ผู้สนับสนุน..
กรณีศึกษา การปรับตัวและยกระดับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล สู่ BCG Economy ด้วยนวัตกรรมของมิตรผล
รู้หรือไม่ น้ำตาลเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ
โดยไทยถือเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลมากสุดอันดับ 2 ของโลก
คิดเป็น 11.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
อย่างไรก็ตามหากดูข้อมูลการผลิตอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการทางอุตสาหกรรมย้อนหลังของไทย
ปี 2559 94 ล้านตัน
ปี 2560 92 ล้านตัน
ปี 2561 134 ล้านตัน
และล่าสุดในปี 2562 130 ล้านตัน
จะเห็นได้ว่าปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปีมีความไม่แน่นอน
ซึ่งเรื่องนี้ก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่สถานการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม ไปจนถึงราคาอ้อยที่ผันผวนที่อาจทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ในส่วนของน้ำตาลเองก็มีความผันผวนด้านราคาในตลาดโลกเช่นเดียวกัน
และยังมีปัญหาจากการเผาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่มมิตรผล จึงได้เล็งเห็นและก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยขึ้นที่ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปี พ.ศ. 2540
เนื่องจากกลุ่มมิตรผลมองเห็นความสำคัญของอ้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ และมีศักยภาพสามารถนำไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ในการดึงประโยชน์จากอ้อย น้ำตาล และสิ่งที่เหลืออยู่ในกระบวนการผลิตน้ำตาลให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
โดยเฉพาะการนำไปผ่านกระบวนการทางชีวภาพ (Biorefinery) เพื่อแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ BCG ของรัฐบาลไทย
ที่เน้นเกี่ยวกับ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
ปัจจุบัน ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ดำเนินงานวิจัยที่หลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยทีมนักวิจัย 70 คน และงบประมาณสนับสนุนปีละกว่า 250 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีการทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐอย่าง กระทรวงเกษตร, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคเอกชน อย่างบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น IBM
โดยศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมีการรองรับงานทั้งหมด 4 สาขา
1. งานวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและ AI เพื่อการทำเกษตรแบบแม่นยำ
2. งานวิจัยด้านการเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำตาล ผ่านการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำตาลให้มีประสิทธิภาพ และทันสมัยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค เช่น น้ำตาลเพื่อสุขภาพ
3. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยเน้นการแปรรูปเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Circular Economy) ต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ในด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-economy) และเพิ่มการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy)
4. ศูนย์ข้อมูลงานวิจัยระดับโลก ซึ่งรวบรวมข้อมูลการวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ต้องการผลักดันให้เกิดการต่อยอดเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างความมั่นคงและยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
ช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น
โดยเน้นที่การวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก ซึ่งจะยั่งยืนกว่าการแข่งขันด้วยราคา
อ่านมาถึงตรงนี้เราคงจะเห็นแล้วว่า การวิจัยและพัฒนาของมิตรผล ส่งผลดีทั้งชาวไร่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ภาคเกษตรกรรม ผ่านการส่งเสริมให้ชาวไร่มีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่ดีขึ้น
ภาคเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ
ภาคสังคม ผ่านการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ
รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำเกษตร ลดการเผาอ้อย และกระบวนการผลิตที่เน้นการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และลดของเสียให้ได้มากที่สุด
ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคุณค่าให้แก่ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน..
อ่านบทความนี้บนเว็บไซต์ได้ที่ www.longtunman.com/20478
References:
-http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf
-https://www.khaosod.co.th/economics/news_2538870
-http://www.worldstopexports.com/sugar-exports-country/
「วิทยาศาสตร์ pdf」的推薦目錄:
- 關於วิทยาศาสตร์ pdf 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於วิทยาศาสตร์ pdf 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於วิทยาศาสตร์ pdf 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最讚貼文
- 關於วิทยาศาสตร์ pdf 在 Thai Sci-Fi Group | PDF 41 MB นิตยสาร ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์ ... 的評價
- 關於วิทยาศาสตร์ pdf 在 การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (วิทย์ ป.4 เล่ม 1 หน่วย 1 บท 1) 的評價
วิทยาศาสตร์ pdf 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ผู้สนับสนุน..
กรณีศึกษา การปรับตัวและยกระดับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล สู่ BCG Economy ด้วยนวัตกรรมของมิตรผล
รู้หรือไม่ น้ำตาลเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ
โดยไทยถือเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลมากสุดอันดับ 2 ของโลก
คิดเป็น 11.6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
อย่างไรก็ตามหากดูข้อมูลการผลิตอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการทางอุตสาหกรรมย้อนหลังของไทย
ปี 2559 94 ล้านตัน
ปี 2560 92 ล้านตัน
ปี 2561 134 ล้านตัน
และล่าสุดในปี 2562 130 ล้านตัน
จะเห็นได้ว่าปริมาณผลผลิตอ้อยในแต่ละปีมีความไม่แน่นอน
ซึ่งเรื่องนี้ก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่สถานการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม ไปจนถึงราคาอ้อยที่ผันผวนที่อาจทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ในส่วนของน้ำตาลเองก็มีความผันผวนด้านราคาในตลาดโลกเช่นเดียวกัน
และยังมีปัญหาจากการเผาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่มมิตรผล จึงได้เล็งเห็นและก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยขึ้นที่ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปี พ.ศ. 2540
เนื่องจากกลุ่มมิตรผลมองเห็นความสำคัญของอ้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ และมีศักยภาพสามารถนำไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ในการดึงประโยชน์จากอ้อย น้ำตาล และสิ่งที่เหลืออยู่ในกระบวนการผลิตน้ำตาลให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
โดยเฉพาะการนำไปผ่านกระบวนการทางชีวภาพ (Biorefinery) เพื่อแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ BCG ของรัฐบาลไทย
ที่เน้นเกี่ยวกับ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
ปัจจุบัน ศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ดำเนินงานวิจัยที่หลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยทีมนักวิจัย 70 คน และงบประมาณสนับสนุนปีละกว่า 250 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีการทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐอย่าง กระทรวงเกษตร, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคเอกชน อย่างบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น IBM
โดยศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมีการรองรับงานทั้งหมด 4 สาขา
1. งานวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่อ้อยสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์อ้อยที่มีศักยภาพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและ AI เพื่อการทำเกษตรแบบแม่นยำ
2. งานวิจัยด้านการเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำตาล ผ่านการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำตาลให้มีประสิทธิภาพ และทันสมัยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค เช่น น้ำตาลเพื่อสุขภาพ
3. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยเน้นการแปรรูปเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Circular Economy) ต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ในด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-economy) และเพิ่มการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Economy)
4. ศูนย์ข้อมูลงานวิจัยระดับโลก ซึ่งรวบรวมข้อมูลการวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการร่วมมือระหว่างองค์กร เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยมิตรผล ต้องการผลักดันให้เกิดการต่อยอดเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างความมั่นคงและยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
ช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น
โดยเน้นที่การวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก ซึ่งจะยั่งยืนกว่าการแข่งขันด้วยราคา
อ่านมาถึงตรงนี้เราคงจะเห็นแล้วว่า การวิจัยและพัฒนาของมิตรผล ส่งผลดีทั้งชาวไร่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ภาคเกษตรกรรม ผ่านการส่งเสริมให้ชาวไร่มีอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่ดีขึ้น
ภาคเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ
ภาคสังคม ผ่านการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ
รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำเกษตร ลดการเผาอ้อย และกระบวนการผลิตที่เน้นการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และลดของเสียให้ได้มากที่สุด
ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคุณค่าให้แก่ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน..
อ่านบทความนี้บนเว็บไซต์ได้ที่ www.longtunman.com/20478
References:
-http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf
-https://www.khaosod.co.th/economics/news_2538870
-http://www.worldstopexports.com/sugar-exports-country/
วิทยาศาสตร์ pdf 在 โอตาคุบริโภคมาม่า Facebook 的最讚貼文
ศาสตราจารย์ด้านการวิจัยข้อมูล
เผยผลการวิจัยเรื่องการสอนโปรแกรมมิ่งว่า
ตั้งแต่ต้นปี2000
จากการทดลองให้เด็ก1000คน ตั้งแต่ประถมไปจนถึงมหาลัย
เรียนโปรแกรมมิ่ง
โดยบทความได้พูดเกริ่นนำเรื่อง AI กับชีวิตในโลกอนาคตก่อน
และบอกถึงความพยายามที่จะสอนโปรแกรมมิ่งให้กับเด็ก
เพื่อเตรียมพวกเขากับอนาคต
ปรากฏว่าใน1000คน
มีแค่3คนเท่านั้น ที่มีศักยภาพมากพอที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์ได้
นั่นเป็นเพราะการศึกษาในปัจจุบัน
ไม่ได้มีศักยภาพในการสอนการตีความ
ซึ่งเป็นความสามารถจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับการเรียนโปรแกรมมิ่ง
---------------------------
โดยอย่างแรก ได้ทดสอบก่อนว่า
มีเด็กกี่คนที่ผ่าน Reading Skill Test
หรือความสามารถในการอ่านและตีความ
ผลปรากฏว่า เด็กที่ผ่านข้อสอบได้กลับมีน้อยมาก
[ดูคำถาม และจำนวนผู้ตอบถูกได้จากลิงค์ข้างล่างนี้]
https://www.nii.ac.jp/userimg/press_20160726-2.pdf
เช่น
[ภาพวงกลมในลิงค์]
ถามว่า วงกลมใดบ้างในภาพต่อไปนี้
ที่ผ่าน จุดศูนย์กลาง และ [1,1] และติดกับแกน X
มีผู้ตอบถูกดังนี้
มัธยม [1 - 10%] [2 - 22%] [3 - 25%] [4 - 29%] [5 - 30%] [6 - 45%]
หรือ
ให้อธิบายว่า
เมื่อเลขคู่บวกกับเลขคี่ คำตอบจะเป็นเลขคี่เพราะอะไร?
ผลที่ได้คือ นักศึกษาจากมหาลัยรัฐชั้นนำ ตอบถูก70%
ในขณะที่ นักศึกษาจากมหาลัยเอกชน ตอบถูก40%
-------------------------
ซึ่งการที่เด็กจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้นั้น
จำเป็นจะต้องมีความสามารถเข้าใจเรื่องดังต่อไปนี้
[ความเกี่ยวเนื่องของข้อมูลเสริม]
[การเปรียบเทียบข้อมูลที่ถูกย่อ]
[การเปรียบเทียบความตรงกันของข้อมูลใน2ประโยค]
[ตรรกะของข้อมูลที่ถูกระบุและที่ไม่ถูกระบุ]
[การเปรียบเทียบบทความและภาพประกอบ]
[การเปรียบเทียบความหมายและตัวอย่างเจาะจง]
(ตรงนี้ถ้าเขียนอธิบายหมดจะยาว เลยเขียนเฉพาะหัวข้อ
ถ้าอยากรู้ตัวอย่างของแต่ละอัน ช่วยคอมเม้นท์ด้านล่างครับ)
http://mozutokyo.hatenablog.com/entry/2017/11/09/025053
ซึ่งการทดลองได้พิสูจน์แล้วว่า
โรงเรียนประถม ไม่ได้สอนให้เด็กพัฒนาความสามารถเหล่านี้ขึ้นมาเลย
ถึงแม้ว่าการอยากจะสอนโปรแกรมมิ่งจะเป็นเรื่องสำคัญ
แต่ถ้าพวกเขาอ่านและตีความไม่เป็น
คุณจะสอนพวกเขาไป มันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา
---------------------------
ในช่วงปี 2011-2016 มีการวิจัยAI ที่มีความสามารถมากพอ
ที่จะผ่านทำข้อสอบโทไดได้
โดยผลวิจัยพบว่า AI ในปัจจุบัน
เชี่ยวชาญด้าน การจดจำชื่อคน สถานที่ และการคำนวน
แต่ยังมีปัญหาด้านการอ่านบทความหรือภาษาที่ซับซ้อนอยู่
แต่ความสามารถด้านการอ่านของเด็กๆในปัจจุบัน
กลับมีความสามารถเท่ากันกับ AI เท่านั้น
เราจึงต้องปรับปรุงการศึกษา
ให้อย่างน้อย ก็สามารถอ่านการตีความของโจทย์ระดับ ม.ต้นได้
ซึ่งหากเราปล่อยเอาไว้แล้ว
เด็กที่ไม่สามารถเรียนเองด้วยตัวคนเดียวได้
จะไม่สามารถเรียนเพื่อเพิ่มเอาความรู้อย่างอื่นได้
แล้วปัญหาแรงงานในอนาคตก็จะยิ่งย่ำแย่ลงไปอีก
----------------------------------
ช่วงท้ายของบทความ
พูดเรื่องแนวทางการสอนโปรแกรมมิ่งในระดับประถม
ว่าไม่ใช่เรื่องการสอนใช้PC เขียนโปรแกรม
แต่เป็นการสอนวิธีการคิดแบบโปรแกรมมิ่ง
โดยใช้โจทย์ในปัญหาวิชาทั่วไป
เช่น คณิตย์ ภาษา สังคม วิทยาศาสตร์ และอื่นๆ
ซึ่งเราถือว่า
[การเขียนโปรแกรม]
[การคิดแบบโปรแกรมมิ่ง]
เป็นคนละเรื่องกัน
http://www.atmarkit.co.jp/ait/articles/1804/26/news018.html
วิทยาศาสตร์ pdf 在 การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (วิทย์ ป.4 เล่ม 1 หน่วย 1 บท 1) 的推薦與評價
วิชา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ป.4 เล่ม 1บทที่ 1 เรียนรู้แบบนัก วิทยาศาสตร์ - เรื่องที่ 1 การสืบเสาะหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ เอกสารประกอบการเรียน ... ... <看更多>
วิทยาศาสตร์ pdf 在 Thai Sci-Fi Group | PDF 41 MB นิตยสาร ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์ ... 的推薦與評價
PDF 41 MB นิตยสาร ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์ 113 สกายแลบร่วง ( #SkyLab ) ปีที่ 26 ฉบับที่ 29 (1 สิงหาคม พ.ศ.2522) ราคาปก 4 บาท เจ้าของ บุญพริ้ง ต.สุวรรณ... ... <看更多>