กรณีศึกษา คนอุรุกวัย รวยสุดในอเมริกาใต้ /โดย ลงทุนแมน
หากเอ่ยถึง “ทวีปอเมริกาใต้”..
เราคงเคยได้รับรู้ถึงเรื่องราวความถดถอยทางเศรษฐกิจตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
ของหลายประเทศในทวีปแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา บราซิล
เอกวาดอร์ หรือเปรู
แต่ในทวีปแห่งนี้ ก็ยังมีอยู่ประเทศหนึ่ง ที่เศรษฐกิจเติบโตสวนทางกับประเทศอื่น
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา นั่นคือ “อุรุกวัย”
ในปี 2019 ชาวอุรุกวัยมี GDP ต่อหัวสูงที่สุดในอเมริกาใต้
ถึงแม้จะเจอวิกฤติโควิดในปี 2020 แต่เศรษฐกิจของอุรุกวัยก็หดตัวเกือบจะน้อยที่สุด
อะไรที่ทำให้อุรุกวัยมีเส้นทางเดินที่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านในทวีปเดียวกัน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 17
อุรุกวัย มีจุดเริ่มต้นจากการเป็น “พื้นที่กันชน” ของมหาอำนาจยุโรปที่เข้ามาล่าอาณานิคม
ในทวีปอเมริกาใต้ คือ สเปนกับโปรตุเกส
สเปนซึ่งครอบครองดินแดนอาร์เจนตินา ได้ขยายพื้นที่มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ
รีโอเดลาปลาตา และสร้างเมือง “มอนเตวิเดโอ” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ให้เป็นเมืองท่าคู่กับเมืองบัวโนสไอเรส ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน
เช่นเดียวกับโปรตุเกส ที่ได้ขยายดินแดนลงมาจากบราซิล และได้สร้างเมือง
“โคโลเนีย เดล ซาคราเมนโต” ให้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเดียวกัน ไม่ไกลจากมอนเตวิเดโอ
เมื่อต่างฝ่ายต่างขยายดินแดนมาเรื่อย ๆ ทั้ง 2 มหาอำนาจก็ปะทะกันในที่สุด
จนสุดท้าย ดินแดนอุรุกวัยก็ตกเป็นของสเปน และถูกนำไปปกครองรวมกับอาร์เจนตินา
โดยใช้ชื่อว่า “เขตอุปราชแห่งรีโอเดลาปลาตา”
สเปนครอบครองดินแดนแห่งนี้ เพราะหวังจะพบแร่เงิน
แต่เมื่อไม่พบ ทำให้ไม่ค่อยได้รับความใส่ใจ
จนเมื่ออำนาจของสเปนอ่อนแอลง อาร์เจนตินาจึงประกาศเอกราชจากสเปน
แต่ท้ายที่สุดก็เสียดินแดนอุรุกวัยไปให้กับโปรตุเกส
หลังจากถูกรวมกับอาร์เจนตินา
คราวนี้อุรุกวัยถูกนำไปรวมกับบราซิลของโปรตุเกส..
จนเมื่อโปรตุเกสอ่อนแอลง และบราซิลประกาศเอกราช
อุรุกวัยจึงประกาศแยกตัวจากบราซิล และก่อตั้งประเทศในปี 1828
โดยมีกรุงมอนเตวิเดโอ เมืองท่าสำคัญเป็นเมืองหลวงของประเทศ
ถึงแม้ว่าอุรุกวัยจะไม่มีทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ เหมือนกับที่อื่นในอเมริกาใต้
แต่ดินแดนแห่งนี้ ก็ตั้งอยู่บนที่ราบปัมปัส ซึ่งเป็นที่ราบที่มีความอุดมสมบูรณ์
มีทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงวัวและแกะ เนื้อวัวและขนแกะจึงกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ
ด้วยความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ราว 176,000 ตารางกิโลเมตร
แต่กลับมีประชากรเริ่มต้นไม่กี่แสนคน
ชาวอุรุกวัยจึงมีฐานะดี เพราะตลาดยุโรปต้องการผลผลิตจากวัวและแกะเป็นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงราว 70 ปีหลังการได้รับเอกราช อุรุกวัยกลับเต็มไปด้วยปัญหา
ทั้งปัญหาคอร์รัปชัน และความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ พรรคเสรีนิยมกับพรรคอนุรักษนิยม
จนก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองอยู่หลายครั้ง
ผลจากสงครามกลางเมืองที่กินระยะเวลาหลายปี เศรษฐกิจของอุรุกวัยจึงเข้าสู่ภาวะถดถอย
จนกระทั่งเวลาผ่านมาถึงปี 1903 เมื่อ José Batlle y Ordóñez ได้เป็นประธานาธิบดีของอุรุกวัย
บุคคลผู้นี้คือรัฐบุรุษของอุรุกวัย ที่ปฏิรูปสังคมและการเมือง ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น โดยเน้นถึงการมีเสรีภาพของคนภายในชาติ และความเท่าเทียมของคนในสังคม โดยไม่สนว่าคนนั้นจะเป็นเพศอะไร หรือจะเป็นชนกลุ่มน้อยหรือไม่
และเป็นคนแรกที่ได้นำรัฐสวัสดิการมาใช้ในภูมิภาคแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาและสาธารณสุข ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ รวมถึงมีการนำกฎหมายแรงงานมาใช้ เพื่อไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ ทั้งระบบประกันสังคมและบำนาญ จึงทำให้ชาวอุรุกวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อรวมกับการส่งออกเนื้อวัวที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ชาวอุรุกวัยจึงมีฐานะมั่งคั่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี จนได้รับฉายาว่าเป็น
“สวิตเซอร์แลนด์แห่งอเมริกาใต้”
ดึงดูดผู้อพยพชาวยุโรป โดยเฉพาะชาวอิตาลีให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานหลายแสนคน
โดยเฉพาะเมืองหลวงกรุงมอนเตวิเดโอ ที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างครบครัน
ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟ โรงพยาบาล โรงเรียน และสนามกีฬา
เมื่อมีการจัดแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก ในปี 1930 ในเวลานั้น หลายชาติในยุโรปกำลังวุ่นวายอยู่กับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ด้วยความพร้อมที่มี กรุงมอนเตวิเดโอของอุรุกวัย จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งในปีนั้นฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัย ก็สามารถคว้าชัยชนะได้อีกด้วย
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อุรุกวัยเป็นชาติแรกของโลก ที่เป็นทั้งเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก
แต่สวัสดิการที่ดีเยี่ยมของอุรุกวัยก็นำปัญหามาสู่ประเทศ เมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ “Great Depression” ในช่วงทศวรรษ 1930s..
ความต้องการเนื้อสัตว์และขนสัตว์ของยุโรปลดลงอย่างมาก ทำให้อุรุกวัยขาดแคลนรายได้ รัฐบาลที่เต็มไปด้วยการคอร์รัปชัน ไม่มีรายได้เพียงพอสำหรับจ่ายเป็นค่าสวัสดิการต่าง ๆ
เกิดการกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศ และแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรที่นำมาสู่ปัญหาเงินเฟ้อ
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนจำนวนมากออกมาประท้วง สังคมอุรุกวัยเข้าสู่ความตกต่ำ ความขัดแย้งในสังคมทำให้มีขบวนการก่อการร้ายเกิดขึ้นในเมืองหลวง ทั้งฆ่าและลักพาตัวชาวอุรุกวัยและชาวต่างชาติ เมื่อรัฐบาลพลเรือนประสบความล้มเหลวในการควบคุม
ทหารก็ทำการยึดอำนาจหลายต่อหลายครั้ง
ปี 1973 อุรุกวัยเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารที่ยาวนานถึง 12 ปี..
รัฐบาลเผด็จการได้กวาดล้างปราบปรามขบวนการก่อการร้าย และศัตรูทางการเมืองอย่างรุนแรง จนทำให้คุกของอุรุกวัยเต็มไปด้วยนักโทษการเมืองมากมาย
จากฉายา “สวิตเซอร์แลนด์แห่งอเมริกาใต้”
ต้องถูกเปลี่ยนเป็น “ห้องโถงแห่งการทรมานของลาตินอเมริกา”
หลังจากทหารปกครองประเทศอยู่ 12 ปี ในที่สุดชาวอุรุกวัยก็ได้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง
จนประเทศได้กลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย และได้พัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเต็มตัว
แต่สิ่งที่รัฐบาลเผด็จการได้ทิ้งไว้ให้ คือปัญหาคอร์รัปชันที่หนักกว่าเดิม..
จนกระทั่งในปี 2004 กลุ่มพรรคการเมืองหลายพรรคที่มีอุดมการณ์สังคมนิยม
สามารถคว้าเสียงข้างมากในสภาไว้ได้ และได้เสนอให้ Tabaré Vázquez เป็นประธานาธิบดี
รัฐบาลของ Tabaré Vázquez ได้เล็งเห็นแล้วว่า สิ่งที่กัดกร่อนความก้าวหน้าของอุรุกวัย
มาตลอดหลายร้อยปี ก็คือ “การคอร์รัปชัน”
นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจังของอุรุกวัย
ในปี 2008 รัฐบาลได้ออกกฎหมายเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของรัฐ หรือ Freedom Open Information Act (FOIA) ซึ่งสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน
ควบคู่ไปกับการออกกฎหมายต่อต้านการคอร์รัปชัน ซึ่งรวมไปถึงการฟอกเงิน
ใครก็ตามที่ทำผิดกฎหมายนี้จะต้องถูกดำเนินคดีอาญา
กฎหมายทั้งสอง คือจุดเปลี่ยนสำคัญของการบริหารประเทศ
เมื่อการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐสู่สาธารณชน ทำให้เกิดการตรวจสอบได้
เมื่อพบความผิดปกติ ผู้กระทำผิดก็ต้องรับผิดชอบด้วยการรับโทษตามกฎหมาย
ความโปร่งใสของอุรุกวัยจึงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด..
ในปี 1999 อุรุกวัยมีดัชนีความโปร่งใสอยู่ที่ 44 ไม่แตกต่างกับประเทศส่วนใหญ่ในอเมริกาใต้
ระยะเวลาเพียง 10 ปี
ในปี 2009 อุรุกวัยมีดัชนีความโปร่งใสอยู่ที่ 69 ซึ่งทำให้อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีดัชนีนี้สูงที่สุดในภูมิภาค
เมื่อความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลก็ทุ่มเทไปกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งการรักษาวินัยทางการคลัง ลอยตัวค่าเงิน ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และแก้ปัญหาการว่างงาน
เวลาผ่านมาจนกระทั่ง José Mujica ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2010
เขาก็ได้สานต่อเจตนาของพรรค ที่เน้นความโปร่งใสทางการเมือง คุณภาพชีวิตของคนในชาติ ความปลอดภัย และแก้ปัญหาความยากจน
ซึ่งในขณะที่ José Mujica ดำรงตำแหน่ง ได้รับฉายาว่าเป็นประธานาธิบดีที่จนที่สุดในโลก
เพราะเขาบริจาคเงินมากกว่า 90% ให้กับองค์กรการกุศลต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้เป็นประจำ
แล้วเศรษฐกิจของประเทศนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ?
สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของอุรุกวัย จะมีความคล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาร์เจนตินา
คือ เนื้อวัว อุรุกวัยเป็นประเทศที่ส่งออกเนื้อวัวได้เป็นอันดับ 10 ของโลก
นอกจากเนื้อวัว ยังมีผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง ขนแกะ และธัญพืช ซึ่งสินค้าจากภาคเกษตรกรรมเหล่านี้ คิดเป็นสัดส่วน 50% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมดของอุรุกวัย
นอกเหนือจากภาคการเกษตรแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สร้างเม็ดเงินให้กับอุรุกวัย โดยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 อุรุกวัยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากถึง 3.5 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนประชากรอุรุกวัยที่ 3.5 ล้านคน
สร้างเม็ดเงินให้ประเทศได้ราว 65,000 ล้านบาท
แต่อุรุกวัย เป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมัน
ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานมาจากอาร์เจนตินาเป็นจำนวนมาก
อุรุกวัยจึงขาดดุลกับประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเวลานาน
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ทางรัฐบาลอุรุกวัย ได้วางแผนที่จะหาทางออกในการลดค่าใช้จ่าย
ในการนำเข้าพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งทางออกที่ว่านั่นก็คือ การลงทุนใน “พลังงานหมุนเวียน”
ถึงแม้อุรุกวัยจะมีแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าอยู่ประมาณ 50% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
แต่ก็ต้องหาทางกระจายไปสู่แหล่งพลังงานอื่น เพื่อจะได้กักเก็บน้ำไว้สำหรับภาคการเกษตร
ในช่วงหน้าแล้ง โดยไม่ต้องนำมาผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ภาครัฐและภาคเอกชนจึงเน้นการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ โดยเฉพาะพลังงานลม
ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วน จนเป็นเกือบ 40% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ปัจจุบัน อุรุกวัยสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เป็นพลังงานสะอาดได้เกือบ 100%
ซึ่งนอกจากจะใช้เพียงพอภายในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปยังอาร์เจนตินาได้อีกด้วย
ที่น่าสนใจคือ รัฐบาลอุรุกวัย ยังมีการสนับสนุนการลงทุน เพื่อก่อตั้งศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีและการเงิน ที่มีชื่อว่า “Zonamerica” ในกรุงมอนเตวิเดโอ
ซึ่งเป็นเขตปลอดภาษี เพื่อที่จะดึงดูดบริษัทจากต่างประเทศ ให้มาตั้งสำนักงานที่อุรุกวัย
ปัจจุบัน Zonamerica เป็นที่ตั้งของบริษัทมากถึง 350 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น CITI, Deloitte, KPMG, PwC, Airbus และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง
ปี 2019 อุรุกวัย มีมูลค่า GDP ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท
เมื่อหารด้วยจำนวนประชากร จะทำให้อุรุกวัยมี GDP ต่อหัวเท่ากับ 490,000 บาทต่อปี
ซึ่งถือเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
ปัจจุบัน อุรุกวัยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มีดัชนีความโปร่งใสในปี 2020 อยู่ที่ 71 ซึ่งเป็นอันดับที่ 21 ของโลก
ซึ่งเป็นอันดับที่ดีกว่าฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ เสียอีก
ส่วนเมืองหลวงอย่างกรุงมอนเตวิเดโอ ก็ได้รับการจัดอันดับจาก Mercer
ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในอเมริกาใต้
ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ ล้วนเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า
และสร้างรายได้อย่างมหาศาล แต่เศรษฐกิจกลับประสบความถดถอยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า “คอร์รัปชัน”
แต่อุรุกวัยกลับเลือกเส้นทางที่แตกต่าง
การแก้ปัญหาอย่างตรงจุด และเปลี่ยนการบริหารประเทศไปสู่ความโปร่งใส
ทำให้ประเทศที่เคยเต็มไปด้วยการทุจริตและความขัดแย้งทางการเมืองไม่จบสิ้น
เป็นประเทศที่ประชาชนตรวจสอบการบริหารได้ งบประมาณจากภาษีก็ถูกนำไปแก้ไขปัญหา
และพัฒนาอย่างจริงจัง
เพราะเลือกเส้นทางที่ไม่เหมือนใคร
อนาคตของอุรุกวัยจึงสดใสที่สุด ภายใต้ความมืดมนของอีกหลายประเทศ ในทวีปเดียวกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.cepal.org/sites/default/files/pr/files/table_press_gdp_preliminaryoverview2020-eng.pdf
-https://www.archdaily.com/914434/these-are-the-20-most-livable-cities-in-latin-america-in-2019
-https://www.britannica.com/place/Uruguay/Sports-and-recreation#ref407712
-https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Uruguay
-http://motherearthtravel.com/uruguay/history.htm
-https://www.vox.com/identities/2018/8/20/17938416/marijuana-legalization-world-uruguay-canada-netherlands
-https://www.zeweed.com/jose-mujica-the-first-president-to-legalise-weed/?c=13ac35fba0ac
-https://tradingeconomics.com/uruguay/corruption-index
-https://thaipublica.org/2014/10/latin-america-corruption-perception-2/
-https://www.trade.gov/knowledge-product/uruguay
-https://ourworldindata.org/co2-emissions
-https://www.worlddata.info/america/uruguay/tourism.php
-https://www.fdiintelligence.com/article/76412
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅Channel RL,也在其Youtube影片中提到,กด subscribe ติดตามทาง youtube ช่วยแชร์ด้วย บอกต่อเล่าต่อ เขียนคอมเม้นมาคุยกันบ้าง พาชม เต่ามาตา มาต้า ฉายา เต่ายิ้ม เต่าคอยาว หัวแบนแผ่เป็นรูปสามเหล...
「ทวีปอเมริกาใต้」的推薦目錄:
- 關於ทวีปอเมริกาใต้ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ทวีปอเมริกาใต้ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
- 關於ทวีปอเมริกาใต้ 在 หมอๆ ตะลุยโลก Facebook 的最讚貼文
- 關於ทวีปอเมริกาใต้ 在 Channel RL Youtube 的最佳解答
- 關於ทวีปอเมริกาใต้ 在 ESANPLAZA Youtube 的最讚貼文
- 關於ทวีปอเมริกาใต้ 在 ทวีปอเมริกาใต้ (South America) •... - มิตรเอิร์ธ - mitrearth 的評價
- 關於ทวีปอเมริกาใต้ 在 ทวีปอเมริกาใต้ ภูมิประเทศ Ep.1 สังคม ม.3 - YouTube 的評價
- 關於ทวีปอเมริกาใต้ 在 ทวีปอเมริกา - Pinterest 的評價
ทวีปอเมริกาใต้ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
"ผักตบชวาด่างญี่ปุ่น กับงานชมดอกผักตบชวา (ที่ญี่ปุ่น)"
มีลูกเพจส่งภาพมาให้ดูว่า มีการขาย "ผักตบชวาด่างญี่ปุ่น" ที่ดอกสวย เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์เร็ว ในกลุ่มคนปลูกต้นไม้ด่าง พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า "อาจารย์คะ เราจะมีผักตบญี่ปุ่นในลำคลอง ให้ดูเพลินเพิ่มอีกพันธุ์แล้วนะคะ"
แต่เท่าที่หาข้อมูล ผมคิดว่ามันก็น่าจะเป็น common water hyacinth (ชื่อวิทยาศาสตร์ Pontederia crassipes) สปีชีส์เดียวกันกับผักตบชวาที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลก เพียงแต่เค้าน่าคัดเอาต้นที่มันเป็นลายด่าง มาขยายพันธุ์เพื่อปลูกจำหน่ายกับคนที่ชอบเลี้ยงพืชใบด่างโดยเฉพาะ เห็นขายกันในชื่อ พันธุ์ดาหลา พันธุ์เชียงใหม่ ฯลฯ
ผักตบชวา จริงๆ แล้วเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ในลุ่มน้ำอเมซอน น่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ เพราะว่า มีศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลง โรค และศัตรูอื่นๆ คอยควบคุมการระบาดอยู่แล้ว
แต่เมื่อถูกนำไปจากถิ่นกำเนิด ซึ่งปราศจากศัตรูธรรมชาติ ผักตบชวาได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และถึงขั้นทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้ เพราะผักตบชวา 1 ต้น สามารถให้เมล็ดได้ถึง 5,000 เมล็ด และเมล็ดผักตบชวาจะมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานถึง 15 ปี / ผักตบชวา 2 ต้น สามารถแตกหน่อแตกใบ และเจริญเติบโตเป็นต้นได้ถึง 30 ต้นภายในเวลา 20 วัน หรือเพิ่มน้ำหนักขึ้น 1 เท่าตัว / ภายใน 10 วัน สามารถขยายตัวครอบคลุมผิวน้ำได้อัตราร้อยละ 8 ต่อวัน / ถ้าปล่อยผักตบชวาในแหล่งน้ำเพียง 10 ต้นจะสามารถแพร่กระจายเพิ่มปริมาณเป็น 1 ล้านต้น ภายในระยะเวลา 1 ปี
ในประเทศไทยเรานั้น ผักตบชวาได้แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยเฉพาะในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ที่มีน้ำทิ้งน้ำเสียจากชุมชน อุตสาหกรรม ตลอดจนบ่อปลา และฟาร์มสุกร ทำให้ในน้ำมีธาตุอาหารพืชสูง ทำให้ผักตบชวาเติบโตและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว / เฉพาะในบริเวณน้ำท่าจีน จะมีผักตบชวาไหลลงสู่อ่าวไทย คิดเป็นน้ำหนักสดถึงประมาณวันละ 2,000 ตัน
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศญี่ปุ่นนั้น มีรายงานว่า เมื่อปี พ.ศ. 2427 ผักตบชวาได้ถูกนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น นำไปแสดงในงานนิทรรศการฝ้าย (Cotton State Exposition) ณ เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา โดยการไปเก็บมาจากแม่น้ำโอริโนโก ในประเทศเวนีซูเอลา ทวีปอเมริกาใต้ แล้วแจกเป็นของที่ละลึกแก่บุคคลสำคัญที่มาเที่ยวชมคนละต้น / หลังจากนั้น 11 ปี แม่น้ำเซ็นต์จอห์น ในรัฐฟลอริดา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองนิวออร์ลีนส์ไปทางใต้ถึง 600 ไมล์ เกิดมีแพผักตบชวายาวถึง 100 ไมล์ และคลุมบริเวณห่างจากฝั่งไป 200 ฟุต แพผักตบชวาเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของโรงเลื่อย เพราะซุงไม่สามารถจะลอยเข้าไปยังโรงเลื่อยได้ จนรัฐฟลอริดาต้องร้องเรียนไปยังรัฐสภา เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านการป้องกันกำจัดผักตบชวา
แต่ที่น่าสนใจอีกอย่าง (ความรู้ใหม่สำหรับผม) คือ ผักตบชวา ได้ถูกนำเข้าไปในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ในสมัยเมจิแล้ว ช่วง พ.ศ. 2411-2455 (ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศไทย ที่ในปี พ.ศ. 2444 ได้มีการนำผักตบชวาจากประเทศอินโดนีเซียเข้ามาปลูกในวังสระประทุม แต่ภายหลังเกิดน้ำท่วมวังสระปทุม ผักตบชวาหลุดลอยออกไปสู่ลำคลองภายนอก แล้วเริ่มระบาดไปตามที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว จนถึงปี พ.ศ. 2456 จึงได้มีพระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวาออกมา) ด้วยเหตุผลคือ ผักตบชวามีดอกที่สวยงาม ตามชื่อในภาษาญี่ปุ่นที่เรียกว่า “Hotei Aoi โฮะเท อะโออิ” (เป็นการรวมคำระหว่าง "อะโออิ" ชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่ง กับ "โฮะเท" ชื่อของเทพแห่งความโชคดี หนึ่งในเจ็ดองค์ของญี่ปุ่น ทีมีรูปร่างอ้วน เหมือนกับผักตบชวาที่พองอ้วนกลม)
แต่หลังจากนั้น ผักตบชวาในญี่ปุ่น ก็การแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม และได้สมญาว่า “ปีศาจสีฟ้า”
แต่กระนั้น ญี่ปุ่นสามารถจัดการให้มันอยู่ในระเบียบได้สำเร็จ และมีการปลูกผักตบชวาในทุ่งกว้างที่จังหวัดนารา เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยทุ่งดอกผักตบชวานี้ อยู่ที่ซากวัดโมโตะยากุชิจิ เมืองคาชิฮาระ จังหวัดนารา (Ruins of Moto-Yakushiji, Kashihara, Nara) ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมดอกผักตบชวาได้ฟรี ตามอัธยาศัย โดยฤดูชมดอกผักตบชวา จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ประมาณกลางเดือนสิงหาคมไปจนถึงปลายเดือนกันยายน สามารถเดินทางไปชมได้ด้วยการขึ้นรถไฟสาย Kintetsu ไปลงสถานี Kintetsu Unebigoryomae แล้วเดินต่อไปอีกประมาณ 10 นาที
น่าถอดบทเรียนความสำเร็จเหมือนกันนะ ว่าญีปุ่นเค้าทำอย่างไรถึงเปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสได้ อย่างเรื่องของผักตบชวานี้ครับ
ข้อมูลเรื่อง ผักตบชวา จาก http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/weed/eichornia.html
ข้อมูลเรื่อง ฤดูชมดอกผักตบชวา จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_46045 และ https://allabout-japan.com/th/article/9191/
ปล. บางคนสงสัยเรื่อง "ผักตบไทย" ว่าเป็นพื้นท้องถิ่นของไทยหรือเปล่า ? คำตอบคือไม่ใช่ครับ !! ผักตบไทยหรือ Pontederia hastata L. ก็เป็นพืชจากต่างถิ่นเช่นกัน แต่มาจากทวีปอัฟริกา (ไม่ใช่ทวีปอเมริกาใต้ เหมือนผักตบชวา)
ทวีปอเมริกาใต้ 在 หมอๆ ตะลุยโลก Facebook 的最讚貼文
Update สมุดเล่มเหลืองนะครับ
ผมมาอัพเดทเรื่องสำคัญสำหรับคนที่เคยไป/กำลังจะไป เที่ยวที่ประเทศในเขตทวีปแอฟริกาหรืออเมริกาใต้น่าจะเคยเห็นรู้จักกันดีกับสมุดเล่มสีเหลืองๆที่เป็นหลักฐานการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง (Yellow fever) ที่บังคับฉีดในคนที่จะไปเที่ยวประเทศต่างๆเหล่านี้
ล่าสุดนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขของไทย เราได้ปรับกฎเกณฑ์ใหม่
จากเดิม
"ที่ทุกคนต้องฉีดกระตุ้นๆทุกๆ 10 ปี ถ้ามีแพลนจะได้เดินทางไปประเทศที่เป็นเขตติดต่อ"
เป็น
"ถ้าใครได้ฉีดแล้ว ก็ถือว่ามีภูมิต้านทานตลอดชีวิต ไม่จำเป็นต้องฉีดซ้ำอีก"
สำหรับใครที่จะไปประเทศเหล่านี้ ในจำนวน 42 ประเทศ ถือว่าเป็นเขตติดต่อของโรคไข้เหลืองนะครับ
ทวีปอเมริกาใต้ 13 ประเทศ ได้แก่ บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย เอกวาดอร์ กายอานา เกียนาฝรั่งเศส ปานามา เปรู เวเนซูเอลา ซูรินาเม ตรินิแดดแอนโตเบโก อาร์เจนตินา ปารากวัย
ทวีปแอฟริกา 29 ประเทศ ได้แก่ แองโกล่า เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง คองโก โกตดิวัวร์ เอธิโอเปีย แกมเบีย กาบอง กานา กีนี กินีบิสเซา อิเควทอเรียลกินี เคนยา ไลบีเรีย มาลี มอริเตเนีย เซเนกัล เซียร์ราลีโอน ซูดาน เซาท์ซูดาน ชาด โตโก ยูกันดา ซาอีร์ ไนเจอร์และไนจีเรีย
ตัวอย่างสถานการณ์
ตอนนี้จะเห็นว่า "แทนซาเนีย" ไม่อยู่ในเขตติดต่อแล้ว ดังนั้น ถ้าใครที่ไปเที่ยวแทนซาเนียอย่างเดียว โดยใช้เครื่องบินที่ via ในตะวันออกกลางเช่น Qatar หรือ Etihad (โดยที่ไม่ได้ผ่าน Addis Ababa ของ Ethiopian airline หรือ Nairobi ของ Kenya airways) เท่ากับคนๆนี้ ไม่จำเป็นต้องฉีดไข้เหลืองอีกต่อไป
แต่ถ้าใครจะไปเที่ยวแบบควบ Serengeti และ Masai Mara ก็ยังคงต้องฉีดเหมือนเดิมอยู่ดี (เพราะไปเคนยาด้วยซึ่งเป็นเขตติดต่อ)
แต่ต้องเข้าใจเพิ่มอีกอย่างด้วยว่า บางประเทศเช่น แทนซาเนีย จริงๆความเสี่ยงมีอยู่แต่ต่ำเท่านั้นเอง ไม่ใช่ไม่มีเลยครับ
อีกแบบคือ ถ้าเขาจะไปเที่ยวแค่เคนยา เหมือนเดิม แต่เคยฉีดมาแล้วในอดีต (>10 ปี) แต่ก่อนจะต้องมากระตุ้นซ้ำอีกทีก่อนเดินทาง ถ้าตามกฎนี้ก็คือไม่ต้องกระตุ้นแล้วไปได้เลย เช่นเดียวกันกับไปอเมริกาใต้ครับ
โดยกฎเกณฑ์นี้จะใช้กับคนที่เดินทางเข้า-ออก ประเทศไทยเป็นหลักเท่านั้นนะครับ (ถ้าเราจะไปเข้าประเทศที่สามเป็นประเทศอื่นๆเช่น มาเลเซีย หรือ สิงค์โปร์ ก็ต้องไปดูกฎของบ้านเขาอีกทีนึง)
และหลักการอันนี้เราจะอิงกับคนที่สุขภาพแข็งแรงเป็นหลักนะครับ บางคนที่ถ้ามีโรคประจำตัวหรือตั้งครรภ์ อันนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์อีกครั้งครับ
ภาพนี้เอามาตั้งแต่สมัยตอนที่ผมอยู่แทนซาเนียนะครับ หลายเดือนแล้ว
อ้างอิง : https://www.thaitravelclinic.com/…/2…/01/YF2560_lifelong.pdf
ทวีปอเมริกาใต้ 在 Channel RL Youtube 的最佳解答
กด subscribe ติดตามทาง youtube ช่วยแชร์ด้วย บอกต่อเล่าต่อ เขียนคอมเม้นมาคุยกันบ้าง
พาชม เต่ามาตา มาต้า ฉายา เต่ายิ้ม เต่าคอยาว หัวแบนแผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้ายิ้มตลอดเวลามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้หัวโตเต็มที่ยาว 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 กิโลกรัม
Amazing Pet งานสัตว์เลี้ยง-สัตว์แปลก 2017 พบกับสัตว์แปลกหายาก เช่น วอลลาบี้ จิงโจ้ตัวเล็กที่สุดในโลก, คาปิบารา หนูที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลด, ซิลค์กี้ชิกเก้น ไก่ขนฟูดุจใยไหม และสัตว์แปลกอื่นๆ พร้อมบูธจำหน่ายสัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยงอีกมากมาย
ทวีปอเมริกาใต้ 在 ESANPLAZA Youtube 的最讚貼文
แม่น้ำแอมะซอน (อังกฤษ: Amazon River; โปรตุเกส: Rio Amazonas; สเปน: Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,250 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากแม่น้ำไนล์
ทวีปอเมริกาใต้ 在 ทวีปอเมริกาใต้ ภูมิประเทศ Ep.1 สังคม ม.3 - YouTube 的推薦與評價
สังคม ม.3 ทวีป อเมริกาเหนือ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สรุป สั้นๆ | เรียนออนไลน์ EP.48 · สังคมศึกษา : ภูมิศาสตร์ ทวีป อเมริกาเหนือและ อเมริกาใต้ ตอนที่ 1 l ... ... <看更多>
ทวีปอเมริกาใต้ 在 ทวีปอเมริกา - Pinterest 的推薦與評價
ทวีปอเมริกา เป็นคำเรียกรวม ๆ หมายถึงทั้งทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้รวมกัน ซึ่งแก้ปัญหาความสับสนในภาษาอังกฤษของคำว่า "America" ... ... <看更多>
ทวีปอเมริกาใต้ 在 ทวีปอเมริกาใต้ (South America) •... - มิตรเอิร์ธ - mitrearth 的推薦與評價
ทวีปอเมริกาใต้ (South America) • เทือกเขาทางซ้าย คือ #เทือกเขาแอนดีส (Andes) ต้นกำเนิดชื่อ #หินแอนดีไซต์ (Andesite) • ส่วนแม่น้ำทางเหนือ คือ... ... <看更多>