กรณีศึกษา ทำไมคนญี่ปุ่น ชอบถือเงินสด มากกว่าลงทุนในหุ้น /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1878 หรือเมื่อ 143 ปีที่แล้ว และมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากกว่า 2,000 บริษัท ในปัจจุบัน
และรู้หรือไม่ว่า ต้นปี 2021 มูลค่าของตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นสูงกว่า 190 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
หลายคนอาจคิดว่า คนญี่ปุ่นคงชอบลงทุนในหุ้น มากกว่าสินทรัพย์อื่น
แต่ความจริงแล้ว กลับไม่เป็นเช่นนั้น..
แล้วคนญี่ปุ่นเมื่อมีเงินแล้ว พวกเขาเอาไปเก็บไว้ที่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เราลองมาเทียบกันดูก่อนว่า ส่วนใหญ่แล้วคนญี่ปุ่นชอบถือครองสินทรัพย์อะไร และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ในปี 2018 ครัวเรือนญี่ปุ่น ถือครองสินทรัพย์มูลค่ารวมกันกว่า 558 ล้านล้านบาท
โดยจำนวนนี้ ถ้าแบ่งตามสัดส่วนจะเป็น
- เงินสดและบัญชีเงินฝาก 52%
- ประกันและบำนาญ 28%
- หุ้นและกองทุนรวม 15%
- อื่น ๆ 5%
ที่น่าสนใจคือ เมื่อเทียบกับคนยุโรปและคนอเมริกัน ที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ต่อมูลค่าสินทรัพย์ถือครอง เท่ากับ 28% และ 31% ตามลำดับ
จึงแสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยสนใจการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมมากนัก และยังชอบถือครองเงินสด ด้วยการฝากเงินไว้ในธนาคารจำนวนมากอีกด้วย
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในญี่ปุ่นนั้น อยู่ในระดับที่ต่ำมาต่อเนื่องหลายปี แม้กระทั่งในปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณ 0%
คำถามสำคัญก็คือ ทำไมคนญี่ปุ่น ยังเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคารจำนวนมาก แทนที่จะนำเงินไปลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ?
เหตุผลที่อธิบายเรื่องนี้ สามารถสรุปออกมาได้ 3 ประเด็น คือ
1. ประสบการณ์ที่เลวร้ายจากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น
หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าสู่ระยะของการฟื้นฟูประเทศ ช่วงหลังจากนั้นเป็นต้นมา เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เติบโตแบบก้าวกระโดด
ในช่วงปี 1961-1971 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยกว่า 9% ต่อปี และเติบโตมาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงในช่วงทศวรรษ 1980
ในตอนนั้น ผลกำไรของบริษัทในญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และธนาคารหลายแห่งมีการปล่อยกู้ให้แก่บริษัทจำนวนมาก
การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ทั้งบริษัทและผู้คนในญี่ปุ่นต่างร่ำรวย จนเกิดการเข้าไปเก็งกำไรราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์
ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ดัชนี Nikkei ที่สะท้อนตลาดหุ้นญี่ปุ่น พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง จนเกือบแตะ 40,000 จุด ในปี 1989 จากระดับประมาณ 8,000 จุดในปี 1982
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.5% ในปี 1989 มาอยู่ที่ 6% ในปี 1990 เพื่อเพิ่มต้นทุนการกู้ยืม ไม่ให้เกิดการกู้ไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่าง ๆ
จนสุดท้าย เมื่อแรงเก็งกำไรเริ่มอ่อนลง ก็ถึงคราวฟองสบู่ลูกใหญ่ระเบิดออก
ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ และราคาอสังหาริมทรัพย์ ก็เริ่มปรับตัวลดลง และลดลงเรื่อย ๆ จนหลายคนเจ็บตัวอย่างหนักจากการลงทุน
วิกฤติฟองสบู่ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังจากนั้นมาหลายสิบปีแทบจะหยุดอยู่กับที่ และเป็นแบบนี้มาแล้วราว 3 ทศวรรษ
ซึ่งนี่เองเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก รู้สึกขยาดกับการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้น รวมทั้งยังปลูกฝังความคิดนี้มายังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อ ๆ มา จนถึงตอนนี้
2. ภาวะเงินเฟ้อฝืด
ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลโดยตรงต่อภาคครัวเรือน
รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของคนญี่ปุ่นนั้นลดลง จากการที่หลายคนต้องตกงาน ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า ในช่วงปี 1990-2020
ญี่ปุ่นประสบกับภาวะเงินฝืด (เงินเฟ้อติดลบ) ทั้งหมด 14 ปี
ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืด นั่นหมายความว่า ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะลดลง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ชาวญี่ปุ่นจึงเกิดแรงจูงใจในการถือเงินสด มากกว่าที่จะนำเงินออกไปใช้จ่าย หรือชะลอการใช้จ่ายออกไปก่อน เพราะพวกเขาเชื่อว่า ในอนาคตเงินจำนวนเท่าเดิมนั้นจะสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากกว่าในปัจจุบัน และนำเอาเงินไปฝากกับธนาคารไว้ก่อนนั่นเอง
3. ความรู้ ความเข้าใจด้านการเงิน ของคนญี่ปุ่น
หลายคนคงแปลกใจถ้าบอกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น มีคนจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ด้านการเงิน
ซึ่งเรื่องนี้ มีผลการสำรวจของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ประชาชนชาวญี่ปุ่นนั้นมีความรู้ด้านการเงินน้อยกว่าประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
การขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการเงิน ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก กลัวการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง และชอบในการเก็บเงินออมด้วยการฝากธนาคารที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
นอกจากนี้ โรงเรียนในญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องการลงทุนเท่าที่ควร โดยศาสตราจารย์ Nobuyoshi Yamori ที่สอนสาขาวิชาเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยโกเบ ระบุว่า
“โรงเรียนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น ใช้เวลาสอนเรื่องการเงินการลงทุนให้นักเรียนน้อยมาก ขณะที่ครูที่มาสอนวิชาดังกล่าวก็ไม่ได้รับการฝึกอบรม หรือมีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการเงินการลงทุนที่ดีมากนัก”
จึงทำให้เด็กญี่ปุ่นจำนวนมากขาดความรู้ด้านการเงิน ซึ่งส่งผลให้เมื่อทำงานมีรายได้แล้ว พวกเขาเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคาร มากกว่านำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ โดยเฉพาะหุ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะเข้าใจว่าทำไมที่ผ่านมา คนญี่ปุ่นจำนวนมากตัดสินใจถือเงินสด หรือฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างมากและไม่ค่อยชอบการลงทุนในหุ้นมากนัก ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่มีตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่าปัจจุบัน เงินเยนของญี่ปุ่น เป็นสกุลเงินที่ถูกใช้ซื้อขายบิตคอยน์มากที่สุดอันดับที่ 2 ของโลก เป็นรองเพียงแค่เงินดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเราอาจบอกได้ว่า แม้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก จะไม่ชอบสินทรัพย์เสี่ยงสูง และนิยมฝากเงินไว้ในธนาคาร
แต่ในทางกลับกันก็มีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย ที่หันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง อย่างบิตคอยน์
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.stat.go.jp/english/data/handbook/pdf/2020all.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tokyo_Stock_Exchange
-https://www.statista.com/statistics/710680/global-stock-markets-by-country/
-https://tradingeconomics.com/japan/deposit-interest-rate
-https://en.wikipedia.org/wiki/Demographics_of_Japan
-https://data.worldbank.org/country/JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decades
-https://www.statista.com/statistics/270095/inflation-rate-in-japan/
-https://www.fsa.go.jp/frtc/kenkyu/event/20150305/s3_2.pdf
-https://www.investopedia.com/tech/top-fiat-currencies-used-trade-bitcoin/
-https://globalriskinsights.com/2021/06/japans-cryptocurrency-market-set-to-bloom-or-wither/
同時也有42部Youtube影片,追蹤數超過13萬的網紅Susie Woo 戴舒萱,也在其Youtube影片中提到,**如果有不理解我的中文的部分,記得打開字幕喔! 今天的影片,我要來告訴大家如何讀 英國的新聞。 最近在英國今年的 A-level (普通教育高級程度證書) 的成績剛剛公布,但似乎出現了 "Grade Inflation" 的狀況,所以我選了一則相關的新聞文章,與大家分享如何讀英文新聞。 希望...
「inflation」的推薦目錄:
inflation 在 Facebook 的最讚貼文
<新聞> 耶倫警告美國財政部現金將在 10 月 18 日左右耗盡
日期出來了,10 月 18 日。
這是已經包含各種非常規措施,所以,在那之後,美國政府可能會有部分部門關閉。
這也是聯準會會把縮減購債日期訂在 11 月的原因。
雖然債務上限是每隔幾年就要吵的議題,
但也別以為順利通過或美國不會違約是理所當然的事情。
小心,別變成感恩節的火雞。
------------------------------
財政部長珍妮特·耶倫警告稱,除非採取立法行動暫停或提高聯邦債務限額,否則她的部門將在 10 月 18 日左右實際用完現金,從而迫使立法者避免美國債務違約。
“我們現在估計,如果國會沒有在 10 月 18 日之前採取行動提高或暫停債務限額,財政部可能會用盡其非常規措施,”耶倫週二在給國會領導人的一封信中說。“到那時,我們預計財政部將擁有非常有限的資源,這些資源將很快耗盡。不確定在那之後我們是否能繼續履行國家的所有承諾。”
inflation 在 Facebook 的最佳解答
<新聞> 美聯儲主席鮑威爾警告國會,通脹壓力可能比預期持續更長時間
其實,只要把 2% 通膨目標改成 3%,或 4% 就好啦。
反正當初的 2%,也是毫無來由給出的目標 :p
從上週的公開市場委員會,到鮑威爾的證詞,看起來聯準會可能準備要改口。
大家自己控制下風險啦。
------------------------------------
美聯儲主席杰羅姆鮑威爾在周二發表的講話中警告華盛頓立法者,近期通脹上升的原因可能比預期的持續時間更長。
在他將向參議院銀行委員會發表的講話中,央行主席表示經濟增長“繼續加強”,但由於供應鏈瓶頸和其他因素造成價格上漲壓力。
鮑威爾說:“通脹率升高,未來幾個月可能會保持這種態勢,然後才會緩和。” “隨著經濟繼續重新開放和支出反彈,我們看到價格面臨上行壓力,特別是由於某些行業的供應瓶頸。這些影響比預期的更大、持續時間更長,但它們會減弱,而且隨著它們的發生,通脹預計將回落至我們的長期 2% 目標。”
inflation 在 Susie Woo 戴舒萱 Youtube 的最讚貼文
**如果有不理解我的中文的部分,記得打開字幕喔!
今天的影片,我要來告訴大家如何讀 英國的新聞。
最近在英國今年的 A-level (普通教育高級程度證書) 的成績剛剛公布,但似乎出現了 "Grade Inflation" 的狀況,所以我選了一則相關的新聞文章,與大家分享如何讀英文新聞。
希望大家喜歡喔!
🔗新聞文章連結 ► https://bit.ly/3jJFdAQ
📧合作相關訊息請郵寄至 info@susiewoo.com
📌點擊了解更多 Susie 的英文線上課程 ► https://www.susiewoo.com
📌點擊加入 Susie 的線上英語課程訂閱計畫 ► https://www.susiewoo.com/zhtc-susie-subscription
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
加入 Susie Woo 戴舒萱 的 YouTube頻道會員:
https://www.youtube.com/channel/UC-IQGcGol7OOCH2B2Z8dUag/join
與我一起用英語討論不同議題,讓我聽見你的聲音。
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
關注我的IG
► https://www.instagram.com/susiewooenglish
支持我製作更好的內容
https://www.patreon.com/susiewoo
Clubhouse
► @susiewoo
Bilibili (B站)
► https://space.bilibili.com/696608344
#英國新聞 #英文新聞
inflation 在 好奇婆婆PoPoCurious Youtube 的最佳解答
受到疫情的影響又加上美國大量印鈔票,近幾個月加州通貨膨漲反映在房市跟物價
加氣油時明顯可感覺與去年的價位差了一截
婆婆實地了解當地超市,到底生活物資有沒有真的漲幅
大洛杉磯地區通貨膨漲讓市民苦不堪言,也成為政治話題,促使多數家庭生活困難
因為高物價可能會影響資產價值和企業獲利,並限制消費者購買力
怕未來無家可歸人士會越來越多
inflation 在 ลงทุนแมน Youtube 的最佳解答
ภาวะที่เรียกว่า “Stagflation” หรือ ภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย แต่ราคาสินค้ากลับแพงขึ้น กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่?
ความเป็นไปได้ของเรื่องนี้ มีมากขนาดไหน ?
แล้วถ้ามันเกิดขึ้นจริง เราจะต้องเผชิญกับอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมน ลงทุนในความรู้
การลงทุนในความรู้ไม่มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรกด”Subscribe”ลงทุนแมนไว้ในทุกช่องทาง
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website -https://www.longtunman.com/
Blockdit - https://www.blockdit.com/longtunman
Facebook - http://facebook.com/longtunman
Twitter - http://twitter.com/longtunman
Instagram - http://instagram.com/longtunman
Line - http://page.line.me/longtunman
YouTube -https://www.youtube.com/longtunman
Spotify - https://open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Soundcloud - http://soundcloud.com/longtunman
Apple Podcasts - http://podcasts.apple.com/th/podcast/...
Clubhouse - @longtunman
#ลงทุนแมน #ห้องประชุมลงทุนแมน #ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง #BREAKTHROUGH #THEBRIEFCASE #longtunman #ลงทุนแมนORIGINALS #ลงทุนเกิร์ลTALK #ลงทุนเกิร์ล
inflation 在 Should Investors Prepare for Inflation or Hyperinflation? 的推薦與評價
Record fiscal stimulus and a dovish Fed has increased the U.S. money supply to unheard-of levels. This has ... ... <看更多>