รู้จัก AUKUS ของสหรัฐ และการโต้กลับด้วย CPTPP ของจีน /โดย ลงทุนแมน
เรื่อง AUKUS เป็นประเด็นใหม่ที่คนทั้งโลกจับตา
สนธิสัญญา AUKUS เป็นข้อตกลงที่สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร จะสนับสนุนการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ให้แก่ออสเตรเลีย
คำว่า AUKUS ย่อมาจาก
Australia (AU)
United Kingdom (UK)
United States (US)
แต่รู้ไหมว่าสนธิสัญญา AUKUS ยังเกี่ยวข้องกับจีน และอาจทำให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคทะเลจีนใต้ระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน มากขึ้น
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร อ้างว่า การทำสัญญา AUKUS กับออสเตรเลีย เพราะอยากให้มีความปลอดภัยและสันติภาพ เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
แต่หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มองว่า สนธิสัญญานี้จะทำลายความสงบสุขในเอเชียมากกว่า เพราะอย่างที่รู้กันคือ สนธิสัญญานี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพออสเตรเลีย
การที่ออสเตรเลียได้เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ในครั้งนี้ ออสเตรเลียจะกลายเป็นประเทศที่ 7 ของโลก ที่มีเทคโนโลยีดังกล่าว
เรื่องทั้งหมดนี้ก็คงเป็นเพราะเหตุผลเบื้องหลังคือ สหรัฐฯ ต้องการคานอำนาจและท้าทายอิทธิพลของจีน ในเขตทะเลจีนใต้
แล้วสำหรับจีน มีมุมมองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ?
จีนกล่าวหลังจากทราบเรื่องดังกล่าวว่า สหรัฐฯ นั้นใจแคบ และไร้ความรับผิดชอบ ที่อาจนำพาให้ประเทศอื่นเข้าสู่ยุคสงครามเย็น
และที่ทำให้ทุกคนประหลาดใจ หลังจากการแถลงข่าวเรื่อง AUKUS ได้ 1 วัน รัฐบาลจีนเลยเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP ในทันที
แล้ว CPTPP คืออะไร ?
CPTPP คือ ข้อตกลงสำหรับประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเด็นเรื่อง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน และกฎหมายสิ่งแวดล้อม
จริง ๆ แล้ว CPTPP เกิดจากโมเดลของ TPP ที่สหรัฐฯ ออกแบบมา เพื่อกีดกันทางการค้ากับจีนโดยเฉพาะ ดังนั้นหลายคนคิดว่าจีนอาจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด CPTPP ได้เพราะติดเกณฑ์หลายเรื่องในข้อตกลง
แต่การที่จีนยอมเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP นี้ นอกจากจีนจะทำการโต้กลับเรื่อง AUKUS แล้ว จีนคงเห็นอะไรบางอย่างที่จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้
โดยก่อนหน้านี้ ในสมัยที่ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี สหรัฐฯ ได้ออกจากข้อตกลง TPP มาแล้ว ซึ่งการออกจากข้อตกลง TPP ในครั้งนั้นทำให้ขนาดเศรษฐกิจของประเทศทั้งหมดที่อยู่ในข้อตกลง ได้ลดลงจาก 27% ของ GDP โลก มาอยู่ที่ 15%
แต่การเข้ามาของจีนในครั้งนี้ จะทำให้ CPTPP มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 30% ของ GDP โลก และมีประชากรรวมเป็น 1,900 ล้านคน หรือ 25% ของประชากรโลกเลยทีเดียว
แต่เรื่องนี้คงต้องติดตามกันอีกยาว ว่าจีนจะเข้าร่วม CPTPP ได้หรือไม่
เพราะตอนนี้หลายประเทศที่อยู่ใน CPTPP ก็ยังคงทำตัวไม่ถูก เนื่องจากในข้อตกลงนี้มีแต่ประเทศที่เป็นมหามิตรของสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และแคนาดา ในขณะที่ จีนนั้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับสหรัฐฯ อย่างชัดเจน
ซึ่งน่าติดตามว่า พันธมิตรของสหรัฐฯ ในข้อตกลง CPTPP จะคิดเห็นอย่างไร ?
ประเทศสมาชิกใน CPTPP ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย มองว่าการเข้ามาใน CPTPP ของจีนเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคแปซิฟิกมากขึ้น
สำหรับญี่ปุ่นยังมีกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้กับจีน และนอกจากนั้นญี่ปุ่นเคยเจรจาเรื่อง CPTPP กับไต้หวันไว้ว่าจะยอมรับเข้าเป็นสมาชิก
ดังนั้นไต้หวันย่อมกังวลว่า ถ้าจีนได้เข้าร่วม CPTPP ไต้หวันจะถูกกีดกันในการเป็นสมาชิกของ CPTPP ในอนาคต
สำหรับออสเตรเลียเอง ก็ยังมีข้อพิพาทกับจีนเช่นกัน
โดยจีนได้เพิ่มอัตราการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย ซึ่งมีเจตนาเพื่อโต้กลับออสเตรเลีย หลังจากที่ออสเตรเลียเรียกร้องให้จีนออกมารับผิดชอบว่าเป็นต้นเหตุของโรคระบาดโควิด
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย อาจไม่มีอำนาจมากพอที่จะห้ามจีนเข้า CPTPP ได้
แต่ทั้ง 2 ประเทศก็คงใช้วิธีเน้นย้ำว่า จีนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ CPTPP ให้ได้
ที่น่าสนใจก็คือ พันธมิตรของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ได้อยู่ใน CPTPP อย่างสหราชอาณาจักร ก็ต้องการเข้าร่วม CPTPP เพื่อขายสินค้าเกษตรกับประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น หลังไม่มีข้อผูกมัดกับสหภาพยุโรปแล้ว
คำถามต่อไปก็คือ จีนจะปฏิบัติตามเกณฑ์ของ CPTPP ได้หรือไม่
โดยในข้อตกลง CPTPP จะเน้นเรื่องความเป็นเสรี และรัฐบาลต้องไม่ไปอุดหนุนรัฐวิสาหกิจเพื่อบิดเบือนตลาด
ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับรัฐบาลจีนเองที่มีแผนจะลดเงินสนับสนุนแก่รัฐวิสาหกิจ และดึงเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อผลักดันให้บริษัททำกำไรและดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังได้ประกาศเข้าร่วมพันธกรณีข้อตกลงปารีส และยุติโครงการสร้างโรงงานถ่านหินในต่างประเทศ เพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศและแก้ปัญหาโลกร้อน
ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการเข้าร่วม CPTPP ในประเด็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับจีน
อย่างไรก็ตาม จีนยืนยันว่าการเข้าร่วม CPTPP ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสนธิสัญญา AUKUS เพราะจีนต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มากกว่าจะผลักดันให้เกิดสงครามเหมือนสหรัฐฯ
แล้วสหรัฐฯ มีท่าทีอย่างไร หลังจีนต้องการเข้าร่วม CPTPP ?
การร่วมมือของสหรัฐฯ ทางการทหาร ผ่านสนธิสัญญา AUKUS อาจไม่พอที่จะหยุดอำนาจของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพราะสหรัฐฯ ยังขาดบทบาทการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในเอเชีย
ซึ่งนักธุรกิจ และสมาชิกในสภาคองเกรส ต้องการให้สหรัฐฯ กลับเข้ามาเป็นสมาชิก CPTPP ก่อนประเทศจีน เพื่อลดกำแพงภาษี และรองรับการเป็นสมาชิกของไต้หวันก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
แต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน อาจจะไม่เข้าร่วม CPTPP ในทันที จนกว่าการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือนโยบาย “Build Back Better” จะสำเร็จเสียก่อน
ซึ่งนโยบายนี้ กีดกันทางการค้าและเทคโนโลยีกับจีนในทางอ้อม ด้วยการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศและใช้สินค้าที่ผลิตโดยคนอเมริกัน
ซึ่งดูเหมือนว่า สงครามการค้า หรือ สงครามเทคโนโลยี ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตั้งแต่สมัยทรัมป์ ยังคงดำเนินต่อ เพียงแค่อยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไป
และสำหรับประเทศที่เหลือบนโลกใบนี้ ก็ยังต้องปรับตัวให้อยู่กับ 2 ขั้วทางการเมือง ที่ไม่น่าจะมีวันมาบรรจบกันได้อย่าง สหรัฐฯ และจีน ไปอีกนานเป็นทศวรรษ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.reuters.com/world/china/china-officially-applies-join-cptpp-trade-pact-2021-09-16/
-https://apnews.com/article/united-nations-general-assembly-joe-biden-6dd0382e93987500d714f9fa497602af
-https://www.bbc.com/news/world-asia-china-58647481
-https://www.posttoday.com/world/663460
-https://www.prachachat.net/economy/news-765984
-https://www.cnbc.com/2021/09/27/analysts-on-chinas-bid-to-join-cptpp-strategic-competition-with-us.html
-https://www.bbc.com/news/explainers-55858490
-https://www.globaltimes.cn/page/202109/1234584.shtml
-https://www.reuters.com/article/uk-davos-meeting-trade-truss-idUSKBN29Y14U
-https://www.cnbc.com/2021/01/11/control-risks-on-biden-administration-rejoining-tpp-trade-deal.html
-https://www.piie.com/blogs/trade-and-investment-policy-watch/chinas-cptpp-bid-puts-biden-spot
-https://www.economist.com/leaders/2021/09/25/america-is-at-last-getting-serious-about-countering-china-in-asia
-https://www.economist.com/leaders/2021/09/25/america-is-at-last-getting-serious-about-countering-china-in-asia
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過87萬的網紅Paul Pattarapon พอล ภัทรพล,也在其Youtube影片中提到,*** อัพเดทข้อมูลเรื่อง GDP ใหม่ครับ *** ในปี 63 คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ที่ 1.5-2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2.7-3.7% โดยมีปัจจัยหลัก คือ การระบาดของไ...
gdp คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
BREAKING: จีนเจอปัญหา ขาดแคลนไฟฟ้าหนัก กระทบการส่งมอบ สินค้าทั่วโลก
จีนกำลังเจอกับวิกฤติด้านพลังงาน ที่ทำให้ประเทศขาดแคลนไฟฟ้า และส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการผลิต และระบบซัปพลายเชนทั้งระบบ เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก
ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีต้นตอมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ
1) ทางการจีนต้องการลดมลพิษภายในประเทศ จึงได้ออกคำสั่งให้ 20 มณฑลของจีน จะต้องถูกตัดไฟบางส่วน เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นต้นเหตุของการสร้างมลพิษ
พร้อมกับขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดไฟ และลดการใช้ไฟฟ้า
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ที่ถูกสั่งให้ตัดไฟฟ้าบางส่วน ครอบคลุม GDP มากกว่า 66% ของประเทศ
และมาตรการนี้ ยังมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตสิ่งทอ, โรงงานอะลูมิเนียม
2) ราคาถ่านหินที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งก็เพราะปัญหาที่จีนกับออสเตรเลียมีข้อพิพาทระหว่างกัน ซึ่งเดิมออสเตรเลียเคยส่งออกถ่านหินให้จีนเป็นจำนวนมาก แต่ในตอนนี้จีนต้องพยายามจัดหาถ่านหินจากแหล่งอื่นแทน
ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านราคาไฟฟ้าของจีน ก็มีการควบคุมค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนและธุรกิจ ให้อยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้โรงงานไฟฟ้าขึ้นราคาได้ไม่มาก
จนทำให้โรงงานไฟฟ้าประสบปัญหาขาดทุนในทุก ๆ หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตออกมาได้
พอเรื่องเป็นแบบนี้จึงทำให้โรงงานไฟฟ้าเลือกที่จะชะลอการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสวนทางกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ต้องการสินค้าจากจีนในช่วงนี้
และนั่นก็เป็นที่มาของการขาดแคลนไฟฟ้าในประเทศจีนตอนนี้
ซึ่งถ้าถามว่า พลังงานไฟฟ้าจากการเผาถ่านหิน สำคัญกับจีนมากแค่ไหน ?
ก็ตอบได้เลยว่า คิดเป็นการผลิตพลังงาน 2 ใน 3 ของพลังงานที่จีนใช้ทั้งประเทศ..
ดังนั้น เรื่องนี้จึงกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ของจีน ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า, สิ่งทอ และของเล่น จะได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากในช่วงปลายปีนี้ เป็นฤดูแห่งการช็อปปิง
ซึ่งตามปกติแล้ว ตอนนี้ก็ควรมีการเร่งการผลิต เพื่อให้ผลิตสินค้าได้ทันเวลา และเพียงพอต่อความต้องการ
นอกจากนี้ ผลกระทบของวิกฤติขาดแคลนไฟฟ้านี้ ยังลามไปถึงโรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับบริษัทระดับโลก อย่าง Apple และ Tesla ด้วย
โดยเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ได้มีข่าวออกมาว่า ลูกค้าที่สั่งจอง iPhone 13 กับทาง Apple อาจต้องรอนานกว่า 1 เดือน
เนื่องจากติดปัญหาในระบบซัปพลายเชน ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากโรงงานในจีน ที่ลดกำลังการผลิตลง ตามมาตรการของทางการจีน ที่ต้องการลดมลพิษ
ทั้งนี้ ด้านผู้ผลิตในจีน ได้ออกมาเตือนว่ามาตรการที่เข้มงวดดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
เพราะพื้นที่แค่ 3 มณฑล ซึ่งได้รับผลกระทบต่อมาตรการดังกล่าว เช่น เจียงซู, เจ้อเจียง และกวางตุ้ง รวมกัน
ก็คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP ทั้งประเทศแล้ว
นอกจากนี้ การลดกำลังการผลิตของโรงงานในจีน จะทำให้ร้านค้าหลายแห่งทั่วโลก มีปัญหาในการจัดการสินค้าในสต็อก ทำให้ของขาดตลาด และอาจทำให้สินค้าแพงขึ้น จนเกิดเงินเฟ้อได้
ซึ่ง ณ ตอนนี้ ตลาดโลกก็จะเริ่มรู้สึกถึงการขาดแคลนสินค้าต่าง ๆ ตั้งแต่สิ่งทอ, ของเล่น, เสื้อผ้า ไปจนถึงชิ้นส่วนเครื่องจักร
เรียกได้ว่า ส่งผลกระทบต่อซัปพลายเชนทั้งระบบ ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม
แน่นอนว่าพอเรื่องเป็นแบบนี้ หลายสถาบันการเงิน จึงได้ออกมาปรับลดการคาดการณ์ GDP ของจีน ในปีนี้
เช่น ทางด้าน Nomura สถาบันการเงินของญี่ปุ่น ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ เป็น 3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.4%
ที่สำคัญคือ เรื่องนี้อาจส่งผลกระทบและลามมาถึงประเทศไทยด้วย
เพราะหากไปดูในปี 2020 ที่ผ่านมา มูลค่าสินค้าที่ไทยนำเข้าจากจีน สูงถึง 1.7 ล้านล้านบาท
โดยสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรต่าง ๆ
นอกจากนี้ ไทยยังมีสินค้าแฟชั่น ที่มีการนำเข้าจากจีนในปริมาณที่สูงมากเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าโรงงานในจีนลดกำลังการผลิตลง จนสินค้าในตลาดมีน้อยลง หรือขาดตลาด
และราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ก็จะกระทบต่อการนำเข้าของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พอเห็นแบบนี้ ก็ยิ่งต้องลุ้นกันต่อไป ว่ารัฐบาลจีนจะแก้ปัญหานี้อย่างไรบ้าง
และประเทศไทย จะได้รับผลกระทบแค่ไหนจากวิกฤติไฟฟ้าของจีนในครั้งนี้..
References
-https://www.bloomberg.com/news/newsletters/2021-09-28/supply-chain-latest-china-s-power-curbs-to-hit-global-economy
-https://www.reuters.com/technology/many-apple-tesla-suppliers-halt-production-china-amid-power-pinch-2021-09-27/
-https://www.straitstimes.com/business/economy/chinas-electricity-shock-is-latest-supply-chain-threat-to-world
-https://tradingeconomics.com/thailand/imports/china
gdp คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ?
Clubhouse BBLAM x ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง Theme การลงทุนพลังงานสะอาด หลายคนก็มักจะติดภาพความน่าเบื่อ และไม่ตื่นเต้น
แต่หลังจากที่ ลงทุนแมน ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คือ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง ในวันพุธที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา
ก็พบว่า Theme พลังงานสะอาด ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่หลายคนคิด นอกจากนั้นยังเป็น Theme ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก และยังเกี่ยวโยงกับหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตในอนาคต อีกด้วย
ความน่าสนใจของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังง่าย ๆ 9 ข้อ..
1. ทำไมกระแส ESG จึงกลายเป็นที่พูดถึงในตอนนี้ ?
พลังงานสะอาดคือ เทรนด์การลงทุนที่สำคัญมากในอนาคต และไม่ใช่แค่เทรนด์ระยะสั้น
สังเกตได้จากเม็ดเงินที่ไหลเข้ากองทุน ESG ทั่วโลกแตะ 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ อ่านว่า “1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” เป็นครั้งแรก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในยุโรป และการลงทุนใน ESG ยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย จึงเป็นหลักของการลงทุนที่เรียกว่า Green and Great Return
ถ้าเราลองมาดูผลตอบแทนของ กองทุน Pictet Global Environmental กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกองทุนหนึ่งที่ B-SIP เข้าไปลงทุน ก็ให้ผลตอบแทนดีในหลายไตรมาส
และหากลงทุนตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 2014 ก็จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14.92% ถือว่าทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในดัชนีโลกที่มีทั้ง ESG และไม่มี ESG ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 10%
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ก็เป็นเพราะว่าบริษัทที่ยึดหลัก ESG จะมีคุณภาพทั้งด้านรายได้ กำไร และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ดีกว่า บริษัททั่ว ๆ ไป
ทำให้สามารถกำหนดราคาสูงขึ้นได้ ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานได้ง่าย รวมทั้งยังมีโอกาสด้านต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกกว่า เสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และธนาคารปล่อยสินเชื่อง่ายกว่าอีกด้วย
2. ทำไม พลังงานสะอาด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก ?
สิ่งที่ทำให้ กองทุนบัวหลวงมองว่า พลังงานสะอาดจะไม่ใช่เทรนด์ระยะสั้น
ก็คือการสังเกตคลื่นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาแล้ว 5 คลื่นด้วยกัน นั่นคือ
- คลื่นที่ 1 คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- คลื่นที่ 2 คือ การเริ่มใช้พลังงานไอน้ำ
- คลื่นที่ 3 คือ การใช้รถยนต์แทนม้า
- คลื่นที่ 4 คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน
- คลื่นที่ 5 คือ โลกออนไลน์ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon, Netflix
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กินระยะเวลายาวนานหลายสิบปี และนำมาซึ่งกิจการขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น
แต่ในโลกอีก 25 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ และทั่วทั้งโลกกำลังเผชิญเหมือนกันอยู่ก็คือ “ภาวะโลกร้อน”
เพราะฉะนั้น คลื่นที่ 6 ก็คือ “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” ซึ่งจะเป็นหนึ่งเทรนด์ต่อจากนี้ไปอีก 25 ปี พร้อม ๆ กับ Robotics, Drones, AI, IoT สิ่งนี้เองที่จะเป็นแนวทางให้เราได้ว่า โลกในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน แล้วเราควรจะลงทุนอะไรต่อไป
3. สัญญาณสำคัญที่ชี้ว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงต้น คลื่นที่ 6 พลังงานสะอาด คืออะไร ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า Megatrends จะต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความร่วมมือระดับโลก
2. การเห็นด้วยจากรัฐบาล
3. ความร่วมมือภาคเอกชน
เมื่อครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เงินลงทุนก็จะหลั่งไหลมายังเทรนด์นั้น ๆ อย่างแน่นอน ซึ่งเทรนด์ ESG ตอนนี้มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบเรียบร้อยแล้ว
เริ่มต้นด้วยความร่วมมือระดับโลกคือ ข้อตกลง Paris Agreement จาก UN
ที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน
ต่อมาคือ การขานรับนโยบาย จากรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ
เราได้เห็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
- European Green Deal เพื่อที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2050
- European Climate Law กฎหมายที่พูดถึงการลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030
นอกจากนี้มหาอำนาจอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็ได้จัดตั้งแผนงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
- แผนที่ 1 วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
- แผนที่ 2 วงเงิน 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานพลังงานสีเขียว ซึ่งภายในปี 2035 สหรัฐอเมริกาตั้งเป้าจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 40% ของพลังงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน มหาอำนาจซีกโลกตะวันออกอย่าง “จีน” ที่แม้จะยังคงใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลัก แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2035 เป็นต้นไป
โดยล่าสุดประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ไว้ในแผนการพัฒนาประเทศฉบับที่ 14 ซึ่งจะลดการปล่อยคาร์บอนต่อสัดส่วนของ GDP ลง 65% และจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2030 อีกด้วย
หรือประเด็นรถยนต์ไฟฟ้า แม้ในปี 2020 ยุโรปขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.3 ล้านคน ขณะที่จีนขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.2 ล้านคัน แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจีนจะสามารถแซงหน้าและกินส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2025 ได้ไม่ยากเลย
4. แล้วภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมั่นใน Megatrends เรื่องพลังงานสะอาด แค่ไหน ?
ผลสำรวจของ UBS หรือธนาคารเพื่อการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์
ที่ได้สอบถามองค์กรต่าง ๆ ว่าอยากลงทุนใน Theme อะไรเป็นอันดับหนึ่ง
ปรากฏว่า 2 ใน 3 ตอบว่า จะลงทุนในพลังงานสะอาด เพราะเป็นปัญหาที่โลกเราต้องแก้ไข และยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย
ซึ่งหากลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อเทียบกับการลงทุนในพลังงานแบบเก่า
จะเห็นว่า ผลตอบแทนแตกต่างกันค่อนข้างมาก จุดนี้เองที่บอกว่ามันคือ Green and Great Return
นอกจากนี้กองทุนใหญ่ ๆ ก็ประกาศเข้ามาลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดเช่นกัน
เช่น Cathie Wood ผู้จัดการกองทุน ETF ARK
ประกาศว่าจะทำกองทุน ETF ใหม่ ที่ใช้ ESG Score ทั้งสามด้าน
คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
โดยจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ส่งผลดีต่อสังคม
ขณะเดียวกัน กองทุนมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีขนาด 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ประกาศหยุดการลงทุนในบริษัทที่ผลิตพลังงานฟอสซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งบริษัทผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Saudi Aramco ก็ประกาศลงทุนในพลังงานสะอาด
โดยลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ยังวางเป้าหมายประเทศว่าจะใช้พลังงานสะอาดให้ได้ 50% ภายในปี 2030 และจะไม่ได้ลงทุนแค่พลังงานลมและแสงอาทิตย์ แต่ยังลงทุนในพลังงานไฮโดรเจน อีกด้วย
5. แล้วอะไรคือ ความเสี่ยงของเทรนด์ ESG และพลังงานสะอาด ?
ความเสี่ยงของ ESG พลังงานสะอาดอย่างแรกคือ กองทุนที่เสนอขายเป็น ESG จริงหรือไม่ แล้วมีมาตรฐานขอบเขตการลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่ชัดเจนจริง ๆ หรือไม่
ความเสี่ยงที่สองคือ ต้องระวังว่าบริษัทที่เกี่ยวกับพลังงานสีเขียวนี้ มีราคาแพงไปแล้วหรือยัง มีฟองสบู่ที่เรียกว่า Green Bubble จากเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุน 1.65 แสนล้านในปี 2019 และอีกกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อยู่หรือไม่
ดังนั้น วิธีการลงทุนที่สำคัญ คือ การเลือกกองทุนที่ใส่ใจเรื่อง Valuation และใช้เรื่องมูลค่ามาเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญในการลงทุน
6. แล้วเราควรเลือกลงทุนใน ธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างไร ?
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง การทำการเกษตร ว่าจะสามารถ Green and Great Return ไปพร้อมกับการให้ผลตอบแทนที่ดีได้จริงหรือไม่
เริ่มต้นที่ Orsted บริษัทพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเดนมาร์ก เดิมทีเคยเป็นบริษัทพลังงานถ่านหินเก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1972 โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากฟอสซิล
จากนั้นในปี 2008 ก็พลิกธุรกิจครั้งใหญ่มาสู่เส้นทางพลังงานสะอาด โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานสีเขียว และเดินทางสู่การเป็นบริษัทพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้สำเร็จ
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF บริษัทพลังงานของไทย ก็ได้ร่วมลงทุนใน Orsted เช่นกัน เพราะมองเห็นนวัตกรรมของพลังงานลมที่ดีที่สุดในโลกของ Orsted โดย 1/3 ของพลังงานลมของโลก มาจากบริษัทนี้
ที่น่าสนใจก็คือ ราคาของพลังงานลม ถูกกว่า ราคาพลังงานของถ่านหินไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2018 และยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พลังงานลมและแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดในโลก
ในแง่ของ Green and Great Return อย่าง Orsted เริ่มเข้าตลาดปี 2016 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 96% ต่อปี
ขณะเดียวกันยังมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงปี 2050 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น
7. ธุรกิจพลังงานสะอาดที่ไม่พูดไม่ได้ในตอนนี้ ก็คือ EV ?
เราทราบดีอยู่แล้วว่า หนทางลดปัญหามลภาวะจากการใช้รถยนต์ก็คือ การหันมาใช้รถยนต์ EV หรือรถไฟฟ้า แต่สงสัยไหมว่า ทำไมเทรนด์นี้จึงกลายเป็นโอกาสลงทุนมหาศาลในอนาคต
จากข้อมูลคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ EV จะเพิ่มขึ้น 18 เท่าในอีกสิบปีข้างหน้า แสดงว่าอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ ปี ซึ่งในอนาคตรถยนต์ทั่วโลกจะกลายเป็นรถยนต์ EV อย่างน้อย 80%
เหตุผลก็เพราะว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเรื่อย ๆ สังเกตได้จาก ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ ที่มีราคาถูกลง 88% เมื่อเทียบกับสิบปีก่อน หากราคายังคงลดลงเรื่อย ๆ ก็เชื่อว่า ราคารถยนต์ EV และรถยนต์สันดาป จะมีระดับราคาใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ นโยบายของประเทศแถบยุโรปยังให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยจะยกเลิกการขายรถยนต์สันดาปแล้วจริง ๆ เช่น สวีเดน ประกาศยกเลิกในปี 2025 หรืออังกฤษ ก็ประกาศยกเลิกในปี 2035
พอเป็นแบบนี้ แบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เก่าแก่อย่าง Honda, Toyota หรือแบรนด์ใหม่อย่าง Tesla, BYD, XPeng แม้กระทั่งค่ายเก๋าอย่าง Harley-Davidson, Porsche ก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์รอบนี้ ทิศทางเงินลงทุนไม่ใช่แค่ส่วนของรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่จะไปถึง Supply Chain ต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น
- บริษัทผลิตแบตเตอรี่
- บริษัทชิป Semiconductor
- บริษัท Software ที่ทำ ADAS (รถยนต์ไร้คนขับ Autonomous Driving) และบริษัท Simulation ทำการจำลองการขับรถ
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างธุรกิจรถยนต์ EV ที่กองทุน B-SIP เข้าไปลงทุนกันบ้าง
XPeng อ่านว่า เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทรถยนต์ EV เน้นตลาดระดับกลางเเละระดับสูงในจีน ที่เรียกได้ว่าท้าชนกับ Tesla ได้เลย เช่น รถยนต์ EV รุ่น XPeng P7 ที่มีราคาเปิดตัวล้านกว่าบาท ชาร์จหนึ่งครั้งจะวิ่งได้ 700 กิโลเมตร โครงสร้างต่าง ๆ มาจากการออกแบบของวิศวกรที่มาจาก Apple, Tesla
XPeng ยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่าง 5G, AI ซึ่งตอนนี้ก็มีเทคโนโลยี Autonomous Driving เรียบร้อยแล้ว และยังใช้แบตเตอรี่ของ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่จีนที่ใหญ่ที่สุด ที่เพียงใช้เวลา 30 นาที ก็สามารถชาร์จได้ 80% อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ กองทุน B-SIP จึงไม่พลาดที่จะเข้าไปลงทุน IPO ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาดที่มี Green and Great Return เลยทีเดียว
8. นอกจาก พลังงานลม และรถยนต์ EV ยังมีธุรกิจไหนจะเป็นเทรนด์อนาคตได้อีกบ้าง ?
เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัว อย่างอาหารที่เรียกว่า “Beyond Meat” ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตอาหารคล้ายเนื้อที่ไม่ได้มาจากเนื้อจริง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องปัญหาดิน ปัญหาน้ำ และปัญหามลพิษ
โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก 2.8 พันล้านคน และจะตามมาด้วยปริมาณอาหารที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
หากเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าการปลูกพืชอย่างมาก เช่น การเลี้ยงวัว จะใช้ที่ดินมากกว่า 18 เท่า รวมทั้งใช้น้ำและพลังงานมากกว่า 10 เท่า และยังจะปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ออกมาจากร่างกายอีกด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยว่า สัดส่วน 79% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเกษตรมาจาก “การเลี้ยงสัตว์”
ปัจจุบัน Beyond Meat กำลังขยายฐานลูกค้าได้ดี สังเกตได้จากแบรนด์อาหารต่าง ๆ ที่หันมานำเสนอผลิตภัณฑ์จาก Beyond Meat มากขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา
เช่น แมคโดนัลด์, เอแอนด์ดับบลิว, Dunkin'
และยังกระจายไปตามร้านสะดวกซื้อ ที่เราสามารถซื้อกลับไปปรุงอาหารที่บ้านได้เองอีกด้วย
Beyond Meat กลายเป็นบริษัทที่น่าจับตามอง และเข้า IPO ในปี 2019 ที่มีมูลค่าบริษัท 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาในปีนี้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นสองเท่ากว่า ๆ ภายในสองปี นอกจากนี้ยังมีรายได้ปี 2020 เติบโต 36% อีกด้วย
นอกจากธุรกิจอาหารแล้ว ก็ยังธุรกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น
- Schneider Electric เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ลิฟต์ ที่มีการคำนวณการใช้งานแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งในอนาคตหากอาคารไหนเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ก็จะสามารถเรียกค่าเช่าสูงขึ้นได้
- Equinix เป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลก เป็นศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ ต้องใช้ไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน ปัจจุบันบริษัทสามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 92% ของพลังงานทั้งหมด
- Ansys เป็นบริษัทจำลองผล จำลองสถานการณ์สำหรับรถยนต์, เครื่องบิน และอื่น ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณการสูญเสียทรัพยากรในช่วงของการทดสอบ
เช่น Dyson แบรนด์เครื่องเป่าผมของผู้หญิง ทำให้แห้งเร็วขึ้นและดีขึ้น
Ansys เข้ามาช่วยคำนวณทิศทางลม, ลมแรง และค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยใช้ซอฟต์แวร์จำลองผลการทดสอบ ช่วยประหยัดทรัพยากร และประหยัดต้นทุนไปได้อย่างมาก
สรุปแล้ว แค่ Theme พลังงานสะอาดอย่างเดียว ก็ทำให้เราเห็นโอกาสของธุรกิจหลากหลายสาขา
ไม่ว่าจะเป็น การผลิตไฟฟ้าที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังงานลม
หรือจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ที่จะเปลี่ยนทั้ง EV Supply Chain
รวมทั้ง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น นั่นเอง
9. แล้วเราจะเข้าถึงโอกาสการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้อย่างไร ?
กองทุน B-SIP เป็นหนึ่งกองทุนเพื่อตอบโจทย์การลงทุนในพลังงานสะอาดโดยตรง และมีจุดเด่นด้วยสไตล์การลงทุนของกองทุนบัวหลวง ที่จะเฟ้นหาธุรกิจดีมีคุณภาพและเติบโต ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากกองทุนอื่นทั่วไป นั่นคือ
1. เน้นลงทุนธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคตที่เรียกว่า Green and Great Return นั่นเอง
2. มองว่าเทรนด์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด จะเป็น Megatrends ของโลกที่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น จึงเชื่อว่า Theme นี้มีความน่าสนใจและสามารถลงทุนระยะยาวได้
3. เปลี่ยนภาพจำว่า การลงทุนในพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นน่าเบื่อหรือหุ้นโครงสร้างพื้นฐานเสมอไป
เพราะการลงทุนของ B-SIP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเติบโต มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยี และยังคำนึงถึงการประเมิน Valuation ด้วย
ถ้าฉายภาพใหญ่ ๆ ก็คือ กองทุน B-SIP จะลงทุนทั้งในฝั่ง Global Environmental Opportunities และ Clean Energy นั่นเอง
โดยฝั่ง Global Environment จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 40% นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทอุตสาหกรรม, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเคมีภัณฑ์
ซึ่งจะมีรูปแบบลงทุน Active Management เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่า
ส่วนในฝั่งของพลังงานสะอาด จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 48% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม EV ทั้ง Supply Chain ราว 33% ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพราะเป็นผู้นำเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เช่น Orsted ธุรกิจพลังงานลมนอกชายฝั่งมากว่า 10 ปี มีเทคโนโลยีน่าสนใจ และยังมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก
ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนได้ว่า กองทุน B-SIP เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทุนใน Theme พลังงานสะอาดที่จะสร้างการเติบโตในระยะยาวได้แบบ Green and Great Return นั่นเอง..
gdp คือ 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的精選貼文
*** อัพเดทข้อมูลเรื่อง GDP ใหม่ครับ ***
ในปี 63 คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ที่ 1.5-2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2.7-3.7%
โดยมีปัจจัยหลัก คือ การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ปัญหาภัยแล้ง
และความล่าช้าของงบประมาณฯ ปี 63 ครับ
EP. นี้ผมจะมาคุยเรื่อง เศรษฐกิจไทยปี 2020 ว่าจะมีแนวโน้มอย่างไร ?!
จะร่วงหรือจะรอด ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา และคนที่ได้และเสียประโยชน์จากเรื่องนี้
คลิปนี้สำคัญมากครับ อยากให้ทุกคนได้รับชมไปพร้อมๆกันเลยครับ
ช่องทางการติดต่อ :
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCunVACpk7PRWB1tz1VrhrrA
Facebook : https://www.facebook.com/paulpattaraponofficial
Instagram : https://www.instagram.com/paulpattarapon
Website : https://www.paulpattarapon.com
สนใจติดต่อโฆษณา และทำวีดีโอ YouTube
โทร : 02-048-5705-9
Email : [email protected]
Powered by CastingAsia
#MoneyMatters #PaulPattarapon #เศรษฐกิจไทยปี2020
gdp คือ 在 หมอยุ่งอยากมีเวลา - GDP คืออะไร?? เวลาที่เราอ่านข่าวเกี่ยวกับ ... 的推薦與評價
GDP = Gross Domestic product = ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ คือ มูลค่าของระบบเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศนั้นๆ เป็นการดูที่เกิดขึ้นจากในประเทศเท่านั้น . สมการการคิดของ ... ... <看更多>
gdp คือ 在 GDP คืออะไร? - YouTube 的推薦與評價
GDP คือ อะไร?มาทำความเข้าใจ GDP แบบง่ายที่สุดกันFacebook: https://www.facebook.com/WealthMeUp Line: https://line.me/R/ti/p/%40wealthmeup ... ... <看更多>