“การอ้างสิทธิ popular vote กับ การอ้างสิทธิจำนวน ส.ส.”
หลังจากการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ผลการเลือกตั้งไม่เป็นทางการ ออกมา ในวันนี้ วันที่ 28 มีนาคม 2562 ผลปรากฏออกมาว่า ได้มีการแบ่ง กลุ่ม 3 กลุ่มในการจัดตั้งรัฐบาล ดังนี้
กลุ่ม ที่ 1
พรรคที่เรียกตัวเองว่า “พรรคฝ่ายประชาธิปไตย” (ในสายตาของพวกเขา) มีคะแนนเสียงรวมกัน 15.99 ล้านเสียง รวม 248 ที่นั่ง (ถ้านับ ศม. เป็น 16.48 ล้านเสียง รวม 254 ที่นั่ง**)
* พรรคเพื่อไทย 7,920,630 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 137 ที่นั่ง
* พรรคอนาคตใหม่ 6,265,950 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 88 ที่นั่ง
* พรรคเสรีรวมไทย 826,530 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 11 ที่นั่ง
* พรรคเศรษฐกิจใหม่ 485,664 เสียง* ได้ว่าที่ ส.ส. 6 ที่นั่ง**
* พรรคประชาชาติ 485,436 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 6 ที่นั่ง
* พรรคเพื่อชาติ 419,393 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 5 ที่นั่ง
* พรรคพลังปวงชนไทย 81,733 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 1 ที่นั่ง
กลุ่มที่ 2
พรรคที่สนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ต่อไป มีคะแนนเสียงรวมกัน 8.84 ล้านเสียง รวม 118 ที่นั่ง
* พรรคพลังประชารัฐ 8,433,137 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส 118 ที่นั่งกับ
* พรรครวมพลังประชาชาติไทย 416,234 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 5 ที่นั่ง
*
* กลุ่ม ที่ 3 (ดูท่าจะเอนเอียงไปกลุ่มที่ 2)
พรรคที่มีทีนั่งในสภาฯ และยังไม่แสดงจุดยืนชัดเจน มีคะแนนเสียงรวมกัน 12.93 ล้านเสียง รวม 125 ที่นั่ง
* พรรคประชาธิปัตย์ 3,947,726 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 55 ที่นั่ง
* พรรคภูมิใจไทย3,732,883 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 51 ที่นั่ง
* พรรคชาติไทยพัฒนา 782,031 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 11 ที่นั่ง
* พรรคชาติพัฒนา 252,044 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 3 ที่นั่ง
* พรรคพลังท้องถิ่นไทย 213,129 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 2 ที่นั่ง
* พรรครักษ์ผืนป่าแห่งประเทศไทย 136,597 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 1 ที่นั่ง
* พรรคพลังชาติไทย 73,781 เสียง ได้ว่าที่ ส.ส. 1 ที่นั่ง
*
* โดยพรรค เพื่อไทย ที่ได้เสียงข้างมาก ในกลุ่มแรก เรียกว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย”อ้างสิทธิจำนวน ส.ส. มากกว่า จัดตั้งรัฐบาล อีกกลุ่ม คือ กลุ่มที่ 2 พรรคพลังประชารัฐ อ้างสิทธิ “popular vote คือ คะแนนที่ประชาชนเลือกมากกว่า
*
* แต่การอ้างสิทธิ popular vote คะแนนเสียงประชาชนเลือก มากกว่าเพื่ออ้างสิทธิการจัดตั้งรัฐบาล อาจมีปัจจัยให้ชวนคิด คือ คะแนน ส.ส. ความนิยมของแต่ละพื้นที่ ไม่เท่ากัน และจำนวนในแต่พื้นที่ไม่เท่ากันในแต่ละเขต ซึ่งส่งผลให้คะแนนบัญชีรายชื่อ แตกต่างกัน
*
* ยกตัวอย่าง
* เขต 1 พรรค ก ชนะ พรรค ข 5,000 คะแนน ต่อ 4,500 คะแนน ด้วยเหตุไม่ชื่นชอบผู้สมัคร ทั้ง 2 คน แต่ชื่นชอบพรรค
* เขต 2 พรรค ก ชนะ พรรค ข 4,700 คะแนน ต่อ 4,500 คะแนน ด้วยเหตุว่า ผู้สมัคร ทั้ง 2 พรรค มีความนิยม ใกล้เคียงกันในตัวผู้สมัครและพรรค
* เขต 3 พรรค ข ชนะ พรรค ก 6,000 ต่อ 3,500 คะแนน ด้วยเหตุว่าในเขตนี้มีประชาชนนิยมชมชอบ ผู้สมัคร ของพรรค ข มาก กว่า พรรค ก
* สรุป พรรค ก ชนะ 2 เขต พรรค ข ชนะ 1 เขต แต่พรรค ข ชนะ คะแนน popular vote และ พรรค ข มาอ้างสิทธิว่า ตนเอง ชนะ popular vote เห็นสมควรจัดตั้งรัฐบาล นั้นไม่ถูกต้อง
*
* ผมเองไม่ได้เข้าข้างไหน อยู่ความถูกต้องตาม หลักการ ความคิดของผม ตามมองตามตัวบทกฎหมาย คือ รัฐธรรมนูญ 2560 ถึงรัฐธรรมนูญไม่สมบูรณ์ ขึ้นชื่อว่าห่วยแตก เมื่อเป็น “กฎ” “กติกา” อันสูงสุดในสังคมไทย คือ ตามมาตรา 272 รัฐสภา เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี คือ ส.ส. 500 บวก กับ ส.ว.250 ใครได้เสียงมากกว่า เป็นนายกรัฐมนตรี ในระยะ 5 ปี แรก ก็ต้องปฏิบัติตามนั้น
*
* ท้าย สุด คำตอบ คือ ส.ว. 250 คน ครับ ชี้ขาดว่าใคร เป็นนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาล คงมองเห็นได้ว่าประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ลุ้นต่อไป ว่า จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย หรือ รัฐบาลเสียงข้างมาก
* 9 พ.ค. 2562 คงชัดเจนพี่เณรบูรณ์
*
พรรคพลังชาติไทย 在 พรรคพลังชาติไทย เปลี่ยนชื่อเป็น... - ประชาไท Prachatai.com 的推薦與評價
พรรคพลังชาติไทย เปลี่ยนชื่อเป็น 'พรรครวมแผ่นดิน' เลือก พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้า ปัดเป็นพรรคอะไหล่สูตรเลือกตั้งหาร 500... ... <看更多>
พรรคพลังชาติไทย 在 จับตา "พลังชาติไทย" พรรคใหม่ "บิ๊กน้อย" | เนชั่นทันข่าวเช้า - YouTube 的推薦與評價
พลังชาติไทย#พรรคใหม่#บิ๊กน้อย# พรรคพลังชาติไทย รับชมวีดีโอที่คัดสรรจากเรา ... ... <看更多>