รู้จัก BIG3 แห่งวงการ ที่ปรึกษาธุรกิจ McKinsey BCG Bain /โดย ลงทุนแมน
บริษัทที่ปรึกษา นั้นมีอยู่หลายประเภท
แต่ถ้าพูดถึงผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ (Management Consulting)
คนส่วนใหญ่ คงต้องนึกถึง บริษัทยักษ์ใหญ่ 3 ราย
ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “BIG3” ของวงการ
BIG3 บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ คือใคร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
บริษัทให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
และเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น หลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา หรือ Great Depression ที่เกิดขึ้นช่วงปี 1929-1933
สาเหตุเนื่องจาก หลายบริษัทต้องการความช่วยเหลือ ทั้งด้านทิศทางกลยุทธ์, การบริหารจัดการต้นทุน รวมไปถึงการลงทุน เพื่อเร่งฟื้นตัวจากวิกฤติในขณะนั้น
เวลาผ่านไปเกือบร้อยปี สถานการณ์ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้นและตลอดเวลา
ก็ยิ่งทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องการที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือ มาช่วยให้สามารถก้าวตามทันตลาดหรือคู่แข่งได้
ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทที่เป็นกลุ่มผู้นำของวงการที่ปรึกษาธุรกิจ ประกอบไปด้วย 3 ราย ได้แก่
- McKinsey & Company
- Boston Consulting Group
- Bain & Company
บริษัทที่อายุมากสุดในกลุ่ม คือ “McKinsey & Company”
McKinsey ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1926 โดยคุณ James McKinsey
ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนบัญชี แต่เกิดไอเดียทำธุรกิจที่ปรึกษา โดยนำหลักการทางบัญชีมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเสนอแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท
ต่อมา McKinsey ก็ได้พัฒนาองค์ความรู้เฉพาะทาง เกี่ยวกับธุรกิจประเภทต่าง ๆ เพิ่มเติม
ทำให้บริษัทมีชื่อเสียง ในเรื่องการมีผู้เชี่ยวชาญ ครอบคลุมแทบทุกอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น บริษัทได้ใช้นโยบายที่เรียกว่า One-Firm Partnership
ซึ่งสำนักงานทุกสาขา จะใช้วัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้พนักงานของ McKinsey มีมาตรฐานสูง ไม่ว่าจะทำงานอยู่ในประเทศใดก็ตาม
ปัจจุบัน McKinsey มีพนักงานทั้งหมดราว 30,000 คน ใน 130 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน McKinsey ที่เราอาจคุ้นชื่อกัน เช่น
คุณ Sundar Pichai ปัจจุบันเป็น CEO ของ Google
คุณ Sheryl Sandberg ปัจจุบันเป็น COO ของ Facebook
บริษัทต่อมา คือ “Boston Consulting Group” หรือ BCG
BCG ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1963 โดยคุณ Bruce Henderson
ซึ่งเดิมทีทำงานอยู่บริษัทที่ปรึกษา ชื่อว่า Arthur D. Little แต่ต่อมาตัดสินใจออกมาสร้างธุรกิจของตัวเอง
BCG เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง จากการใช้ข้อมูลปัจจัยภายนอก มาแนะนำกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาด ซึ่งแตกต่างจากที่ปรึกษารายอื่นในอดีต ที่ส่วนใหญ่วิเคราะห์จากปัจจัยภายในของบริษัทเป็นหลัก
ตัวอย่างเครื่องมือที่ BCG คิดค้นขึ้น และหลายคนอาจเคยใช้งาน คือ Growth-Share Matrix
ซึ่งช่วยให้บริษัทเลือกจัดสรรทรัพยากร ไปในธุรกิจที่น่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า
โดย BCG แบ่งประเภทธุรกิจ เป็นตาราง 4 ช่อง ตามอัตราการเติบโตของตลาด และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
- Cash Cows ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง แต่ตลาดเติบโตต่ำ
- Stars ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง และตลาดเติบโตสูง
- Question Marks ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ แต่ตลาดเติบโตสูง
- Dogs ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ และตลาดเติบโตต่ำ
ปัจจุบัน BCG มีพนักงานทั้งหมดราว 22,000 คน ใน 90 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน BCG ที่ประสบความสำเร็จ เช่น
คุณ Benjamin Netanyahu นายกรัฐมนตรีของประเทศอิสราเอล
คุณ Indra Nooyi อดีต CEO ของ PepsiCo
บริษัทสุดท้าย คือ “Bain & Company”
Bain ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1973 โดยคุณ Bill Bain
ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารระดับสูงของ BCG ที่ออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง
Bain มีชื่อเสียงในเรื่องคำปรึกษาด้านการลงทุน และดีลเข้าซื้อกิจการ
โดยมีลูกค้ากองทุน Private Equity ที่เน้นลงทุนในบริษัทที่ยังไม่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วน 75% ของตลาด
ซึ่ง Bain ถือเป็นที่ปรึกษารายแรก ๆ ที่คิดค่าบริการตามผลลัพธ์ของโครงการ ทำให้บริษัทสามารถร่วมประสบความสำเร็จไปกับลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว จนได้รับงานอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน Bain มีพนักงานทั้งหมดราว 9,000 คน ใน 59 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน Bain ที่หลายคนน่าจะรู้จัก เช่น
คุณ Mitt Romney อดีตผู้ท้าชิง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรครีพับลิกัน ในปี 2008 และ 2012
คุณ Susan Wojcicki ซึ่งเป็น CEO ของ YouTube
แล้วทำไมทั้งสามบริษัท ถึงครองตำแหน่ง BIG3 ได้ ?
จุดแข็งของ McKinsey, BCG และ Bain
คือ เครดิตความน่าเชื่อถือ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน
ทำให้พวกเขามีฐานลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมาก
และสามารถคิดค่าบริการได้ค่อนข้างสูงกว่าตลาด
พอเป็นเช่นนี้ บริษัท BIG3 จึงสามารถจ่ายเงินเดือนได้ในระดับสูง
ทำให้พนักงานเก่ง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก อยากสมัครเข้าทำงานด้วย
ส่งผลให้ บริษัทมีผลงานที่ดีต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับจากลูกค้าเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก
จนยากที่ผู้เล่นรายอื่น จะเข้ามาแย่งชิงตำแหน่ง BIG3 ไปได้
ซึ่งลักษณะธุรกิจที่อาศัยความได้เปรียบจากชื่อเสียงและการได้รับการยอมรับ ก็จะคล้าย ๆ กับกรณีของ “Big4” ในวงการตรวจสอบบัญชี อย่าง EY, PwC, KPMG และ Deloitte
เรามาลองดูรายได้ของแต่ละบริษัท เมื่อปี 2019
- McKinsey มีรายได้ 325,000 ล้านบาท
- BCG มีรายได้ 266,000 ล้านบาท
- Bain มีรายได้ 133,000 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กลุ่มที่ปรึกษาธุรกิจ BIG3 จะมีรายได้สูงติด 20 อันดับแรกของตลาดเลยทีเดียว
จากเรื่องนี้ เราอาจพอสรุปได้ว่า
ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ เป็นต้นทุนทางธุรกิจที่มีความสำคัญมาก
ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ย่อมมีโอกาสเสนอขายสินค้าหรือบริการได้มากกว่า
ซึ่งทำให้บริษัทเติบโต และครองส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่อง
เหมือนกรณีของ BIG3 ที่ปรึกษาธุรกิจ ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
และเป็นผู้นำของตลาด มานานหลายสิบปี
หรือกระทั่งบางราย เกือบร้อยปีแล้ว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://strategycase.com/the-big-3-consulting-firms-mckinsey-bcg-bain/
-https://igotanoffer.com/blogs/mckinsey-case-interview-blog/big-3-consulting-firms-mbb
-https://en.wikipedia.org/wiki/Big_Three_(management_consultancies)
-https://www.mckinsey.com/about-us/overview
-https://www.bcg.com/about/about-bcg/overview
-https://www.bain.com/about/what-we-do/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Management_consulting#History
「bain wiki」的推薦目錄:
bain wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ไอศกรีม Baskin-Robbins มีเจ้าของคือ Dunkin’ /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงร้านขายไอศกรีม คนไทยอาจคุ้นเคยกับ Swensen’s หรือ Dairy Queen
แต่ในตลาดโลก
รู้ไหมว่า “Baskin-Robbins” เป็นแบรนด์ผู้นำที่มีจำนวนสาขามากที่สุด
และปัจจุบันเจ้าของร้าน Baskin-Robbins คือบริษัท Dunkin’ Brands Group
ซึ่งดูจากชื่อทุกคนก็น่าจะคุ้นๆ ว่าเป็นชื่อแบรนด์โดนัท
แต่ที่น่าสนใจคือ จริงๆ แล้ว Baskin-Robbins ถูกซื้อกิจการเข้ามาก่อนธุรกิจหลักอย่างร้านโดนัทเสียอีก
เรื่องราวนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1945 หรือ 75 ปีที่แล้ว คุณ Irvine Robbins นักธุรกิจชาวอเมริกัน ซึ่งเติบโตมาในครอบครัวร้านขายไอศกรีม ได้ออกมาก่อตั้งร้านของตัวเองชื่อว่า Snowbird Ice Cream
คุณ Robbins มักจะชอบคิดค้นรสชาติไอศกรีมใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้ร้านเขาโดดเด่นกว่าคนอื่น ตรงที่มีไอศกรีมให้เลือกทานถึง 21 รสชาติ
อีก 1 ปีถัดมา คุณ Burt Baskin ซึ่งเป็นน้องเขย ได้รับคำแนะนำจาก Robbins ให้ลองทำธุรกิจขายไอศกรีมดูบ้าง เขาจึงเปิดร้านชื่อว่า Burton’s Ice Cream ขึ้นมาเช่นกัน
และแล้วในปี 1948 พวกเขาก็ตัดสินใจควบรวมกิจการ เกิดเป็นร้านไอศกรีมใหม่ “Baskin-Robbins” ที่ตั้งชื่อตามนามสกุลของทั้งคู่นั่นเอง
หลังจากรวมธุรกิจกัน ร้านได้มีไอศกรีมเพิ่มขึ้นเป็น 31 รสชาติ ซึ่ง Baskin-Robbins นำจุดนี้มาประยุกต์ใช้เป็นสโลแกน “31 Flavors” ที่สร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์เป็นอย่างมาก โดยสื่อความหมายว่า ลูกค้าจะสามารถทานไอศกรีมได้ทุกวันแบบไม่ซ้ำรสชาติภายใน 1 เดือน
รวมทั้งมีการออกแบบโลโก้ของร้าน ให้มีตัวเลข 31 ซ่อนอยู่ในอักษรย่อ BR อีกด้วย
นอกจากนั้น Baskin-Robbins ยังเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรม เช่น การให้ลูกค้าทดลองชิมด้วยช้อนเล็กๆ ก่อนสั่งซื้อรสชาติที่ถูกใจ, การคิดค้นเมนูเค้กไอศกรีมเป็นรายแรก และการเป็นกลุ่มบุกเบิกกลยุทธ์ขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์
ถึงแม้เวลาผ่านไป Baskin-Robbins ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ 31 แต่ได้พัฒนาไอศกรีมสูตรต่างๆ มาเสนอผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง สะสมรวมแล้วกว่า 1,300 รสชาติ
ปัจจุบัน ร้านมีสาขาทั้งหมด 8,160 แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา 2,524 สาขา และอยู่ในต่างประเทศอีก 5,636 สาขา
ซึ่ง Baskin-Robbins ถือเป็นแบรนด์ร้านขายไอศกรีมที่มีสาขามากสุดในโลก
และหากนับรวมธุรกิจร้านอาหารทุกประเภท พวกเขาจะมีจำนวนสาขาสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก รองจากร้านดังๆ ได้แก่ Subway, McDonald’s, Starbucks, KFC, Burger King, Pizza Hut, Domino’s, Dunkin’
โดยยอดขายไอศกรีมของ Baskin-Robbins
ปี 2017 อยู่ที่ 61,000 ล้านบาท
ปี 2018 อยู่ที่ 65,000 ล้านบาท
ปี 2019 อยู่ที่ 66,000 ล้านบาท
ส่วนตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย คือ บริษัท โกลเด้น สกู๊ป จำกัด ซึ่งถือหุ้น 100% โดยบริษัท มัดแมน จำกัด (มหาชน) ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ MAI ใช้ชื่อย่อว่า MM
ตอนนี้ร้านมีสาขาในไทย 34 แห่ง และมีผลประกอบการ ดังต่อไปนี้
ปี 2017 รายได้ 111 ล้านบาท ขาดทุน 12 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 112 ล้านบาท ขาดทุน 10 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 103 ล้านบาท ขาดทุน 10 ล้านบาท
แล้ว Dunkin’ กลายมาเป็นเจ้าของ Baskin-Robbins ได้อย่างไร?
ที่ผ่านมา ร้าน Baskin-Robbins ถูกเปลี่ยนมือเจ้าของอยู่หลายครั้ง
ปี 1967 ถูกซื้อกิจการไปโดย United Brands บริษัทสัญชาติอเมริกัน ซึ่งประกอบธุรกิจขายผลไม้
ปี 1973 ถูกซื้อกิจการอีกครั้งโดย Allied-Lyons บริษัทธุรกิจอาหาร จากประเทศอังกฤษ
ปี 1990 บริษัท Allied-Lyons ซื้อกิจการ Dunkin’ Donuts และ Mister Donut แล้วนำเอาไปรวมกับ Baskin-Robbins ให้เป็นหน่วยธุรกิจใหม่ ชื่อว่า “Dunkin’ Brands”
ต่อมาในปี 2006 กองทุนร่วมทุนระหว่างบริษัท Bain Capital, Carlyle Group และ Thomas Lee ได้เจรจาขอซื้อกิจการของ Dunkin’ Brands ไปด้วยมูลค่า 75,000 ล้านบาท
หลังจากนั้นในปี 2011 พวกเขาก็นำบริษัท Dunkin’ Brands Group จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ซึ่งล่าสุดมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 178,000 ล้านบาท
จากเรื่องราวนี้ จะเห็นได้ว่า
ในอุตสาหกรรมไอศกรีมที่มีคู่แข่งเยอะ และสินค้าค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การรักษาตำแหน่งผู้นำตลาด เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก
ดังนั้นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจนี้ คงหนีไม่พ้น
การนำเสนอความแปลกใหม่ ที่สร้างเอกลักษณ์ให้แตกต่างจากร้านอื่น อยู่ตลอดเวลา
เหมือนดังกรณีของ Baskin-Robbins
แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ
Baskin-Robbins ในประเทศไทยกลับไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก
ต่างจาก Swensen’s ที่ดังในไทย แต่ก็กลับไม่ได้เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Baskin-Robbins
-https://www.mashed.com/177683/the-untold-truth-of-baskin-robbins/
-https://investor.dunkinbrands.com/static-files/7a80a22d-8895-4d5d-b625-603b127cb27f
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_the_largest_fast_food_restaurant_chains
-http://www.mudman.co.th/th/business/baskin-robbins/
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bain wiki 在 賴叔閱事 Facebook 的最佳解答
“Sunderland ’til I die” (Season 1) — 至死不渝
Medium: link.medium.com/gPA41CT8G5
//
Netflix 嘅紀錄片 (我更加覺得係紀實連續劇,英文字 “Docuseries” 大概都係咁解) 相當之多元化而且製作認真,作為一個體育迷,賴叔喺 “Drive to Survive” 之後,搵到以英格蘭球會新特蘭為主角嘅 docuseries “Sunderland ’til I die” (以下簡稱 “STID” ,我好懶) 為觀看。
STID 目前拍咗兩季,第一季有八集,第二季有六集,分別紀錄咗 2017–18 及 2018–19 兩個球季嘅故事。如果對英格蘭球壇唔太熟悉嘅朋友,我建議就咁直踩 14 集,唔好手多多走去摷最新嘅新聞嚟睇。原理,就同入戲院之前唔好睇劇透影評差唔多。一旦知道現狀, STID 眾多畫面及懸疑鏡頭就失去咗意義架喇。
至於本身跟貼球壇消息嘅朋友,我覺得 STID 觀賞價值係一般般嘅,畢竟入面講嘅嘢唔算特別深入,喺每集 30 分鐘嘅空間入面,能夠交代嘅事情亦都有限。如果你係東北部球會紐卡素或米杜士堡嘅球迷,鍾意喺宿敵嘅傷口上灑鹽,咁呢套 docuseries 對你哋嚟講又有另一番風味。
- - -
喺劇透之前,或者都簡單交代下我對新特蘭嘅認識 (即係冇經過 Google / Wiki / research 之下就咁講) 。呢支綽號「黑貓」嘅球會,係著名嘅「升降機」,過去廿幾年以來,反覆來回頂級嘅英超同次級嘅英冠都好幾次。 1990 年代末佢哋有高矮雙煞 Niall Quinn 同 Kevin Philips 孖寶在陣,守門員係丹麥國腳蘇連遜,以中小型球會嚟講都總算曾經光輝過。
新特蘭嘅主場 “Stadium of Light” 中文直譯「光明球場」,容量達 49,000 人,喺英格蘭球壇嚟講絕對唔失禮,另一支老牌球會愛華頓嘅主場葛迪遜公園 (Goodison Park) 爆棚都唔到四萬人,同樣來自東北嘅紐卡素主場聖占士公園 (St. James’ Park) 容量亦都係 52,000 左右。可想而知,新特蘭呢間球會嘅規模,或者比上不足,但比下,絕對有餘。
不過 STID 第一季嘅背景,就係講緊新特蘭剛剛喺英超降班,行政總裁 Martin Bain 著手重建球會,爭取盡快重返英超行列。背後嘅壓力,主要都係一個字:錢。英超 (English Premier League) 作為歐洲四大聯賽之一,商業價值龐大,電視轉播權嘅收益相當可觀。降班之後,雖然有所謂嘅 “parachute payment” (合共 9,100 萬英鎊,喺球會降班後三年分批發放) 補助,確保球會財政上「軟著陸」,但係開源節流嘅功夫都係必不可少。
喺一般嘅情況之下,公司縮皮,裁員就係最容易嘅方法。但係足球球會嘅世界有少少唔同。由於球員一般都係用有年期嘅合約同球會簽約,除非有條款訂明,否則球會降班之後都冇得夾硬將球員嘅工資下調。相反,球員如果有其他球會青睞,大可以要求轉會他投。喺僱傭關係嘅天秤上,降班後嘅新特蘭明顯地處於弱勢。
接掌球隊帥印嘅教練 Simon Grayson 手頭上就係有一大班唔多願意陪新特蘭降落次級聯賽但係又人工豐厚嘅球員。點樣鼓動佢哋同舟共濟?點樣配合會方削減開支嘅要求,而限米煮限飯?呢啲問題,喺班主 Ellis Short 入主近十年之後決定拒絕再泵水施救嘅情況下,變得更加嚴重。 (值得一提, Ellis Short 曾經係私募基金 Lone Star 嘅副主席)
- - -
球會風雨飄搖,最受傷嘅,其實係球迷。
新特蘭位處英格蘭東北部,昔日係造船業嘅重鎮,但隨住英國經濟轉營,區內經濟好景不再,居民嘅收入自然係好極有限公司。作為市內唯一一支職業球隊,新特蘭成為咗眾人嘅精神寄託。由星期日返教會嘅信眾,到凍肉店嘅員工,無不對球會成敗榮辱牽腸掛肚。
STID 一直追訪幾個新特蘭老牌球迷,個個都買咗十幾廿年 (或更長時間) 嘅季票。睇住佢哋由英冠球季開鑼滿有信心,到球會成績疲弱不振而時有挫敗、氣餒但對「黑貓」始終不離不棄,喺香港嘅各位觀眾可會諗返,香港人有啲咩嘢球隊可以撐?或者都係香港足球代表隊同埋一眾為港爭光嘅運動員啩⋯⋯
除咗球迷, STID 亦花唔少時間追訪球會嘅工作人員。喺體育行業,球員同教練固然係焦點。但係球會營運嘅部份,其實都有好多員工喺幕後幫手,例如話掌管廚房嘅 Joyce 、負責門票、管理嘅團隊等等。對於佢哋嚟講,能夠盡可能幫助球員以最好嘅狀態迎戰每場比賽,能夠為球會賣出最多嘅門票,已經係盡咗佢哋嘅本份。至於球隊嘅成績、升班降班,佢哋只能夠甘苦與共 — — 如果球會冇因為節省成本而裁員嘅話。
- - -
某程度上,我覺得 “STID” 搵新特蘭作為 Docuseries 嘅主題算係神來之筆。因為「黑貓」喺 2017–18 球季嘅進展,絕對講得上係 dramatic 。由第一集睇到第八集,大家會清楚見到眾人嘅精神面貌如何變化,當初嘅信誓旦旦或信心滿滿,到最後如何變成肉隨砧板上,不得不逆來順受。
新特蘭嘅興衰背後,固然有不幸嘅地方,但更多嘅係球會承受昔日自己大花筒、藥石亂投嘅惡果。但凡球員並非同心同德,而係各懷鬼胎,打算大難臨頭各自飛,喺狗咬狗、腳踢腳嘅英冠聯賽,球隊實在難以生存。即使球隊換上有來頭、有魅力嘅教練 Chris Coleman 都好,球隊唔能夠保住勝果,後防又漏晒水咁,就只可以換來一班至死不渝嘅忠心球迷嘅一泡眼淚。
Credit: https://flic.kr/p/cUdU45 by Ronnie Macdonald
- - -
想睇更多賴叔時政見聞、金融掃盲及職場文章,請訂閱 Patreon:
https://www.patreon.com/shuklai
#hk #hongkong #patreon #blogger
bain wiki 在 Frozen in Time: A Joint Video and Image Encoder for End-to ... 的推薦與評價
Frozen in Time: A Joint Video and Image Encoder for End-to-End Retrieval [ICCV'21] - GitHub - m-bain/frozen-in-time: Frozen in Time: A Joint Video and Image ... ... <看更多>