"ข้อควรระวังในการใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้า แบบเหนี่ยวนำ"
เมื่อวานนักข่าว PPTV ขอสัมภาษณ์ออนไลน์ เกี่ยวกับกรณีที่มีคลิปคุณแม่ท่านหนึ่ง เอา "เตาแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ (induction)" มาทำไข่ตุ๋น แล้วเตาเกิดแตกระเบิดขึ้น ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ? (ดูรายละเอียดของข่าว ด้านล่าง)
เรื่องนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า "เตาเหนี่ยวนำด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า" กับเตาที่ให้ความร้อนด้วยไฟฟ้า เป็นคนละอย่างกัน
เตาที่ให้ความร้อนด้วยไฟฟ้าก็ คือ การผ่านไฟฟ้าเข้าไปที่ขดลวดซึ่งสามารถสร้างความร้อนขึ้น ข้างใต้เตา และก็ทำให้ตัวเตาร้อนขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อาหารที่อยู่ในภาชนะหุงต้ม ร้อนตามไปด้วย
แต่เตาแม่เหล็กไฟฟ้า จะใช้ไฟฟ้าไปทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้น แล้วหนี่ยวนำตัวภาชนะหุงต้มที่เป็นโลหะ ให้เกิดการสลับขั้วของแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างรวดเร็วมาก จนกระทั่งเกิดความร้อนสูงขึ้น แล้วทำให้อาหารข้างในสุกได้
ซึ่งข้อดีของมันก็คือ การที่ความร้อนจากเตาแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ จะเกิดขึ้นรวดเร็วมาก มากกว่าเตาไฟฟ้าปกติที่ทำให้เกิดความร้อนโดยตรง และบริเวณฐานของเตา ซึ่งเป็นแผ่นฉนวนที่ทำจากกระจก หรือกระเบื้องเซรามิคนั้น ก็จะไม่ร้อนด้วย ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เตา ที่มืออาจไปสัมผัสโดนแต่ไม่เป็นอันตราย
แต่ก็มีรายงานเป็นระยะๆ ถึงการที่มีคนใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วเกิดการแตกระเบิดขึ้นของกระจกแผ่นฉนวน เหมือนในคลิปดังกล่าว ซึ่งมีสาเหตุเป็นไปได้หลายอย่าง คือ
- เมื่อทำอาหารไปสักระยะ น้ำที่ร้อนจัดภายในภาชนะหุงต้ม อาจกระเด็นลงมาที่ผิวของแผ่นฉนวนซึ่งเป็นกระจกหรือกระเบื้องเซรามิค (ซึ่งยังเย็นอยู่ ไม่ได้ร้อนตามอาหารไปด้วย) อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันนี้ สามารถทำให้แผ่นฉนวนแตกได้
- ปัญหาข้างต้นนั้น จะยิ่งเกิดขึ้นง่ายขึ้น ถ้าแผ่นฉนวนไม่ได้มาตรฐาน เช่น มีความบางมากเกินไป หรือมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นปรับตัวกับอุณหภูมิได้ไม่ดีเพียงพอ
- รวมไปถึง ถ้ามีร่องรอยของการแตกร้าวมาก่อน เนื่องจากเคยตกกระแทก ก็สามารถแตกได้โดยง่าย
- นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากปัญหาโดยรวมของทั้งเตา เช่น การไม่มีวงจรควบคุมไฟฟ้าที่ดีเพียงพอ จึงไม่สามารถควบคุมระดับอุณหภูมิให้เหมาะสม ไม่ตัดไฟได้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นหรือเมื่อความร้อนสูงเกินไป ฯลฯ
#คำแนะนำพื้นฐาน ก็คือ ควรจะเลือกใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่การผลิตได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. รวมทั้งคอยดูแลสภาพจองเตา ว่ายังอยู่ในสภาพดี ไม่มีการชำรุดเสียหาย หรือรอยแตกร้าวของแผ่นฉนวนกระจกด้านบน
รวมทั้งการประกอบอาหารเอง ก็ต้องระวังไม่ให้มีน้ำกระเด็นออกมาจากภาชนะ หรือมีน้ำติดอยู่ตามผิวด้านนอกของภาชนะตั้งแต่แรกครับ
--------
(รายงานข่าว)
คอชาบูผวา! เตาแม่เหล็กไฟฟ้าระเบิดคาบ้าน
ผู้ใช้ติ๊กต๊อกรายหนึ่ง โพสต์คลิปสภาพเตาแม่เหล็กไฟฟ้าระเบิด โดยระบุว่า "เตือนแม่บ้านหลาย ๆ คน ใครที่คิดจะซื้อเตาแม่เหล็กไฟฟ้าต้องดูให้ดี มีคนเตือนหลายคนว่าอย่าซื้อ แต่เมื่อซื้อมาไม่ถึงเดือน กับปรากฏว่าในขณะที่ตั้งเตาตุ๋นไข่ทิ้งไว้ ไม่ถึง 5 นาที ได้ยินเสียงระเบิดและพบว่ามีกระจกหน้าเตาแตกจึงตั้งสติและรีบถอดปลั๊กออก
โดยคลิปนี้เพจเฟซบุ๊กอยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทิร์น Part นำมาเผยแพร่ต่อ พร้อมตั้งข้อสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ขอคำตอบทางวิทยาศาสตร์หน่อย ซึ่งคนภายในคลิปวิดีโอระบุว่า "ตอนที่แม่โบว์ทำกับข้าว วันนี้แม่โบว์ตุ๋นไข่ แม่โบว์ก็ตั้งเตา ตุ๋นไขปกติ แม่โบว์เดินออกไปข้างนอก ไปเก็บของเพราะฝนตก พูดเลยนะคะว่าไม่ถึง 5 นาที แม่โบว์ได้ยินเสียงระเบิดดัง ลั่นเลยนะคะ เสียงระเบิดดัง กระจก เศษกระจก กระจกแตกค่ะ แม่โบว์ก็เลยรีบวิ่งเข้ามา"
เรื่องนี้ทีมข่าวพีพีทีวี สอบถามไปยัง อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อ.ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอ.เจษฎาอธิบายสาเหตุ การระเบิดของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าว่า
ฉนวนที่เป็นกระจก หรือ เซรามิก เป็นส่วนที่จะเกิดความเสียหายได้ง่าย ถ้าความหนาไม่พอ และเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเร็วเกินไป ก็จะเกิดเหตุระเบิดได้ อย่างในคลิปทำ "ไข่ตุ๋น" คาดว่า กระจกที่อยู่ด้านล่างยังเย็นตัวอยู่ ในขณะที่ภาชนะที่วางมีความร้อนสูง เมื่อกระจกด้านล่างเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิรวดเร็วเกินไปก็จะแตกในที่สุด
"ด้วยความที่ตัวของกระจก หรือว่าตัวของเซรามิกที่อยู่ข้างล่างมันยังเย็นตัวอยู่ และตัวภาชนะที่มาวางมันจะมีความร้อนค่อนข้างสูง ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิรวดเร็วมากเกินไป กระจกข้างล่างตัวนี้สามารถที่จะรับแรง อุณหภูมิไม่ได้เพียงพอ และมันก็แตกได้
อย่างเช่น บางทีหม้อที่มาตั้ง เกิดมีน้ำออกมาซึ่งน้ำร้อนจัดเลย ลงไปที่ข้างล่างผิวเซรามิกที่มันยังเย็นจัดค่อนข้างมาก มันก็เหมือนอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป เพราะฉะนั้นถ้าเกิดบางเกินไป มันไม่ได้มาตรฐานการผลิต มันอาจมีสิทธิ์ที่จะแตกอย่างที่ว่าได้" อ.เจษฎา กล่าว
ทีมข่าวพีพีทีวี ลองนำเตาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มาถอดดู นอกจากภายนอกด้านหน้าเตา จะเป็นเซรามิกที่เป็นฉนวน ภายในมีตัวสร้างความร้อน ก็คือ ขดลวดทองแดงที่เห็นอยู่นี้ ทำหน้าที่เหนี่ยวนำไฟฟ้า และสร้างสนามแม่เหล็ก และมีตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์) อยู่ 2 - 3 ตัว บนแผงวงจร ซึ่งตัวเก็บประจุ เป็นส่วนหลักที่จะเกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้ง ส่วนการทำงาน เมื่อนำกระทะที่เป็นโลหะ มาวางไว้บนหน้าเตา สนามแม่เหล็กก็จะสร้างความร้อนให้กับโลหะนั้น ๆ อย่างรวดเร็ว
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะการทำงานของเตาไฟฟ้าประเภทนี้ ที่ รศ.เจษฏา ระบุว่า ความเสี่ยงของมันขึ้นอยู่กับคุณภาพและมาตรฐานของเตาแม่เหล็กไฟฟ้า ว่ามีระบบตัดไฟหรือไม่ รวมถึงการใช้งานต้องระมัดระวังการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของกระจกหรือเซรามิกหน้าเตา ไม่ให้มีน้ำที่ร้อนจัดไหลไปตกกระทบ หรือตั้งเตาไฟฟ้าเป็นเวลานาน
เบื้องต้นแนะนำให้ใช้เตาที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. โดยกรณีที่เกิดขึ้นก็ไม่ถึงกับทำให้คอชาบูต้องวิตก โดยยังสามารถใช้เตาประเภทนี้ทำอาหารได้ตามปกติ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือการเดือดของน้ำตกลงไปกระทบกับกระจก
ภาพและข่าว จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/156804
「มอก คือ」的推薦目錄:
- 關於มอก คือ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
- 關於มอก คือ 在 จอห์น ไรเดอร์ - John Rider Facebook 的最佳貼文
- 關於มอก คือ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於มอก คือ 在 ์ได้รับการรับรอ - Facebook 的評價
- 關於มอก คือ 在 1 นาที กับ สมอ. ตอน... มอก. คืออะไร #สมอ #TISI #มอก #มาตรฐาน 的評價
มอก คือ 在 จอห์น ไรเดอร์ - John Rider Facebook 的最佳貼文
ช่วงโควิทเลยมานั่งพิมพ์เรื่องราวที่เข้าใจผิด ความเชื่อผิดๆ ที่สืบทอดกันมา (เขาว่ามา) ถ้าชอบก็แชร์เป็นความรู้กันต่อด้วยนะ
1. รถ bigbike ต้องท่อดังเพื่อให้คนได้ยินเวลาขี่จะได้ไม่อันตราย
ตอบ
ไม่จริง รถอะไรก็แล้วแต่ เขามี "แตร" ไว้ให้บีบเตือนภัย กฏหมายก็มีข้อกำหนดในการใช้ความเร็ว ดังนั้นขับขี่เร็วก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง ไม่ใช่ไปเบิ้ลรถให้คนอื่นเขาตกใจแล้วโทษว่าเขาขับงี่เง่า
บอกอีกที "แตร" มีไว้บีบเตือน ไม่ใช่ท่อมีไว้เบิ้ลเตือน
2. รถใส่ป้ายพับ ไม่ผิดกฏหมาย
ตอบ
จริง และ ไม่จริง
จริง คือ หากป้ายพับถูกติดตั้งตามตำแหน่งบังโคลนเดิมที่เห็นได้ชัด และไม่ได้ถูกพับหลบไปด้านใน และในตัวของป้ายพับมีการใส่ทุกอย่างคงเดิมเหมือนบังโคลนเดิม เช่น ติดไฟเลี้ยวปกติ มีไฟส่องป้ายปกติ
ไม่จริง คือ หากมีป้ายพับแล้วทำการพับเข้าไปในซุ้มด้านใน ต่อให้เห็นเด่นชัด ก็ถือว่าผิดกฏหมายด้วยเหตุผลหลายข้อหา เช่นดัดแปลงสภาพรถ จงใจปิดบังซ่อนเร้น หรือแม้แต่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนให้ชัดเจน
3. รถที่เปลี่ยนท่อ ไม่มี มอก. ผิดกฏหมาย
ตอบ ไม่จริง มอก. คือ หน่วยงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่ทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพของผู้ผลิต ไม่ใช่ผู้บริโภค ดังนั้น จะเป็นท่ออะไรก็ได้ที่เสียงไม่เกิน เดซิเบลที่กำหนด ถือว่าไม่ผิดกฏหมาย แต่ถ้าเป็นท่อเดิมมี มอก. ไปผ่าให้เสียงดังยังไงก็ถือว่าผิดกฏหมาย
4. ยางเดิมติดรถ ลื่น
ตอบ จริง และไม่จริง
จริง คือ ยางบางรุ่นนั้นถูกทำให้เน้นการใช้งานที่ทนทาน ดังนั้นจึงทำส่วนผสมของยางให้มีความแข็งซึ่งจะทำให้ทนวิ่งได้ระยะทาง แต่เนื้อยางที่แข็งทำให้ยางไม่เกาะถนนหากเจอพื้นถนนที่ลื่น จึงเกิดอาการไถลได้ทุกเมื่อที่เจอฝนหรือพื้นขัดมัน เช่นปั้มน้ำมันเป็นต้น
ไม่จริง คือ ในบางรุ่นนั้น ให้ยางที่มีความหนืบในระดับหนึ่งเนื่องจากมีส่วนผสมของยางที่เน้นค่าการยึดติดถนนมากกว่าแต่อาจจะมีค่าความเสื่อมไวกว่า ซึ่งทำให้ขี่แล้วไม่รู้สึกลื่น และยังสามารถสู้กับน้ำได้ เพียงแค่ยางอาจมีอายุสั้นกว่าแบบแรกประมาณ 20-30%
5. เข้าโค้งให้กำครัทแล้วปล่อยไหล
ตอบ ไม่จริง การกำครัท หลักๆ สำหรับรถเกียร์คือ มีไว้เพื่อเปลี่ยนเกียร์เท่านั้น หากกำครัทขนาดเข้าโค้ง รถจะไม่มี engine brake ทำให้รถไม่มีแรงต้านของเครื่องยนต์ส่งผลให้รถจะยิ่งพุ่งไปข้างหน้า และควบคุมยากขึ้น ถามว่าทำได้มั้ย ทำได้นะ แต่จะทำไปเพื่ออะไร?
เอาไป 5 ข้อก่อนถ้าชอบจะพิมพ์ให้อ่านอีก
มอก คือ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
เคยเตือนไปนานแล้วว่า การลวกช้อนส้อมในหม้อหุงข้าวหรือหม้อต้มน้ำตาม food court นั้น ถ้าความร้อนไม่สูงเพียงพอ นอกจากจะฆ่าเชื้อโรคไม่ได้แล้วยังกลับจะกลายเป็นเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคเสียได้ซ้ำ
------
(รายงานข่าว)
นพ. ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้ข้อมูลว่า จริงๆแล้วการลวกช้อนส้อมในหม้อต้มน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรคนั้น สามารถทำได้จริง แต่อุณหภูมิต้องสูงถึง 90 องศาถึงจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ หรือไม่ก็ต้องอย่างต่ำๆ 80 องศาอย่างน้อย 4 นาที ซึ่งหากเราใช้เป็นหม้อต้มน้ำสำหรับลวกช้อนส้อม ตะเกียบโดยตรง จะมีการตั้งอุณหภูมิเอาไว้ ซึ่งตรงนี้ก็จะดีกว่า การใช้หม้อหุงข้าวเล็กๆ มาต้มน้ำแล้วทิ้งไว้ทั้งวัน ซึ่งเสี่ยงรับเชื้อโรค ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส เพราะเราไม่รู้ว่า แต่ละคนที่เอาช้อนส้อมมาลวก มืออาจไปสัมผัสเชื้อโรคอะไรหรือไม่ ซึ่งการนำไปลวกด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิไม่ถึง พวกเชื้อโรคต่างๆ ก็ไม่ตาย และยังลอยอยู่ในน้ำที่อุ่นๆ หากนำช้อนส้อมเหล่านั้นไปใช้ก็เสี่ยงรับเชื้อโรค และนำไปสู่โรคทางเดินระบบอาหาร โดยเฉพาะโรคท้องร่วง
“จริงๆ หากจะใช้หม้อหุงข้าวเล็กๆ ต้มน้ำ และไม่แน่ใจว่าอุณหภูมิสูงถึงฆ่าเชื้อโรคได้หรือไม่ ก็ต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำร้อนนั้นๆ ทุกชั่วโมง เพราะถ้าแช่ไว้ทั้งวัน ก็ยิ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนเชื้อโรค พวกเชื้อโรคที่ทนต่อความร้อนก็จะยิ่งรวมตัวนั้น หากเป็นไปได้ก็ควรหันมาใช้หม้อเฉพาะโดยตรงที่ปรับอุณหภูมิได้ โดยราคาแม้จะสูงกว่า แต่หากตั้งในศูนย์อาหารก็น่าจะรวมกันซื้อ หรือเป็นสวัสดิการของเจ้าของศูนย์อาหารนั้นๆ ในการจัดหาไว้ ซึ่งก็จะเป็นเรื่องดีเพิ่มความเชื่อมั่นได้ แต่หากไม่มีจริงๆ ก็อาจไม่ต้องใช้เลยก็ได้ น่าจะเสี่ยงน้อยที่สุดแล้ว” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.ดนัย กล่าวอีกว่า กระบวนการที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาชนะสะอาดปลอดภัย คือ การล้างที่ถูกหลักสุขาภิบาล ซึ่งเป็นวิธีการที่ต้องให้ความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอนการล้างทำความสะอาดและการผึ่งให้แห้งสนิท 3 ขั้นตอน คือ 1. ขจัดเศษอาหารและล้างด้วยน้ำผสมน้ำยาล้างจาน 2. ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ครั้ง และ 3. ฆ่าเชื้อโรคด้วยการทำให้แห้งโดยตากแดดหรืออบด้วยความร้อน สำหรับวิธีสังเกตความสะอาดของช้อน ส้อมและภาชนะต่างๆ ผู้บริโภคสามารถทำได้ ดังนี้ คือ 1. ต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รูปทรงทำความสะอาดง่าย ทนทานไม่แตกหักง่าย ใช้ถูกประเภทอาหาร 2) เมื่อล้างสะอาดแล้วเก็บคว่ำให้แห้ง และ 3) เก็บให้เป็นระเบียบ วางช้อนนอนเรียงเป็นทางเดียวในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดและมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
สำคัญอยากให้เปลี่ยนถ่ายน้ำและให้ผู้ใช้หยิบแช่เอง ไม่ควรใช้หม้อหุงข้าวประเภทที่เคลือบผิวภาชนะด้วยเทฟลอน เซรามิค เพราะอาจเสี่ยงต่อสารโลหะจำพวกตะกั่วและโครเมียม อุปกรณ์ลวกช้อน ควรออกแบบมาโดยเฉพาะทำด้วยสแตนเลส สามารถตั้งอุณหภูมิได้ตามกำหนด และมีการป้องกันไฟฟ้ารั่ว ดูด ไม่ควรเลือกภาชนะที่มีลวดลายหรือมีสีทา เพราะอาจมีส่วนผสมของตะกั่ว ซึ่งสามารถสลายตัวได้เมื่อถูกความร้อน ส่วนเครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแบบขั้วเปลือยซึ่งไม่ผ่านมาตรฐาน มอก. ไม่ควรนำมาใช้ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่อันตรายตามคำสั่งของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 06/2529” นพ.ดนัย กล่าว
มอก คือ 在 1 นาที กับ สมอ. ตอน... มอก. คืออะไร #สมอ #TISI #มอก #มาตรฐาน 的推薦與評價
1 นาที กับ สมอ. ตอน... มอก. คือ อะไร #สมอ #TISI #มอก #มาตรฐาน. 92 views 1 month ago. สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม Tisi. ... <看更多>
มอก คือ 在 ์ได้รับการรับรอ - Facebook 的推薦與評價
หมายเลข มอก. คืออะไร หมายเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อระบุลำดับที่ของการออกมาตรฐานและปีที่ สมอ.ประกาศเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะระบุอยู่บนตัวสินค้า ตัวอย่างเช่น ... ... <看更多>