พูดภาษาญี่ปุ่นอย่างไร ให้ฟังดูเป็นธรรมชาติ^^
เทคนิคเล็กๆน้อยๆที่เอามาแบ่งปันค่ะ
ใครสนใจลองอ่านได้น้า
พูดภาษาญี่ปุ่นอย่างไร ให้ฟังดูเป็นธรรมชาติ^^
เทคนิคเล็กๆน้อยๆที่เอามาแบ่งปันค่ะ
ใครสนใจลองอ่านได้น้า
จริงๆแล้วบีมไม่ได้สำเนียงเป๊ะเหมือนคนญี่ปุ่นนะ
มันก็ลำบาก เพราะว่าเราไม่ได้เกิดที่นี่ ไม่ได้ใช้มาตั้งแต่แรก เราโดนอิทธิพลจากภาษาแม่ของเราครอบงำ 555
แต่บีมคิดว่าเราสามารถฝึกกันได้ ลดสำเนียงไทยลง แล้วเพิ่มสำเนียงในการพูดเป็นธรรมชาติมากขึ้น
ถามว่าเป็นธรรมชาติไหม คือสื่อสารในชีวิตประจำวัน ไม่มีปัญหาอะไรเลย น้อยมากที่จะมีปัญหา ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดคือ คำศัพท์ในหัวมีไม่พอ และไม่รู้จะอธิบายให้คนที่พูดด้วยว่าอย่างไรดี
ถามว่าคนญี่ปุ่นรู้ไหมว่าบีมเป็นคนต่างชาติ เวลาพูดภาษาญี่ปุ่น
ตอบอย่างมั่นใจว่า "รู้" 555555555
เวลาพูดประโยคสั้นๆ อะไรงี้เขาไม่รู้หรอก แต่ว่าถ้าลองพูดยาวๆแล้ว คนที่เป็นเจ้าของภาษาเขาจะรู้ว่าเราเหน่อตรงนู้นตรงนี้
ประโยคไหนที่เราพูดบ่อยๆ เราจะเนียนมาก แต่ประโยคไหนที่แบบเราคิดไปด้วยพูดไปด้วย หรือไม่ใช่ประโยคที่ใช้เป็นประจำ มันจะหลุดสำเนียงแม่ออกมา แต่ไม่เป็นปัญหาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันเลย เราสามารถโต้ตอบกับคนญี่ปุ่นได้รวดเร็วโดยที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก นั่นเป็นผลของการที่ได้ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวัน
คนต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นชัดมากๆเลยก็มีนะ บีมคิดว่าเขาเก่งมากๆ เพราะในภาษาญี่ปุ่น การออกเสียง Accent จะไม่เหมือนที่ไทย คิดว่าถ้าจะพูดให้ได้สำเนียงเป๊ะแบบเจ้าของภาษา ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างมากเลยทีเดียว
ตอนนี้เรื่องสำเนียงบีมก็กำลังพยายามฝึกอยู่ อยากพูดสำเนียงภาษาญี่ปุ่นได้สวยๆกว่านี้ หลุดน้อยๆหน่อย 555
การออกเสียง Accent ในภาษาญี่ปุ่น จะไม่เหมือนภาษาไทย
ตามหลักแล้ว
ภาษาไทยจะอยู่ในหมวดหมู่ Tone Accent คือการเปลี่ยนเสียงสูงต่ำภายในพยางค์ พูดง่ายๆคือ maa คำเดียว มี 5 เสียง คือมีวรรณยุกต์นั่นเอง
ภาษาญี่ปุ่นจะเป็น Pitch Accent คือ การเปลี่ยนเสียงสูงต่ำระหว่างพยางค์ ภายในคำๆหนึ่ง เช่น watashi ที่แปลว่าฉัน อ่านว่า หวะ (ลงต่ำ) ต๊ะชิ (ขึ้นสูง)
หลักการนี้ข้ามไป ถ้าคนไม่ได้เรียนสายตรงอาจจะดูลำบาก รู้ไว้คร่าวๆก็ดี
----
แต่ละชาติมีสำเนียงการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ค่ะ
อย่างบีมอยู่ญี่ปุ่นนานๆ รู้จักคนต่างชาติเยอะ แล้วทุกคนที่นี่พูดภาษาญี่ปุ่น จนอยู่มาวันนึงเราชินนะ เรารู้เลย แม้ไม่ต้องเห็นหน้า ได้ยินแค่เสียง เราจะรู้ว่า เขามาจากประเทศอะไร !!!
เฉพาะประเทศที่เราได้ยินได้ฟังสำเนียงเขาบ่อยๆนะ
เช่น ไทย จีน เกาหลี เวียดนาม
คือฟังแล้วรู้ ตานี่เวียดนามแน่นอน อะไรแบบนี้
ทุกชาติมีสำเนียงภาษาญี่ปุ่นเป็นของตนเองที่ไม่เหมือนกันค่ะ
ส่วนใหญ่นะ แต่บางคนก็ลดความเป็นสำเนียงแม่ตัวเองลงได้
คนญี่ปุ่นรู้สึกยังไงกับสำเนียงคนต่างชาติ?
ไม่เคยมีใครว่าบีมนะว่า เธอๆ พูดญี่ปุ่นไม่ชัดเลอ ส่วนใหญ่จะเป็นชมมากกว่า ว่าพูดได้เป็นธรรมชาติ แต่เราก็รู้ว่าธรรมชาติของเขาหมายถึง สนทนาได้ราบรื่นไม่ติดขัดไรงี้ เรื่องเหน่อมันก็ต้องมี 555
อิซากะก็บอกว่าจริงๆน้องคิดว่าคนญี่ปุ่นทั่วไปก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องสำเนียงของคนต่างชาติอะไรขนาดนั้น พูดภาษาเราได้ คุยกันรู้เรื่อง ก็ถือว่าเก่งและน่าชื่นชมแล้ว
ดังนั้น ถ้าใครยังติดการพูดญี่ปุ่นสำเนียงไทย หรือไม่รู้ว่าที่เราออกเสียงไปมันดีหรือไม่ดี ไม่ต้องเครียดกับการออกเสียงขนาดนั้น เดี๋ยวจะไม่กล้าพูด ไม่ใช่ภาษาแม่เรา ทุกคนเข้าใจ แต่ถ้าอยากพูดได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น ดูเป็นภาษาญี่ปุ่นที่สวยงามมากขึ้น ไม่ตะกุกตะกัก วันนี้บีมก็มีเคล็ดลับจากประสบการณ์ของบีมมาฝากค่ะ
-----
เอาเรื่องสำเนียงกับความเป็นธรรมชาติมารวมกันนะคะเพราะเหมือนมันเกี่ยวเนื่องกันนะ 555
1. ก่อนจะเข้าสู่โหมดฝึก เราควรรู้ก่อนว่า ภาษาญี่ปุ่นแต่ละตัว แต่ละเสียง ใช้รูปปากที่ถูกต้องในการออกเสียงอย่างไร ออกเสียงทีละตัวก่อน ให้คนญี่ปุ่นช่วยฟังให้ ถ้าไม่มีก็เปิดเทป อะ อิ อุ เอะ โอะ แล้วพูดตามเอา ดูคลิปนี้ประกอบก็ได้
https://www.youtube.com/watch?v=ZRINC-2fGOI
สำหรับคนไทย ภาษาญี่ปุ่นตัวที่มีปัญหามากๆคือ
z / tsu / chi / shi / hi / r / เสียงควบ / n
แนวทางการแก้ไขคือ อย่างที่บอก ต้องศึกษาการออกเสียงภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้องตามหลักสัทศาสตร์ให้เข้าใจ (เอาลิ้นไว้ตรงไหนในปาก ออกเสียงยังไงไรงี้) จากนั้นฝึกฝนให้มากพอจนออกเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติ การแก้ไขการออกเสียงญี่ปุ่น สิ่งสำคัญคือ ต้องแก้ให้ตรงจุดที่เป็นปัญหา
(อ้างอิง เสียงและระบบเสียงของภาษาญี่ปุ่น รองศาสตราจารย์ผกาทิพย์)
สำหรับตัวบีมเอง
ก่อนหน้านี้มีปัญหานะ บอกเลย ไม่เคยรู้เลยว่า su กับ tsu ต่างกันยังไง จนได้ลงเรียนวิชาเสียงของภาษาญี่ปุ่น ที่มธ.
ส่วนตัวอื่นบีมได้รับการแก้หมดแล้ว จากอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์
หลังจาก ทดสอบการพูดกับอิซากะมานานหลายครั้ง ตลอด 3 ปี การออกเสียงทีละตัวของบีมไม่มีปัญหาแล้ว
ทุกคนก็พยายามเข้านะคะ
2. เมื่อเรารู้วิธีการออกเสียง รูปปากที่ถูกต้องของแต่ละตัวอักษรแล้ว เราก็เริ่มฝึกฝน ถ้าเราไม่มีหนังสือเกี่ยวกับระบบเสียง ที่มีเส้นขีดๆให้เราอ่านเน้นเสียงสูงเสียงต่ำ จัดไปเลย การ์ตูน หรือ หนังก็ได้ การเลียนแบบจะทำให้สำเนียงเราดีขึ้น สมัยบีมเรียน อาจารย์ก็ให้ทำแบบนี้
ที่บีมอัพเรื่องนี้เพราะบีมนึกขึ้นได้ เมื่อกี้บีมไปฟังคลิปเก่าๆของบีม สมัยปี3 ขำดี 555 เราไม่รู้ตัวว่าเราเปลี่ยนแปลงนะ พอไปฟังของเก่าแบบ เห้ยยยยยยยยยย แต่ก่อนสำเนียงภาษาญี่ปุ่นเราเป็นงี้เหรอเนี่ย นอกจากสำเนียงจะไม่เหมือนตอนนี้แล้ว การพูดก็เกร็งมากๆ ก็เลยอยากอัพเรื่องนี้ให้ทุกคนได้อ่านกันดู 555
ต่อๆ
หาคลิปช้าๆก่อนก็ได้ พวกข่าวสั้นๆ อะไรก็ได้ที่พูดช้าๆ ประกาศอะไรงี้
วิธีที่บีมฝึกตอนเรียนคือ อาจารย์จะให้เราอัดเสียง บีมต้องอัดเสียงไปส่งอาจารย์ทุกวันนะ คือจริงจังมาก แต่ต้องซื่อสัตย์กับตัวเองนะ อย่าอัดโกงอะ เขาให้อัดทุกวัน ก็อัดทุกวัน 55 ไม่ใช่ไปอัดตอนใกล้ๆหมดสัปดาห์ทีเดียว 5 คลิปไรงี้
เรียนจบบีมอัดเป็นร้อยคลิปเลย
ก่อนอื่น ให้เราหาคลิปที่เราอยากฝึกพูดตาม จากนั้นถ้ามีสคริปด้วยจะดีมาก ถ้าไม่มีก็ผลิตเองซะ
ให้อ่านไปก่อนรอบนึง โดยที่ไม่ฟังคลิป
จากนั้นเราฟังคลิป แล้วพูดตาม ประโยคต่อประโยค ทำแบบนี้ คลิปเดิมซ้ำๆ ทำทุกวัน ทำจนเข้าไปในหัวสมอง จากนั้นเราไม่ต้องเปิดคลิปพูดตามละ เราลองพูดดูเท่าที่เราจำสำเนียงที่เคยพูดๆได้ (อ่านสคริปเอานะ ไม่ต้องท่อง)
แล้วเราก็ลองย้อนฟังคลิป ตั้งแต่อันแรกที่เราอัดดู เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ฝึกแบบนี้ไป ขยันเข้า
ที่บีมได้มาบอกเลยเป็นเพราะอาจารย์ให้บีมทำแบบนี้ เป็นคลาสที่ประทับใจมาก ได้แก้ภาษาญี่ปุ่นที่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าออกเสียงที่ถูกต้องยังไง
3. วิธีต่อมา ไม่ต้องหยุดคลิปละ เปิดมันไป สคริปไม่ต้องใช้ละ พูดตามแม่มเบย เขาพูดมา 2 วิ เราพูดตามที่เขาพูดเลย อันนี้เป็นเทคนิคที่บีมได้มาจากวิชาล่าม เป็นการฝึกฟังนะ แต่บีมว่ามันได้สำเนียงด้วย เพราะยิ่งเร็วเรายิ่งต้องใช้สมาธิ 555 อีกอย่างไม่มีสคริปชะ พอไม่มีสคริป เราจะฝึกฟังได้จริง ๆคำไหนเราไม่รู้เราต้องเดา และพยายามหาว่ามันคืออะไร เราได้ทั้งสำเนียง ความไหลลื่นแบบญี่ปุ่น เห้ย คนญี่ปุ่นพูดสปีดประมาณนี้ เห้ย ประโยคแบบนี้คนญีุ่่ปุ่นพูดแบบนี้อะไรงี้ เราจะได้คลังคำศัพท์เยอะขึ้นด้วย
4. นั่งว่างๆเปิดเพลง เปิดการ์ตูนค้างไว้ก็ได้ แล้วหาอะไรทำ นั่งเล่นเน็ทไป ปากก็พูดตามบ้างอะไรบ้าง จะได้ซึมซับ
5. ถ้ามีโอกาส ก็ควรฝึกพูดกับคนญี่ปุ่นจริงๆเท่าที่จะทำได้ เป็นการปฏิบัติจริง ได้สนทนาโต้ตอบจริงๆ ยิ่งได้ฟัง ยิ่งได้พูดบ่อยๆเราจะยิ่งเก่งขึ้น แต่มีข้อแม้นะ ว่าต้องฟังอย่างมีสติ และคอยสังเกตตัวเอง แต่ถ้าไม่มีเพื่อนคนญี่ปุ่นจริงๆ ฝึกกับหนัง กับอนิเมะไป ดีสุด บีมนี่ชอบมาก เปิดการ์ตูนแล้วพูดตาม แล้วต้องใส่อารมณ์ด้วยนะ คือไม่ต้องเครียดอะ บันเทิงๆ ได้สำเนียงแล้วยังได้อารมณ์การพูด สีหน้าท่าทาง ลักษณะการพูด แบบญี่ปุ่นติดมาด้วย
7. ถ้าอยากจะพูดให้เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องห่วงเรื่องสำเนียงมาก เดี๋ยวจะกลายเป็นพูดอะไรไม่ออกเลยแล้วตะกุกตะกัก เอาเป็นว่าเราควรรู้หลักการออกเสียงตัวอักษรหลักๆในภาษาญี่ปุ่น ฟังเยอะๆพูดเยอะๆ และถ้าอยากพูดให้ไหลลื่น เราต้องมีรูปแบบไวยากรณ์ ตัวอย่างรูปประโยคหลายๆอย่างอยู่ในหัว และเทคนิคการสื่อสารในตอนที่เราไม่รู้คำศัพท์ เช่น ถ้าเราไม่รู้ว่าคำว่าไม้ถูพื้นคืออะไร เราก็ไม่ต้องหยุดพูดให้มันมีช่องว่าง ต้องอาศัยไหวพริบในการคิดทันทีว่า เราควรพูดว่า ที่ใช้ทำความสะอาดพื้น ไรงี้ คนญี่ปุ่นก็จะเข้าใจและช่วยเราเอง นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้พูดได้ไหลลื่นมากขึ้น คือคลังคำศัพท์ในหัวเรา ท่องเข้าไป อันไหนใช้บ่อยๆเราจะจำได้ดี อันไหนใช้น้อยๆเราก็จะจำไม่ได้ ถึงได้บอกว่าให้ฟังเยอะๆพูดเยอะๆไง 555 ผลมันจะกลับมาแน่ๆ เชื่อจิ
8. นอกจากนี้หมั่นสังเกตคนญี่ปุ่นที่คุยด้วย ภาษาญี่ปุ่นมักใส่ไอซึจิ หรือคำแบบ เขาเรียกไรหว่าภาษาไทย แบบว่า เวลาคนนึงพูดจบประโยค อีกคนก็จะแบบตอบรับอ่ะ อ๋อเหรอ? อย่างนี้นี่เอง นั่นสินะ อะไรแบบนี้ อันนี้สำคัญมากกกกกกกก ในภาษาญี่ปุ่น เพราะเป็นการแสดงออกถึงว่าเรากำลังฟังเขาอยู่น้า ถ้าเราลงไอซึจิได้อย่างเป็นธรรมชาติ การพูดภาษาญี่ปุ่นของเราก็จะเป็นธรรมชาติขึ้น
9. หาความรู้นอกห้องเรียน ภาษาญี่ปุ่นหลายๆรูปประโยค ไม่มีในหนังสือเรียน เช่น คำว่า sa ที่ใช้ลงท้ายประโยค yone , wayo ,wa ที่ใช้ลงท้ายประโยค เห้ย ต่างกันยังไง อันนี้อธิบายยากมาก เพราะถ้าเราไม่ได้สัมผัสจริงๆบ่อยๆ เราใช้ไม่เป็น เรื่องคนญี่ปุ่นชอบละคำช่วย เรื่องคนญี่ปุ่นชอบละเสียง i ในประโยค teiru หรือ ละเสียง r ในรูปสามารถเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เราจะใช้ได้เป็นธรรมชาติ ต่อเมื่อเราได้ฝึกใช้จริง
เรื่อง ลงท้ายด้วย sa บีมใช้ไม่เป็นนะแต่ก่อน เพิ่งมาเป็นเมื่อประมาณปีที่แล้วเอง แบบเข้าใจนะ คือบางทีอยากพูด แต่แบบอายอะ ไม่รู้พูดไปจะถูกมั้ย อายคนญี่ปุ่นไรงี้อ่ะ แต่ผลที่เราฟังบ่อยๆอะ มันซึมซับจริง ในที่สุดบีมก็ทำได้ 5555555 จำได้ตอนนั้นอิซากะแซวเลย เห้ย พูด ลงท้าย sa ได้แล้ว ในที่สุุด 555
เราจะค่อยๆรู้ ว่าประโยคไหน ควรใช้คำลงท้ายแบบไหนให้เป็นธรรมชาติแบบคนญี่ปุน ที่ในหนังสือเรียนไม่ได้สอน
แล้วก็อย่าลืมศึกษาวัฒนธรรมพื้นฐานญี่ปุ่นด้วย ว่าควรปฏิเสธแบบไหน อะไรยังไเป็นต้น เรื่องพวกนี้ก็จะทำให้เราพูดได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น
6. สำคัญที่สุดคือ เราต้องฟัง อย่างมีสติ ไม่วาจะเป็นฟังคลิป ฟังคนพูดจริงๆ ให้มันลอยผ่านหูไปมันไม่ค่อยได้อะไรหรอก เดี๋ยวก็ลืม ฟังแล้วเราต้องพิจารณาตัวเองด้วย เอ๊ะ เราออกเสียงตรงไหนไม่เหมือนเขานะ ประโยคนี้ควรตอบแบบไหนนะ ต้องสังเกตจุดที่ตัวเองทำไม่ได้ให้ได้ ตรงไหนที่ออกเสียงเหน่อมากๆ ก็พยายามแก้จุดนั้น ทางที่ดี ฝึกเรื่องอัดเสียงตัวเองไว้ เพราะเสียงเราอะ พูดไปเราไม่รู้หรอก ว่าเป็นไง แต่เราจะรู้ตอนเราฟังนี่แหละ ทำไปเรื่อยๆ ก็จะดีขึ้น
-----------
ยาวเลย พิมพ์เป็นชั่วโมง
ยิ่งฟังยิ่งพูดเยอะ ยิ่งพูดได้ไหลลื่นเป็นธรรมชาติมากขึ้น
เรื่องสำเนียงไม่ต้องคิดมาก ค่อยพยายามฝึกไปเรื่อยๆได้
การโต้ตอบแบบเป็นธรรมชาติ สามารถตอบเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยใช้เวลาคิดเป็นภาษาไทยแค่แป๊ปเดียว หรือไม่คิดเลย สื่อสารได้ไหลลื่นไม่ติดขัด นี่สำคัญกว่า
BeamSensei
+ พิมพ์เป็นชั่วโมงงงงงงงงง
ลักษณะการพูด 在 Kan Atthakorn Facebook 的最佳解答
แนะนำให้ดูครับ ลักษณะการพูด ถ้าพูดโดยไม่มีอะไรปกปิดจะไม่ติดอ่างขนาดนี้ สังเกตต้นๆคลิป ผู้กำกับพูดคล่องเลย หลังๆกระอักกระอ่วนมาก
#จำไว้เลย คนเราโกหกด้วยคำพูดได้นะ แต่โกหกร่างกายไม่ได้ มันก็เหมือนกับเวลาที่เราบอกไม่เสียใจ ไม่เป็นอะไร แต่จริงๆแล้วร่างกายเรา ให้ตายยังไงก็ไม่มีทางปกติ มันจะสั่น จะร้อน สายตาเราจะหลบไปมา #เคสนี้ก้เช่นกันจ้า
https://www.youtube.com/watch?v=gU89CURvL6Y
ลักษณะการพูด 在 ประเภทของการพูด - Facebook 的推薦與評價
การพูด แบ่งตามลักษณะได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ ... ซึ่งแต่ละประเภทก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไป เช่น การพูดบรรยาย หรือปาฐกถา การกล่าวรายงาน การกล่าวคำปราศรัย ... ... <看更多>
ลักษณะการพูด 在 5 หลักการพูดที่ดี | พี่ผิงผิง วรเกตุ ตั้งสืบกุล - YouTube 的推薦與評價
5 หลักการ พูด ที่ดี | พี่ผิงผิง วรเกตุ ตั้งสืบกุล. Klaoshow. Klaoshow. 544K subscribers. Join. Subscribe. 563. I like this. I dislike this. ... <看更多>