QGEN - HR Practice Provider
เลือกคนเก่งเข้ามา ทำไมคนเก่งถึงไม่เก่งอย่างที่คิด คือหนึ่งในปัญหาของหลายองค์กร พูดให้ชัดขึ้นคือ ผลงานไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้
กรณีแบบนี้ ถ้าตั้งใจจะแก้ปัญหาจริง ใช้ Why-Why Analysis เป็นเครื่องมือก็น่าจะเจอต้นตอของปัญหาได้ไม่ยาก แต่ถ้าไม่คิดจะแก้ปัญหาแบบจริงจัง จะสรุปไปเลยว่า คนเก่งคนนั้นเป็นได้แค่ “เก่งแต่ปาก” ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
แต่แม้กระทั่งตัดสินไปแล้วว่า “เก่งแต่ปาก” สิ่งที่ผู้บริหาร Leader และ HR ต้องคิดต่อก็คือ แล้วทำไมคนที่เก่งแต่ปากถึงหลุดรอดกระบวนการ Recruit ของเรามาได้ ถ้าเรามองปัญหาออกสิ่งที่องค์กรควร Take Action ต่อคือ ปรับปรุงกระบวนการสรรหาคน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา “เก่งแต่ปาก” เข้ามาในองค์กรของเราอีกใช่หรือไม่
ยิ่งตำแหน่งสูง และเป็น Strategic Position ยิ่งต้องให้ความสำคัญ เราต้องไม่ลืมว่าในช่วงเวลาแบบนี้ The Right People at First Time คือกลยุทธ์พื้นฐานที่จำเป็น จะองค์กรขนาดเล็กคือขนาดใหญ่ ใส่ใจกับเรื่องนี้ให้มากเข้าไว้ ประสบการณ์ไหนที่เคยพลาดมาแล้วก็อย่าให้เกิดขึ้นอีก
แล้วถ้าเรื่องไม่ใช่แบบนั้น กระบวนการคัดเลือกของเราก็เซียนพอตัว หรือหลายครั้งเลยที่เราเองนี่แหละ เลือกคนคนนี้มาเพราะเห็นกับตา สัมผัสมาโดยตรงว่าเค้ามีความสามารถจริง ๆ เคยทำเรื่องนี้สำเร็จมาแล้ว เรานี่แหละที่เคยเป็นลูกค้าของเค้า ที่ซื้อตัวเค้ามาทำงานกับเราเพราะมั่นใจยังไงเค้าก็ทำงานให้เราได้แน่ ๆ
ประเด็นแรกที่จะชวนมาเอะใจกันก่อนเลย ทั้งผู้บริหาร Leader รวมถึง HR ด้วยคือ มองตำแหน่งให้ชัดกันหน่อยมั้ย เป้าหมายหลักของงานตำแหน่งนี้ Experience หรือ Potential จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานนี้
Experience หรือประสบการณ์ตรงของคนคนนั้น เป็นสิ่งที่เคยทำและเกิดขึ้นมาแล้ว
Potential หรือศักยภาพ คือส่งที่คนคนนั้นมีอยู่กับตัว ไม่ว่าจะได้เคยลงมือทำหรือไม่ก็ตาม
งานในตำแหน่งนั้นจะประสบความสำเร็จได้ ต้องใช้ Experience หรือ Potential ตอนที่เราตัดสินใจเลือกคนคนนี้เข้ามา เราตัดสินใจเพราะประทับใจใน Experience หรือ Potential และที่สำคัญตอนที่เราวัดผลและตัดสินว่าคนนี้ตัวจริงหรือตัวปลอม เราตัดสินจาก Experience หรือ Potential กันแน่
ไม่มีอะไรถูกผิด แต่อยากให้เอะใจกับตรงนี้เพื่อที่จะวางหมากวางกลยุทธ์ให้ถูก ไม่อย่างนั้นเราอาจจะเสียคนเก่งไปเพราะการตัดสินใจพลาดของเราอีกครั้งนึง
Sean Brawley ‘ Employee Performance Equation บอกเอาไว้ว่า Maximize Performance = Potential – Interference เพราะฉะนั้น ถ้าเราบอกว่า เราเลือกคนมาเพราะ Potential สิ่งที่ทำให้ Performance ไม่เป็นไปอย่างที่คิดไว้ ก็เป็นเพราะ Interference นี่แหละครับ
แล้ว Interference คืออะไรบ้าง Sean แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Internal และ External ซึ่ง Internal เป็นเรื่องภาวะภายในของตัวคนคนนั้นเอง ทั้งความเครียด ความกังวล ความกลัว ความกดดัน และความเชื่อ ซึ่งทั้ง 5 ตัวนี้ผู้บริหาร Leader และ HR จะต้องใช้การสังเกต การพูดคุยเพื่อแกะและแก้ปัญหานี้ให้ได้ ในขณะที่ External คือเวลา ข้อมูล ความรู้ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีพร้อมและเพียงพอมั้ย รวมไปถึงความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวว่าเป็นไปในทางที่ส่งเสริมให้ทำงานสำเร็จหรือไม่ และอีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กันคือ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่องค์กรมี เป็นแรงสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคกันแน่กับตัวพนักงาน
External ผมมองโดยก็คือ Environment ทั้งหมดที่องค์กรมีและเป็นอยู่ตั้งแต่ Organization Structure ที่เกี่ยวกันกับ Empowerment ไปจนถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ Match กับคนคนนั้นหรือไม่
สมมติว่าพนักงานคนนี้ที่เราเลือกมา เป็นหนึ่งในคนเก่งที่เหมาะกับองค์กรที่โครงสร้างองค์กรเป็น Flat and Dynamic Organization บนวัฒนธรรมองค์กรที่ Open มาก เมื่อต้องมาอยู่ในองค์กรที่มี Bottleneck เกือบทุกจุด มีกฎระเบียบเต็มไปหมด แล้วแทบจะไม่เปิดโอกาสให้ทดลองอะไรใหม่ ๆ เลย ความเก่งก็อาจจะเจออุปสรรคก็ได้ ดังนั้นถ้าเรายังอยากให้คนเก่งไปต่อได้ องค์กร ผู้บริหาร Leader และ HR ก็ต้องช่วยคนเก่งเหล่านั้นให้ปรับตัวให้ได้
สิ่งที่เราต้องคิดให้ตรงกันเรื่องนึงคือ People Management คือสิ่งที่องค์กร ผู้บริหาร Leader และ HR ต้องทำร่วมกันทั้งระบบ ไม่ใช่แค่หน้าที่ของใครคนใดคนนึง
การพูดคุยกับคนเก่งเหล่านั้น เพื่อเช็คทั้งอารมณ์ ความรู้สึกของเค้า ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน
เราเคยถามเค้ามั้ย เค้ารู้มั้ยว่าทำไมเราถึงเลือกเค้า อะไรคือสิ่งที่เค้ารู้สึกว่าไม่เป็นไปอย่างที่คิดทั้งในแง่ดีและแง่ที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน อะไรคือสิ่งที่เค้าคาดหวังจะได้รับการ Support จากองค์กรและ Leader ในช่วงเวลาที่ทำงานมาไม่ว่าจะสั้นหรือยาว เค้ามี Conflict กับใครบ้างหรือไม่ เป็น Conflict และที่สำคัญ เค้ารู้หรือไม่ว่าเราวัดหรือประเมินเค้าจากอะไรบ้าง
เรื่องพวกนี้เหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ก็เป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่เราอาจจะลืม จนกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่อาจจะทำให้คนเก่ง กลายเป็นคนไม่เก่งในสายตาของเราไป
แล้วเราอาจจะเสียดาย ถ้าความเก่งของเค้าไม่ได้อยู่สร้างประโยชน์ให้กับเรา แต่ไปสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรอื่นแทน
#TalentManagement #PeopleManagement #QGEN
#HRTheNextGen
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「employee empowerment」的推薦目錄:
- 關於employee empowerment 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳解答
- 關於employee empowerment 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
- 關於employee empowerment 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
- 關於employee empowerment 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於employee empowerment 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於employee empowerment 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
employee empowerment 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
อยากได้คนเก่งเข้ามาทำงาน แต่คนเก่งไม่เลือกเรา หรือแย่ไปกว่านั้นคือไม่รู้จักองค์กรของเราเลยด้วยซ้ำ 4E ที่ผู้บริหารและ HR ต้องรู้จัก ทำความเข้าใจและลงมือทำอย่างจริงจังคือ Employee Journey, Employee Experience, Employee Engagement ซึ่งทั้ง 3E จะส่งผลไปถึง Employer Branding ที่เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรของเราเป็น Employer of Choice หรือองค์กรที่ใคร ๆ ก็อยากมาร่วมงานได้
อยากให้องค์กรเป็น Employer of Choice สิ่งที่องค์กรต้องทำคือ Employer Branding ซึ่ง 2 องค์ประกอบสำคัญคือ หนึ่งมีในสิ่งที่คนเก่งหรือกลุ่มเป้าหมายอยากได้ สองสื่อสารทั้งข้อเท็จจริงและอารมณ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย
ถ้ามีในสิ่งที่คนเก่งเป้าหมายอยากได้ แต่สื่อสารไม่ถึงแล้วจะมีใครรู้ว่าองค์กรเราดีกว่าคนอื่นได้ยังไง
ข้อได้เปรียบเสียและเสียเปรียบอีกอย่างนึงคือ องค์กรที่มีการทำ Corporate Branding และ Customer Branding หรือ Product Branding อย่างสม่ำเสมอย่อมได้เปรียบ จริง ๆ แล้วเราไม่ได้รู้เลยว่าองค์กรนั้น เค้าดูแลพนักงานอย่างไร แต่เรารู้สินค้าของเค้าคืออะไร คนเก่งรู้จักองค์กรนั้น เลือกที่จะเดินไปทำงานที่องค์กรนั้น ทั้ง ๆ ที่องค์กรของเรามีการดูแลคนที่ดีกว่าองค์กรเหล่านั้น
แล้วทำไมถึงต้องอยากเป็น Employer of Choice ลองคิดและคำนวณแบบนี้นะครับ
ถ้าอยากรับสมัครวิศวกรเก่ง ๆ ซักคนนึง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีคนยื่น Profile มาให้เรา 10 คนถึงจะได้วิศวกรเก่ง ๆ ซักคนนึง แล้วถ้าองค์กรอยากได้วิศวกรซัก 10 คน นั้นหมายความว่าเราต้องได้ Profile 100 คน
องค์กรที่ไม่เป็นที่รู้จักเลย จะได้ Profile 100 คนต้องใช้ Effort และ Cost เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับองค์กรที่เป็นที่รู้จักและใคร ๆ ก็อยากจะร่วมงานด้วย แล้วถ้าวันนึงเรา
แล้วอะไรที่ทำให้ใคร ๆ ก็อยากจะมาร่วมทำงานกับองค์กรของเรา เงินเดือนดี ๆ โบนัสเยอะ ๆ ความมั่นคงในการทำงานหรือโอกาสในการเติบโต ทั้งหมดนั่นใช่ แต่เป็นใช่แบบ Traditional สิ่งที่องค์กรต้องคิดและกำหนดเป็นกลยุทธ์ รวมถึงลงมือทำให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ
1. ทำให้พนักงานปัจจุบันมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สร้าง Proud to Be ให้เกิดขึ้นภายในให้ได้ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Employee Engagement ต้องดีมากพอที่จะสร้าง Advocacy ให้เกิดขึ้นได้
2. วัฒนธรรมองค์กรต้องมีความชัดเจนในเชิงการปฏิบัติ และสื่อสารให้เกิดเห็นภาพว่านี่คือองค์กรของคนเก่ง ที่คนเก่งจะได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Empowerment Rate
3. Leader Branding ผู้นำขององค์กรต้องเป็น Idol ของกลุ่มเป้าหมาย และเป็น Icon ของความเก่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจองค์กร ซึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ Leader ทำการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น Online หรือ Offline มีคนให้ความสนใจมากแค่ไหน
ถ้าเราเห็นองค์กรอื่น โดยเฉพาะองค์กรที่เป็นคู่แข่งของเราเป็น Employer of Choice ของกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ให้ออกว่าเค้ามีอะไร แล้วเราไม่มีอะไร หรือจริง ๆ เราก็มีแต่เราไม่ได้ทำอะไร
แล้วทำไมถึงไม่ทำ
ถ้าอยากให้องค์กรเป็น Employer of Choice ต้องลงมือทำอย่างจริงจัง
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ต้องคิดให้ถี่ถ้วนคือ "ใครคือ The Right People" องค์กรอยากได้ Mid Career หรือคนที่มีประสบการณ์ทำงาน แต่ 80 % ที่ยื่น Profile ให้กับองค์กรเป็น Fresh Graduate การที่เราเป็นองค์กรอันดับต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็อยากทำงานด้วยอาจจะไม่มีความหมายเลย ถ้าคนเหล่านั้นไม่ใช่คนที่องค์กรอยากได้
Focus ให้ถูกกลุ่ม เลือกกลยุทธ์ให้ตรงเป้า องค์กรของเราก็จะเป็น Employer of Choice และส่งเสริมให้เกิด The Right People at First Time ได้เช่นกัน
#EmployerBranding #TheRightPeople
#QGEN #HRTheNextGen
employee empowerment 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
QGEN - HR Practice Provider
อยากได้คนเก่งเข้ามาทำงาน แต่คนเก่งไม่เลือกเรา หรือแย่ไปกว่านั้นคือไม่รู้จักองค์กรของเราเลยด้วยซ้ำ 4E ที่ผู้บริหารและ HR ต้องรู้จัก ทำความเข้าใจและลงมือทำอย่างจริงจังคือ Employee Journey, Employee Experience, Employee Engagement ซึ่งทั้ง 3E จะส่งผลไปถึง Employer Branding ที่เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรของเราเป็น Employer of Choice หรือองค์กรที่ใคร ๆ ก็อยากมาร่วมงานได้
อยากให้องค์กรเป็น Employer of Choice สิ่งที่องค์กรต้องทำคือ Employer Branding ซึ่ง 2 องค์ประกอบสำคัญคือ หนึ่งมีในสิ่งที่คนเก่งหรือกลุ่มเป้าหมายอยากได้ สองสื่อสารทั้งข้อเท็จจริงและอารมณ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย
ถ้ามีในสิ่งที่คนเก่งเป้าหมายอยากได้ แต่สื่อสารไม่ถึงแล้วจะมีใครรู้ว่าองค์กรเราดีกว่าคนอื่นได้ยังไง
ข้อได้เปรียบเสียและเสียเปรียบอีกอย่างนึงคือ องค์กรที่มีการทำ Corporate Branding และ Customer Branding หรือ Product Branding อย่างสม่ำเสมอย่อมได้เปรียบ จริง ๆ แล้วเราไม่ได้รู้เลยว่าองค์กรนั้น เค้าดูแลพนักงานอย่างไร แต่เรารู้สินค้าของเค้าคืออะไร คนเก่งรู้จักองค์กรนั้น เลือกที่จะเดินไปทำงานที่องค์กรนั้น ทั้ง ๆ ที่องค์กรของเรามีการดูแลคนที่ดีกว่าองค์กรเหล่านั้น
แล้วทำไมถึงต้องอยากเป็น Employer of Choice ลองคิดและคำนวณแบบนี้นะครับ
ถ้าอยากรับสมัครวิศวกรเก่ง ๆ ซักคนนึง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีคนยื่น Profile มาให้เรา 10 คนถึงจะได้วิศวกรเก่ง ๆ ซักคนนึง แล้วถ้าองค์กรอยากได้วิศวกรซัก 10 คน นั้นหมายความว่าเราต้องได้ Profile 100 คน
องค์กรที่ไม่เป็นที่รู้จักเลย จะได้ Profile 100 คนต้องใช้ Effort และ Cost เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับองค์กรที่เป็นที่รู้จักและใคร ๆ ก็อยากจะร่วมงานด้วย แล้วถ้าวันนึงเรา
แล้วอะไรที่ทำให้ใคร ๆ ก็อยากจะมาร่วมทำงานกับองค์กรของเรา เงินเดือนดี ๆ โบนัสเยอะ ๆ ความมั่นคงในการทำงานหรือโอกาสในการเติบโต ทั้งหมดนั่นใช่ แต่เป็นใช่แบบ Traditional สิ่งที่องค์กรต้องคิดและกำหนดเป็นกลยุทธ์ รวมถึงลงมือทำให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ
1. ทำให้พนักงานปัจจุบันมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สร้าง Proud to Be ให้เกิดขึ้นภายในให้ได้ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Employee Engagement ต้องดีมากพอที่จะสร้าง Advocacy ให้เกิดขึ้นได้
2. วัฒนธรรมองค์กรต้องมีความชัดเจนในเชิงการปฏิบัติ และสื่อสารให้เกิดเห็นภาพว่านี่คือองค์กรของคนเก่ง ที่คนเก่งจะได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Empowerment Rate
3. Leader Branding ผู้นำขององค์กรต้องเป็น Idol ของกลุ่มเป้าหมาย และเป็น Icon ของความเก่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจองค์กร ซึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ Leader ทำการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น Online หรือ Offline มีคนให้ความสนใจมากแค่ไหน
ถ้าเราเห็นองค์กรอื่น โดยเฉพาะองค์กรที่เป็นคู่แข่งของเราเป็น Employer of Choice ของกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ให้ออกว่าเค้ามีอะไร แล้วเราไม่มีอะไร หรือจริง ๆ เราก็มีแต่เราไม่ได้ทำอะไร
แล้วทำไมถึงไม่ทำ
ถ้าอยากให้องค์กรเป็น Employer of Choice ต้องลงมือทำอย่างจริงจัง
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ต้องคิดให้ถี่ถ้วนคือ "ใครคือ The Right People" องค์กรอยากได้ Mid Career หรือคนที่มีประสบการณ์ทำงาน แต่ 80 % ที่ยื่น Profile ให้กับองค์กรเป็น Fresh Graduate การที่เราเป็นองค์กรอันดับต้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็อยากทำงานด้วยอาจจะไม่มีความหมายเลย ถ้าคนเหล่านั้นไม่ใช่คนที่องค์กรอยากได้
Focus ให้ถูกกลุ่ม เลือกกลยุทธ์ให้ตรงเป้า องค์กรของเราก็จะเป็น Employer of Choice และส่งเสริมให้เกิด The Right People at First Time ได้เช่นกัน
#EmployerBranding #TheRightPeople
#QGEN #HRTheNextGen
employee empowerment 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
employee empowerment 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
employee empowerment 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
employee empowerment 在 What is Employee Empowerment? | BambooHR 的相關結果
Employee empowerment is a management philosophy that emphasizes the importance of allowing employees to make independent decisions and act on them. ... <看更多>
employee empowerment 在 Employee Empowerment in the Workplace: 6 Steps to Take ... 的相關結果
Empowered employees are loyal, committed and potentially more productive. When employees have the tools and resources to successfully manage or lead their own ... ... <看更多>
employee empowerment 在 Employee Empowerment: Definition, Benefits, and Factors 的相關結果
Employee empowerment refers to the manner in which companies provide their employees with anything and everything they need to succeed. This ... ... <看更多>