นอกจากเหตุผลทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้แล้ว ก็ยังมีปัจจัยที่มักทำให้ธุรกิจรายเล็กหรือ SME มักเจ๊งแบบไม่รู้ตัวอีกด้วย ถ้าลองสังเกตดูจะเห็นว่าร้านค้าเล็กๆ จากผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME ตามตลาดนัดหรือศูนย์การค้าที่เราอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตา แต่เมื่อเวลาผ่านไปร้านค้าเหล่านั้นกลับไม่อยู่ที่เดิมแล้ว จนเกิดคำถามที่ว่าร้านค้าที่ดูขายดี มีคนเข้าตลอดนั้น ย้ายร้านไปที่ไหน หรือความจริงคือธุรกิจของเขาไม่สามารถไปต่อได้แล้วกันแน่
.
เชื่อว่าทุกคนเมื่อตัดสินใจที่จะทำธุรกิจแล้วก็คงไม่มีใครอยากขาดทุนเป็นอย่างแน่นอน ใครๆ ก็อยากให้ธุรกิจที่เราลงทุนนั้นอยู่ต่อไปได้อีก 10 – 20 ปีหรือนานกว่านั้น แต่โดยส่วนมากธุรกิจรายเล็กมักจะอยู่ได้นานไม่เกิน 2 – 3 ปี น่าเศร้าที่บางร้านอยู่ได้เพียง 3 – 4 เดือนเท่านั้น ดังนั้นวันนี้เลยได้นำเอา 6 เหตุผล ที่ทำให้ SME มัก“เจ๊ง”แบบไม่รู้ตัว มาฝากเพื่อให้ทุกท่านได้ลองเช็คดูว่าตัวเองกำลังทำข้อไหนต่อไปนี้อยู่บ้างไหม และจะได้รีบแก้ไขได้ทันก่อนจะสายไป
.
1. วางแผนแค่วันนี้ ไม่วางแผนระยะยาว
หลายคนคิดว่าเราเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีทุนไม่มากจึงเน้นไปที่ขอแค่ให้ขายได้ในวันนี้ก็เพียงพอแล้ว อนาคตค่อยว่ากัน แต่เปล่าเลยเราควรคิดถึงการวางแผนระยะยาว ว่าถ้าหากสินค้าเราดี ลูกค้าชอบ เกิดการรีวิวและบอกต่อ นำไปสู่การเชิญชวนคนรู้จักมาซื้อและกลับมาซื้อซ้ำ นั่นก็จะทำให้ธุรกิจของเราสามารถอยู่ต่อไปได้ระยะยาว การที่จะสามารถซื้อใจลูกค้าได้นั้นต้องใช้เวลา แต่สิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจหลายท่านมักมองข้ามนั่นก็คือการสร้างแบรนด์ หากชื่อร้านไม่มีลูกค้าอื่นจะตามมาก็ยาก จะรีวิวก็ระบุชื่อไม่ถูก ถึงแม้การบริหารลูกค้าแบบขาจรจะสามารถทำรายได้เป็นหลักล้านต่อปี แต่ก็ไม่สามารถทำให้ธุรกิจอยู่ต่อไปได้ในระยะยาวอย่างแน่นอน
.
2. ไม่แยกกระเป๋าเงินธุรกิจ กับกระเป๋าเงินส่วนตัว
หากคุณกำลังเป็นอีกคนที่กำลังทำเช่นนี้ ขอแนะนำให้หยุดทันที คนส่วนใหญ่มักพลาดเรื่องของการบริหารเงินตรงนี้ เมื่อขายสินค้าได้มาก็นำเข้ากระเป๋าส่วนตัวกันหมด แบ่งไว้เพียงแค่เงินหมุนในการซื้อวัตถุดิบ เงินทอน และจิปาถะเล็กน้อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือเงินของเราจะหมดแบบไม่รู้ตัว เพราะค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ได้จบแค่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่คิดไม่ถึงตามมาอีกเช่น ภาษี ค่าซ่อมบำรุง ซื้ออุปกรณ์เพิ่ม หากไม่มีการแยกไว้ชัดเจนก็ต้องทำการควักเนื้อตัวเองออกมาจ่ายแทนสุดท้ายธุรกิจก็ไปไม่รอด ดังนั้นควรแยกรายได้จากธุรกิจและเงินส่วนตัวออกจากกัน กำไรที่ได้มาก็เอามาเก็บในส่วนของกำไรธุรกิจ แบ่งรายได้ส่วนตัวเป็นเงินเดือน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เห็นภาพรวมกำไรของธุรกิจได้มากขึ้นกว่าเดิม
.
3. ทำตามธุรกิจรายใหญ่ แต่ลืมว่าตัวเราเล็กนิดเดียว
เราสามารถมองรุ่นพี่ธุรกิจรายใหญ่ๆ เป็นแบบอย่างได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำตามเขาเสียทุกอย่าง ต้องอย่าลืมว่าขนาดของธุรกิจและขีดจำกัดความสามารถของเรานั้นไม่เท่ากันกับเขา เช่น ทำไมธุรกิจรายใหญ่สามารถขายสินค้าราคาต่ำได้ ทำไมเราทำไม่ได้ นั่นเพราะกำลังในการซื้อวัตถุดิบของเขานั้นมากกว่าทำให้ต้นทุนต่ำจึงขายในราคาที่ถูกกว่าได้ ดังนั้นเราที่เป็นธุรกิจรายเล็กก็ควรมีวิธีการบริหารจัดการในแบบของเราเอง เอารายใหญ่มาเป็นต้นแบบของแนวคิดหรือแรงบันดาลใจ นำมาปรับให้เข้ากับธุรกิจของเรา หาจุดขายที่แตกต่าง ค่อยๆ ก้าวและเติบโตอย่างมั่นคง
.
4. ส่วนที่ควรเพิ่มไม่เพิ่ม ส่วนที่ควรลดไม่ลด
แน่นอนว่าเราเริ่มธุรกิจก็คงต้องหวังกำไรอย่างแน่นอน และนั่นแสดงว่าเราก็จะมีการวางแผนว่า กำไรต่อชิ้นเท่าไหร่ ต้นทุนต้องใช้เท่าไหร่ ในแต่ละเดือนควรขายได้เท่าไหร่ จากนั้นก็ต้องตั้งกลุ่มเป้าหมาย แต่พอสำรวจตลาดแล้วกลับไม่สามารถขายในราคาที่สู้กับเจ้าอื่นๆ ได้ จึงทำการเลือกลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการลดคุณภาพ ปริมาณ เปลี่ยน supplier ซึ่งแน่นอนว่าคุณภาพของสินค้าก็ต้องเปลี่ยนไป และอย่าคิดเชียวว่าลูกค้าจะไม่รู้ นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมลูกค้าขาประจำก็ลดลง อาจลามไปถึงการบอกปากต่อปากทำให้ลูกค้าหน้าใหม่ก็ไม่เข้ามาอุดหนุนเช่นกัน ส่งผลให้ธุรกิจอาจเจ๊งในเวลาต่อมา
.
5. ตั้งราคาไม่เหมาะสม
ธุรกิจรายเล็กมักประสบปัญหากับการตั้งราคาที่ถูก กำไรที่ได้จึงน้อย แต่ถ้าจะให้ตั้งราคาสูง ก็ไม่มีคนซื้อ แล้วอะไรคือการตั้งราคาที่เหมาะสม? คีย์เวิร์ดสำคัญคือ “ความสมดุล” ราคาและคุณภาพต้องสมดุลกัน คือได้สินค้าที่คุณภาพดีในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดนิดหน่อย อันนี้ลูกค้ารับได้ หรือหากลดคุณภาพของสินค้าลงมานิดหน่อยโดยขายในราคาที่ถูก อันนี้ก็รับได้เช่นกัน แต่ขณะเดียวกันสมดุลในด้านของลูกค้าแล้ว ก็ควรสมดุลกับกำไรที่ผู้ขายจะได้เช่นกัน ไม่ใช่ว่าขายถูกจนเหมือนให้เปล่า ไม่ได้กำไรอะไรแถมยังเหนื่อยอีกด้วย แต่ในวันที่ธุรกิจเรามั่นคง เป็นที่รู้จักในตลาดแล้ว เกิดอยากจะขยับคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้นโดยที่ราคายังเท่าเดิม(เพราะเราซื้อวัตถุดิบได้ในราคาที่ถูกลง) อันนี้ก็จะเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมกับธุรกิจคุณอย่างมากเลยแหละ
.
6. สินค้าดี แต่ขายออนไลน์ไม่เป็น
อีกสิ่งที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักมองข้ามคือการทำการตลาดออนไลน์ เพราะคิดว่ายังไงเราก็มีหน้าร้านแล้วเดี๋ยวลูกค้าที่เดินผ่านไปมาก็เข้ามาเอง ลูกค้าออนไลน์ไม่ใช่เป้าหมายหลักของเรา แต่นั้นเป็นการตัดหนทางในการสร้างโอกาสทางธุรกิจของเราลงทันที เพราะในยุคนี้ที่ทุกคนใช้เวลาบนโลกออนไลน์พอๆ กับโลกชีวิตจริง ดังนั้นการตลาดต้องพึ่งออนไลน์เกือบๆ 100% เพราะการตลาดออนไลน์สามารถทำให้คนที่ไม่เคยจะคิดผ่านร้านเรา ดั้นด้นมาเพื่อซื้อของร้านเราเพียงเพราะเห็นรีวิวผ่านโซเซียลมีเดีย ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามในเรื่องอิทธิพลของสื่อออนไลน์ที่จะสามารถช่วยต่อยอดธุรกิจของเราให้อยู่รอดต่อไปได้
.
และนี้ก็เป็น 6 เหตุผลที่ทำให้ SME มัก“เจ๊ง”แบบไม่รู้ตัว โดยที่เจ้าของธุรกิจรายเล็กหรือ SME ควรต้องระวังเอาไว้ เพราะหลายครั้งที่มักมองข้ามหรือไม่ได้ใส่ใจจนกว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินไป หากใครที่กำลังทำข้อใดข้อหนึ่งในนี้อยู่ขอให้รีบปรับแก้ไขโดยด่วน เพราะคงไม่มีใครที่อยากทำธุรกิจมาเพื่อ “เจ๊ง” ใช่หรือไม่ ดังนั้นจึงควรเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจ รู้จักการบริหารจัดการเวลา การเงิน การงานให้ดี ต่อยอดพัฒนาสินค้าและบริการอยู่อย่างต่อเนื่อง ให้มีคุณภาพที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้า และถึงแม้เราจะเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก แต่ก็จะสามารถเป็นธุรกิจที่อยู่ได้อย่างยั่งยืนแน่นอน
.
ที่มา : วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า : DBD Solution Q&A
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#ธุรกิจขนาดเล็ก #การทำธุรกิจ
#ธุรกิจเจ๊ง #Business #SME #ไอเดียธุรกิจ
「อายุน้อยร้อยล้าน เจ๊ง」的推薦目錄:
อายุน้อยร้อยล้าน เจ๊ง 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
เงินตัวเอง หรือ กู้แบงก์ ? เลือกใช้เงินแบบไหนดีกับการขยายกิจการในยุคเศรษฐกิจแบบนี้!
.
เมื่อกิจการเริ่มมั่นคง หนึ่งในความต้องการของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คือ “ขยายกิจการ” ให้เติบโตมากกว่านี้ แม้จะดูเหมือนว่าทุกอย่างกำลังไปได้สวย แต่ก็แฝงไปด้วยความกังวลและคิดไม่ตกว่าในยุคที่เศรษฐกิจเป็นแบบนี้ หากต้องการขยายกิจการขึ้นมากจริงๆ ควรเลือกใช้เงินแบบไหน ระหว่าง “เงินตัวเอง” หรือ “กู้แบงก์” ดีกว่ากัน?
.
ซึ่งหลายคนก็อาจจะบอกว่า “มีเงินก็ใช้เงินตัวเองสิ จะกู้แบงก์ให้เสียดอก เป็นหนี้เป็นสินทำไมกัน!”ความคิดนี้อาจไม่ถูกไปซะทีเดียว เนื่องจากการลงทุนขยายกิจการไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของ “ดอกเบี้ย” ที่ต้องคิดเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของ “ความเสี่ยง” มากมายมหาศาล หากไม่คิดอย่างรอบคอบ ก่อนจะทำสำเร็จ อาจต้องพบเจอกับคำว่าไปไม่รอด หรือ “เจ๊ง” ก่อนก็เป็นได้ ดังนั้น วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของ “การขยายกิจการ” ในแต่ละด้านว่าท้ายที่สุดแล้ว คุณควรเลือกลงทุนแบบใด!
.
1.เงินลงทุนที่ต้องใช้ในการขยายกิจการ
เงินลงทุน เรื่องที่สำคัญที่สุดในกาขยายกิจการ เพราะถ้าคุณไม่มีเงิน ก็ทำได้แค่คิดหรือฝันเท่านั้น แต่จะใช้เงินจากส่วนไหนล่ะ? หากใช้เงินตัวเอง แน่นอนว่ามันสะดวกสบายกว่า และสามารถเริ่มทำได้เร็วกว่าที่ต้องมานั่งกู้สินเชื่อจากแบงก์ แต่เพราะส่วนใหญ่มักมีงบประมาณที่จำกัด เนื่องจากต้องนำเงินนั้นไปใช้จ่ายในกิจการแรกด้วย ที่สำคัญในยุคแบบนี้การมีเงินสดอยู่กับตัวมากที่สุดย่อมดีกว่า
แต่สำหรับเงินกู้จากแบงก์ คุณอาจจะเสียเวลาไปบ้างกว่าจะผ่านการอนุมัติ แต่ก็นับว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงในยามฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี เพราะถ้ากิจการไปไม่ถึงเป้าหมาย คุณก็ยังมีทางเลือกในการเจรจาต่อรองชำระหนี้ และยังมีเงินทุนอีกส่วนหนึ่งไว้สำหรับประคบประคองยามฉุกเฉิน ต่างจากการใช้เงินตัวเอง ที่ถ้าหากขาดทุนสิ่งเดียวที่เจอคือ สูญเปล่า และอาจถึงขั้นหมดตัวเลยก็ว่าได้
.
2.เงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินกิจการทั้งสาขาแรกและสาขาต่อไป
ถ้าคุณคือคนหนึ่งที่นำเงินตัวเองมาเป็นทุนในการขยายกิจการ สิ่งที่ตามมาคือ เงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจลดลง ซึ่งมันสามารถเลวร้ายถึงขั้นขาดสภาพคล่องได้เลย หากการขยายกิจการนั้นมีปัญหา ติดขัด ในขณะที่ถ้าคุณขอสินเชื่อจากธนาคาร ก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องของเงินทุนหมุนเวียนอีกต่อไป แถมธนาคารยังมีบริการสินเชื่อในส่วนของเงินทุนหมุนเวียน ที่จะทำให้กิจการของคุณมีสภาพคล่องมากขึ้น และสามารถดำเนินไปได้อย่างลื่นไหล
.
3.ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
แน่นอนว่าถ้าคุณใช้เงินตัวเองในการลงทุน เรื่องของดอกเบี้ยจะไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล แต่สำหรับการกู้จากแบงก์ คุณอาจคิดว่า ต้องเสียดอกเบี้ยเยอะ ไม่คุ้มกับการลงทุนเลย ทั้งยังเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งเรื่องนั้นเป็นเพียงเรื่องในอดีต เพราะในปัจจุบันบางสินเชื่อสามารถให้ชำระได้เฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลานานถึง 12 เดือน โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ หลายแบงก์ก็ได้มีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการมากมาย เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
.
4.ต้นทุนทางภาษี
เมื่อดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการกังวล อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องคำนึงถึงคือ “ภาษี” เพราะการทำธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ด้านการเงินและบัญชี เพื่อให้ได้รับสิทธิที่สามารถลดต้นทุนให้กิจการตัวเองได้ โดยเฉพาะการลดหย่อนภาษี ซึ่งถ้ากิจการของคุณมีการกู้สินเชื่อจากแบงก์ และมีการส่งผ่อนชำระปกติ ไม่ล่าช้า ก็เท่ากับเป็นการสร้างเครดิตให้กิจการในทางที่ดี ทั้งสภาพคล่องทางการเงิน รวมถึงเมื่อมีการกู้ยืมเกิดขึ้นอีก ผู้ประกอบการก็จะสามารถนำดอกเบี้ยนั้นไปคำนวณเพื่อลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการเงินด้านภาษีของธุรกิจอีกทางหนึ่ง
.
5.การขยายกิจการในอนาคตข้างหน้า
หากในอนาคตคุณมีความต้องการที่จะขยายกิจการเพิ่มขึ้นอีก หากที่ผ่านมาคุณขยายกิจการด้วยเงินตัวเอง แล้วครั้งนี้คุณอยากกู้สินเชื่อจากแบงก์ การขอสินเชื่อใหม่ทั้งหมด ก็อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อน หลายขั้นตอน และใช้เวลาค่อนข้างมากเลยทีเดียว แต่ถ้าคุณเคยขอสินเชื่อมาก่อนแล้ว และมีการชำระสินเชื่อที่ถูกต้อง ตรงเวลา ก็จะทำให้คุณสามารถกู้สินเชื่อในครั้งต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื่องจากคุณมีประวัติเครดิตที่ดีมาโดยตลอด
.
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 5 ข้อข้างต้น น่าจะทำให้หลายคนสามารถตัดสินใจได้แล้วว่า ทางเลือกไหนดีที่สุดสำหรับคุณ สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณคือผู้ประกอบการที่มีเงินมากพอ บวกลบคูณหารแล้วพบว่า คุณสามารถรับความเสี่ยงที่อาจพบเจอระหว่างที่กำลังดำเนินการขยายกิจการ คุณก็สามารถใช้เงินตัวเองในการลงทุนได้
.
แต่ถ้าคุณมีเงินในกระเป๋าตัวเองไม่มากพอที่จะเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้านที่ต้องเจอ ทั้งยังอยากมีเงินสดเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้ ทางเลือกที่ดีที่สุด ก็คือ การกู้สินเชื่อจากแบงก์ แต่ที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้เงินในแนวทางไหน ควรคิดไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ เพราะทุกการตัดสินใจ จะมีผลต่อการดำเนินกิจการของคุณในอนาคตอย่างแน่นอน
.
ที่มา : https://sme.krungthai.com/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=18&itemId=171
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#ขยายกิจการ #การลงทุน #ผู้ประกอบการ #เจ้าของธุรกิจ
#เงินตัวเอง #เงินกู้ #แบงก์ #Bank #loan #entrepreneur
อายุน้อยร้อยล้าน เจ๊ง 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
ใครว่าคนเป็นเจ้าของกิจการ เจ้าของบริษัท จะจ่ายเงินเดือนตัวเองแบบ “ตามใจตัวเอง” เท่าไหร่หรือสูงแค่ไหนก็ได้! เพราะหากทำแบบนั้น คำว่า “เจ๊ง” ก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกิจการแน่นอน ถ้าอย่างนั้นเคยสงสัยหรือไม่ว่า แล้วเจ้าของบริษัทเขาจ่ายเงินเดือนตัวเองกันอย่างไร?
.
ก่อนอื่นเลยสิ่งสำคัญที่ต้องทำก่อนที่เจ้าของกิจการจะจ่ายเงินเดือนให้ตัวเอง คือ แยกกระเป๋าเงินส่วนตัว ออกจากกระเป๋าเงินของธุรกิจให้ชัดเจน
.
เนื่องจากธุรกิจจำเป็นต้องมีเงินทุนสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน รวมถึงต้องมีเงินหมุนให้เพียงพอกับต้นทุนในแต่ละเดือน ซึ่งเงินทุนเหล่านี้ไม่ใช่แบบรายวันหรือรายเดือน แต่เป็นเงินทุนงบประมาณที่ถูกกำหนดและวางแผนล่วงหน้ามาแล้ว
.
ลองคิดดูว่า ถ้าไม่แยกทั้งสองส่วนออกจากกัน ใช้เงินปนกันมั่ว นำเงินส่วนของธุรกิจไปใช้ส่วนตัว เช่น ช้อปปิ้ง, ทานอาหาร หรือแม้แต่ซื้อของชิ้นใหญ่อย่างบ้าน แล้วเมื่อธุรกิจเกิดปัญหาขาดทุนไม่มีเงินสำรองก็นำเงินส่วนตัวไปอุดรอยรั่วเหล่านั้น กลายเป็นว่าไม่เป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ สุดท้ายแล้วธุรกิจที่คุณสร้างจะเป็นอย่างไร จะเติบโตไปข้างหน้าได้จริงหรือ ? คำตอบคือ “ไม่” เพราะการบริหารจัดการที่ดี เจ้าของกิจการไม่ควรมายุ่งเรื่องเงินบริษัทหากไม่ใช่เรื่องของธุรกิจ
.
อย่างนี้แล้ว เจ้าของกิจการควรทำอย่างไรต่อ เพื่อให้สามารถแยกทั้งสองส่วนออกจากกันอย่างชัดเจนและมองเห็นภาพรวมมากขึ้น?
“ต้องจัดการทำงบแบ่งเป็น 2 ส่วน” ได้แก่
#ส่วนแรก ทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัว เพื่อดูว่าค่าใช้จ่ายของตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง รายรับเท่าไหร่ รายจ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือออมเท่าไหร่
.
#ส่วนที่สอง ทำงบกำไรขาดทุนของธุรกิจ เพื่อดูว่าภาพรวมทางการเงินของธุรกิจในปัจจุบัน มีกำไรหรือขาดทุน ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถวางแผนและกำหนดทิศทางในอนาคตได้ง่าย รวดเร็ว ทั้งยังสามารถจัดสรรปันส่วนเงินไปใช้ลงทุนด้านต่าง ๆ ของธุรกิจได้มากขึ้น
.
เพราะฉะนั้น เมื่อแยกทั้งสองออกจากกันสำเร็จ รู้แล้วว่ารายรับรายจ่ายส่วนตัวเท่าไหร่ และรู้ว่าธุรกิจต้องใช้งบต้นทุนเท่าไหร่ เหลือเป็นกำไรเท่าไหร่ ประกอบกับอิงจากตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ก็จะทำให้เจ้าของกิจการสามารถคำนวณจ่ายเงินเดือนตัวเองได้ง่ายขึ้น
.
นอกจากนี้ การจ่ายเงินเดือนของเจ้าของกิจการ ยังนับว่าเป็นการวางแผนภาษีอีกทางหนึ่ง เนื่องจากเงินเดือนของเจ้าของกิจการสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเสียภาษีน้อยลง แต่เจ้าของกิจการก็ต้องไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นกัน ซึ่งบริษัทที่จ่ายเงินเดือนให้เจ้าของอย่างเหมาะสมก็จะทำให้เจ้าของไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกิจการ ขนาดของกิจการ รายได้ ค่าใช้จ่าย พนักงานในบริษัท รวมถึงได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนทุกคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
.
และยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่เจ้าของกิจการต้องศึกษาก่อนที่จะคำนวณจ่ายเงินเดือนให้ตัวเอง นั่นก็คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเงินเดือนเจ้าของกิจการ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.ตามมาตรา 65 ตรี (8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรเป็นรายจ่ายต้องห้าม
“เจ้าพนักงานมีอำนาจพิจารณารายจ่ายประเภทเงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน เปรียบเทียบกับรายอื่นซึ่งอยู่ในฐานะหรือลักษณะเดียวกัน อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน หรือทำเลเดียวกัน ประกอบกิจการค้าอย่างเดียวกันหรือลักษณะเดียวกัน”
.
2.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1150
“ผู้เป็นกรรมการจะพึงมีจำนวนมากน้อยเท่าใด และจะพึงได้บำเหน็จเท่าใด ให้สุดแล้วแต่ที่ประชุมจะกำหนด”
.
ดังนั้น สำหรับเจ้าของกิจการที่ยังไม่รู้ว่าควรจะจ่ายเงินเดือนตัวเองอย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ หากไม่ใช่เรื่องของธุรกิจ เจ้าของกิจการไม่ควรมาแตะต้องหรือยุ่งกับเงินของธุรกิจโดย “เด็ดขาด” แม้ธุรกิจจะมีกำไรหรือขาดทุนมากแค่ไหน ก็ควรจ่ายเงินเดือนอย่างเหมาะสมทุก ๆ เดือน นำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาคิดคำนวณร่วมด้วย และที่สำคัญคือไม่คิดตามใจตัวเอง แต่ควรให้ที่ประชุมเป็นผู้กำหนด เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนในภายหลังที่จะนำไปสู่ปัญหาใหญ่อย่างการฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาล
.
ที่มา : https://bit.ly/2MehqLu
https://bit.ly/3iYrRPa
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#เจ้าของบริษัท #เจ้าของกิจการ #ผู้ประกอบการ
#เงินเดือนเจ้าของบริษัท #เงินเดือน #ภาษี #กฎหมาย
อายุน้อยร้อยล้าน เจ๊ง 在 เริ่มต้นจากการ "เจ๊ง" สู้ต่อจนธุรกิจสุด... - อายุน้อยร้อยล้าน | Facebook 的推薦與評價
เริ่มต้นจากการ "เจ๊ง" สู้ต่อจนธุรกิจสุด "เจ๋ง" ได้ . “เจ๊ง” กับ “เจ๋ง” ห่างกันเพียงแค่เสียงเดียว แต่ผลลัพธ์ช่างห่างกันไกลเหลือเกิน... ... <看更多>