแห่งนวัตกรรมที่มีสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 6.8% เสียอีก
โดย TSMC มีลูกค้ารายใหญ่คือ Apple, Nvidia และ Qualcomm และมีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ มากถึง 55.6% เลยทีเดียว
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่าบริษัท สูงถึง 20 ล้านล้านบาท มากกว่า Intel ที่มีมูลค่า 7 ล้านล้านบาท และ AMD ที่มีมูลค่า 4 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดทั่วโลกอีกด้วย
จากเรื่องทั้งหมดนี้จึงทำให้ตัวเจ้าของบริษัทอย่าง มอร์ริส จาง มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 15 ของไต้หวัน
ถ้าถามว่าแนวคิดอะไร ที่ทำให้จางประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
เราน่าจะสรุปได้เป็น 2 ข้อ
1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า มอร์ริส จาง เป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนมาก
หากเขารู้สึกว่างานที่เขาทำอยู่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่เขาต้องการ
เขาก็พร้อมออกมาเพื่อตามหาสิ่งที่ตรงกับเป้าหมายของเขาเสมอ อย่างเช่น ตอนที่เขาออกจาก Sylvania Semiconductor และ GIC เพราะเขาต้องการงานที่โฟกัสไปที่การพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
2. ความไม่ยอมแพ้
แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการก่อตั้ง TSMC ให้เป็นบริษัทรับจ้างผลิตชิป แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้และเชื่อมั่นในแนวคิดของตนเอง ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทจนสำเร็จ
จากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนบวกกับการไม่ยอมแพ้ของจาง จึงไม่แปลกใจเลยที่ในวันนี้เขาสามารถพา TSMC ให้ประสบความสำเร็จจนมีมูลค่าบริษัท 20 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกไปแล้ว นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/TSMC
-https://en.wikipedia.org/wiki/Morris_Chang
-https://www.longtunman.com/27349
-https://www.longtunman.com/27702
-https://sahilbloom.substack.com/p/the-amazing-story-of-morris-chang
-https://www.yourtechstory.com/2018/08/16/morris-chang-chip-industry-tsmc/
-https://www.semi.org/en/Oral-History-Interview-Morris-Chang
-https://www.forbes.com/profile/morris-chang/?sh=7eb878d45fc4
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sylvania_Electric_Products
-https://www.investopedia.com/articles/markets/012716/how-taiwan-semiconductor-manufacturing-makes-money-tsm.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Semiconductor_fabrication_plant
-https://en.wikipedia.org/wiki/Texas_Instruments
-https://www.counterpointresearch.com/global-smartphone-share/
ios wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ทำไม แบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่น ได้รับความนิยม ลดลง /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปในช่วง 10 ถึง 20 ปีก่อน
ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเจ้าแห่งการสร้างสรรค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ที่ได้สร้างความฮือฮาให้กับทั่วโลกไว้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman
เครื่องเล่นแผ่นซีดีและดีวีดี
เครื่องเล่นเกมอย่าง Game Boy และ PlayStation
เครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์อย่าง Casio
แต่ปัจจุบัน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะที่เป็นนวัตกรรมระดับโลก
อย่างเช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เติมคำว่าสมาร์ตเข้าไป
กลับถูกคิดค้นและพัฒนาโดยสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน เป็นส่วนใหญ่
แล้วทำไมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นผู้นำเท่าเมื่อก่อน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ช่วงทศวรรษ 1970s ประเทศญี่ปุ่นเริ่มมาเป็นผู้นำด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่โดดเด่นของโลก
โดยเริ่มมาจากการรับเทคโนโลยีจากชาติตะวันตกในช่วงสงคราม และพัฒนาต่อยอด
จนกลายมาเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีได้เอง อย่างเช่นตัวอย่างเหล่านี้
Sony ขายเครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman เป็นเจ้าแรกของโลก
Toshiba และ Epson ขายแล็ปท็อปในตลาด Mass เป็นเจ้าแรกของโลก
Kyocera ขายโทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง เป็นเจ้าแรกของโลก
หรือถ้าลองสังเกตจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รอบตัวเรา ก็มีเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นอยู่มากมาย
ยิ่งถ้าเป็นเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ไอเทมนำสมัยที่ได้รับความนิยมสูงส่วนใหญ่ ก็เป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นทั้งนั้น
แล้วอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
ถ้าแบ่งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสองกลุ่มใหญ่
จะแบ่งได้เป็น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
และวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตอย่างเซมิคอนดักเตอร์
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันในตลาดโลก ตัวอย่างเช่น
สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต เจ้าตลาดคือ Samsung และ Apple
แล็ปท็อป เจ้าตลาดคือ Lenovo และ HP
เครื่องซักผ้า เจ้าตลาดคือ Haier และ Whirlpool
ตู้เย็น เจ้าตลาดคือ Haier และ LG
โทรทัศน์ เจ้าตลาดคือ Samsung และ LG
ซึ่งแบรนด์ทั้งหมดที่ว่ามานี้ เป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน
หรือแม้แต่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของโลก ก็มีส่วนแบ่งตลาดหลัก ๆ มาจาก
TSMC ของไต้หวัน และ Samsung ของเกาหลีใต้
จะสังเกตได้ว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
เริ่มไม่เห็นชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
จากมุมมองของอดีตผู้บริหารและพนักงานระดับสูงของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น
รวมไปถึงมุมมองจากนักวิเคราะห์ สามารถรวบรวมเป็นปัจจัย
ที่ทำให้ญี่ปุ่นเริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้ 4 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก สินค้าคุณภาพสูง จนเกินความต้องการของผู้ซื้อ
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพ
สะท้อนได้จากปรัชญาในการผลิตที่เรียกว่า “Monozukuri” หรือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
ที่มีคุณภาพสูงโดยใช้ทักษะและเทคโนโลยี
แต่คุณภาพของสินค้า ก็ต้องตามมาด้วยราคาขายที่สูงขึ้นตาม
ซึ่งคุณภาพบางอย่าง ก็สูงเกินความต้องการของผู้ใช้งานจริง
โดยที่หลายคนไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องจ่ายแพง เพื่อให้ได้ฟังก์ชันการใช้งานเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
Sony เป็นบริษัทแรก ๆ ของโลกที่ขายโทรทัศน์จอ LCD
ก่อนที่หนึ่งปีให้หลัง Samsung จะวางขายและใช้ชื่อว่าจอ LED แทน
ขณะที่ Sony ใช้กลยุทธ์สินค้าคุณภาพสูงมาก เทคโนโลยีหน้าจอสุดล้ำ
หน้าจอบางที่สุด ส่งผลให้ราคาขายก็สูงขึ้นตามไปด้วย
Samsung กลับเน้นการตั้งราคาแบบเข้าถึงคนส่วนใหญ่ มากกว่ากลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง
จึงคุมต้นทุนการผลิต โดยเลือกเฉพาะฟังก์ชันการใช้งานที่จำเป็นแทน และเน้นที่ดีไซน์
ซึ่งกลยุทธ์แบบ Samsung ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดไปได้มากที่สุด
หรือในการแข่งขันของสมาร์ตโฟน ที่มี iPhone ของ Apple เป็นผู้บุกเบิก
Sony และ Samsung ต่างเข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งทั้งคู่ยังคงใช้กลยุทธ์แบบเดิม
Sony Xperia มีฟังก์ชันการใช้งานครบครัน ในขณะที่ Samsung Galaxy มีหลายรุ่นให้เลือก โดยยอมลดทอนฟังก์ชันการใช้งานลงมา เพื่อให้ตั้งราคาขายแบบเข้าถึงง่าย จึงยืนระยะได้นานและยังคงเป็นแบรนด์สมาร์ตโฟนอันดับต้น ๆ ของโลก
ปัจจัยที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องการตลาดน้อยเกินไป
บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น เน้นการแข่งขันด้วยเทคโนโลยี เช่น การคิดค้นสินค้ารุ่นใหม่ที่บางสุด มีขนาดเล็กที่สุด แต่ยังขาดปัจจัยที่มีผลโดยตรงกับลูกค้า นั่นคือดีไซน์ ความง่ายในการใช้งาน และวิธีการสื่อสารกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2004 Sony ขายอุปกรณ์อ่านอีบุ๊กที่ชื่อว่า Librie เป็นเจ้าแรกของโลก
ก่อนหน้าที่ Amazon จะขาย Kindle นานถึง 3 ปี
แต่เหตุผลที่ Kindle กลายมาเป็นเจ้าตลาดอุปกรณ์อ่านอีบุ๊ก
นอกเหนือจากการที่ใช้งานง่ายกว่าแล้ว
Amazon โฟกัสที่การขายอีบุ๊กมากกว่าตัวอุปกรณ์อ่าน
ในขณะที่ Sony โฟกัสที่การขายตัวอุปกรณ์อย่างเดียว
Kindle จึงเชื่อมโยงถึงผู้ซื้อได้มากกว่า
ในด้านของเหตุผลที่ว่าซื้ออุปกรณ์นี้ไปเพื่ออะไร
และกลายมาเป็นเจ้าตลาดในที่สุด
ปัจจัยที่สาม โดดเด่นในการพัฒนาฮาร์ดแวร์ แต่ไม่ถนัดพัฒนาซอฟต์แวร์
สินค้าที่แบรนด์จากญี่ปุ่นคิดค้นแล้วประสบความสำเร็จ มักเป็นการพัฒนาที่ตัวอุปกรณ์และเครื่องกล
อย่างเช่นเครื่องเล่น Walkman, เครื่องเล่นซีดี และเครื่องเล่นเกม ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่เริ่มวางขาย แต่สินค้าเหล่านี้ไม่ได้มีระบบปฏิบัติการ หรือระบบนิเวศที่ดึงให้ผู้ใช้งานยังคงใช้ฮาร์ดแวร์เหล่านั้นไปเรื่อย ๆ
ในขณะที่การคิดค้นระบบปฏิบัติการของ Apple เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำฮาร์ดแวร์ให้เป็นมากกว่าฮาร์ดแวร์
iOS และ macOS ได้เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เติบโตแบบก้าวกระโดด
โดยประเทศญี่ปุ่นซึ่งยังไม่ถนัดในเรื่องนี้ จึงไล่ตามประเทศที่เป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์อย่างสหรัฐอเมริกาไม่ทัน
ปัจจัยสุดท้าย มุ่งพัฒนาเทคโนโลยี ด้วยตัวเอง
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ก็คือผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำในญี่ปุ่น
ในทศวรรษ 1990s รู้หรือไม่ว่าบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง NEC ครองส่วนแบ่งตลาดเซมิคอนดักเตอร์
มากที่สุดในโลก และยังมี Toshiba กับ Hitachi ที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมา
แต่ในทศวรรษ 2000s ผู้นำในตลาดเซมิคอนดักเตอร์กลายเป็น Intel จากสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ Samsung จากเกาหลีใต้เริ่มไล่ตามมาติด ๆ
ปี 2002 Hitachi จึงจับมือกับ Mitsubishi ร่วมกันตั้งบริษัทผลิตชิปที่ชื่อว่า Renesas
เพื่อช่วยพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ไปด้วยกัน และปกป้องตำแหน่งผู้นำในตลาด
ก่อนที่ NEC จะเข้ามาควบรวมในอีก 7 ปีถัดมา
แต่การร่วมมือกันคิดค้นเทคโนโลยีผลิตชิปด้วยตัวเอง มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ช้า
ขณะที่ช่วงนั้น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน ใช้กลยุทธ์แบบที่ญี่ปุ่นเคยทำในอดีต
นั่นคือเรียนรู้เทคโนโลยีจากประเทศอื่น
แล้วนำมาต่อยอด ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้มีจุดแข็งที่สำคัญคือ ความเร็ว
นั่นจึงทำให้ปัจจุบัน TSMC จากไต้หวัน และ Samsung จากเกาหลีใต้
กลายเป็นผู้นำในการผลิตชิปได้ในที่สุด
และทั้งหมดนี้ คือปัจจัยหลัก ที่ทำให้แบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น
เริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ยิ่งในช่วงหลังปี 2010 ที่สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตกลายมาเป็นสินค้าจำเป็น
และแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาดในสินค้าเหล่านั้น ก็พัฒนาสินค้าประเภทอื่น
จนเป็นผู้นำในตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปได้เกือบทุกประเภท
ขณะที่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น กลับต้องผ่านช่วงล้มลุกคลุกคลาน
บางบริษัทต้องเผชิญการขาดทุนอย่างหนัก จนต้องหาทางอยู่รอดกันต่อไป ยกตัวอย่างเช่น
Sharp ขายกิจการให้ Foxconn ของไต้หวันไปแล้ว
Panasonic ควบรวมกับ Sanyo
ขณะที่บริษัทที่ได้ไปต่อ ก็ยังคงมีผลประกอบการที่ตามหลังคู่แข่ง ซึ่งเรื่องนี้ก็ส่งผลให้งบลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา มีน้อยลงไปด้วย การเร่งความเร็วในการไล่ตามคู่แข่ง จึงทำได้ไม่ง่ายนัก
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าแบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น
จะแก้เกมจนกลับสู่การเป็นผู้นำในตลาดโลกได้อีกครั้งหรือไม่
หรือจะเสียตำแหน่งไป แบบไม่มีวันทวงคืน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.wsj.com/articles/SB10000872396390444840104577551972061864692
-https://www.bbc.com/news/world-asia-21992700
-https://money.cnn.com/2017/05/04/technology/japanese-companies-fall-toshiba-olympus-sanyo-sharp/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Electronics_industry
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Japanese_inventions_and_discoveries#Audio_technology
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/appliances-market
-https://www.icinsights.com/news/bulletins/Lone-Japanese-Semiconductor-Supplier-Ranked-Among-Top-10-In-1H13/
-https://technology.inquirer.net/89835/from-sony-to-samsung-how-tech-leadership-migrated-from-japan-to-korea
ios wiki 在 MintCat薄荷貓 game Youtube 的最佳貼文
#MYCARD#原神
●輸入【薄荷貓】完成註冊驗證抽MyCard1~3000點及Switch主機
立即參加 https://my24.tw/mintcat-n
●儲值用MyCard 萬點十連抽
立即前往 https://my24.tw/mintcat-m
----------------------------------------------------------------
【新池角色】新池值不值得抽?封鈴笙和冰璃超搭?四角色詳細分析 幻海迷城和貓的祈念活動介紹
https://youtu.be/VOn15tjNYRk
【神龕實測】可以跟神龕討價還價讓稀有機率低變高?越晚發現會越虧 發財致富靠神龕
https://youtu.be/yJnKxIzrtqk
【無課戰力提升】八大方向解析 CP值最高角色提升戰力方法
https://youtu.be/gGfKONz8EcQ
【每日必做】新手首抽後懶人包!競技場用青蘿?盤點《天地劫》遊戲小知識和細節
https://youtu.be/v_EmVlfXKLU
【接近100抽】拼拼夏侯儀 這麼帥的夏侯儀不抽嗎?好想把他帶回家
https://youtu.be/LYC5DlqvtFg
最值得培養的極品角色!新手開荒角色推薦!盤點好用的極品英靈
https://youtu.be/tewVEoS8OQg
新手首抽推薦、雙開局角色組合怎麼選?絕品角色超詳細介紹
https://youtu.be/ke3hmE4PGls
----------------------------------------------------------------
MintCat薄荷貓 game(手機遊戲):https://www.youtube.com/c/Mintcat99
薄荷貓正在玩(遊戲時事和新聞):https://reurl.cc/l0Gm2Y
薄荷草上有隻貓(遊戲紀錄):https://reurl.cc/8ydERX
----------------------------------------------------------------
活動合作邀約(也私訊粉絲團)
或是寄信到:mintcat1113@gmail.com
----------------------------------------------------------------
【社群連結】
➤Youtube
MintCat薄荷貓(手機遊戲):https://reurl.cc/1Y3rXX
薄荷貓正在玩(遊戲時事和新聞):https://reurl.cc/l0Gm2Y
薄荷草上有隻貓(VOD紀錄):https://reurl.cc/8ydERX
➤Instagram:https://www.instagram.com/mintcat1113/
➤Discord:https://discord.gg/k56RfcZ
➤Line社群(遊戲專用):https://reurl.cc/W3RpOe
----------------------------------------------------------------
【直播開台】
*開台時間以DC或LINE社群為主
➤Youtube(手機類):https://reurl.cc/1Y3rXX
➤Twitch(非手遊):https://www.twitch.tv/mintbaby1113
----------------------------------------------------------------
【斗內會員】
*訂閱/會員福利會在另行公佈
➤Twitch訂閱
➤Youtube會員:https://reurl.cc/8301RX
➤歐付寶:https://reurl.cc/X61Daa
----------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------
#首抽 #天地劫 #天地劫手遊 #絕品 #雙開局 #完美開局 #角色推薦 #天地劫幽城再臨 #天地劫首抽 #天地劫手游 #天地劫幽城再臨 #天地劫M #天地劫神魔至尊傳 #NGA天地劫 #天地劫攻略 #天地劫巴哈 #天地劫ios #天地劫下載 #天地 劫手機 #天地劫角色 #天地劫WIKI #最新 #手遊 #轉蛋 #介紹 #試玩 #攻略 #動畫 #下載 #電玩 #遊戲 #事前登錄 #無課 #新手 #首抽 #新手首抽 #推薦 #刷首抽 #SSR #角色 #卡池 #2021手遊 #無課玩家 #課長 #玩法 #基本操作 #MMO #RPG #ARPG #MMORPG #商城 #坐騎 #事前登入 #巴哈
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/dBAlA2M2eIM/hqdefault.jpg)
ios wiki 在 MintCat薄荷貓 game Youtube 的最佳解答
#首抽 #天地劫 #天地劫手遊
#絕品 #雙開局 #完美開局 #角色推薦
#天地劫幽城再臨
----------------------------------------------------------------
【新池角色】新池值不值得抽?封鈴笙和冰璃超搭?四角色詳細分析 幻海迷城和貓的祈念活動介紹
https://youtu.be/VOn15tjNYRk
【神龕實測】可以跟神龕討價還價讓稀有機率低變高?越晚發現會越虧 發財致富靠神龕
https://youtu.be/yJnKxIzrtqk
【無課戰力提升】八大方向解析 CP值最高角色提升戰力方法
https://youtu.be/gGfKONz8EcQ
【每日必做】新手首抽後懶人包!競技場用青蘿?盤點《天地劫》遊戲小知識和細節
https://youtu.be/v_EmVlfXKLU
【接近100抽】拼拼夏侯儀 這麼帥的夏侯儀不抽嗎?好想把他帶回家
https://youtu.be/LYC5DlqvtFg
最值得培養的極品角色!新手開荒角色推薦!盤點好用的極品英靈
https://youtu.be/tewVEoS8OQg
新手首抽推薦、雙開局角色組合怎麼選?絕品角色超詳細介紹
https://youtu.be/ke3hmE4PGls
----------------------------------------------------------------
MintCat薄荷貓 game(手機遊戲):https://www.youtube.com/c/Mintcat99
薄荷貓正在玩(遊戲時事和新聞):https://reurl.cc/l0Gm2Y
薄荷草上有隻貓(遊戲紀錄):https://reurl.cc/8ydERX
----------------------------------------------------------------
活動合作邀約(也私訊粉絲團)
或是寄信到:mintcat1113@gmail.com
----------------------------------------------------------------
【社群連結】
➤Youtube
MintCat薄荷貓(手機遊戲):https://reurl.cc/1Y3rXX
薄荷貓正在玩(遊戲時事和新聞):https://reurl.cc/l0Gm2Y
薄荷草上有隻貓(VOD紀錄):https://reurl.cc/8ydERX
➤Instagram:https://www.instagram.com/mintcat1113/
➤Discord:https://discord.gg/k56RfcZ
➤Line社群(遊戲專用):https://reurl.cc/W3RpOe
----------------------------------------------------------------
【直播開台】
*開台時間以DC或LINE社群為主
➤Youtube(手機類):https://reurl.cc/1Y3rXX
➤Twitch(非手遊):https://www.twitch.tv/mintbaby1113
----------------------------------------------------------------
【斗內會員】
*訂閱/會員福利會在另行公佈
➤Twitch訂閱
➤Youtube會員:https://reurl.cc/8301RX
➤歐付寶:https://reurl.cc/X61Daa
----------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------
#首抽 #天地劫 #天地劫手遊 #絕品 #雙開局 #完美開局 #角色推薦 #天地劫幽城再臨 #天地劫首抽 #天地劫手游 #天地劫幽城再臨 #天地劫M #天地劫神魔至尊傳 #NGA天地劫 #天地劫攻略 #天地劫巴哈 #天地劫ios #天地劫下載 #天地 劫手機 #天地劫角色 #天地劫WIKI #最新 #手遊 #轉蛋 #介紹 #試玩 #攻略 #動畫 #下載 #電玩 #遊戲 #事前登錄 #無課 #新手 #首抽 #新手首抽 #推薦 #刷首抽 #SSR #角色 #卡池 #2021手遊 #無課玩家 #課長 #玩法 #基本操作 #MMO #RPG #ARPG #MMORPG #商城 #坐騎 #事前登入 #巴哈
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/ZKBAce5Kk9o/hqdefault.jpg)
ios wiki 在 MintCat薄荷貓 game Youtube 的精選貼文
#首抽 #天地劫 #天地劫手遊
#絕品 #雙開局 #完美開局 #角色推薦
#天地劫幽城再臨
----------------------------------------------------------------
【新池角色】新池值不值得抽?封鈴笙和冰璃超搭?四角色詳細分析 幻海迷城和貓的祈念活動介紹
https://youtu.be/VOn15tjNYRk
【神龕實測】可以跟神龕討價還價讓稀有機率低變高?越晚發現會越虧 發財致富靠神龕
https://youtu.be/yJnKxIzrtqk
【無課戰力提升】八大方向解析 CP值最高角色提升戰力方法
https://youtu.be/gGfKONz8EcQ
【每日必做】新手首抽後懶人包!競技場用青蘿?盤點《天地劫》遊戲小知識和細節
https://youtu.be/v_EmVlfXKLU
【接近100抽】拼拼夏侯儀 這麼帥的夏侯儀不抽嗎?好想把他帶回家
https://youtu.be/LYC5DlqvtFg
最值得培養的極品角色!新手開荒角色推薦!盤點好用的極品英靈
https://youtu.be/tewVEoS8OQg
新手首抽推薦、雙開局角色組合怎麼選?絕品角色超詳細介紹
https://youtu.be/ke3hmE4PGls
----------------------------------------------------------------
MintCat薄荷貓 game(手機遊戲):https://www.youtube.com/c/Mintcat99
薄荷貓正在玩(遊戲時事和新聞):https://reurl.cc/l0Gm2Y
薄荷草上有隻貓(遊戲紀錄):https://reurl.cc/8ydERX
----------------------------------------------------------------
活動合作邀約(也私訊粉絲團)
或是寄信到:mintcat1113@gmail.com
----------------------------------------------------------------
【社群連結】
➤Youtube
MintCat薄荷貓(手機遊戲):https://reurl.cc/1Y3rXX
薄荷貓正在玩(遊戲時事和新聞):https://reurl.cc/l0Gm2Y
薄荷草上有隻貓(VOD紀錄):https://reurl.cc/8ydERX
➤Instagram:https://www.instagram.com/mintcat1113/
➤Discord:https://discord.gg/k56RfcZ
➤Line社群(遊戲專用):https://reurl.cc/W3RpOe
----------------------------------------------------------------
【直播開台】
*開台時間以DC或LINE社群為主
➤Youtube(手機類):https://reurl.cc/1Y3rXX
➤Twitch(非手遊):https://www.twitch.tv/mintbaby1113
----------------------------------------------------------------
【斗內會員】
*訂閱/會員福利會在另行公佈
➤Twitch訂閱
➤Youtube會員:https://reurl.cc/8301RX
➤歐付寶:https://reurl.cc/X61Daa
----------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------
#首抽 #天地劫 #天地劫手遊 #絕品 #雙開局 #完美開局 #角色推薦 #天地劫幽城再臨 #天地劫首抽 #天地劫手游 #天地劫幽城再臨 #天地劫M #天地劫神魔至尊傳 #NGA天地劫 #天地劫攻略 #天地劫巴哈 #天地劫ios #天地劫下載 #天地 劫手機 #天地劫角色 #天地劫WIKI #最新 #手遊 #轉蛋 #介紹 #試玩 #攻略 #動畫 #下載 #電玩 #遊戲 #事前登錄 #無課 #新手 #首抽 #新手首抽 #推薦 #刷首抽 #SSR #角色 #卡池 #2021手遊 #無課玩家 #課長 #玩法 #基本操作 #MMO #RPG #ARPG #MMORPG #商城 #坐騎 #事前登入 #巴哈
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/waGbCJAvtNw/hqdefault.jpg)