การใช้กฎหมายกฎหมายมหาชน
กฎหมายเป็นข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในสังคม กฎหมายนั้นไม่ว่าจะมีหลักประกันในการให้ความเป็นธรรมดีเพียงใด การรับรองสิทธิเสรีภาพ และจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนแค่ไหน มีถ้อยคำรัดกุมสวยงามเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่มีการใช้บังคับหรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง การปรับใช้กฎหมายก็ไม่มีความหมายใด ๆ ในสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาศึกษาถึงการใช้กฎหมายมหาชนให้ถูกต้อง เราสามารถพิจารณาได้ 2 กรณี คือ การปรับใช้กฎหมายในทางทฤษฎี กับ การปรับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ ดังนี้
1.1 การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี
การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี (Theoretical Application of Law) หมายถึง การที่จะนำกฎหมายมหาชน ไปใช้แก่บุคคล ในเวลา สถานที่ หรือตามเหตุการณ์หรือเงื่อนไข เงื่อนเวลาหนึ่งๆ การใช้กฎหมายในทางทฤษฎีนี้สัมพันธ์กับการจัดทำกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ เพราะเมื่อมีการ จัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้น ผู้จัดทำกฎหมายมหาชน ()จะต้องถามผู้ประสงค์จะจัดให้มีกฎหมายนั้นขึ้นก่อนเสมอว่ากฎหมายนี้จะใช้กับใคร ที่ไหนเมื่อไรนั้น มีข้อจำกัดในทางทฤษฎีนั้นเองอยู่ ด้วยข้อจำกัดการใช้กฎหมายมหาชนดังกล่าวนี้ เกิดจากหลักการใน “ระบอบประชาธิปไตย” (Democracy) หรือ “หลักสิทธิมนุษยชน” (Human Rights) หรือ “หลักกฎหมายระหว่างประเทศ” (International Law) หรือตาม “หลักนิติรัฐ” (Legal State) และ “หลักนิติธรรม” (The Rule of Law) เป็นต้น ดังนี้
1.1.1 การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
หลักในการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล คือ หลักที่ว่าจะใช้บังคับกับใครบ้าง มีข้อพิจารณา ดังนี้
1.1.1.1 หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
โดยหลักทั่วไปกฎหมายใช้ได้กับบุคคลทุกคนที่อยู่ในอาณาจักรของประเทศนั้น ๆ ดังนั้น กฎหมายมหาชนจึงใช้บังคับกับทุกคนโดยไม่มีการยกเว้นไม่ว่าเป็นผู้มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือไม่ก็ตาม ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายภาพหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
1.1.1.2 ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่าประเทศไทยได้วางหลักการบังคับใช้กฎกฎหมายมหาชน (Public law) ที่เกี่ยวกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย แต่มีข้อยกเว้นอยู่บ้างในกรณีที่เกิดขึ้นตามกฎหมายภายในหรือยกเว้นตามกฎหมายภายนอก ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลตามกฎหมายมหาชนภายในจะพบว่า อยู่ในกฎหมายที่สำคัญ คือ ยกเว้นตามรัฐธรรมนูญกับข้อยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่ใช้บังคับกับบุคคลบางคนดังต่อไปนี้
1) ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ยกเว้นการบังคับใช้กับบุคคลดังต่อไปนี้
(1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้และผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางหนึ่งทางใดมิได้เพราะฉะนั้นจึงเกิดหลักสำคัญในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ หลักที่ว่า “The King can do no wrong” ซึ่งหมายความว่า การกระทำของพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นความผิดไม่มีผู้ใดสามารถฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางแพ่งหรือทางอาญา ไม่มีผู้ใดจะวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ในทางการเมืองได้
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ดี ในที่ประชุมวุฒิสภาก็ดี ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ดี สมาชิกผู้ใดกล่าวถ้อยคำใดๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็น “เอกสิทธิ์คุ้มครอง” ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้เอกสิทธิ์นี้ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณีและคุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธาน แห่งสภานั้นด้วยโดยอนุโลม หากถ้อยคำที่กล่าวในประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภาและการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาแห่งนั้นย่อมไม่ได้คุ้มครอง
เอกสิทธิ์ดังกล่าวนี้คุ้มครองไปถึงการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการสามัญและกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆเช่น ออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาและลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ เป็นต้น เหตุผลที่ให้เอกสิทธิ์ดังกล่าว ก็เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองแก่บรรดาบุคคลเหล่านั้น ให้สามารถทำหน้าที่ ได้เต็มความสามารถด้วยความสุจริตใจ โดยไม่ต้องเกรงกลัวว่าอาจจะได้รับผลร้ายแก่ตน
2) ข้อยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ ที่ยกเว้นไม่ใช้บังคับแก่บุคคลบางคน ได้แก่
(1) พระราชกฤษฎีกา ที่ออกตามความแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นหลักกฎหมายมหาชน ยกเว้นภาษีให้องค์การต่าง ๆ เช่น สถานเอกอัคราชฑูต สถานกงศุล องค์การสหประชาชาติ และองค์การผู้จัดหารายได้ อันเป็นสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น
(2) กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 เช่น กฎกระทรวงกำหนดบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2548 ยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า และพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ผู้มีกานพิการเดินไม่ได้หรือเป็นใบ้หรือตาบอดทั้ง 2 ข้างหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศและไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ เป็นต้น
2. ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลตามกฎหมายมหาชนภายนอก ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศหรือ เรียกว่า “กฎหมายมหาชนภายนอก” มีการยกเว้นการปรับใช้กฎหมายกับบุคคล ได้แก่ ประมุขของรัฐต่างประเทศ บุคคลในคณะทูตและบริวารที่ติดตามและเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
1.1.2 การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ มีข้อพิจารณา คือ หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ กับ ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ ดังนี้
1.1.2.1 หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งอำนาจของรัฐนั่นก็คือ “ดินแดนแห่งรัฐ” หรือ “อาณาจักร” เราเรียกอำนาจนี้ว่า “อำนาจบังคับเหนือดินแดน” หมายถึง อำนาจบังคับเหนือบริเวณหรือสิ่ง ต่าง ๆ ดังนี้
1. อำนาจเหนือแผ่นดินและเกาะต่าง ๆ
2. อำนาจเหนือดินแดนพื้นน้ำภายในเส้นเขตแดนของรัฐ คือ บรรดาน่านน้ำทั้งหมด เช่น อ่าว แม่น้ำ ลำคลอง ห้วยหนอง คลอง บึง เป็นต้น
3. อำนาจเหนือพื้นน้ำ “ทะเลอาณาเขต” (Territorial sea) ของรัฐชายฝั่ง ถือเกณฑ์ความกว้าง 12 ไมล์ทะเลนับจากจุดที่น้ำทะเลลดลงต่ำสุด แต่อีกหลายประเทศมีเกณฑ์ความกว้างของทะเลต่างไปจากนี้ และยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเกณฑ์กลางที่จะใช้ร่วมกันทุกประเทศ
อนึ่ง ประเทศต่าง ๆ สามารถออกกฎหมายมาบังคับใช้เหนือน่านน้ำทะเลอาณาเขต แต่มีข้อแตกต่างจากน่านน้ำภายในประเทศอยู่ประการหนึ่ง คือ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศรัฐต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ทะเลอาณาเขตได้อย่างเสรี โดยยึดถือหลักสุจริต แต่สำหรับน่านน้ำภายในนั้นรัฐจะปิดกั้นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละประเทศ
4. อำนาจในห้วงอากาศ ได้แก่ บริเวณท้องฟ้าที่ยังมีบรรยากาศเหนือดินแดนตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือ อยู่ในชั้นบรรยากาศที่สูงเกินกว่ารัฐจะใช้อำนาจอธิปไตยของตนตามปกติไปถึงแล้ว ต้องถือเป็นแดนเสรีที่ทุกชาติเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิ์ใช้ร่วมกัน
1.1.2.2 ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการใช้กฎหมายเกี่ยวกับสถานที่ หลัก คือ ต้องใช้บังคับทั่วอาณาจักร แต่ในบางกรณีกรณีได้ยกเว้นการบังคับใช้ ด้งนี้
1.ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายมหาชนในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ในกรณีของประเทศไทย การประกาศใช้บังคับพระราชกำหนดพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กล่าวคือ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า โดยที่ปรากฏว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุม สาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่าง ๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขกรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. ข้อยกเว้นการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ยังมีอีก 2 กรณี ที่ถือเสมือนว่ารัฐมีอำนาจเหนือดินแดน เหนือสิ่งต่อไปนี้ ทั้งที่ไม่เป็นดินแดนของรัฐแต่เป็นเรื่องที่ถือเอาเพื่อใช้กฎหมายอาญา (Criminal Law) ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนของรัฐขยายไปถึง แต่ไม่รวมถึงการขยายอำนาจหรือการใช้กฎหมายเอกชน (Private Law) ดั้งนั้นเรือหรืออากาศยานไทยที่ถือสัญชาติไทย คือ เรือไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือของเอกชนและอากาศยาน ไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือของเอกชน ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดในโลก ก็ถือว่าอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามหลักกฎหมายอาญา
1.1.3 การใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับเวลา
การใช้กฎหมายมหาชน (Public law) ในส่วนที่เกี่ยวกับเวลา หมายถึง กำหนดวันเวลาประกาศใช้กฎหมายมหาชน เมื่อได้ประกาศโฆษณาหรือเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบแล้วมิใช่ว่าจะปรับใช้กฎหมายนั้นได้ทันที จึงต้องดูข้อความในตัวบทกฎหมายนั้นเองว่าจะประสงค์จะให้ใช้บังคับได้เมื่อใด
สำหรับกฎหมายของประเทศไทยนั้น เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ต้องดูว่ากฎหมายมหาชนนั้นจะบังคับได้เมื่อใด ซึ่งปกติแล้วหลักเกณฑ์ในการปรับใช้บังคับกฎหมายมหาชนเริ่มมีผลทางกฎหมายหลายรูปแบบ ดังนี้
1. ให้ใช้ย้อนหลังขึ้นไปก่อนวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา การใช้กฎหมายที่มีผลย้อนหลังไปบังคับการกระทำที่เกิดขึ้น ก่อนวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่ากฎหมายย้อนหลัง ในทางปฏิบัติไม่ค่อยใช้วิธีนี้ เพราะโดยปกติกฎหมายย่อมจะบัญญัติขึ้นเพื่อใช้บังคับในอนาคต กล่าวคือ กฎหมายจะใช้บังคับ แก่กรณีที่เกิดขึ้นในอนาคต นับตั้งแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย เป็นต้นไป กฎหมายจะไม่บังคับแก่การกระทำที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้บังคับแก่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะมีหลักกฎหมายทั่วไปว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” ตามหลักการถือว่าการออกกฎหมายให้มีผลบังคับย้อนหลังไม่อาจทำได้เนื่องจากไม่เป็นธรรมกับผู้กระทำ ซึ่งในขณะที่กระทำนั้นยังไม่ทราบว่าการกระทำของตนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายกำหนดว่าเป็นการกระทำความผิด ขณะนั้นผู้กระทำจึงมีสิทธิที่จะกระทำได้อยู่ การลงโทษ หรือตัดสิทธิบุคคลหนึ่งบุคคลใดสำหรับการกระทำ ซึ่งขณะที่กระทำนั้นชอบด้วยกฎหมายเป็นการสั่นสะเทือนความเป็นธรรมของสังคม
ข้อสังเกต ในกรณีของประเทศไทยยังมีปัญหาในเรื่องการการตรากฎหมายมหาชนย้อนหลังได้หรือไม่โดยมีคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3 – 5 /2550 เรื่องอัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย ลงวันที่ 30 พฤษภาค 2550 ว่า ในทางกฎหมายมหาชนที่ไม่ใช่กฎหมายอาญานั้นสามารถออกกฎหมายมาบังคับย้อนหลังได้ ซึ่งมีมุมมองทางกฎหมายออกไป 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพราะเห็นว่าการลงโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นสามารถทำได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นโทษทางอาญา การใช้กฎหมายย้อนหลังในคดีนี้โดยใช้อำนาจประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 จึงไม่ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาทั่วไป
กลุ่มที่ 2 เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถือว่าขัดต่อหลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ (Legal State) และหลักนิติธรรม (The Rule of Law)
อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจว่าการใช้กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังนั้น เพราะเหตุว่า ไม่เป็นธรรมแก่บุคคลผู้ถูกกฎหมายนั้นบังคับใช้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการออกกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายปกครอง กฎหมายงบประมาณ หรือแม้แต่กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ เช่น ยกเลิกความผิด หรือยกโทษแล้ว แม้จะเป็นการย้อนหลังก็ทำได้ไม่ขัดต่อหลักใด ๆ เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 10 พฤศจิกายน 2514 กำหนดให้งบประมาณรายจ่ายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ย้อนหลังไปมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2514 เป็นต้น
2. กฎหมายที่มีผลใช้บังคับในวันที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อไม่ต้องการให้มีการเตรียมตัวหาทางเลี่ยงกฎหมายเป็นกรณีกะทันหันรีบด่วน ไม่ต้องการให้ประชาชนรู้ล่วงหน้าเพื่อหาแนวทางหลีกหนีการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นต้น
3. กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายส่วนใหญ่มีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยใช้คำว่า “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” การใช้บังคับเช่นนี้มีผลดี คือ ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าหนึ่งวัน เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจานุเบกษาเป็นต้นไป เป็นต้น
4. กฎหมายที่กำหนดเวลาให้ใช้บังคับในอนาคต คือ กรณีที่กฎหมายประกาศในราชกิจานุเบกษาแล้ว แต่ระบุให้เริ่มใช้เป็นเวลาในอนาคตโดยกำหนดวันใช้บังคับเป็นเวลาล่วงหน้าหลายๆ วัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมายนั้น หรือเพื่อให้ทางราชการเองมีโอกาสตระเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ แบบพิมพ์ ฝึกหัดอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น กำหนดเวลาให้ใช้กฎหมายในอนาคตนี้ อาจแยกได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1) กฎหมายที่กำหนดเป็นวัน เดือน ปี ให้ใช้กฎหมายที่แน่นอนมาให้ เช่นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป
2) กฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในอนาคตโดยไม่ระบุเป็นวันเดือนปี แต่กำหนดเป็นระยะเวลากี่วัน กี่เดือน หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2543 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3) กฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในอนาคตโดยไม่ระบุวัน เดือน ปี หรือ ระยะเวลาที่แน่นอน แต่กำหนดไว้กว้าง ๆ ว่าจะให้ใช้กฎหมายบังคับเมื่อไร จะประกาศออกมาเป็น “กฎหมายลำดับรอง” (Subordinate Legislation) หรือ เรียกว่า “กฎ” เช่น พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวงจะกำหนดสถานที่และวันใช้บังคับให้เหมาะสมแก่สภาพท้องที่ และให้เวลาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่จะเตรียมการไว้ให้เรียบร้อยก่อนที่กฎหมายจะใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 กำหนดว่าการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
4) กฎหมายที่กำหนดให้แต่บางมาตรา ให้ใช้ต่างเวลาออกไป โดยออกเป็นบทเฉพาะกาลไว้ท้ายกฎหมายนั้น เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ให้มีผลใช้บังคับได้ในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่บางมาตรามีบทเฉพาะกาลให้งดใช้จนกว่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
1.2 การใช้กฎหมายมหาชนในทางปฏิบัติ
การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ (Practical Application of Civil law) หมายถึง การนำบทบัญญัติแห่ง “กฎหมายมหาชน” (Public Law) ไปใช้ปรับแก่คดีหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อหาคำตอบหรือเพื่อวินิจฉัยพฤติกรรมบุคคลในเหตุการณ์หนึ่ง ดังที่เราเรียกกันว่า “การปรับบทกฎหมาย” ผู้ใช้กฎหมายนั้นจึงมิใช่ผู้จัดทำกฎหมาย หรือผู้ปฏิบัติงานทางฝ่ายนิติบัญญัติ หากแต่อาจเป็นใครก็ตามที่จะต้องเปิดดูตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชนแล้วแต่กรณี เพื่อปรับบทกฎหมายนั้นให้เข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อนึ่งการปรับใช้กฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนนี้จะอธิบายถึงการปรับใช้ในระบบกฎหมายวิวิลลอว์ (Civil Law System) ที่มีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายและระบบวิธีพิจารณาคดี เพราะระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System) ไม่มีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายที่ชัดเจน
ดังนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงซึ่งมีขั้นตอนการใช้กฎหมายมหาชนในระบบกฎหมาย ซิวิลลอว์ (Civil Law) เป็นหลัก ดังนี้
1.2.1 การค้นหาข้อเท็จจริง
การค้นหาข้อเท็จจริง เป็นการตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงในคดีเกิดขึ้นจริงดังข้อกล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามระบบวิธีพิจารณาของแต่ละศาล กล่าวคือ การปรับใช้กฎหมายมหาชนใช้ “ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวน” (Inquisitorial System) ซึ่งศาลเป็นผู้มีอำนาจในการแสวงหาพยานหลักฐานในการปรับใช้แก่คดี แต่อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นในกรณีของกฎหมายอาญาซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายมหาชนแต่จะใช้ “ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหา”
1.2.2 การค้นหาบทกฎหมาย
เมื่อได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้ว จะต้องค้นหาบทบัญญัติแห่งกฎหมายมหาชนที่ตรงกับข้อเท็จจริงมาปรับบทกฎหมายมหาชนแล้วแต่กรณี
1.2.3 การปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง
การปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริงเป็นการวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงในคดีนั้นปรับได้กับข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบในบทบัญญัติของกฎหมายมหาชนหรือไม่แล้วแต่กรณี
1.2.4 ผลในทางกฎหมาย
การปรับใช้แก่คดีในกฎหมายมหาชนได้ให้ชี้ว่ามีผลทางกฎหมายอย่างไร หากกฎหมายกำหนดผลทางกฎหมายไว้หลายอย่างให้เลือก ผู้ใช้กฎหมายมหาชนจะต้องใช้ดุลพินิจเลือกผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น คือ การใช้อำนาจผูกพันกับอำนาจดุลพินิจ
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過134萬的網紅Point of View,也在其Youtube影片中提到,อ้างอิง - กรมการท่องเที่ยว. “วัดพระพายหลวง.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/4003 [ม...
「2548 อายุ」的推薦目錄:
- 關於2548 อายุ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於2548 อายุ 在 ชุมชนคนสร้างซิกแพ็ค sixpackclub.net Facebook 的精選貼文
- 關於2548 อายุ 在 อีสานเลิฟกรุ๊ป Facebook 的最佳貼文
- 關於2548 อายุ 在 Point of View Youtube 的最佳貼文
- 關於2548 อายุ 在 Singha Corporation - มันไม่สำคัญว่าคุณจะอายุเท่าไหร่... - Facebook 的評價
- 關於2548 อายุ 在 แฉ! เยาวชนทำบัตรประชาชนปลอม โกงอายุ เที่ยวสถานบันเทิง โป๊ะ ... 的評價
2548 อายุ 在 ชุมชนคนสร้างซิกแพ็ค sixpackclub.net Facebook 的精選貼文
#รีวิวคนเทรน3เดือน
#รีวิวจากคนเทรน
"อายุ 31 ปี สูง 176 น้ำหนักก่อนเทรน 68.9 กลังเทรนครบ 3 เดือน น้ำหนัก 63.8 คิดไม่ผิดที่เทรนออนไลน์กับครูมายด์เห็นผลจริงๆ ก่อนเทรน แอบดูนานมาก พยายามทำตามแต่ก้อยังไม่เห็นผล เลยตัดสินใจเทรนกับครู ผลลัพธ์ที่เห็นเลยค่ะ ครูมายด์สนใจใส่ใจมากกก จนรู้สึกว่าถ้าวันไหนไม่ได้ส่งการบ้านครู รู้สึกผิดไปเลย อะไรที่ทานได้ไม่ได้ครูจะแนะนำคอยบอกตลอด ตอนนี้สบายตัวมาก เสื้อผ้าชุดเก่าๆกลับมาใส่ได้แล้ว สบายตัวขึ้นเยอะ 😊😊 จากที่ตอนแรก ใส่อะไรก็อึดอัดไปหมด สัญญาว่าจะออกกำลังกายต่อไปและถ้ามีโอกาสจะกลับมาเทรนกับครูมายอีกแน่นอนค่ะ 🥰🥰"
#เทรนออนไลน์กับครูมายด์
#ออกกำลังและคุมอาหาร
#ดูรีวิวเพิ่มเติมได้ที่ลิ๊งนี้
เลือกหุ่นที่ใกล้เคียงจากตัวเอง
http://sixpackclub.net/review/
สนใจเทรนทักลิ๊งนี้ http://m.me/sixpackclub.net
2548 อายุ 在 อีสานเลิฟกรุ๊ป Facebook 的最佳貼文
Model : น้องปืน (ฉายา ลิงเผือก)
ด.ช. ติณณภพ พิมเขต
อายุ 14 ปี เกิดวันที่ 7 มิ.ย. 2548
เรียนที่ ร.ร.จริยานุสรณ์ ชั่น ม.2
facebook : จี ยู เอ็น
#ฝากFCติดตามน้องปืนด้วยน่ะ
2548 อายุ 在 Point of View Youtube 的最佳貼文
อ้างอิง
- กรมการท่องเที่ยว. “วัดพระพายหลวง.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/4003 [ม.ป.ป.] สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- กรมการท่องเที่ยว. “วัดมหาธาตุ.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/2947 [ม.ป.ป.] สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- กรมการท่องเที่ยว. “วัดศรีชุม (อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและภายนอกกำแพงเมือง).” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/5423 [ม.ป.ป.] สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- กรมศิลปากร. “วัดศรีชุม.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historicalpark/sukhothai/sukhothai02/sukhothai02-002/item/249-sukhothai03-009 [ม.ป.ป.] สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). “จารึกวัดศรีชุม.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/177 [2550] สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- สำนักศิลากรที่ 6 สุโขทัย. “ประวัติความเป็นมาของเมืองสุโขทัย.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.finearts.go.th/fad6/parameters/km/item/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html [ม.ป.ป.] สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. “สุจิตต์ วงษ์เทศ: พ่อขุนศรีนาวนำถุม สถาปนากรุงสุโขทัย ไม่ใช่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ตามที่บอกในตำรา.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/columnists/news_261875 [2559] สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงสุโขทัยมาจากไหน?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548.
- หน่วยบริหารวิชาอารยธรรมไทย. อารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โครงการเอกสารคำสอน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
- หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. “จารึกวัดศรีชุม มรดกความทรงจำจากยุคสุโขทัย.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://catholichaab.com/main/index.php/research-and-study/2016-12-14-03-46-25/1572-2017-06-29-02-37-45 [2560] สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- - - - - - - - - - - - - -
ติดต่องาน : chananyatechajaksemar@gmail.com (งานเท่านั้น)
ทางไปซื้อสติกเกอร์ line http://line.me/S/sticker/1193089 และ https://line.me/S/sticker/1530409
ทางไปซื้อ วรรณคดีไทยไดเจสต์ http://godaypoets.com/thaidigest
ติดตามคลิปอื่นๆ ที่ http://www.youtube.com/c/PointofView
ติดตามผลงานอื่นๆได้ที่
https://www.facebook.com/pointoofview/
twitter @pointoofview
หรือ
IG Point_of_view_th
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ฟัง นิทานไทย วรรณคดีไทย สนุกๆ https://www.youtube.com/playlist?list=PLfqt6BlTNYnWUtrSsqOEiTjxVsJH_WBJl
ฟังเรื่องเกี่ยวกับ รามเกียรติ์ รามายณะ https://www.youtube.com/playlist?list=PLfqt6BlTNYnXfrgoQ5GVLgbjpzgOWplHi
Help us caption & translate this video!
https://amara.org/v/C2tdz/
2548 อายุ 在 แฉ! เยาวชนทำบัตรประชาชนปลอม โกงอายุ เที่ยวสถานบันเทิง โป๊ะ ... 的推薦與評價
สมาคมสื่อมวลชนนครศรีธรรมราช ได้รับการร้องเรียนจากบรรดาผู้ปกครอง ว่ามีสถานบันเทิงในเมืองนครศรีธรรมราชหลายแห่งอนุญาตให้เยาวชน อายุ แค่ 16-17 ปี ... ... <看更多>
2548 อายุ 在 Singha Corporation - มันไม่สำคัญว่าคุณจะอายุเท่าไหร่... - Facebook 的推薦與評價
มันไม่สำคัญว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ มันสำคัญที่ใจของคุณสู้แค่ไหน? ... บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้สนับสนุนหลักทุกสมาคมกีฬาคนพิการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ... <看更多>