กรณีศึกษา ธุรกิจจัดอันดับเครดิต ที่ครองตลาดโดย 3 ราย /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงตลาดที่มีผู้แข่งขันน้อยรายในวงการการเงินโลก
หลายคนคงนึกถึง Big 4 แห่งวงการตรวจสอบบัญชี
ที่มี Deloitte, PwC, EY และ KPMG เป็นรายใหญ่ในตลาด
แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกตลาดที่ถูกครองโดยบริษัทเพียง 3 ราย
นั่นก็คือ ตลาด “จัดอันดับเครดิต”
3 บริษัท ที่ว่านี้คือบริษัทอะไรบ้าง
แล้วอะไรที่ทำให้ 3 บริษัทนี้ ยึดพื้นที่ในตลาดจัดอันดับเครดิตได้เกือบทั้งหมด?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
บริษัทจัดอันดับเครดิต หรือ Credit Rating Agencies (CRAs)
บริษัทเหล่านี้ทำหน้าที่จัดอันดับความสามารถในการชำระหนี้คืน ของตราสาร หรือผู้ออกตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ เช่น หุ้นกู้, พันธบัตรรัฐบาล
การจัดอันดับ จะออกมาในรูปแบบของ “เรตติ้ง” ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ ของผู้ออกตราสารทางการเงินนั้นๆ
โดยเรตติ้งจะเริ่มตั้งแต่ระดับสูงสุดที่ AAA คือ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระน้อยที่สุด
ไปจนถึง D คือ มีโอกาสสูงในการผิดนัดชำระ
(แต่ละบริษัท อาจมีการแบ่งระดับเรตติ้งแตกต่างกัน)
นอกจากการให้เรตติ้งกับตราสารทางการเงิน
บริษัทเหล่านี้ ยังสามารถให้เรตติ้งกับรัฐบาลประเทศต่างๆ
เพื่อสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้คืนของประเทศนั้นๆ ด้วย
คำถามต่อมาคือ แล้วบริษัทจัดอันดับเครดิตเหล่านี้ ทำรายได้อย่างไร?
รายได้หลักๆ ของธุรกิจนี้มาจาก
1. รายได้จากการ “เก็บค่าธรรมเนียมในการประเมินเครดิต” จากผู้ออกตราสารทางการเงิน
2. รายได้จากการ “ขายข้อมูลเครดิต” ที่ได้จากการรับประเมิน และข่าวสารต่างๆ ให้กับนักลงทุนหรือผู้ที่ต้องการข้อมูล ผ่านบริการอย่างเช่น ระบบสมาชิก (Subscription)
ที่น่าสนใจคือ ส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 95% ของตลาดจัดอันดับเครดิต ถูกครอบครองโดยบริษัทเพียง 3 ราย เท่านั้น
บริษัท 3 รายที่ว่า นั่นก็คือ
1. S&P Global Ratings
2. Moody’s Investors Service
3. Fitch Ratings
โดย S&P Global Ratings และ Moody’s Investors Service ครองส่วนแบ่งในตลาดนี้รวมกันประมาณ 80% และ Fitch Ratings ครองสัดส่วนอีก 15% ส่วนที่เหลืออีก 5% เป็นบริษัทอื่นๆ
ตลาดที่มีบริษัทใหญ่ๆ เพียงไม่กี่รายครองส่วนแบ่งเกือบทั้งตลาดแบบนี้ เราเรียกว่า “ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)”
ซึ่งจุดเด่นอย่างหนึ่งของตลาดผู้ขายน้อยราย
คือบริษัทไม่กี่รายที่เป็นผู้ครองตลาด
สามารถสร้างสิ่งที่ทำให้บริษัทรายอื่นเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้ยาก
สิ่งนี้เรียกว่า “Barrier to Entry”
และ Barrier to Entry ของตลาดประเมินเครดิตนี้ ก็คือ “ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ”
แล้วบริษัทเหล่านี้สร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขึ้นมาอย่างไร?
ถ้าลองมาดูปีที่บริษัทเหล่านี้เริ่มทำธุรกิจ
- Standard and Poor’s มีจุดเริ่มต้นในปี 1860 หรือเมื่อ 160 ปีที่แล้ว
- Moody’s มีจุดเริ่มต้นในปี 1909 หรือเมื่อ 111 ปีที่แล้ว
- Fitch มีจุดเริ่มต้นในปี 1914 หรือเมื่อ 106 ปีที่แล้ว
จะเห็นว่า ทั้ง 3 บริษัท มีประสบการณ์มากกว่า 100 ปี
ซึ่งเราก็อาจสรุปได้ว่า ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้กับทั้ง 3 บริษัท
ตรงนี้เองที่เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้บริษัทจัดอันดับเครดิตที่เพิ่งก่อตั้งรายอื่นเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งได้ยาก
เพราะบริษัทที่จะมาใช้บริการในการประเมินเครดิต ก็จะเลือกใช้ 3 บริษัทนี้เป็นอันดับแรกๆ
แต่อีกมุมหนึ่ง การที่ 3 บริษัทนี้มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือสูง มันก็มีประเด็นในด้านลบเกิดขึ้นเหมือนกัน
หลายครั้งที่บริษัทเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าให้เรตติ้งสูงเกินควรกับลูกค้าบางรายเพื่อแลกกับผลประโยชน์ เพราะไม่ว่าบริษัทไหน ก็อยากได้เรตติ้งที่ดีจากบริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำกันทั้งนั้น
ถ้าใครที่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง The Big Short
ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือวิกฤติซับไพรม์ในสหรัฐฯ ในช่วงปี 2008
จะเห็นว่าบางช่วงในภาพยนตร์ พยายามนำเสนอว่าบริษัทจัดอันดับเครดิตเหล่านี้ ให้เรตติ้งกับตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อบ้านหนุนหลังในระดับที่สูงจนเกินไป และนำมาซึ่งปรากฏการณ์ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ แตกในที่สุด
พอเป็นแบบนี้ หลายๆ ประเทศจึงมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาดูแลการดำเนินงานของบริษัทจัดอันดับเครดิต ให้รัดกุมมากขึ้น
อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดวิกฤติซับไพรม์ ก็มีการปฏิรูปกฎหมายสำหรับควบคุม และตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทจัดอันดับเครดิตให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เช่น กำหนดให้บริษัทจัดอันดับเครดิตต้องเปิดเผยขั้นตอนและวิธีการของการประเมินเครดิตอย่างละเอียดให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีประเด็นในแง่ลบหลายครั้ง
แต่บริษัทจัดอันดับเครดิตรายใหญ่ทั้ง 3 เจ้านี้ ก็ยังครองตลาดนี้ได้เกือบ 100% ในปัจจุบัน
สรุปแล้ว ที่บริษัทจัดอันดับเครดิตทั้ง 3 แห่งสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดนี้ได้
สาเหตุหลักมาจากชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ ที่สร้างขึ้นจากการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน
จนทำให้ไม่ว่าใครๆ ก็อยากได้การจัดอันดับเครดิตจาก 3 บริษัทนี้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตนเอง
และเรื่องที่น่าสนใจของธุรกิจประเภทนี้คือ
ตราบใดที่สินทรัพย์ทางการเงินยังคงต้องการการรับรองความน่าเชื่อถือ
บริษัทจัดอันดับเครดิตเหล่านี้ ก็คงจะทำรายได้ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นเอง..
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.investopedia.com/articles/bonds/09/history-credit-rating-agencies.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Credit_rating_agency
-https://www.fitchratings.com/
-S&P Global 2019 Annual Report.
-Moody’s 2019 Annual Report.
ตลาดผู้ขายน้อยราย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กรณีศึกษา คู่แข่งน้อย ขาดทุนหนักกว่า คู่แข่งมาก /โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าธุรกิจในตลาดแบบไหนที่แข่งขันกันรุนแรงสุด
ในทางเศรษฐศาสตร์ คงตอบได้ว่า ตลาดแข่งขันแบบสมบูรณ์ (Competitive Market)
แต่ถ้าถามว่าทุกวันนี้ เราเห็นธุรกิจอะไรแข่งขันกันดุเดือดที่สุด
หลายคนคงตอบว่า ธุรกิจดิลิเวอรีอาหาร ชอปปิงออนไลน์ สายการบิน หรือแม้แต่การแย่งลูกค้าให้ย้ายค่ายโทรศัพท์รายเดือน
ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ล้วนแต่อยู่ใน “ตลาดผู้ขายน้อยราย” (Oligopoly)
ทำไมเรื่องนี้ขัดกับทฤษฎีในตำรา
ลงทุนแมนจะอธิบายเรื่องนี้ให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักตลาดทั้งสองแบบนี้กันก่อน
ตลาดแข่งขันโดยสมบูรณ์ (Competitive Market)
คือตลาดที่มีลักษณะสินค้าเหมือนกันทุกประการ มีจำนวนผู้ขายและจำนวนสินค้าในปริมาณมาก
ผู้ซื้อและผู้ขายมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในตลาดได้อย่างสมบูรณ์
หมายความว่า ถ้าผู้ขายคนไหนขายสินค้าแพงกว่าราคาตลาด
คนก็จะไม่ซื้อของจากร้านนั้น แล้วหันไปซื้อร้านอื่นที่ขายถูกกว่าแทน
พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ผู้ซื้อเป็นผู้มีอำนาจกำหนดราคาสินค้า
ในโลกแห่งความเป็นจริง ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ส่วนใหญ่จะอยู่ในตลาด สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ตลาดผักผลไม้พันธุ์เดียวกัน เมล็ดข้าวสารพันธุ์เดียวกัน หรือแม้แต่ น้ำตาล ยางพารา น้ำมัน
ในโลกของตลาดแข่งขันโดยสมบูรณ์ ผู้ประกอบการต่างฝ่ายต่างก็รู้ว่า จะใช้กลยุทธ์ห้ำหั่นราคา ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะทำไปก็มีแต่ทำให้ตัวเองได้กำไรน้อยลง
ดังนั้นทางที่ทุกคนต่างเลือกใช้ก็คือลดต้นทุนการผลิตของตนเองลง เช่น การผลิตจำนวนมากๆ เพื่อให้ได้การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) และขายสินค้าต้นทุนต่ำเหล่านั้นในราคาตลาด
ส่วนตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)
คือตลาดที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่ครองส่วนแบ่งกันเพียงไม่กี่เจ้า
แต่ละรายจึงต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อให้ตัวเองมีส่วนแบ่งมากสุดในตลาด
ทำให้ต่างฝ่ายต่างต้องปล่อยหมัดงัดกลยุทธ์มาต่อสู้กันตลอดเวลา
จนถึงขั้นตัวเองยอมขาดทุนเพื่อกำจัดคู่แข่งให้หมดไป หรือเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ
ตลาดแพลตฟอร์มชอปปิงออนไลน์ในไทย
ที่มีผู้เล่นหลักๆ คือ Lazada และ Shopee
ต่างฝ่ายต่างแข่งกันทุ่มงบประมาณมหาศาล
ส่วนหนึ่งเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน
ให้ตอบโจทย์การใช้งาน ดึงดูดให้คนมาใช้มากที่สุด
อีกส่วนเพื่อสนับสนุนแคมเปญส่งเสริมการขาย
เช่น คูปองส่วนลด โค้ดส่งฟรี กิจกรรมสินค้าราคาพิเศษตามวัน หรือช่วงเวลาต่างๆ
แม้ว่าทั้ง Lazada และ Shopee จะสร้างรายได้ ได้มากขึ้นทุกปี
แต่ต้นทุนที่ต่างฝ่ายต่างเผาแข่งกันก็เป็นเม็ดเงินจำนวนมากไม่แพ้กัน
ความรุนแรงในการแข่งขัน สะท้อนออกมาด้วยตัวเลขขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ของทั้งคู่
Lazada ประเทศไทย
ปี 2017 รายได้ 1,757 ล้านบาท ขาดทุน 568 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 8,163 ล้านบาท ขาดทุน 2,645 ล้านบาท
Shopee ประเทศไทย
ปี 2017 รายได้ 140 ล้านบาท ขาดทุน 1,400 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 165 ล้านบาท ขาดทุน 4,100 ล้านบาท
หรือแม้แต่ในธุรกิจที่อยู่มานานแล้วอย่างสายการบิน ก็มีการตัดราคาเพื่อแย่งลูกค้าเช่นกัน
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)
ปี 2018 รายได้ 19,740 ล้านบาท ขาดทุน 3,975 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 19,969 ล้านบาท ขาดทุน 3,095 ล้านบาท
บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด
ปี 2018 รายได้ 40,199 ล้านบาท กำไร 127.5 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 41,551 ล้านบาท ขาดทุน 871.5 ล้านบาท
จะเห็นว่าบริษัทที่เป็นคู่แข่งกัน มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
โดยมีเป้าหมายคือเป็น “ผู้ชนะ” ที่จะได้ครองส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด
เรื่องนี้ทำให้เห็นว่า การแข่งขันกันในตลาดผู้ขายน้อยราย
มีความเข้มข้น ดุเดือด และรุนแรงมากขึ้นทุกที
และดูเหมือนว่าผู้เล่นในตลาดนี้จะขาดทุนหนักกว่า ผู้เล่นในตลาดแข่งขันโดยสมบูรณ์เสียอีก..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-งบการเงิน บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)
-งบการเงิน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด
ตลาดผู้ขายน้อยราย 在 มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมาก (จึงไม่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา ... 的推薦與評價
(3) ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด หรือผู้ขายมากราย (Monopolistic competition) เช่น ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ - ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกัน (สอดคล้องกับข้อ จ.) - มี ... ... <看更多>
ตลาดผู้ขายน้อยราย 在 ECO2101 (5701) 10 ตลาดผู้ขายน้อยราย - YouTube 的推薦與評價
ตลาด แบบสุดท้ายมาแล้วจร้าาาา เชิญเยี่ยมชมและทัศนาจรได้ตามอัธยาศัยนะคะ. ... <看更多>