จีนปรับ Tencent และอีกหลายบริษัทในจีน เพื่อต่อต้านผูกขาดการค้า แต่ปรับเพียงบริษัทละ 5 แสนหยวน (ราว 2.5 ล้านบาท) น้อยกว่ากรณี Alibaba เพราะเห็นว่า "ไม่ได้กีดกันการแข่งขันและผูกขาดเท่า Alibaba"
.
หลังจากเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลจีนลงดาบ สั่งปรับ Alibaba ยักษ์ใหญ่ E-commerce จีน ในข้อหา “ผูกขาดทางการค้า” เป็นเงินสูงถึง 1.82 หมื่นล้านหยวน ซึ่งคิดเป็น ราว 4% ของยอดขายปี 2019 และในตอนนั้นก็มีเสียงบนโลกออนไลน์จีนจำนวนไม่น้อยตั้งคำถาม “บริษัทจีนรายใหญ่เจ้าอื่นๆ จะโดนลงดาบเหมือนกับ Alibaba หรือไม่?”
.
วันนี้เริ่มมีคำตอบจากทางการจีนแล้วครับ เมื่อสำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ (State Administration for Market Regulation – SAMR) สั่งปรับ Tencent (บริษัทแม่ของ WeChat) , DiDi (แพลตฟอร์มเรียกรถรายใหญ่ในจีน) และ Suning บริษัทค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ รวมถึงอีกหลายบริษัท รวมๆก็ทั้งหมด 11 บริษัท เป็นเงินบริษัทละ 500,000 หยวน (ราว 2.5 ล้านบาท) เนื่องจากทำผิดกฎหมายผูกขาดทางการค้า
.
แต่สาเหตุที่ค่าปรับถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่ Alibaba โดนปรับเกือบ 2 หมื่นล้านหยวน ทางการจีนมองว่า บริษัทเหล่านี้ ทำผิดเกี่ยวกับการขออนุมัติจากทางการและการยื่นเอกสารเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อการแข่งขันทางการค้าเหมือนกับกรณีของ Alibaba
.
อย่างเช่น Tencent โดนปรับเนื่องจากเข้าซื้อกิจการอื่น โดยไม่ได้รายงานและขออนุมัติจากทางหน่วยงานของทางการจีนที่มีอำนาจดูแลรับผิดชอบส่วนนี้ ขณะที่ DiDi โดนปรับเพราะไม่ได้ขออนุมัติจากทางการจีน เกี่ยวกับการร่วมทุน คล้ายกับกรณีของ Tencent
.
ทั้งนี้ อาจจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินกรณีผูกขาดทางการค้าของบริษัทเหล่านี้รวมถึงบริษัทอื่นๆในจีนออกมาอีก เพราะตอนนี้จีนกำลังลุยอย่างหนักในการแก้ปัญหาผูกขาดทางการค้า และเมื่อธันวาคม ปีที่แล้ว (2020) ทาง Alibaba และ Tencent ก็โดนปรับไปแล้ว 500,000 หยวนเช่นกัน ในกรณีเดียวกับครั้งนี้ คือ ไม่ได้ระบุและแจ้งทางการให้ชัดเจนในการเข้าซื้อกิจการ ก่อนที่ Alibaba จะโดนปรับหนักหลักหมื่นล้านหยวนเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ และ Tencent ก็โดนปรับอีกครั้งในกรณีเดิม เงินเท่าเดิม ตามที่เล่าไปข้างต้นครับ
.
อ้ายจงอ้างอิงจาก
https://www.globaltimes.cn/page/202104/1222529.shtml
https://www.scmp.com/tech/big-tech/article/3131818/tencent-didi-chuxing-other-internet-firms-slapped-fine-antitrust
https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/big-chinese-firms-fined-over-anti-monopoly-law
https://www.cnbc.com/2020/12/14/alibaba-and-two-other-firms-fined-for-not-reporting-deals-to-chinese-regulators-.html
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「monopoly คือ」的推薦目錄:
- 關於monopoly คือ 在 อ้ายจง Facebook 的最佳解答
- 關於monopoly คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於monopoly คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於monopoly คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於monopoly คือ 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於monopoly คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於monopoly คือ 在 ตลาดผูกขาด (Monopoly)... - Parliamentary Budget Office: PBO 的評價
- 關於monopoly คือ 在 EC210 - ตลาดผูกขาด (Monopoly) - YouTube 的評價
- 關於monopoly คือ 在 บริษัทไอที Google, Facebook, Amazon มีอิทธิพลมากเกินไป ... 的評價
monopoly คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
"ประเภทของรายได้สาธารณะ"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง
วันนี้ขออธิบายกฎหมายการคลังเกี่ยวกับรายได้สาธารณะหรือรายได้ของรัฐซึ่งมีการแบ่งประเภทของรายได้สาธารณะแบบหยาบ ๆ ออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. รายได้ที่มาจากภาษีอากร
2. รายได้ที่ไม่ได้มาจากภาษีอากร
การใช้จ่ายรายได้ ทั้ง 2 อย่างนี้ จะมีผลกระทบต่อ ระบบเศรษฐกิจ และสังคม แตกต่างกัน
คำถาม รัฐ กับ เอกชน อาจมีรายได้ มาจากที่ใด แตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ มีทั้งเหมือน และ ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ
1. รายได้ที่มีที่มาจากภาษีอากร
ภาครัฐเท่านั้น ที่มีรายได้จากภาษีอากร ภาคเอกชน ไม่สามารถมีรายได้จากภาษีอากรได้
(จะขออธิบายรายละเอียดในครั้งต่อไป)
2. รายได้ที่ไม่ได้เกิดภาษีอากร
รายได้ที่ไม่ได้เกิดภาษีอากร มีดังนี้
2.1 รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ทั้งภาครัฐ / เอกชนมีได้
รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ทั้งภาครัฐ / เอกชนมีได้เช่น การนำทรัพย์สินให้เช่าหาประโยชน์ได้ เหมือนเอกชน เช่นที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ กค. เป็นผู้ดูแล รายได้ประเภทนี้เกิดจากสัญญาต่างตอบแทน เช่นเดียวกับเอกชน ราคาที่กำหนดก็เป็นราคาตลาด ที่คำนวณต้นทุน กำไร ในราคาทั่ว ๆ ไป
รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินประเภทที่ภาคเอกชนไม่อาจมีได้ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ , ป่าไม้ หรือ แร่ธาตุ รัฐอาจนำทรัพย์สินประเภทนี้ออกมาให้บุคคลใช้ประโยชน์ โดยผู้ได้ใช้ประโยชน์ จะต้องให้สิ่งตอบแทนแก่รัฐ ราคานี้ไม่สามารถคำนวณต้นทุนได้ แต่สามารถประเมินได้ว่า ถ้าได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนี้แล้ว จะหาประโยชน์ได้จำนวนเท่าใด
รัฐจะใช้วิธีการให้เอกชน “ประมูล” หลังจากประมูลแล้ว ก็จะมีการทำสัญญาสัมปทาน ซึ่งแตกต่างจาก สัญญาทางแพ่งทั่วไป ซึ่งเรียกว่า “นิติกรรมทางปกครองหลายฝ่าย” หรือ “สัญญาทางปกครอง” ซึ่งจะมีลักษณะพิเศษ สรุปได้ดังนี้
รัฐ มีฐานะเหนือว่าเอกชน ไม่เสมอภาคกัน
รัฐ มีเอกสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว แต่รัฐต้องชดเชยความเสียหาย
รัฐ เป็นฝ่ายกำหนดนโยบายฝ่ายเดียว เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาได้ฝ่ายเดียว เอกชนไม่มีสิทธิ์
สำหรับ “ค่าตอบแทน” ที่รัฐได้รับอาจเรียกว่า ค่าพาทหลวง(ไม้) ,อากร(รังนกนางแอ่น)
ข้อจดจำ ภาษี เกิดจาก รัฐออก กม.บังคับให้เอกชนจ่าย แต่ อากร คือ เอกชนได้ทำสัญญากับรัฐ แล้วได้แสวงประโยชน์จากรัฐ ( แต่ของประเทศไทยใช้ 2 คำนี้ปะปนกันจนแยกไม่ออกแล้ว )
2.2 รายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการพาณิชย์
รายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการพาณิชย์ ไทยเรียกว่า “รัฐพาณิชย์” ปัจจุบัน เรียกว่า “รัฐวิสาหกิจ” รายได้พวกนี้ อาจมีลักษณะ ที่เกิดจากสัญญาทางแพ่ง และ ไม่ใช่สัญญาทางแพ่ง เช่น องค์การมหาชน ที่ผลิตสินค้า/บริการ แข่งกับภาคเอกชน ตัวอย่าง องค์กรแบตเตอรี่ / องค์การฟอกหนัง เป็นการแสวงหากำไรเช่นเดียวกับเอกชน แต่แตกต่างกับเอกชน คือ เงินทุนเป็นของรัฐบาล แต่มีการจัดตั้งองค์การโดย กม. (กม.มหาชน และ/หรือ กม.แพ่ง )
การแบ่งประเภทของรัฐวิสาหกิจ
1. รัฐวิสาหกิจที่มุ่งหากำไรฝ่ายเดียว โดยการผูกขาดเฉพาะภาษี ( monopoly) เช่น การผลิตบุหรี่ เป็นการผูกขาดโดยรัฐ ตาม กม.สรรพสามิต ทั้งนี้ ธรรมชาติของสิ่งเสพย์ติด จึงจำเป็นที่รัฐต้องผูกขาด และมีลักษณะผูกขาดที่เป็น
1) การแสวงหากำไรสูงสุด
2) การเก็บภาษีซ้ำอีกรอบหนึ่ง
ทั้งนี้เพราะ รายได้พวกนี้ ก่อให้รัฐเกิดรายจ่ายสาธารณะ โดยเฉพาะในด้านการสาธารณสุข ที่ต้องนำกลับมารักษาคนที่ป่วยจากบุหรี่มาก
นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่าง เช่น สลากกินแบ่ง ที่มีลักษณะเป็นการพนัน รัฐจึงต้องผูกขาด
2. รายได้จากรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการ ให้บริการสาธารณะ รัฐอาจแสวงหากำไรจาก
กิจการประเภทนี้ได้ ขึ้นอยู่กับขอบเขตพื้นที่การให้บริการได้กว้างขวางเพียงใด ในกรณีที่รัฐไม่สามารถจัดทำได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ รัฐก็จะเก็บเงินค่าบริการจากผู้รับบริการ เพื่อเป็นการลดช่องว่างของโอกาสในการเข้ามารับบริการสาธารณะเหล่านั้น โดยเฉพาะคนชนบทที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการฯ ก็ไม่ต้องจ่ายเงิน เป็นต้น เช่น การประปา ,ไฟฟ้า โดยปกติ รัฐไม่ได้กำหนดราคาเพื่อแสวงกำไร แต่กำหนดราคาตามปริมาณการใช้ คนใช้น้อย แสดงว่ารายได้น้อย ก็คิดอัตราต่ำ ถ้าใช้มาก ก็คิดอัตราก้าวหน้า รัฐฯ ได้กำไรจากส่วนนี้
รัฐวิสาหกิจ บางอย่าง โดยธรรมชาติ ต้องขาดทุน เช่น การจัดตั้งองค์การส่งเสริมโคนม รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมให้ เพื่อให้ประชาชนได้ดื่มน้ำนมราคาถูก และส่งเสริมให้คนผลิตน้ำนมได้ภายในประเทศ จึงต้องซื้อวัวนมพันธ์ดีราคาแพงมาจากต่างประเทศ สิ่งนี้รัฐต้องลงทุนเสมอ และขาดทุนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นเรื่องที่ล้มเหลว
การวัดประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ
1.กำไรสูง ** ความจริงไม่ใช่สิ่งที่ใช้วัดได้อย่างถูกต้อง เช่น รง.ยาสูบ ได้กำไรปีละ 4,000 ล้านบาท แต่ให้เงินเดือนคนขับรถ แพงมาก ( สูงสุดประมาณ 30,000 บาท) เป็นต้น
2.ต้นทุนต่ำ** แม้ไม่มีกำไร แต่ต้นทุนต่ำ ก็ถือว่ามีสิทธิภาพได้
รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย หรือความมั่นคงประเทศ เช่น กิจการน้ำมันเชื้อเพลิง รัฐต้องเข้าไปดำเนินการเอง อาจเข้าไปบางส่วน หรือ ทั้งหมดก็ได้ แล้วแต่กรณี
สาเหตุที่ต้องจัดตั้ง องค์การรัฐวิสาหกิจ เดิม กิจการบริการสาธารณะ ทำในรูปกระทรวง,ทบวง,กรม เช่น กรมรถไฟ แต่มีปัญหาติดขัดในการบริหาร และการแข่งขันทางธุรกิจ เช่น งบประมาณ ต้องขออนุมัติต่อรัฐสภา เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องแยกให้เป็นองค์การที่มีอิสระทางการเงิน ( Financial Autonomy)
วิธีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มี 3 + 1 วิธี คือ
ก. การจัดตั้งโดย กม.
1. จัดตั้ง โดย พรบ.** มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. จัดตั้ง โดย พรฎ. โดยอาศัย พรบ.การจัดตั้งองค์การรัฐบาล (2525) เป็นนิติ
บุคคล
3.จัดตั้งโดย งบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน ให้เป็นทุนหมุนเวียน ทำให้เกิดองค์การพิเศษขึ้นในการดำเนินตามที่รัฐสภาอนุมัติ แต่องค์การพวกนี้ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และ รง.ยาสูบ ก็เป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงการคลัง แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่นกัน
ข. องค์การรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้ง ตาม ปพพ. มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัดมหาชน
หมายเหตุ จุดมุ่งหมายของการบรรยาย คือ ต้องการให้ทราบว่า Public Enterprise หรือ รัฐวิสาหกิจ นั้น จะมี Financial Autonomy สามารถใช้เงินและบริหารเงินได้อย่างเป็นอิสระ
2.3 ค่าธรรมเนียมทางปกครอง
รายได้สาธารณะอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ได้แก่ ค่าธรรมเนียมทางปกครอง เมื่อรัฐ มีรายได้ รัฐอาจนำไปในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยรัฐอาจทำในรูป
1. การให้เปล่า เช่น ทหาร ตำรวจ ศาล ส่วนใหญ่ก็จะมาจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชน
2. การเก็บใช้จ่ายตอบแทน เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมที่เก็บจากประชาชนที่เข้ารับ
การศึกษา ( ซึ่ง รัฐก็จะเก็บค่าธรรมเนียมต่ำกว่า ราคาตลาดมาก
วัตถุประสงค์ของการเก็บค่าธรรมเนียม
1. เพื่อลดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้มีโอกาส กับ ผู้ไม่มีโอกาส ในการเข้าเรียน เพราะบางคนอาจไม่มีโอกาสเข้าเรียน จากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ,สติปัญญา และ รัฐเองก็ไม่มีความสามารถจะจัดการศึกษาแก่ประชาชนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ( การเรียนในระดับสูง จำนวนคนเรียนจึงมีลักษณะเป็นปิรามิด )
2. เป็นการลงโทษผู้ที่ได้รับการบริการจากรัฐแบบเบา ๆ กรณีที่เกี่ยวกับการศึกษา จะเห็น
ได้ว่า แต่ละปี รัฐจะต้องจ่ายเงินสนับสนุนแก่สถานศึกษาของรัฐจำนวนสูงมาก ค่าธรรมเนียมการศึกษามีมูลค่าน้อยมากไม่เพียงพอ ถ้ามี น.ศ.เรียนตก ต้องเรียนหลายปีกว่ากำหนด ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มกว่าบุคคลที่ศึกษาจบตามเกณฑ์กำหนด
จุดอ่อนจุดแข็งของค่าธรรมเนียมทางปกครอง
จุดอ่อน
1. ค่าธรรมเนียมทางปกครองที่รัฐเก็บ เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารงานเกี่ยวกับเรื่องที่
ประชาชนมาขอรับบริการจากรัฐ อาจมีมูลค่าต่ำกว่าต้นทุนที่รัฐต้องนำไปใช้ในการบริหารงาน เช่น การขออนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ ยา รัฐจะต้องตรวจสอบก่อนว่า ยานั้นปลอดภัยหรือไม่ สมมุติว่า รัฐกำหนดค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตนำเข้ายา 1,000 บาท แต่รัฐอาจต้องใช้จ่ายเงินจำนวน 5,000 บาท ในการตรวจสอบยานั้นก่อน ซึ่งรัฐก็จะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากสำหรับการดำเนินการดังกล่าว
2. ค่าธรรมเนียมฯ ขาดความยืดหยุ่นในการจัดเก็บ ไม่สามารถเรียกเก็บเพิ่มได้ ตามค่า
ของเงินที่เปลี่ยนแปลงไป ต่างจากภาษีอากร เช่น VAT = 7 % ราคาสินค้าเท่าใด ก็เก็บได้ตามอัตรากำหนด แต่การเก็บค่าธรรมเนียมฯ ต้องไปแก้ไข กฎกระทรวงฯ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เสียก่อน หน่วยงานของรัฐ ไม่สามารถออกระเบียบภายใน เพื่อเรียกเก็บตามใช้ค่าจ่ายตามความเป็นจริงได้
จุดแข็ง
1. ค่าธรรมเนียมฯ ประชาชนจะไม่ต่อต้าน เพราะ ค่าธรรมเนียมนั้น ประชาชนได้รับ
ประโยชน์จากการมาขอรับบริการจากรัฐโดยตรง จากการเสียค่าธรรมเนียมนั้น ต่างจาก ภาษี ที่ประชาชนจะไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นการโดยตรงเฉพาะราย แต่รัฐต้องจัดภาษีนำไป ทำ. ประโยชน์นั้นให้แก่ประชาชนโดยเสมอภาคกัน
2. รัฐสามารถเก็บค่าธรรมเนียมได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ผู้คนไม่คิดจะหลีกเลี่ยง เพราะตนได้ประโยชน์โดยตรงอยู่แล้ว
ความแตกต่าง ระหว่าง ภาษีอากร กับ ค่าธรรมเนียมทางปกครอง
1. บุคคลที่เสียภาษี ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยตรงเป็นการเฉพาะราย แต่สำหรับ
ค่าธรรมเนียมทางปกครอง รัฐจะจัดเก็บจากประชาชนที่มาขอรับบริการโดยตรง ซึ่งประชาชนเหล่านั้นจะได้รับประโยชน์จากรัฐโดยตรงเป็นการเฉพาะราย
2. การจัดเก็บภาษีอากร รัฐจะใช้อำนาจบงการ โดยต้องออก มาเป็น กม.ว่าด้วยการเก็บ
ภาษี ทั้งนี้จะคิดจากความสามารถในการหารายได้ของประชาชน มีรายได้มาก ก็จะต้องจ่ายภาษีมาก
การเก็บค่าธรรมเนียมทางปกครอง นั้น รัฐเก็บจากประชาชนที่มาขอรับบริการจากรัฐ โดยรัฐจะคำนวณจากปริมาณการมาขอใช้บริการ ทั้งนี้ ถือเป็นอำนาจของฝ่ายปกครองโดยตรง ที่สามารถออกระเบียบการเก็บค่าธรรมเนียมโดยออกมาเป็น กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียม ไม่ต้องออก กม.โดยผ่านรัฐสภาแต่อย่างใด และในการกำหนดค่าธรรมเนียมทางปกครองนั้น จะกำหนดเท่ากัน ไม่ว่าประชาชนที่มาขอบริการนั้น จะมีรายได้เท่าใด ก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเท่ากัน
monopoly คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
รายได้สาธารณะ
เมื่อพูดถึงรายรับของรัฐ ในทางการคลัง จะหมายถึง รายได้ 2 ประเภท
1. รายได้สาธารณะ ในอดีต เรียกว่า รายได้ที่แท้จริง รัฐ รับมาแล้วไม่มีพันธะไปใชอย่างอื่น
2. หนี้สาธารณะ ซึ่ง
ต้องย้อนกลับไปดู Concept ของทางการคลัง คือ สำนัก Classic กับ สำนักปัจจุบัน ในทางการคลัง จะศึกษาว่า เราควรจะกำหนดประเภทของรายจ่ายสาธารณะ ว่าควรจะนำเงินมาใช้จากรายได้สาธารณะประเภทใด
สำหรับ สำนัก Classic
รายจ่ายสาธารณะ ในทางเศรษฐกิจ มี 2 ประเภท คือ
1. รายจ่ายประจำ หรือ รายจ่ายสามัญ ได้แก่ ตำรวจ ทหาร ศาล ซึ่งเป็นรายจ่ายที่จำเป็น
และไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้รัฐ ควรจะนำรายได้ฯ นี้มาใช้จ่าย จากการเก็บภาษีเอกชน ไม่ควรนำมาจากการกู้หรือหนี้สาธารณะ
2. รายจ่ายวิสามัญ ในอดีต เรียกว่า รายจ่ายวิสามัญ ซึ่งได้แก่ รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย
เมื่อมีเหตุอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ไม่ได้ลงทุนแต่อย่างใด และจะต้องไม่ใช้งบนี้จาก ภาษีฯ ของเอกชน
สำหรับสำนักปัจจุบัน จะแบ่งงบประมาณ เป็น 2 ประเภท
1. รายจ่ายประจำ ได้แก่ รายจ่ายด้านเงินเดือน ฯ ควรนำมาจาก รายได้สาธารณะประเภท
ภาษี
2. รายจ่ายด้านการลงทุน ได้แก่ งบเพื่อการพัฒนาประเทศ ฯ ควรนำมาจากการกู้ยืม
นโยบายการคลัง จะพยายามใช้จ่ายจากหนี้สาธารณะ แม้จะมีรายได้จากภาษีเพียงพอ เพราะถ้าใช้จ่ายจากหนี้สาธารณะ อาจส่งผลดีต่อสังคมโดยส่วนรวมมากกว่าเงินจากการเก็บภาษีอากร
ข้อสำคัญ รายจ่ายฯ จะพิจารณาใช้งบประมาณจากส่วนใด คือ จากหนี้สาธารณะ หรือ รายได้สาธารณะ นั้น เป็นที่ยอมรับว่า จะส่งผลกระทบต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน มีผลดีผลเสียแตกต่างกัน แต่จะใช้จากงบประมาณส่วนใด ขึ้นอยู่สภาวะที่เหมาะสมด้วย
ประเภทของรายได้สาธารณะ
ประเภท ของรายได้ แบ่งหยาบ ๆ ได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. รายได้ที่มาจากภาษีอากร
2. รายได้ที่ไม่ได้มาจากภาษีอากร
การใช้จ่ายรายได้ ทั้ง 2 อย่างนี้ จะมีผลกระทบต่อ ระบบเศรษฐกิจ และสังคม แตกต่างกัน
คำถาม รัฐ กับ เอกชน อาจมีรายได้ มาจากที่ใด แตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ มีทั้งเหมือน และ ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ
1. รายได้ที่มีที่มาจากภาษีอากร
ภาครัฐเท่านั้น ที่มีรายได้จากภาษีอากร ภาคเอกชน ไม่สามารถมีรายได้จากภาษีอากรได้
2. รายได้ที่ไม่ได้เกิดภาษีอากร
รายได้ที่ไม่ได้เกิดภาษีอากร มีดังนี้
2.1 รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ทั้งภาครัฐ / เอกชนมีได้
รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ทั้งภาครัฐ / เอกชนมีได้เช่น การนำทรัพย์สินให้เช่าหาประโยชน์ได้ เหมือนเอกชน เช่นที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ กค. เป็นผู้ดูแล รายได้ประเภทนี้เกิดจากสัญญาต่างตอบแทน เช่นเดียวกับเอกชน ราคาที่กำหนดก็เป็นราคาตลาด ที่คำนวณต้นทุน กำไร ในราคาทั่ว ๆ ไป
รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินประเภทที่ภาคเอกชนไม่อาจมีได้ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ , ป่าไม้ หรือ แร่ธาตุ รัฐอาจนำทรัพย์สินประเภทนี้ออกมาให้บุคคลใช้ประโยชน์ โดยผู้ได้ใช้ประโยชน์ จะต้องให้สิ่งตอบแทนแก่รัฐ ราคานี้ไม่สามารถคำนวณต้นทุนได้ แต่สามารถประเมินได้ว่า ถ้าได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนี้แล้ว จะหาประโยชน์ได้จำนวนเท่าใด
รัฐจะใช้วิธีการให้เอกชน “ประมูล” หลังจากประมูลแล้ว ก็จะมีการทำสัญญาสัมปทาน ซึ่งแตกต่างจาก สัญญาทางแพ่งทั่วไป ซึ่งเรียกว่า “นิติกรรมทางปกครองหลายฝ่าย” หรือ “สัญญาทางปกครอง” ซึ่งจะมีลักษณะพิเศษ สรุปได้ดังนี้
รัฐ มีฐานะเหนือว่าเอกชน ไม่เสมอภาคกัน
รัฐ มีเอกสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว แต่รัฐต้องชดเชยความเสียหาย
รัฐ เป็นฝ่ายกำหนดนโยบายฝ่ายเดียว เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาได้ฝ่ายเดียว เอกชนไม่มีสิทธิ์
สำหรับ “ค่าตอบแทน” ที่รัฐได้รับอาจเรียกว่า ค่าพาทหลวง(ไม้) ,อากร(รังนกนางแอ่น)
ข้อจดจำ ภาษี เกิดจาก รัฐออก กม.บังคับให้เอกชนจ่าย แต่ อากร คือ เอกชนได้ทำสัญญากับรัฐ แล้วได้แสวงประโยชน์จากรัฐ ( แต่ของประเทศไทยใช้ 2 คำนี้ปะปนกันจนแยกไม่ออกแล้ว )
2.2 รายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการพาณิชย์
รายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการพาณิชย์ ไทยเรียกว่า “รัฐพาณิชย์” ปัจจุบัน เรียกว่า “รัฐวิสาหกิจ” รายได้พวกนี้ อาจมีลักษณะ ที่เกิดจากสัญญาทางแพ่ง และ ไม่ใช่สัญญาทางแพ่ง เช่น องค์การมหาชน ที่ผลิตสินค้า/บริการ แข่งกับภาคเอกชน ตัวอย่าง องค์กรแบตเตอรี่ / องค์การฟอกหนัง เป็นการแสวงหากำไรเช่นเดียวกับเอกชน แต่แตกต่างกับเอกชน คือ เงินทุนเป็นของรัฐบาล แต่มีการจัดตั้งองค์การโดย กม. (กม.มหาชน และ/หรือ กม.แพ่ง )
การแบ่งประเภทของรัฐวิสาหกิจ
1. รัฐวิสาหกิจที่มุ่งหากำไรฝ่ายเดียว โดยการผูกขาดเฉพาะภาษี ( monopoly) เช่น การ
ผลิตบุหรี่ เป็นการผูกขาดโดยรัฐ ตาม กม.สรรพสามิต ทั้งนี้ ธรรมชาติของสิ่งเสพย์ติด จึงจำเป็นที่รัฐต้องผูกขาด และมีลักษณะผูกขาดที่เป็น
1) การแสวงหากำไรสูงสุด
2) การเก็บภาษีซ้ำอีกรอบหนึ่ง
ทั้งนี้เพราะ รายได้พวกนี้ ก่อให้รัฐเกิดรายจ่ายสาธารณะ โดยเฉพาะในด้านการสาธารณสุข ที่ต้องนำกลับมารักษาคนที่ป่วยจากบุหรี่มาก
นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่าง เช่น สลากกินแบ่ง ที่มีลักษณะเป็นการพนัน รัฐจึงต้องผูกขาด
2. รายได้จากรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการ ให้บริการสาธารณะ รัฐอาจแสวงหากำไรจาก
กิจการประเภทนี้ได้ ขึ้นอยู่กับขอบเขตพื้นที่การให้บริการได้กว้างขวางเพียงใด ในกรณีที่รัฐไม่สามารถจัดทำได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ รัฐก็จะเก็บเงินค่าบริการจากผู้รับบริการ เพื่อเป็นการลดช่องว่างของโอกาสในการเข้ามารับบริการสาธารณะเหล่านั้น โดยเฉพาะคนชนบทที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการฯ ก็ไม่ต้องจ่ายเงิน เป็นต้น เช่น การประปา ,ไฟฟ้า โดยปกติ รัฐไม่ได้กำหนดราคาเพื่อแสวงกำไร แต่กำหนดราคาตามปริมาณการใช้ คนใช้น้อย แสดงว่ารายได้น้อย ก็คิดอัตราต่ำ ถ้าใช้มาก ก็คิดอัตราก้าวหน้า รัฐฯ ได้กำไรจากส่วนนี้
รัฐวิสาหกิจ บางอย่าง โดยธรรมชาติ ต้องขาดทุน เช่น การจัดตั้งองค์การส่งเสริมโคนม รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมให้ เพื่อให้ประชาชนได้ดื่มน้ำนมราคาถูก และส่งเสริมให้คนผลิตน้ำนมได้ภายในประเทศ จึงต้องซื้อวัวนมพันธ์ดีราคาแพงมาจากต่างประเทศ สิ่งนี้รัฐต้องลงทุนเสมอ และขาดทุนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นเรื่องที่ล้มเหลว
การวัดประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ
1.กำไรสูง ** ความจริงไม่ใช่สิ่งที่ใช้วัดได้อย่างถูกต้อง เช่น รง.ยาสูบ ได้กำไรปีละ 4,000 ล้านบาท แต่ให้เงินเดือนคนขับรถ แพงมาก ( สูงสุดประมาณ 30,000 บาท) เป็นต้น
2.ต้นทุนต่ำ** แม้ไม่มีกำไร แต่ต้นทุนต่ำ ก็ถือว่ามีสิทธิภาพได้
รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย หรือความมั่นคงประเทศ เช่น กิจการน้ำมันเชื้อเพลิง รัฐต้องเข้าไปดำเนินการเอง อาจเข้าไปบางส่วน หรือ ทั้งหมดก็ได้ แล้วแต่กรณี
สาเหตุที่ต้องจัดตั้ง องค์การรัฐวิสาหกิจ
เดิม กิจการบริการสาธารณะ ทำในรูป กระทรวง,ทบวง,กรม เช่น กรมรถไฟ แต่มีปัญหาติดขัดในการบริหาร และการแข่งขันทางธุรกิจ เช่น งบประมาณ ต้องขออนุมัติต่อรัฐสภา เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องแยกให้เป็นองค์การที่มีอิสระทางการเงิน ( Financial Autonomy)
วิธีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มี 3 + 1 วิธี คือ
ก. การจัดตั้งโดย กม.
1. จัดตั้ง โดย พรบ.** มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. จัดตั้ง โดย พรฎ. โดยอาศัย พรบ.การจัดตั้งองค์การรัฐบาล (2525) เป็นนิติ
บุคคล
3.จัดตั้งโดย งบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน ให้เป็นทุนหมุนเวียน ทำให้เกิดองค์การพิเศษขึ้นในการดำเนินตามที่รัฐสภาอนุมัติ แต่องค์การพวกนี้ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และ รง.ยาสูบ ก็เป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงการคลัง แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่นกัน
ข. องค์การรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้ง ตาม ปพพ. มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัดมหาชน
หมายเหตุ จุดมุ่งหมายของการบรรยาย คือ ต้องการให้ทราบว่า Public Enterprise หรือ รัฐวิสาหกิจ นั้น จะมี Financial Autonomy สามารถใช้เงินและบริหารเงินได้อย่างเป็นอิสระ
2.3 ค่าธรรมเนียมทางปกครอง
รายได้สาธารณะอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ได้แก่ ค่าธรรมเนียมทางปกครอง เมื่อรัฐ มีรายได้ รัฐอาจนำไปในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยรัฐอาจทำในรูป
1. การให้เปล่า เช่น ทหาร ตำรวจ ศาล ส่วนใหญ่ก็จะมาจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชน
2. การเก็บใช้จ่ายตอบแทน เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมที่เก็บจากประชาชนที่เข้ารับ
การศึกษา ( ซึ่ง รัฐก็จะเก็บค่าธรรมเนียมต่ำกว่า ราคาตลาดมาก
วัตถุประสงค์ของการเก็บค่าธรรมเนียม
1. เพื่อลดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้มีโอกาส กับ ผู้ไม่มีโอกาส ในการเข้าเรียน เพราะ
บางคนอาจไม่มีโอกาสเข้าเรียน จากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ,สติปัญญา และ รัฐเองก็ไม่มีความสามารถจะจัดการศึกษาแก่ประชาชนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ( การเรียนในระดับสูง จำนวนคนเรียนจึงมีลักษณะเป็นปิรามิด )
2. เป็นการลงโทษผู้ที่ได้รับการบริการจากรัฐแบบเบา ๆ กรณีที่เกี่ยวกับการศึกษา จะเห็น
ได้ว่า แต่ละปี รัฐจะต้องจ่ายเงินสนับสนุนแก่สถานศึกษาของรัฐจำนวนสูงมาก ค่าธรรมเนียมการศึกษามีมูลค่าน้อยมากไม่เพียงพอ ถ้ามี น.ศ.เรียนตก ต้องเรียนหลายปีกว่ากำหนด ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มกว่าบุคคลที่ศึกษาจบตามเกณฑ์กำหนด
จุดอ่อนจุดแข็งของค่าธรรมเนียมทางปกครอง
จุดอ่อน
1. ค่าธรรมเนียมทางปกครองที่รัฐเก็บ เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารงานเกี่ยวกับเรื่องที่
ประชาชนมาขอรับบริการจากรัฐ อาจมีมูลค่าต่ำกว่าต้นทุนที่รัฐต้องนำไปใช้ในการบริหารงาน เช่น การขออนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ ยา รัฐจะต้องตรวจสอบก่อนว่า ยานั้นปลอดภัยหรือไม่ สมมุติว่า รัฐกำหนดค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตนำเข้ายา 1,000 บาท แต่รัฐอาจต้องใช้จ่ายเงินจำนวน 5,000 บาท ในการตรวจสอบยานั้นก่อน ซึ่งรัฐก็จะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากสำหรับการดำเนินการดังกล่าว
2. ค่าธรรมเนียมฯ ขาดความยืดหยุ่นในการจัดเก็บ ไม่สามารถเรียกเก็บเพิ่มได้ ตามค่า
ของเงินที่เปลี่ยนแปลงไป ต่างจากภาษีอากร เช่น VAT = 7 % ราคาสินค้าเท่าใด ก็เก็บได้ตามอัตรากำหนด แต่การเก็บค่าธรรมเนียมฯ ต้องไปแก้ไข กฎกระทรวงฯ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เสียก่อน หน่วยงานของรัฐ ไม่สามารถออกระเบียบภายใน เพื่อเรียกเก็บตามใช้ค่าจ่ายตามความเป็นจริงได้
จุดแข็ง
1. ค่าธรรมเนียมฯ ประชาชนจะไม่ต่อต้าน เพราะ ค่าธรรมเนียมนั้น ประชาชนได้รับ
ประโยชน์จากการมาขอรับบริการจากรัฐโดยตรง จากการเสียค่าธรรมเนียมนั้น ต่างจาก ภาษี ที่ประชาชนจะไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นการโดยตรงเฉพาะราย แต่รัฐต้องจัดภาษีนำไป ทำประโยชน์นั้นให้แก่ประชาชนโดยเสมอภาคกัน
2. รัฐสามารถเก็บค่าธรรมเนียมได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ผู้คนไม่คิดจะหลีกเลี่ยง เพราะตนได้
ประโยชน์โดยตรงอยู่แล้ว
ความแตกต่าง ระหว่าง ภาษีอากร กับ ค่าธรรมเนียมทางปกครอง
1. บุคคลที่เสียภาษี ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยตรงเป็นการเฉพาะราย แต่สำหรับ
ค่าธรรมเนียมทางปกครอง รัฐจะจัดเก็บจากประชาชนที่มาขอรับบริการโดยตรง ซึ่งประชาชนเหล่านั้นจะได้รับประโยชน์จากรัฐโดยตรงเป็นการเฉพาะราย
2. การจัดเก็บภาษีอากร รัฐจะใช้อำนาจบงการ โดยต้องออก มาเป็น กม.ว่าด้วยการเก็บ
ภาษี ทั้งนี้จะคิดจากความสามารถในการหารายได้ของประชาชน มีรายได้มาก ก็จะต้องจ่ายภาษีมาก
การเก็บค่าธรรมเนียมทางปกครอง นั้น รัฐเก็บจากประชาชนที่มาขอรับบริการจากรัฐ โดยรัฐจะคำนวณจากปริมาณการมาขอใช้บริการ ทั้งนี้ ถือเป็นอำนาจของฝ่ายปกครองโดยตรง ที่สามารถออกระเบียบการเก็บค่าธรรมเนียมโดยออกมาเป็น กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียม ไม่ต้องออก กม.โดยผ่านรัฐสภาแต่อย่างใด และในการกำหนดค่าธรรมเนียมทางปกครองนั้น จะกำหนดเท่ากัน ไม่ว่าประชาชนที่มาขอบริการนั้น จะมีรายได้เท่าใด ก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเท่ากัน
monopoly คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
monopoly คือ 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
monopoly คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
monopoly คือ 在 EC210 - ตลาดผูกขาด (Monopoly) - YouTube 的推薦與評價
ที่มาของอำนาจผูกขาด คือ การมีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด 3. การตัดสินใจผลิตของผู้ผูกขาด ... ด้วย ในบทนี้เนื้อหาสำคัญที่ควรเข้าใจ คือ 1. ... EC210 - ตลาดผูกขาด ( Monopoly ). ... <看更多>
monopoly คือ 在 ตลาดผูกขาด (Monopoly)... - Parliamentary Budget Office: PBO 的推薦與評價
... <看更多>