รู้จัก “ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์” ธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจรของคนไทย ที่เติบโตและก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ mai
ถ้าพูดถึงธุรกิจโลจิสติกส์
หลายคนนึกถึง ธุรกิจที่เน้นบริการด้านการขนส่ง
แต่ความจริงแล้ว…
การขนส่ง เป็นเพียงรูปแบบบริการหนึ่งของธุรกิจโลจิสติกส์เท่านั้น
บริการของธุรกิจโลจิสติกส์จริงๆ แล้ว มีอะไรบ้าง
และธุรกิจโลจิสติกส์ มีความน่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คำว่า “โลจิสติกส์” ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า โลจิสติกส์เป็นหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญ
ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็นศูนย์การทางการค้าระดับภูมิภาคอาเซียน
ธุรกิจโลจิสติกส์กำลังเติบโตไปตามเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
โลก ที่มีการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น
ซึ่งตามมาด้วยความต้องการการขนส่งสินค้าทั่วโลกที่มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นธุรกิจโลจิสติกส์ เริ่มขยายธุรกิจเพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทั่วโลกที่มากยิ่งขึ้น
โดยกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจนี้ ก็คือ การมีบริการโลจิสติกส์แบบ “ครบวงจร”
ซึ่งหนึ่งบริษัทที่ให้การบริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรที่น่าสนใจในตอนนี้
คือ บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า LEO
LEO เริ่มดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534
โดยมีจุดเริ่มต้นธุรกิจด้วยการให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล ที่เรียกว่า Sea Freight
ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี และเริ่มขยายรูปแบบบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน LEO ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ประกอบด้วย
1. บริการขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight)
2. การขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight)
3. การบริการสนับสนุนโลจิสติกส์แบบครบวงจร (Integrated Logistics Services - ILS) อาทิ บริการด้านพิธีการศุลกากร, บริการรถบรรทุก, บริการบรรจุหีบห่อสินค้า, บริการคลังสินค้าและกระจายสินค้า รวมถึงการประกันภัยสินค้า
4. พื้นที่สำหรับเก็บของ (LEO Self Storage - LSS) และลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Depot)
จะเห็นว่า จริงๆ แล้วคำว่า โลจิสติกส์ ไม่ได้มีแค่เรื่องการขนส่งเพียงเท่านั้น แต่ยังมีบริการอย่างอื่น ที่มาสนับสนุนการขนส่ง เช่น การบริการคลังสินค้า การบรรจุหีบห่อหรือบริการอำนวยความสะดวกด้านการดำเนินพิธีการศุลกากรอีกด้วย
และด้วยความเชี่ยวชาญ และไม่หยุดนิ่งในการให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร ทำให้ LEO กลายเป็นธุรกิจโลจิสติกส์สัญชาติไทย ที่มีการบริการครอบคลุมทั่วโลกแบบครบวงจร (End-to-End Global Logistics Services) และมีพันธมิตรมากกว่า 1,000 แห่ง ใน 846 เมือง ของ 190 ประเทศทั่วโลก
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ลูกค้าจากหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ให้ความไว้วางใจในการบริการของ LEO มาโดยตลอด
อาทิ ลูกค้ากลุ่มชิ้นส่วนยานพาหนะ, ปิโตรเคมีและเม็ดพลาสติก, อาหารและสินค้าเกษตร, อุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง,เคมีภัณฑ์และกลุ่มลูกค้า E-Commerce
สิ่งที่น่าสนใจคือ
แม้ตลาดการให้บริการโลจิสติกส์ในปัจจุบัน
จะกำลังมีการแข่งขันกันด้านราคาอย่างดุเดือด
ถึงขนาดที่หลายคนบอกว่า ตลาดนี้เป็นทะเลเลือด หรือ “Red Ocean”
แต่ LEO ก็ยังคงรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
และพยายามสร้างความแตกต่างและหาช่องว่างทางการตลาดที่ยังเป็น “Blue Ocean” ให้กับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
โดย LEO เลือกใช้ 4 กลยุทธ์สำคัญ คือ
1. พัฒนาและการนำเสนอบริการใหม่ๆ เพื่อช่วยลูกค้าประหยัดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง
2. พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุค Digitalization เช่นการพัฒนา แอปพลิเคชัน “Book Leoy” เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น เช่น การจองค่าระวางการขนส่งสินค้าทางเรือ, การขนส่งเอกสารและพัสดุด่วน, การจองรถบรรทุก
3. พัฒนาบุคลากรภายใต้โครงการ “LEO Academy” ให้บุคลากรขององค์กรเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่า
4. ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ดีในการให้บริการ
จะเห็นได้ว่า LEO ให้ความสำคัญทั้งในด้านบริการ, เทคโนโลยี, บุคลากร และพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์มาโดยตลอด จนทำให้ได้รับรางวัล Prime Minister's Export Award 2019 (PM AWARD) ในสาขา Best Service Enterprise ด้าน Logistics Services และรางวัล Excellent Logistics Management Award (ELMA) สาขาผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จากกระทรวงพาณิชย์ ในปี 2019 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ แม้ในช่วงครึ่งปีแรกที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากโควิด 19 แต่ LEO ก็ยังสามารถประคองตัวรักษาระดับยอดขายและกำไรให้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แต่รายได้จากการให้บริการ Air Freight กลับเพิ่มขึ้น แม้จะมีปริมาณสายการบินในตลาดที่น้อยลงมาก สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการของ LEO ได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นธุรกิจที่อยู่คู่กับการค้าและการส่งออก และยิ่งหากเศรษฐกิจกลับมาขยายตัว ธุรกิจโลจิสติกส์ก็จะได้ผลดี รวมทั้งกลุ่ม E-Commerce ซึ่งเป็นลูกค้าหลักกลุ่มหนึ่งของบริษัทก็มีแนวโน้มการเติบโตอีกมากในอนาคต จึงเป็นโอกาสดีในการเติบ
โตของ LEO ในอนาคต
และก้าวต่อไปนับจากนี้ของ LEO ก็คือ…
LEO ได้ขยายธุรกิจครั้งใหญ่ในลักษณะ Exponential Growth
โดยการนำธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2563
เพื่อระดมเงินทุน 410 ล้านบาท ไปพัฒนาบริการโลจิสติกส์ครบวงจร ให้ให้มีการเติบโตและมีการพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น
ซึ่งทาง LEO จะมีอะไรใหม่ๆ ในการให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร
ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามไม่น้อยเลยทีเดียว..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังกล่าว การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
โลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ผู้สนับสนุน..
HREIT โอกาสการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ บนจุดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย
หลายคนอาจจะคิดว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ถือเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่
แต่หากว่าเราเปลี่ยนจากมุมของการเป็นเจ้าของทั้งหมด กลายมาเป็นการลงทุนผ่านการถือหน่วยลงทุน ก็อาจจะทำให้เราเข้าถึงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงถึงสำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็คือทำเลว่ามีศักยภาพในการเติบโตมากแค่ไหน
วันนี้ เรามารู้จักกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เหมราช หรือ HREIT ที่โฟกัสการลงทุนในโรงงานและคลังสินค้าสำเร็จรูปให้เช่าในนิคมอุตสาหกรรมบนพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC
โดยเร็วๆ นี้ HREIT กำลังจะเพิ่มทุนเป็นครั้งที่ 2 เพื่อลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สิน
แล้วรายละเอียดการลงทุนของ HREIT มีอะไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
HREIT เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงงาน และคลังสินค้าสำเร็จรูปให้เช่า
HREIT ให้บริการพื้นที่เช่าโรงงานและคลังสินค้าสำเร็จรูปสำหรับทั้งผู้ประกอบการไทย และต่างชาติ โดยมีพื้นที่เช่าส่วนใหญ่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำที่พัฒนาโดย WHA Group บริเวณ EEC ซึ่งพื้นที่แห่งนี้ถือเป็นทำเลยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับประเทศไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนการลงทุนตามนโยบายของภาครัฐและยังมีพื้นที่เช่าบางส่วนในจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์การขนส่งไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยทำเลที่มีศักยภาพนี้ส่งผลดีกับอัตราการเช่า และอัตราค่าเช่าของกองทรัสต์ที่จะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
แล้วตอนนี้ ฐานลูกค้าของ HREIT คือใคร?
ผู้เช่าของ HREIT หากเราแยกตามสัญชาติ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จะแบ่งออกเป็น
จีน 25.7%
ญี่ปุ่น 22.0%
เยอรมัน 13.1%
ออสเตรเลีย 11.5%
อเมริกา 6.6%
อื่นๆ 21.2% (ไทย อังกฤษ เกาหลี เป็นต้น)
หรือหากเราแยกตามประเภทของกลุ่มอุตสาหกรรม จะได้เป็น
อุปโภคบริโภค 27.2%
ยานยนต์ 27.1%
โลจิสติกส์ 18.9%
อิเล็กทรอนิกส์ 12.1%
บรรจุภัณฑ์ 4.8%
อื่นๆ 10.1%
จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้เช่าของ HREIT มาจากหลายประเทศ และจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาผู้เช่าจากประเทศใดประเทศหนึ่งหรือกลุ่มอุตสาหกรรมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกทั้งยังมี
บริษัทชั้นนำที่เช่าพื้นที่ของ HREIT อาทิเช่น Nikon และ DHL Supply Chain
ทีนี้เรามาดูภาพรวมพื้นที่เช่าของ HREIT ก่อนและหลังการลงทุนเพิ่มเติม
ก่อนการเพิ่มทุน
กองทรัสต์ HREIT มีพื้นที่เช่าอาคาร 332,505 ตารางเมตร
หลังจากการเพิ่มทุนในรอบที่ 2 นี้
กองทรัสต์ HREIT จะมีพื้นที่เช่าอาคาร 380,632 ตารางเมตร
คิดเป็นพื้นที่เช่าที่เพิ่มขึ้นราว 14%
โดยพื้นที่เช่าที่เพิ่มขึ้นมานี้จะมาจากทรัพย์สินที่ HREIT
เข้าไปลงทุนเพิ่มเติม แบ่งตามพื้นที่เศรษฐกิจได้เป็น
พื้นที่ EEC ที่จังหวัดชลบุรี และระยอง
โครงการ WHA Chonburi Industrial Estate 1
โรงงาน 5 ยูนิต มีผู้เช่าคือ In-season Food ,Kyowa, Boncafe, Jungheinrich, Thai WP
โครงการ WHA Eastern Seaboard Industrial Estate 1
โรงงาน 6 ยูนิต มีผู้เช่าคือ Ground Effect, Daya Kitchen Appliance, EUP Elec-tric vehicle, BNL (Thailand), Hi-tech Mould and plastics
โครงการ WHA Logistics Park 4
คลังสินค้า 1 ยูนิต มีผู้เช่าคือ Misumi (Thailand)
โครงการ WHA Logistics Park 2 คลังสินค้า 1 ยูนิต
ในขณะที่จังหวัดสระบุรี จะเป็นโครงการ WHA Saraburi Industrial Land
โรงงาน 2 ยูนิต ซึ่งมีผู้เช่าก็คือ Nittsu Shoji (Thailand)
โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2563 HREIT มีอัตราการเช่าพื้นที่สูงถึง 93.9%
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวก็ถือเป็นอัตราการเช่าพื้นที่ที่สูง เมื่อเทียบกับกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินประเภทเดียวกัน
ทั้งนี้ กองทรัสต์มีนโยบายการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วของรอบปีบัญชี
โดยหลังจากการเพิ่มทุนครั้งที่ 2 นี้ HREIT คาดว่าจะสามารถจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและเงินลดทุนได้เป็นจำนวน 0.69 บาทต่อหน่วยการลงทุน อ้างอิงจากงบกำไรขาดทุนและการจ่ายประโยชน์ตอบแทนตามสถานการณ์การสมมติตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งสอบทานโดยผู้สอบบัญชี
ถึงตรงนี้ เราก็น่าจะเห็นได้ว่า HREIT เป็นโอกาสการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจ ที่มีความโดดเด่นทั้งในเรื่องทำเลศักยภาพที่มีอัตราการเช่าสูง รวมถึงฐานลูกค้าที่มีความหลากหลายอุตสาหกรรมจากหลากหลายประเทศ ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงได้อย่างดีอีกด้วย
หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานของบริษัทในอดีตอาจไม่ได้บ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต
โลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง 在 รู้ยังจบโลจิสติกส์ทำงานอะไรได้บ้าง... - Facebook 的推薦與評價
วิชาโลจิสติกส์อย่างที่น้องๆเรียนมา คือมีวิชาหลากหลายมากๆ ซึ่งแต่ละสถาบันก็จะแบ่งสาขาการเรียนเป็นดังนี้. 1.สาขาการจัดการโลจิสติกส์ 2.สาขาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิช ... ... <看更多>
โลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง 在 โลจิสติกส์ คืออะไร กับกูรูคณะโลจิสติกส์ แห่งเซาธ์อีสท์บางกอก 的推薦與評價
โลจิสติกส์ คือ อะไร เป็นคำที่หลายๆ คนน่าจะได้ยินผ่านหูบ่อยครั้งในช่วงนี้ เพราะจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ... ... <看更多>