สรุปเรื่องประกันสังคม และศรีพันวา แบบไม่เข้าข้างใคร /โดย ลงทุนแมน
ประกันสังคม ลงทุนในศรีพันวา มันคืออะไร?
แล้วทำไมประกันสังคมต้องเอาเงินไปลงทุน
เรื่องนี้ ทำไมแต่ละคนพูดไม่เหมือนกัน
ลงทุนแมน จะสรุปเรื่องแบบง่ายๆ ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแฟลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
1) กองทุนประกันสังคมเป็นรูปแบบที่ทุกๆ ประเทศใช้ในเรื่องเป็นหลักประกันให้แก่ลูกจ้าง กรณีของไทยจะคุ้มครองในเรื่อง อุบัติเหตุ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ว่างงาน ชราภาพ
2) ตอนเรายังเป็นหนุ่มสาวแข็งแรง เราก็คงจะไม่เห็นค่าของกองทุนนี้ว่ามีไว้เพื่ออะไร แต่เมื่อบางคนเจอกับเหตุการณ์ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น มีบุตร เจ็บป่วย หรือแม้แต่ว่างงาน กองทุนนี้จะมีหน้าที่ที่จะจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือ
3) ทีนี้ประกันสังคมจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายเรา คำตอบก็คือเงินที่หักจากเงินเดือนของลูกจ้างส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งก็คือ เงินสมทบจากนายจ้าง และ รัฐบาล
4) ประเด็นก็คือ ในอนาคตกองทุนประกันสังคมมีภาระที่ต้องจ่ายให้กับทุกคนมากขึ้น เพราะโดยเฉลี่ยแล้วคนที่อยู่ในกองทุนจะมีอายุมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมไปถึงจ่ายเงินกรณีชราภาพจะมากขึ้นในอนาคต
5) สิ่งที่กองทุนประกันสังคม รวมไปถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญ (Pension Fund) ทั่วโลกเขาทำกันก็คือ การนำเงินที่อยู่ในกองทุน กระจายไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลตอบแทน
6) แน่นอนว่าเงินหลักของกองทุน จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือ รัฐวิสาหกิจ แต่ก็จะมีอีกส่วนหนึ่งที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นมาเช่น หุ้นกู้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ที่น่าจะมีความผันผวนที่สุดก็คือ หุ้น
7) ขอเจาะลึกการแบ่งประเภทสินทรัพย์ที่เป็นประเด็นในช่วงนี้ แค่ 2 เรื่อง คือ หุ้น กับ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มันต่างกันอย่างไร?
8 ) อธิบายง่ายๆ หุ้น คือ การมีส่วนร่วมการเป็นเจ้าของบริษัท บริษัทกำไรรับส่วนแบ่งกำไร บริษัทขาดทุนรับส่วนแบ่งขาดทุน
9) ส่วน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) คือ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งรายรับของทรัสต์ก็คือ ค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่า
10) ตัวอย่างมีหลายเรื่อง และอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เช่น CPN เป็นบริษัทในเครือเซ็นทรัลที่พัฒนาศูนย์การค้า ซึ่งจะมีหน้าที่ไปซื้อที่ดินมาพัฒนาก่อสร้าง แต่กรณีของ CPNREIT จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์พื้นที่บางสาขาของเซ็นทรัล ซึ่งจะมีรายได้คือ ค่าเช่า
11) อีกตัวอย่างก็คือ DTC เป็นบริษัทที่พัฒนาโรงแรมเครือดุสิตธานี ซึ่งจะมีหน้าที่ไปซื้อที่ดินมาพัฒนาเป็นโรงแรม แต่กรณี DREIT จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงแรมบางโรงแรมของดุสิตธานี ซึ่งจะมีรายได้คือค่าเช่าเช่นกัน
12) ไม่ต่างอะไรกับกรณีของศรีพันวา บริษัทที่พัฒนาก็คือ ชาญอิสสระ ส่วนคนที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงแรมศรีพันวาก็คือ SRIPANWA ซึ่งปกติแล้วชื่อมันควรจะต่อด้วยคำว่า REIT แต่ในกรณีนี้คนตั้งชื่อ ดันตั้งชื่อเป็น SRIPANWA (ถ้าตั้งว่า SREIT ก็อาจจะเข้าใจง่ายกว่านี้)
13) SRIPANWA จะเหมือน REIT ทั่วไปคือ มีรายได้จากค่าเช่า ซึ่งกรณีนี้ ผู้เช่าก็ดันไปมีชื่อคล้ายกันว่า ศรีพันวา แมเนจเมนท์ มันก็เลยยิ่งทำให้ง่ายต่อการสับสนขึ้นไปอีก
14) สรุปแล้ว SRIPANWA คือ REIT ที่ได้รับค่าเช่า ส่วน ศรีพันวา แมเนจเมนท์ คือผู้เช่าที่จ่ายเงินค่าเช่าให้กับ SRIPANWA
15) ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ถือเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ชาญอิสสระ โดยชาญอิสสระถือหุ้น 85% ในบริษัทนี้ ปกติการถือหุ้นมากขนาดนี้ งบการเงินจะถูกรวมเข้ามากับบริษัทแม่ และเสมือนหนึ่งเป็นกิจการของบริษัทแม่
16) บริษัทชาญอิสสระ (ตัวย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า CI) ถือหุ้นใหญ่โดย นายสงกรานต์ อิสสระ 29.4% และ นายทวีฉัตร จุฬางกูร 23.5% และยังมีผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ อีกมากมายรวมกัน 1,750 คน
17) คำถามต่อไปก็คือแล้ว SRIPANWA กับ บริษัทชาญอิสสระ รายได้และกำไรเป็นอย่างไร?
ปี 2019 บริษัท SRIPANWA มีรายได้สุทธิ 234 ล้านบาท และบริษัทชาญอิสสระ มีกำไร 270 ล้านบาท
ส่วนบริษัทศรีพันวา แมเนจเมนท์ ขาดทุน 157.5 ล้านบาท
18) จากตัวเลขก็น่าจะสรุปได้ว่า ชาญอิสสระ ที่ยอมจ่ายค่าเช่าให้ SRIPANWA เป็นการจ่ายที่ดำเนินกิจการไปแล้วขาดทุน แต่อย่างไรก็ยังมีกิจการอื่นของบริษัทชาญอิสสระที่ทำให้บริษัทมีกำไรในปี 2019
19) ทำไมถึงยอมจ่ายค่าเช่า ทั้งที่กิจการขาดทุน สาเหตุหลักน่าจะเป็นเพราะในตอนแรกบริษัทชาญอิสสระน่าจะต้องการได้เงินก้อนใหญ่ตอนนำสินทรัพย์เข้าจดทะเบียนเป็น REIT ซึ่งจะพูดถึงเรื่องนี้ในข้อ 29
20) ในปี 2020 โรงแรมศรีพันวาน่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด 19 แต่อย่างที่บอกไป คือ ต่อให้คนมาเที่ยวโรงแรมศรีพันวาน้อยลงมากๆ SRIPANWA ก็จะได้รับค่าเช่าที่ตกลงกันไว้จาก ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ซึ่งอยู่ใต้ชาญอิสสระ อยู่ดี
21) แต่อย่าชะล่าใจ เพราะประเด็นก็คือ จดหมายวันที่ 17 กรกฎาคม 2020 ที่ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ ศรีพันวา แมเนจเมนท์ ขอเลื่อนจ่ายค่าเช่าเดือน 2, 3, 6, 7 ของปีนี้ ออกไปอีก 6 เดือน และขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น SRIPANWA ให้ยอมงดเว้นจ่ายเดือน 4 และ 5 ของปีนี้ สรุปแล้ว เดือน 2-7 ของปีนี้ผู้ถือ SRIPANWA ยังไม่ได้รับค่าเช่าสักบาทจาก ศรีพันวา แมเนจเมนท์
22) เรื่องที่เกิดขึ้นนักลงทุนก็ทราบถึงความเสี่ยง และราคา SRIPANWA ในตลาดลดลงอย่างรวดเร็วจาก 11.6 บาท เหลือ 8 บาท ซึ่งเกิดขึ้นตามสถานการณ์โควิด 19 ที่รุนแรงในบ้านเราในช่วงเดือนมีนาคม
23) ส่วนเรื่องประเด็นความถูกต้องของกรรมสิทธิ์จะทำให้หมดมูลค่าหรือไม่ และประกันสังคมได้ตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่ ตรงนี้ต้องตรวจสอบกันต่อไป แต่การเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ต้องผ่านการตรวจสอบเรื่องนี้มาในระดับหนึ่งแล้ว ถ้ากรรมสิทธิ์ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่แค่สำนักงานประกันสังคม คำถามต้องย้อนไปหาที่ปรึกษากฎหมาย และ สำนักงาน ก.ล.ต. แต่ในโลกของการลงทุน ทุกอย่างก็จะสะท้อนไปในราคาหลักทรัพย์ ถ้ามันมีความเสี่ยง ราคาก็จะตกลงมา แต่ถ้ามันไม่น่ากังวลก็จะมีคนที่ยอมซื้อขายในมูลค่าที่สูง ตลาดจะเป็นคนให้คำตอบในเรื่องมูลค่าที่ควรจะเป็น
24) แต่ถ้าตัดเรื่องโควิด 19 ออกไป การลงทุนใน SRIPANWA ของสำนักงานประกันสังคมก่อนหน้านี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ประกันสังคมต้องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากผู้เช่าเป็นงวดๆ ในแต่ละปี
25) แล้วกองทุนประกันสังคมเอาเงินไปลงทุนอะไรบ้าง?
ในกรณีนี้จะขอพูดถึงแต่สินทรัพย์เสี่ยงที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จากข้อมูลของ StockRadars วันที่ 22 กันยายน 2020 ประกันสังคมมีสินทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งหมด 216,466 ล้านบาท โดยกระจายไปในหลักทรัพย์หลายตัว ตัวที่มากสุดคือ ปตท. ซึ่งคิดเป็น 8.5% ของทั้งหมด
รายชื่อหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ประกันสังคมถือ
PTT, SCC, ADVANC, CPALL, BDMS, AOT, BBL, CPF, SCB, PTTEP, KBANK, WHART, HMPRO, CPN, FTREIT, BEM, LH, PTTGC, CRC, DIF, EGCO, BTS, BCP, TU, GPSC, BH, RATCH, BJC, TOP, GLOBAL, INTUCH, MINT, BCH, DTAC, IMPACT, IVL, BTSGIF, CPNREIT, SPALI, BGRIM, IRPC, TISCO, BANPU, M, TFFIF, DREIT, PSH, BKER, BOFFICE, LHSC, SRIPANWA, WHABT, BCPG, B-WORK, SPRIME, GVREIT, GAHREIT, LPN, FUTUREPF, MAJOR, TPRIME, QH, BRRGIF, BEC, EPG, PLAT
ซึ่ง SRIPANWA เป็นหนึ่งในนี้ โดยคิดเป็น 0.2% ของมูลค่าทั้งหมด
26) แล้วมีอะไรที่คล้าย SRIPANWA ที่ประกันสังคมถือบ้าง?
ถ้าเราวัดความคล้าย จากการเป็น REIT และ การที่ประกันสังคมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับต้นๆ ก็จะมี
ถือใน SRIPANWA 22.6%
ถือใน WHABT 27.0%
ถือใน DREIT 25.4%
ถือใน GAHREIT 21.6%
ถือใน WHART 16.7%
ถือใน BKER 13.14%
ถือใน FTREIT 12.3%
นอกจาก REIT ก็ยังมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานประกันสังคมเข้าไปถือ
ถือใน ERWPF 28.9%
ถือใน KPNPF 21.1%
ถือใน MJLF 30.9%
ถือใน POPF 16.8%
ถือใน QHOP 32.9%
ถือใน SIRIP 27.5%
ถือใน TLHPF 22.8%
ถือใน TU-PF 76.8%
ถือใน URBNPF 30.0%
เมื่อไปดูไส้ใน สรุปแล้วประกันสังคมกระจายถือในอสังหาริมทรัพย์หลายประเภท ครอบคลุมทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า คลังสินค้า รวมไปถึงออฟฟิศสำนักงาน
ซึ่งหลายหลักทรัพย์ สำนักงานประกันสังคมถือหุ้นเป็นอันดับหนึ่ง คล้ายกรณี SRIPANWA เช่น ประกันสังคมเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่งของ ERWPF ซึ่งเป็นโรงแรมของเครือเอราวัณ
27) คำถามต่อไปก็คือ ทำไมสำนักงานประกันสังคมถึงได้ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท REIT หรือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หลายตัว มันมีความเสี่ยงแตกต่างจากหุ้นอย่างไร?
28) คำตอบคือ หุ้น จะมีความเสี่ยงระหว่างการพัฒนาสินทรัพย์ เช่นกรณีของ CPN ที่ต้องไปซื้อที่ดิน พัฒนาโครงการ กว่าจะเสร็จก็ใช้เวลาหลายปี เสร็จแล้วก็ไม่รู้ว่ามีลูกค้ามาใช้บริการหรือไม่
29) REIT จะมีรูปแบบที่ต่างออกไป เพราะกว่าที่จะเป็น REIT ได้ บริษัทต้องพัฒนาสินทรัพย์นั้นโดยเปิดดำเนินการไประยะหนึ่ง และมีค่าเช่าที่แน่นอนไม่ผันผวน หลังจากนั้นบริษัทก็จะขายสินทรัพย์นั้นเข้า REIT บริษัทจะได้เงินก้อนใหญ่ ส่วนคนที่มาลงทุนใน REIT จะได้เงินค่าเช่าเป็นงวดๆ ในแต่ละปี
30) ทำไมผู้ลงทุนใน REIT ถึงอยากจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อแลกเป็นงวดๆ ในแต่ละปี? คำตอบก็คือ การลงทุนแบบนี้มันได้ผลตอบแทนมากกว่าทางเลือกอื่น เช่น ซื้อพันธบัตรได้ผลตอบแทนแค่ 1% ต่อปี แต่การลงทุนใน REIT ให้ผลตอบแทน 6% ต่อปี โดยที่ REIT ยังมีหลักประกันคือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นอีกด้วย
31) และประเด็นที่สำคัญก็คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่จ่ายค่าเช่าเป็นงวดๆ มันสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนของ สำนักงานประกันสังคม ที่ต้องการได้รายรับเป็นงวดๆ เพื่อมาจ่ายผลประโยชน์แก่สมาชิกในแต่ละปี ซึ่งสังเกตได้ว่า บริษัทประกันอื่นๆ ก็ชอบสินทรัพย์ในรูปแบบนี้เช่นกัน ดังนั้นเราจะได้เห็นผู้ถือหุ้น SRIPANWA จะมีบริษัทประกันอื่นๆ อีกเช่น ทิพยประกันชีวิต เมืองไทยประกันภัย ไทยศรีประกันภัย
พออ่านถึงตรงนี้เราน่าจะเข้าใจมากขึ้นว่า REIT คืออะไร แตกต่างจากหุ้นอย่างไร และทำไมสำนักงานประกันสังคมถึงได้เข้าไปลงทุนใน SRIPANWA..
หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 เปิด pre-order วันนี้ จำนวนจำกัดเพียง 1,000 เล่ม
ราคาเต็ม 250 บาท ลดเหลือ 200 บาท
สั่งซื้อตอนนี้ได้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแฟลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
หุ้นกู้tu 在 Mao-Investor Facebook 的最佳解答
#หุ้นกู้TU
ผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลก Thai Union Group PCL. (TU) กำลังจะออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ 5% ใน 5 ปีแรก เครดิตเรตติ้งหุ้นกู้ A- โดยทริสเรทติ้ง
TU เป็นเจ้าของแบรนด์ชั้นนำที่คนไทยรู้จักกันดีคือ ผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋อง ซีเล็ค(SEALECT), อาหารทานเล่นฟิชโช,โมโนริ, อาหารทะเลคุณภาพสดใหม่ คิวเฟรช, เคาน์เตอร์อาหารทะเลธรรมชาติ ซีฟู้ด
นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของแบรนด์อาหารทะเลชั้นนำทั่วโลก เป็นที่รู้จักทั้งในยุโรป,สหรัฐ และ ออสเตรเลีย เช่น John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu , Rügen Fisch, Chicken of the Sea, Genova และ King Oscar และ ยังมีอาหารสัตว์เลี้ยง Belotta และ Marvo อีกด้วย
เรามาทำความรู้จัก TU กันให้มากขึ้น รวมถึงรายละเอียดและข้อควรระวังของหุ้นกู้นี้กัน :)
หุ้นกู้tu 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ผู้สนับสนุน..
โอกาสในการสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ กับหุ้นกู้ TU ผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลก และผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องอันดับ 1 ของโลก
รู้ไหมว่า.. บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU
นอกจากจะเป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลระดับโลกแล้ว ยังเป็นบริษัทผู้ผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋องอันดับ 1 ของโลก อีกด้วย
ปัจจุบัน TU กำลังจัดโครงสร้างทางการเงินให้แข็งแกร่งขึ้น
ผ่านการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน
รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 6 พันล้านบาท..
หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนคืออะไร
และผลประกอบการที่ผ่านมาของ TU เป็นอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาดูธุรกิจของ TU บริษัทที่ติดอันดับ SET50 กันก่อน..
จริงๆ แล้ว.. สินค้ารอบตัวเราหลายแบรนด์ เป็นของ TU ไม่ว่าจะเป็น
ซีเล็ค (SEALECT) ทูน่ากระป๋อง และซาร์ดีนกระป๋อง
อาหารทานเล่น ฟิชโช (Fisho) และ โมโนริ (Monori)
อาหารทะเลคุณภาพ คิวเฟรช
และ เคาน์เตอร์อาหารทะเล ธรรมชาติ ซีฟู้ด
TU มีแบรนด์มากมายกว่า 14 แบรนด์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น John West แบรนด์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องอันดับ 1 ในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์, Petit Navire และ Parmentier แบรนด์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องชั้นนำของประเทศฝรั่งเศส, Mareblu ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าในประเทศอิตาลี, Rügen Fisch ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปในประเทศเยอรมนี, Chicken of the Sea แบรนด์อาหารทะเลบรรจุกระป๋องอันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกา และ Genova ผลิตภัณฑ์ทูน่าระดับพรีเมียมในตลาดสหรัฐอเมริกา รวมถึง King Oscar แบรนด์ชั้นนำซาร์ดีนอันดับ 1 ในประเทศสหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ และออสเตรเลีย
นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยง Bellotta และ Marvo อีกด้วย
แม้ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารทะเล TU ยังสามารถรักษามาตรฐานทั้งในเชิงธุรกิจ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้บริษัทคว้าอันดับ 1 ผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารโลก 2 ปีติดต่อกัน ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
ส่วนกรณีที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR) ประกาศเพิกถอนสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้านำเข้า (GSP) จากประเทศไทย ที่จะมีผลบังคับใช้ใน 6 เดือนข้างหน้านั้น เนื่องจากสินค้าอาหารทะเลและอาหารสัตว์ที่ไทยยูเนี่ยนจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ได้อยู่ภายใต้ GSP ดังนั้นมาตรการที่ประกาศในครั้งนี้ จึงไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยนแต่อย่างใด
แล้วผลประกอบการของ TU เป็นอย่างไร?
TU มีสินทรัพย์กว่า 140,000 ล้านบาท ครึ่งปีแรกของปี 2562 มีรายได้ 61,583 ล้านบาท มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ 2,787 ล้านบาท
โดยรายได้ทุกๆ 100 บาทของ TU มาจาก
สหรัฐอเมริกา 38 บาท
ยุโรป 31 บาท
ไทย 11 บาท
ญี่ปุ่น 6 บาท
และอื่นๆ อีก 15 บาท
แสดงให้เห็นว่า TU สามารถกระจายธุรกิจไปยังหลายประเทศทั่วโลก
นอกจากนี้ บริษัทยังก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมสำหรับการคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาปรับปรุงการผลิต โดยมี นักวิจัยกว่า 120 คน ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาเอก 40 ท่าน และพนักงานทั่วโลกรวมกันกว่า 47,000 คน
และเร็วๆ นี้เอง..
TU กำลังจะระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน
แล้วหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน คืออะไร?
หุ้นกู้ประเภทนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า Perpetual Bond จะได้รับดอกเบี้ยเป็นงวดๆ เหมือนตราสารหนี้ทั่วไป แต่จะมีลักษณะคล้ายหุ้นทุนตรงที่ตราสารจะไม่มีการครบกำหนดอายุ
อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้ประเภทนี้ให้สิทธิผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนได้หลังครบ 5 ปีแล้ว ซึ่งหมายความว่าหากผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอน ผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะได้เงินต้นคืนอย่างครบถ้วน โดยไม่จำเป็นต้องถือไปเรื่อยๆ
สำหรับ TU บริษัทเตรียมเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ให้แก่นักลงทุนทั่วไป 4 พันล้านบาท และมีหุ้นกู้ส่วนสำรองขายเพิ่มเติม 2 พันล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 6 พันล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก 5.00% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน
โดยจุดประสงค์การออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิในครั้งนี้ เพื่อที่จะเสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้างทางการเงินระยะยาว ในฐานะผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลก
โดย TU ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ A+ ในขณะที่หุ้นกู้ด้อยสิทธิอยู่ที่ระดับ A- โดยทริสเรทติ้ง ซึ่งถือเป็นระดับที่สูง เมื่อเทียบกับหุ้นกู้ลักษณะเดียวกันของบริษัทอื่นๆ
นอกจากนี้ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 (TAS32) ที่จะเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนของไทยยูเนี่ยนชุดนี้ได้กำหนดเงื่อนไขในข้อกำหนดสิทธิให้สามารถนับเป็นทุนทางบัญชีได้ 100% ซึ่งถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของบริษัทที่เลือกระดมทุนด้วยหุ้นกู้ชนิดนี้ ที่จะไม่มีหนี้สินทางบัญชีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อโดยทริสเรทติ้ง ยังได้นับหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนของบริษัทนี้เป็นทุนได้ 50% ใน ช่วง 5 ปีแรก ในมุมมองของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแล้วอีกด้วย
หากท่านใดสนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้และร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ธนาคารกรุงเทพ หรือโทร. 1333
ธนาคารกรุงไทย หรือโทร. 0-2111-1111
ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือโทร. 0-2777-6784 และ
บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร หรือโทร. 0-2305-9442
<คำเตือนที่สำคัญ>
1. โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน
2. ตลาดตราสารหนี้ ในประเทศไทยมีสภาพคล่องต่ำ การขายตราสารในตลาดรองนั้นอาจได้รับมูลค่าขายตราสารลดลง หรือเพิ่มขึ้นได้ โดยขึ้นอยู่กับสภาวะและความต้องการของตลาดใน ขณะนั้น
3. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารเป็นเพียงข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจลงทุนเท่านั้น มิใช่สิ่งชี้นำการซื้อขายตราสารหนี้ที่เสนอขายและ ไม่ได้เป็นการรับประกันความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร และเมื่อผู้ออกหุ้นกู้หยุดจ่ายดอกเบี้ย (กรณีบริษัทไม่ได้แจ้งเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้) หรือเงินต้น ก็เป็นการผิดนัดชำระหนี้ หุ้นกู้ (default) ซึ่งหากผู้ออกหุ้นกู้ประกาศล้มละลายหรือผิดนัดชำระหนี้ หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้ และเจ้าหนี้ อื่นของบริษัท ผู้ออกหุ้นกู้จะมีบุริมสิทธิเหนือผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ในการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้ ผู้ลงทุนสามารถดูผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ หรือผู้ออกหุ้นกู้ (credit rating) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดอันดับความเสี่ยง ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ถ้า credit rating ของหุ้นกู้ต่ำ หรือผู้ออก หุ้นกู้แสดงว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้หรือผู้ออกหุ้นกู้สูง ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับควรจะสูงด้วยเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงของหุ้นกู้ดังกล่าว