เส้นทาง Moderna บริษัทขาดทุนมาทุกปี แต่ปีนี้กำไรแสนล้าน /โดย ลงทุนแมน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า Moderna ถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนโควิด 19 ที่กำลังเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ก็คือบริษัท Moderna เพิ่งก่อตั้งธุรกิจขึ้นมาในปี 2010 หรือราว 11 ปีก่อน เริ่มต้นจากการเป็นสตาร์ตอัป แต่ปัจจุบัน ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัท ที่มีมูลค่า 5 ล้านล้านบาท
แล้ว Moderna มีความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จริง ๆ แล้ว Moderna เป็นบริษัทผลิตยาสัญชาติอเมริกัน ถูกก่อตั้งขึ้นในรัฐแมสซาชูเซตส์
ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2010 โดยมีผู้ก่อตั้งก็คือ Derrick Rossi นักชีววิทยาชาวแคนาดา
Derrick Rossi คือผู้ที่ได้พัฒนาวิธีการดัดแปลงเทคโนโลยี mRNA
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่
โดยการผลิตวัคซีน mRNA นั้น จะมีจุดเด่นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
- ใช้เวลาในการผลิตน้อยกว่าวัคซีนทั่วไป
- สามารถรองรับการผลิตวัคซีนได้ในปริมาณมาก
- สามารถปรับปรุงวัคซีนเพื่อรองรับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตวัคซีนแบบเดิม
หลังจากเริ่มพัฒนาวิธีการดัดแปลงเทคโนโลยี mRNA ไปได้สักพัก Derrick Rossi ได้ไปชวนผู้เชี่ยวชาญอีก 4 คน ซึ่งก็มีทั้งอาจารย์ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT แพทย์ รวมถึงนักลงทุน เพื่อมาก่อตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
โดยชื่อ “Moderna” นั้น ก็มาจากการดัดแปลงคำศัพท์ “Modified” และ “RNA”
กลายมาเป็น “ModeRNA Therapeutics” นั่นเอง
Rossi และกลุ่มผู้ก่อตั้งใช้เวลาเพียง 2 ปีในการดำเนินธุรกิจและนำ Moderna ให้เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
จนได้รับเงินระดมทุนจนมีมูลค่าการประเมินทะลุระดับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.4 หมื่นล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น หลังจากก่อตั้งบริษัทขึ้นมาเพียงไม่กี่ปี
แต่ในช่วงเวลานั้น หลายฝ่ายยังไม่เชื่อว่า Moderna จะประสบความสำเร็จ เพราะว่าบริษัทมีเพียงงานวิจัยพัฒนา ยังไม่ได้ผลิตสินค้าใด ๆ ออกสู่ตลาดเลย
นอกจากนี้ ด้วยความที่ Moderna ในตอนนั้นยังคงเป็นเพียงธุรกิจสตาร์ตอัป ทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินทุน จึงทำได้ยาก เพราะนักลงทุนลังเลที่จะให้เงินระดมทุนเนื่องจากความเสี่ยงที่ธุรกิจจะล้มเหลวนั้นมีอยู่สูง
แต่แล้ว Moderna ก็ได้พบกับจุดเปลี่ยนสำคัญ ซึ่งก็ได้เกิดขึ้นในปี 2013
เพราะ “AstraZeneca” บริษัทยาสัญชาติอังกฤษได้สนใจในธุรกิจของ Moderna
และได้เข้าร่วมให้เงินระดมทุน คิดเป็นมูลค่าราว 8 พันล้านบาท เพื่อให้บริษัทนำไปใช้ในการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี mRNA เพื่อใช้ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเมตาบอลิซึม หรือก็คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหาร เช่น โรคไตและโรคมะเร็ง
จนกระทั่งในปี 2018 Moderna ก็ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq โดยมีชื่อหุ้นว่า “MRNA” ซึ่งการระดมทุนของ Moderna ถือเป็นการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) สำหรับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพที่มีมูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์
โดยมูลค่าบริษัท Moderna ณ ราคา IPO มีมูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ Moderna เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
บริษัทแห่งนี้ยังคงขาดทุนมาโดยตลอด จนถึงในปี 2020 ที่ผ่านมา
ในช่วงระหว่างปี 2018 ถึง 2020 บริษัทขาดทุนรวมกันกว่า 55,500 ล้านบาท
ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยพากันถอดใจ
แต่ด้วยความที่ Moderna เป็นบริษัทที่ลงทุนมหาศาลในการวิจัยพัฒนาวัคซีน mRNA นั่นจึงทำให้การระบาดของโควิด 19 ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีใครคาดคิด ก็ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของบริษัทแห่งนี้ไปโดยปริยาย
เรามาดูผลประกอบการของ Moderna, Inc.
ปี 2018 รายได้ 2,000 ล้านบาท ขาดทุน 13,500 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 2,000 ล้านบาท ขาดทุน 17,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 27,000 ล้านบาท ขาดทุน 25,000 ล้านบาท
6 เดือนแรก ปี 2021 รายได้ 211,000 ล้านบาท กำไร 134,000 ล้านบาท
เรียกได้ว่าบริษัทมีผลขาดทุนทุกปี แต่เมื่อทุกอย่างเกิดขึ้น ก็ทำให้บริษัทได้กำไรปีนี้หลักแสนล้านบาท
โดย 6 เดือนแรกของปี 2021 นี้ยอดขายของ Moderna มาจาก
- ประเทศสหรัฐอเมริกา 59%
- นอกประเทศสหรัฐอเมริกา 41%
ในขณะเดียวกัน Moderna มีการส่งมอบวัคซีนไปแล้วทั้งหมด 301 ล้านโดส ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ Moderna ได้รับออร์เดอร์จองสั่งซื้อวัคซีนล่วงหน้าจากรัฐบาลหลายประเทศ ผ่าน Advance Purchase Agreements (APAs) ในปี 2022 ไปแล้ว โดยมีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท
จากผลประกอบการที่เติบโตในช่วงที่ผ่านมาและแนวโน้มผลประกอบการในอนาคตที่คาดว่าจะยังเติบโตได้อีก จึงทำให้นักลงทุนหลายรายต่างพากันเข้าซื้อหุ้นของ Moderna ในช่วงที่ผ่านมา
ส่งผลให้มูลค่าบริษัทของ Moderna นั้น เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
จากมูลค่าบริษัท ณ วันที่ IPO ที่ 2.5 แสนล้านบาท
มาวันนี้มูลค่าของ Moderna เพิ่มมาอยู่ที่ 5 ล้านล้านบาท
มูลค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็น 20 เท่า เมื่อเทียบกับมูลค่า ณ วันที่ IPO
จากเรื่องราวของ Moderna ในมุมมองของการลงทุน หลายคนก็น่าจะสรุปเหตุการณ์นี้ไม่ต่างอะไรไปจากการถูกแจ็กพอต
แต่ถ้าให้มองย้อนกลับไป แน่นอนว่าคนภายนอก คงมีไม่กี่คนที่รู้ว่า ในอนาคตเทคโนโลยีที่บริษัทกำลังวิจัยและพัฒนา จะก้าวขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่กำลังรักษาผู้ป่วยทั่วโลกอยู่ ณ ตอนนี้
แต่ในมุมของบริษัท Moderna พวกเขาคงมั่นใจอยู่เสมอและตลอดมาว่า
เทคโนโลยี mRNA จะกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่โลกต้องการ
จนปัจจุบัน Moderna ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า โลกต้องการเทคโนโลยีของพวกเขาจริง ๆ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://finance.yahoo.com/quote/MRNA/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Moderna
-https://www.businessinsider.com/biotech-moderna-prices-initial-public-offering-2018-12
-https://medika.life/ten-facts-you-didnt-know-about-moderna-and-their-mrna-vaccine/
-https://investors.modernatx.com/static-files/c43de312-8273-4394-9a58-a7fc7d5ed098
astrazeneca wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
รู้จัก FUBITAI วัคซีนจีน ที่ผลิตด้วย เทคโนโลยี mRNA /โดย ลงทุนแมน
ช่วงที่ผ่านมา วัคซีนแบบ mRNA ซึ่งเป็นวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ กำลังเป็นที่พูดถึงและเป็นที่ต้องการกันมากขึ้น
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะมีหลายการศึกษาที่ชี้ว่า วัคซีนแบบ mRNA มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้ดีกว่า วัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactive Virus Vaccine)
และหากเราพูดถึงวัคซีนจากจีน แน่นอนว่าหลายคนจะนึกถึง วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อตายของไวรัส อย่างเช่น Sinovac ที่คนไทยรู้จักกันดี
แต่ถ้าถามว่า จีน มีวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA ไหม ?
คำตอบก็คือ “มี” ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ วัคซีนที่ชื่อว่า “FUBITAI” ที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงยังไม่เคยได้ยินชื่อวัคซีนตัวนี้
รายละเอียดของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าให้แบ่งประเภทของวัคซีนคร่าว ๆ เราก็จะแบ่งได้เป็นหลายรูปแบบ คือ
แบบแรก คือวัคซีนที่ผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เรียกกันว่า mRNA
โดยวัคซีนประเภทนี้ เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย จะสั่งการให้เซลล์ร่างกายผลิตหนามโปรตีนที่ใกล้เคียงกับไวรัสขึ้นมา ตามข้อมูลสารพันธุกรรม mRNA ของเชื้อโควิด 19
และโปรตีนที่ผลิตในส่วนนี้เอง จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Antigen) ให้ร่างกายรู้จักกับเชื้อโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) เพื่อมาต่อสู้กับเชื้อไวรัส
โดยวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีแบบนี้ ก็อย่างเช่น Pfizer-BioNTech (หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า Pfizer) และ Moderna
แบบที่สอง คือวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีแบบเก่าหรือแบบดั้งเดิม โดยการอาศัยการนำเชื้อไวรัสมาเพาะเลี้ยงให้โต แล้วทำให้ตายด้วยอุณหภูมิสูง แล้วนำมาพัฒนาเป็นวัคซีน
วัคซีนในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่น Sinovac ที่คนไทยคุ้นเคยกันดี
นอกจาก 2 ประเภทนี้แล้ว ก็ยังมีวัคซีนประเภทอื่นอีก เช่น วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector) คือตัดต่อสารพันธุกรรมที่จะสร้างเป็นโปรตีนหนามให้ไวรัสอีกชนิดเพื่อนำเข้าสู่ร่างกาย
วัคซีนในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่น AstraZeneca
ซึ่งถ้าพูดถึงวัคซีนที่วิจัยและผลิตขึ้นในจีน เราก็จะรู้กันดีว่า วัคซีนหลัก ๆ อย่าง Sinovac และ Sinopharm นั้น อาศัยเทคโนโลยีใช้เชื้อตายมาพัฒนาเป็นวัคซีน
อย่างไรก็ตาม ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2020 หลังโควิด 19 เริ่มระบาดหนัก
Fosun Pharma ซึ่งเป็นบริษัทยาอันดับต้น ๆ ของจีน ได้ร่วมทุนกับบริษัทไบโอเทคสัญชาติเยอรมันชื่อคุ้นหู อย่าง “BioNTech”
ซึ่ง BioNTech ก็คือ บริษัทที่ไปร่วมทุนวิจัยและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 กับบริษัท Pfizer จากสหรัฐอเมริกา จนกลายเป็นวัคซีน Pfizer-BioNTech หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าวัคซีน Pfizer นั่นเอง
การร่วมทุนครั้งนี้ ใช้งบประมาณกว่า 4,300 ล้านบาท เพื่อทำการวิจัยผลิตวัคซีนต้านโควิด 19 แบบใช้เทคโนโลยีสารพันธุกรรม mRNA
สิ่งที่บริษัท Fosun Pharma ได้รับจากการลงทุนในครั้งนี้คือ วัคซีนชนิด mRNA ที่ผลิตโดย BioNTech ที่มีชื่อทางการว่า “BNT162b2” หรือชื่อภาษาจีนคือ “FUBITAI” จำนวนขั้นตํ่า 100 ล้านโดส
โดยได้มีการจัดสรรบางส่วนให้กับเกาะฮ่องกงไปแล้วเป็นการเร่งด่วน ในช่วงเดือนมีนาคม 2021
ที่น่าสนใจก็คือ Fosun Pharma จะสามารถทำการผลิตและจัดจำหน่ายวัคซีนในประเทศจีนได้ ภายในสิ้นปีนี้
โดยมีการตั้งโรงงานผลิตวัคซีนชนิดนี้ ที่เขตจินซาน ในนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งคาดว่าจะมีกำลังการผลิตมากกว่า 1,000 ล้านโดสต่อปี
ท่ามกลางสถานการณ์การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 ที่ส่งผลให้วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีผลิตแบบอาศัยเชื้อตาย เริ่มอ่อนประสิทธิภาพลง
เรียกได้ว่า FUBITAI ก็ได้กลายเป็นหนึ่งวัคซีนความหวังของจีน ในการช่วยแก้ปัญหาการระบาดของโควิด 19 ในอนาคต
ทั้งนี้เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เกิดการระบาดของโควิด 19 ที่เมืองกวางโจว ซึ่งทางการจีนก็สันนิษฐานว่า อาจเป็นการระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่จะส่งผลให้วัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีแบบเก่า อย่าง Sinovac และ Sinopharm ด้อยประสิทธิภาพลงไปมาก
ตั้งแต่ปลายปี 2020 ที่ผ่านมาทางรัฐบาลจีนใช้วัคซีน Sinopharm และ Sinovac ระดมฉีดให้กับคนในประเทศ โดยบริษัทที่ผลิตวัคซีนทั้งสองตัวมีกำลังการผลิตประมาณ 2,000 ล้านโดสต่อปี
ข้อมูลล่าสุดจาก Chinese National Health Commission ระบุว่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวนปัจจุบันของประชากรจีนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว อยู่ที่ประมาณ 630 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 45% ของจำนวนประชากรในประเทศ
และมีการวางแผนภายในปี 2021 จะต้องให้ประชากรจีนฉีดวัคซีนครบทั้งสองเข็ม ให้ได้มากกว่า 1,000 ล้านคน หรือมากกว่า 70% ของประชากร
และมีแผนต่อไปว่า ประชาชนจะได้รับวัคซีนแบบ mRNA จากโรงงานของ Fosun Pharma เป็นเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต่อสู้กับเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์
สำหรับวัคซีนของ Sinovac และ Sinopharm นั้น
เมื่อคนจีนได้รับการฉีดจนมากเพียงพอแล้ว
จีนก็จะทยอยส่งออกไปให้กับประเทศต่าง ๆ ที่ยังขาดแคลนหรือมีความต้องการเพิ่มอย่างเร่งด่วน
ซึ่งก็จะถือเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ในทางอ้อมด้วยนั่นเอง
ส่วน FUBITAI วัคซีนจีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ก็น่าสนใจติดตามต่อไปเหมือนกันว่า จะมีผลการทดสอบประสิทธิภาพออกมาชัด ๆ เป็นอย่างไร
และจะดีพอ ๆ กับ วัคซีน mRNA ชื่อดังอย่าง Pfizer หรือ Moderna หรือไม่..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.cna.com.tw/news/acn/202012160276.aspx
-https://beta.thestandnews.com/finance/復星醫藥擬與-biontech-組合資公司-大陸設廠生產武肺疫苗
-https://m.yicai.com/news/100961786.html
-https://www.moneydj.com/kmdj/wiki/wikiviewer.aspx?keyid=1753a32f-27dd-40e1-94db-070ae6379d61
-https://www.covidvaccine.gov.hk/zh-HK/vaccine
-https://xueqiu.com/1848670776/155541195?page=2
-https://techsauce.co/tech-and-biz/mrna-different-other-vaccines-covid-19
-https://www.voachinese.com/a/China-vaccination-for-CCP-leaders-12302020/5718440.html
-https://udn.com/news/story/121707/5527101
-https://thestandard.co/astrazeneca-insight-pm-will-inject-as-the-first-dose/
-https://www.rfi.fr/cn/%E4%B8%AD%E5%9C%8B/20210402-%E4%B8%AD%E5%9C%8B%E7%A7%91%E8%88%88-%E6%96%B0%E5%86%A0%E7%96%AB%E8%8B%97%E5%B9%B4%E7%94%9F%E7%94%A2%E9%87%8F%E5%A2%9E%E8%87%B320%E5%84%84%E5%8A%91
-https://www.globaltimes.cn/page/202106/1227529.shtml
astrazeneca wiki 在 台北市議員 - 李建昌 Facebook 的精選貼文
5/27起北市分配到2.2萬劑AZ疫苗供第一線人員優先施打,而昨天第一批15萬劑的Morderna疫苗也已經抵達台灣,待檢驗完成,也會儘速施打。
最近關於各類疫苗大家議論紛紛,我覺得蕪菁雜誌這篇文章,值得閱讀廣傳!原來我們疫苗的老大還是老美!
引內文:
這幾天來關於疫苗的風風雨雨,我們已經看得太多。但是如果一切回到科學的角度,就知道每個國家疫苗策略的選擇,都有它背後的道理。台灣的疫苗策略,更是在重重限制下,深思熟慮後的結果。
🔹 美國:以壓倒性的技術力、後勤力和財力一決勝負
mRNA是相對高新的技術,這世界上能掌握此技術的,只有美國和歐洲的少數團隊。Moderna就是此一技術的大本營-哈佛大學的育成公司。而相關技術的另一位匈牙利裔的祖師爺,則是跑去德國主持BioNTech公司。
而美國自從一開始,就打算以壓倒性的技術力與後勤力一決勝負。除了扶植純美國血統的Moderna以外,也透過財雄勢大的輝瑞(Pfizer)和德國BioNTech合作。搞疫苗不是只有技術而已,臨床試驗、生產、藥證申請程序、通路,樣樣都要燒錢,而BioNTech的資源不足,而輝瑞則讓一切變得可能。作為交換,BNT疫苗也以輝瑞的名義,在美國在地生產,戰略資源完全不假他人之手。
然而mRNA疫苗對於冷鏈的要求很嚴格。輝瑞疫苗要-70℃冷鏈(雖然經過實驗後條件略有放寬),Moderna好一點是-20℃。要佈建冷鏈是非常龐大的基礎建設工程,而去年美國在川普總統任內,發動「神速作戰(Operation Warp Speed)」,砸大錢並動用美軍資源把如此嚴苛條件的冷鏈打通到全國各地。這個政績是連拜登都不得不稱讚的。
總之,美國就是有那個底氣,能夠把極嬌貴的高新技術疫苗,做到全國人人能打的程度。如果瞭解到這一點,就好像日軍參謀在太平洋戰爭中看到美國大兵在喝可樂吃漢堡一樣,對其後勤能力驚嘆不已。
🔹 英國:走成熟務實路線,但也有它的技術深度
英國當然沒辦法做到像美國這樣財大氣粗。英國/瑞典合資的阿利斯康(AstraZeneca),嚴格來說算是業務範圍很廣的綜合製藥公司,在疫苗方面不是特別地專業。所以「腺病毒載體疫苗」這個很成熟的技術,就成為一個好選項。
能夠研發腺病毒疫苗的國家很多,美國是一定有的(嬌生J&J),中國也能搞。但這裡「腺病毒載體」的腺病毒該怎麼選擇,就成了成功的關鍵。因為人類很多都感染過腺病毒(腺病毒是很多上呼吸感染的病原,換而言之你得過感冒就有很大機會感染過某種形式的腺病毒),如果你載體選用太常見的腺病毒,那疫苗打進體內,你的免疫系統就直接把它揪出來殺掉了,不會去學習腺病毒上搭載的武肺病毒片段,所以打了等於沒打。所以選用罕見的腺病毒就非常重要。像現在大家幾乎都不怎麼提中國的康希諾了,因為他家選用的腺病毒載體,是人體太過常見的Ad5。
這裡就可以看到英國的技術底蘊,其腺病毒載體來自於牛津大學長期研究的黑猩猩腺病毒,俗稱黑猩猩感冒病毒。它不但罕見也對人體幾乎無害。而黑猩猩腺病毒怎麼發現、怎麼取得的?自然就來自於英國長年的殖民地與熱帶流行病學研究經驗。
起頭選得好,接下來量產對於阿利斯康這種綜合製藥大廠,當然就比較不成問題。雖然腺病毒載體疫苗多多少少有點安全上的疑慮,但就像新聞講的,AZ疫苗打死人的機率比走在路上被雷打到還低。在疫情緊急的當下,仍是遠遠利大於弊的選項(但也因此德國政界與學術界一直想要打擊AZ疫苗)。
🔹 中國:瓦房店主義,馬馬虎虎求快求便宜
中國主打的國藥和科興,都是屬於所謂的「滅活疫苗」。滅活疫苗要搞很簡單,把真正的武漢肺炎病毒,拿去化學處理滅除它的活性,只剩下病毒的空殼子讓身體的免疫系統去學習產生抗體。滅活/減活的概念在人類醫學史上已經存在一兩百年了,大家耳熟能詳從小就打過的小兒麻痺的沙賓/沙克、日本腦炎、A肝等疫苗,都是典型且歷史悠久的滅活/減活疫苗。
但太過簡單的技術,往往意味著不好用。至少在武漢肺炎疫苗的領域裡,這個法則是成立的。首先,如果滅活不完整,以武肺病毒之刁鑽,很可能變成直接感染。至於效果,其引發的免疫反應,還有專一性(讓身體可以產生對抗武肺病毒的抗體,而非雜七雜八沒有用的抗體),先不說比不上最先端的mRNA,也比不上其他成熟的技術如腺病毒載體、蛋白質次單元等。而且還很容易造成疫苗不良反應。
但是中國哪管這些。能夠用最快的速度、最低的技術要求,生出一個還堪用的東西,把它倒給廣大的十四億人口(但中國人好像也不太領情),還可以順便搞搞疫苗外交,輸出給那些亞非拉的苦命兄弟們,這樣就夠了。實際的保護力?馬馬虎虎就好。不良反應?反正政府壓下消息,沒人會知道,也沒人敢知道。
中國滅活疫苗,是那些急於做做成績,「有打就好」的極權國家的的首選。
當然中國也有想要搞更高新技術的疫苗,例如以市場與藥證發放為籌碼,硬性要求BioNTech轉移mRNA技術,以中國在地廠商的名義生產。但中國人搞高新技術,都會有一種「瓦房店化」的現象,就是從國外引進了高科技,但是因為文化不合、政治掣肘、管理不善、勞動力素質跟不上,再加上國內粗製濫造的產品競爭…等等諸多因素,使得引進的高新技術「退化」。最極端的就是像搞半導體那樣砸了大錢結果顆粒無收,好一點就是做出來的產品總是有點差強人意。至於要不要信任中國的產品,就留待看倌們自行思考了。
🔹 台灣:在各種艱難處境中,走出一條折衷穩健路線
照理說台灣作為小國,是不指望在疫苗研發的大國競賽當中軋上一腳的。但是台灣很清楚自己在國際上孤立的處境,知道引進外國疫苗,勢必會受到那個流氓國家的各種阻撓。即使能夠順利打通通路,台灣的市場規模小,又不能像以色列這樣出三倍價錢搶貨,各大廠商也未必會把台灣放在優先供貨的順位。
因此台灣永遠都得做好「一切靠自己」的最壞打算。當然梭哈押寶於國產疫苗,對台灣風險太大,因此必須外購+國產,雙軌並重,盡可能打通每一條道路。這是台灣的命運,也是台灣的靈活度。
美國也充份瞭解台灣的難處。要知道美國自己也是疫情大國,在最高峰期的時候,是不是能拿疫苗支援盟友國家,美國自己也說不準。因此,美國做了一個罕見的決定,就是把美國國衛院的疫苗設計圖譜,授權給台灣自主研發。這個源頭等於是與Moderna同源。
好的開始是成功的一半,這一步美國是幫我們跨過去了。照理說拿到跟Moderna同樣的源頭,是不是可以直上mRNA技術呢?先不說台灣能不能掌握mRNA技術上,就算做得到,mRNA疫苗嚴苛的冷鏈要求,對台灣來說也是一大負擔。
因此台灣退一步,拿著這套圖譜,走重組蛋白質疫苗的路線(嚴格來說是『基因重組蛋白質次單元疫苗』,我不是太專業,以下就暫且簡稱蛋白質疫苗吧)。台灣長期研發生產的流感疫苗,就是屬於這類技術。以美國帶頭搞定的圖譜,來搭配台灣本來就駕輕就熟的技術,對台灣來說確實是最穩健可行的路線。
蛋白質疫苗不只是技術上穩健可行,而且有很多優點。首先,蛋白質的物性比mRNA穩定得多,也因此對冷鏈的要求不高,跟腺病毒疫苗差不多(2-8℃,大約是你家冰箱冷藏室的溫度)。第二,其誘發免疫反應的機制比較直接,所以理論上打完第一劑後,產生抗體的速度會比其他類型的疫苗更快。而且因為蛋白質疫苗不像腺病毒疫苗那樣,裡面還有部份活性的腺病毒(因此免疫力低下者與孕婦不能打AZ),所以安全性也更高,不輸給mRNA疫苗。
但蛋白質疫苗技術當然也有缺點。最大的缺點就是研發過程比mRNA、腺病毒、滅活等疫苗繁瑣得多,而且短期拼量產也比較困難。因此採用此一技術的美國Novavax、英國葛蘭素史克、法國賽諾菲,在進入市場時機上都比較落後。與他們相比,台灣的高端、聯亞並不算落後太多,國光則要再慢一些。
整體來說,國產蛋白質疫苗絕對是值得期待的。尤其它免疫反應強、對冷鏈要求低,在武肺疫情可能「流感化」永不消失的趨勢下,對於打進第三世界國家市場、吃長尾市場十分有利。但它的時程就是要慢上那麼一些,因此對台灣而言,在國產疫苗供應穩定之前,還是要盡可能保障外購疫苗的管道暢通。
🔹 關於三期試驗
我知道某陣營的網軍,一直在黑「國產疫苗沒有三期臨床試驗,是拿國民在當白老鼠」。但事實上,你如果去看看維基百科的條目(要看英文,https://en.wikipedia.org/wiki/COVID-19_vaccine ),不難發現,其實現在根本沒有哪家疫苗是跑完三期的。因為跑三期要收好幾萬個案,花上兩到三年不等的時間,大多數的廠商都是估計在2021下半年~2023才能跑完。唯一例外是輝瑞,可能真的本錢夠粗,能夠收夠案子提早解盲。
現在能夠上市的疫苗,都是跑完二期臨床,就趕快申請緊急授權。畢竟藥廠也好、人類也好,根本等不了那麼久。
而且三期臨床試驗也有一點醫學倫理上的灰色地帶。所以像中國、俄羅斯這種反正也不怎麼在乎人權,還有一堆也不怎麼在乎人權的盟友的國家,在這一點上就特別有利。而民主國家的廠商,也只能盡量把三期臨床試驗外包給較貧窮的國家,這也是大家心照不宣的業界現實。
🔹 寫在最後
稍早韓國以其戰略地位與半導體產能為籌碼,向美國爭取到Moderna疫苗授權代工。這算是韓國近期的一大外交勝利。台灣,以柯文哲為首,就開始逞其費拉話術,批評政府為什麼不要像韓國這樣,走比較簡單低風險的代工路線。
但請別忘記,韓國代工Moderna是這幾天才談成的,而台灣自主疫苗研發已經跑了一年多、進入二期了。台灣未必跑得比韓國慢。
這裡我要引用非主流歷史學家劉仲敬的兩句話:
「實際上所有能夠讓你和你的後裔往上走的方式都是費力的,尤其是危險的,危險比費力更重要。」
「上等人就是承擔風險的能力高於一般的人。」
是的,自主疫苗研發,比起代工來說,是一條艱難的路,也是一條高風險的路,很有可能大筆投入卻顆粒無收。
但是一旦修成正果,除了自救有餘以外,還能幫助他人(Taiwan can help!)。而樂觀點看,世界的疫苗市場將為我們開啟(當然中間還有很多政治難題要搞定,但至少我們做出了產品,不是嗎)。
不諱言,台灣在國際社會的處境,有如賤民一般。但人出身可以低、志氣不能短,愈是國際賤民,就愈是要證明自己的能耐。與大家共勉之。
( 原文連結:https://reurl.cc/R04gmr)
astrazeneca wiki 在 AstraZeneca - Wikipedia 的相關結果
AstraZeneca plc is a British-Swedish multinational pharmaceutical and biotechnology company with its headquarters at the Cambridge Biomedical Campus in ... ... <看更多>
astrazeneca wiki 在 The Oxford/AstraZeneca (ChAdOx1-S [recombinant] vaccine ... 的相關結果
The Astra-Zeneca vaccine can be offered to people who have had COVID-19 in the past ... The AstraZeneca vaccine is not a live virus vaccine, ... ... <看更多>
astrazeneca wiki 在 AstraZeneca - Research-Based BioPharmaceutical Company 的相關結果
AstraZeneca is a global, science-led biopharmaceutical business and our innovative medicines are used by millions of patients worldwide. ... <看更多>