เมื่อศิลปะไม่ใช่อาชญากรรมแต่กลับละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว
.
จากการที่ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น การถ่ายภาพถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถสร้างการสื่อสารกับบุคคลอื่น รวมถึงเป็นการเก็บบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานบางอย่างต่อทั้งความทรงจำ เก็บเป็นหมุดหมายเวลา หรือบางครั้งก็เป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุก รื่นรมย์ จนนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะผ่านภาพถ่าย กลายเป็นงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่เรียกว่า Street photography หรือที่เราคุ้นหูกันว่า ภาพสตรีท
.
การถ่ายภาพอย่าง Street photography ที่กำลังเป็นที่นิยมในสังคมไทยตอนนี้ ผู้คนหันมาทดลองถ่ายรูปบนพื้นที่สาธารณะ บนฟุตบาท ข้างถนน ขนส่ง คมนาคมสาธารณะ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่แน่นอนว่าต้องเป็นเมืองที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอย่างกรุงเทพฯ ที่กลายเป็นพื้นที่ทดลองถ่ายภาพสตรีท บางคนถ่ายเพื่อสร้างพื้นที่ตีความใหม่ ความหมายใหม่ขึ้นมาในภาพถ่ายนั้น ๆ
.
“แอบถ่าย” คือคำที่ถูกใช้เรียกการกระทำของช่างภาพแนว street ท่านหนึ่งหลังเกิดกระแสดราม่าในช่วงเดือนสิงหาคม และผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในสังคมออนไลน์หลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจในวิธีการถ่ายภาพของเขาที่ออกไปถ่ายภาพผู้คนบนท้องถนนและไม่ได้มีการขออนุญาตคนที่ถูกถ่ายและมีการนำเอาคลิปที่เกิดการปะทะกันเล็กน้อยกับชายที่เป็นวินมอเตอร์ไซค์มาลงใน YouTube โดยช่างภาพเองให้เหตุผลว่าในแง่กฎหมายแล้วนั้นเขาไม่ได้ทำอะไรผิดดังนั้นเขาจึงทำสิ่งที่ทำอยู่ได้และมีการออกมายืนยันสิทธิในการแสดงออกของตนเองอีกด้วยซ้ำผ่านการใช้วาทกรรมศิลปะไม่ใช่อาชญากรรม ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ชาวเน็ตอย่างมากโดยทางชาวเน็ตมองว่าการกระทำของช่างภาพคนนี้ที่ไปถ่ายภาพผู้คนในที่สาธารณะและไม่ได้ขออนุญาตเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสมควรที่จะถูกดำเนินคดี และจากประเด็นดราม่านี้เองทำให้เกิดข้อถกเถียงในเรื่องความเป็นส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ
.
คำถามคือแล้วทำไมการถ่ายภาพสตรีทจึงเป็นปัญหา?
.
ด้วยคำนิยามของ Street photo ที่มีความหลากหลาย อย่าง Visit Kulsiri หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม Street Photo Thailand (SPT) ได้ให้ความหมายของ Street photo ว่าคือ “ถ่ายภาพผู้คน(หรือไม่มีคน)ในที่สาธารณะ โดยไม่มีการโพสท่าหรือจัดฉาก ทุกสิ่งมันอยู่รอบ ๆ ตัวเรา เพียงแต่เราต้องสังเกต มองหามันให้เจอ และจับภาพไว้ให้ทัน”
.
หรืออย่าง Mrsung Sungkrit สมาชิกของ SPT ที่นิยามว่า “Street Photography คือการสะท้อนภาพของชีวิตจริง ไม่มีการเซ็ตจัดฉาก จากสถานที่จริง ที่ที่ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกันเป็นประจำวัน หรือสัญจรไปมา ส่วนใหญ่จะเป็นที่สาธารณะ มีผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหน้าห้างร้าน รถไฟฟ้าใต้ดิน หน้าสำนักงาน ภาพถ่ายส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพที่ผู้คนไม่ทันได้สังเกต หรือมองเห็นไม่บ่อยนักในชีวิตประจำวัน รวมไปจนถึงรายละเอียดปลีกย่อยของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
.
ช่างภาพจะป็นคนกำหนดและให้ความสำคัญกับฉาก ช่วงเวลาและผู้คน จากประสบการณ์ความรู้สึกภายใต้จิตสำนึกของช่างภาพเอง ซึ้งเป็นการจับอารมณ์และหยุดเวลาบันทึกภาพผ่านชัตเตอร์ภายในเสี้ยววินาที กล้องเป็นเพียงส่วนขยายและหยุดเวลานัยน์ตาของช่างภาพ เพื่อบันทึกเก็บไว้เท่านั้นเอง”
.
ด้วย concept หลัก ๆ ของ street photography นั้น ต้องเป็นการถ่ายในพื้นที่สาธารณะ ไม่มีการจัดฉาก เน้นสะท้อนภาพของชีวิตจริง จากสถานที่จริง การสร้างสรรค์ผลงานจึงจำเป็นต้องเจอกับผู้คนทั่วไป การถ่ายภาพที่ต้องปะทะหรือพบปะกับผู้คนจึงมีค่อนข้างสูง
.
เกิดข้อถกเถียงว่าระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานกับสิทธิในความเป็นส่วนบุคคล หรือความเป็น privacy ของแต่ละคน ปัญหามีอยู่ว่า มุมของคนถ่ายสตรีท ก็ต้องการจะถ่ายเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน โดยวัตถุประสงค์ “ไม่จัดฉาก” การจะขอความยินยอม (consent) กับตัวแบบก่อน มันจึงขัดแย้งกับหลักการถ่ายภาพ street ของการถ่ายภาพในพื้นที่สาธารณะคือ คนที่ถูกถ่ายไม่ได้รับคำยินยอมก่อนจะถ่าย แต่ฝ่ายผู้ถ่ายก็จะอ้างว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ
.
เสรีภาพในการแสดงออก ถูกรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) บรรดาประเทศสมาชิกของ UN ได้ร่วมกันรับรอง เมื่อปีค.ศ. 1948 ถือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อกันของมวลมนุษย์และของบรรดานานาชาติ ถึงแม้ว่า UDHR จะไม่ได้มีผลบังคับทางกฎหมายเช่นเดียวกับสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือ ข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่ UDHR ฉบับนี้นับเป็นกฎเกณฑ์จารีตประเพณีระหว่างประเทศ มีพลังสำคัญทางศีลธรรม จริยธรรม และมีอิทธิพลทางการเมืองไปทั่วโลก และถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่บรรดาประเทศทั่วโลกยอมรับ
.
โดยในข้อ 19 ได้บัญญัติว่า ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน
.
ไม่ได้มีแค่ UDHR ที่ไทยไปร่วมรับรองเท่านั้น ยังมีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) ที่ไทยได้ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 เนื้อหาของ ICCPR ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ได้ปรากฎในข้อที่ 19 ว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก”
.
หากมองมายังกฎหมายไทย เสรีภาพการแสดงออกได้ถูกรับรองและถูกจำกัดโดยกฎหมายไปพร้อม ๆ กัน กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งฉบับปีพ.ศ. 2540, 2550 และฉบับปี พ.ศ. 2559 ต่างก็รับรองให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออกในลักษณะเดียวกัน กล่าวโดยเฉพาะ รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2559 รับรองเสรีภาพการแสดงออกไว้ในมาตรา 34 และกำหนดไว้ด้วยว่า “เสรีภาพการแสดงออก จะถูกจำกัดได้ตามกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน” อย่างไรก็ดีการจำกัดก็เพื่อเหตุผลทางความมั่นคงทางการเมือง ผลประโยชน์ทางการเมือง แต่กฎหมายเฉพาะที่พูดถึงการแสดงออกในรูปแบบการถ่ายรูปแบบสตรีทนั้นไม่เป็นความผิดทางกฎหมาย จนกว่าจะเผยแพร่ แล้วทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย
.
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ได้รับรองแบบกว้าง ๆ ไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย ปี พ.ศ.2560 ได้รับรองไว้ในมาตรา 32 ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ”
.
กฎหมายเฉพาะ อย่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั้น มีเนื้อหาที่ต้องการจะคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของประชาชน แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการเลื่อนบังคับใช้บางมาตราใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกไป 1 ปี เป็นวันที่ 27 พ.ค.2564 จากเดิมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 พ.ค.63 นี้ ตามที่กระทรวงดีอีเอสเสนอ โดยสาเหตุที่ต้องเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายออกไป เนื่องจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มสมาคมและภาคธุรกิจต่างๆได้ยื่นข้อร้องเรียนไปยังนายกรัฐมนตรี ถึงความไม่พร้อมในการดำเนินการตามกฎหมาย เนื่องจากในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทุกองค์กรได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะภาคเอกชน
.
แล้วต่างประเทศล่ะ เขามีปรากฎการณ์อย่างไรบ้าง?
.
การถ่ายภาพในที่สาธารณะก็เป็นหนึ่งประเด็นที่ร้อนแรงในต่างประเทศเช่นกัน อีกทั้งแต่ละประเทศก็ได้มีวิธีการจัดการหรือมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพในพื้นที่สาธารณะต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวิธีคิดเบื้องหลังของสังคมนั้น ๆ จะขอยกตัวอย่าง 3 ประเทศ ประกอบไปด้วย เยอรมนี ญี่ปุ่น และอเมริกา
.
1. ประเทศเยอรมนี มักจะถูกเข้าใจว่ามีกฎหมายที่เข้มงวดและเน้นสิทธิส่วนบุคคลของผู้คน การถ่ายภาพในที่สาธารณะจึงได้กลายเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เราได้เห็นถึงข้อขัดแย้งนี้โดยมีนักเขียนท่านหนึ่งถึงกับบอกว่าสำหรับในประเทศเยอรมนีแล้วแม้แต่จะกล่าวอ้างในนามศิลปะแต่สิทธิส่วนบุคคลก็ไม่ควรที่จะถูกละเมิด หากจะกล่าวโดยสรุปถึงการถ่ายภาพในที่สาธารณะและการเผยแพร่ภาพถ่ายแล้วในเยอรมนีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ
.
ประกอบไปด้วยการถ่ายภาพในที่สาธารณะนั้นสามารถถ่ายได้และไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมหากจะเป็นการถ่ายโดยบุคคลและใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น (personal use only) แต่หากจะนำไปใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานรัฐจำเป็นที่จะต้องขอความยินยอม การเผยแพร่ภาพถ่ายของบุคคลที่ถ่ายในที่สาธารณะจำเป็นต้องขอคำยินยอมแต่หากเป็นบุคคลสาธารณะนั้นไม่จำเป็นและได้รับการยกเว้น และในส่วนของการนำภาพถ่ายบุคคลที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะไปใช้ในเชิงพาณิชย์นั้นจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตเสมอและต้องได้รับคำยินยอม
.
ในกรณีของการถ่ายภาพในที่สาธารณะของประเทศเยอรมนีที่มีข้อพิพาทและได้รับคำตัดสินจากศาลคืองานของช่างภาพที่ชื่อว่า Espen Eichhofer ที่เป็นช่างภาพถ่ายภาพประเภท street ได้จัดแสดงภาพถ่ายของเขาในแกลเลอรีที่ตั้งอยู่ในเมืองเบอร์ลิน หนึ่งในภาพถ่ายที่ถูกจัดแสดงอยู่มีภาพของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเดินอยู่บนถนนและอยู่ในชุดลายเสือ โดยผู้หญิงคนที่อยู่ในภาพได้ฟ้อง Espen เพื่อให้นำภาพของเธอออกและชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการจ้างทนาย โดยศาลได้ตัดสินให้ Espen ผิดเพราะไม่ได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของภาพและจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยในกรณีนี้เกิดขึ้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์สำหรับงานศิลปะของเยอรมนีหรือ Kunsturhebergesetz อย่างไรก็ตามในกฎหมายนี้ก็คงยังมีข้อยกเว้นอยู่ตรงที่หากผู้คนในภาพเป็นเพียง “เครื่องประดับ” หรือส่วนประกอบที่ไม่ได้มีความสำคัญต่อภาพอย่างเช่นภาพของคนในถ่ายวิวทิวทัศน์จะได้รับการยกเว้น ในกรณีของเยอรมนีนี้จะเห็นได้ว่าสิทธิส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัวจะได้รับการให้ความสำคัญอย่างมาก แม้ว่าจะอ้างว่าเป็นงานศิลปะก็ตาม
.
2. ประเทศสหรัฐอเมริกา การถ่ายภาพในที่สาธารณะนั้นก็ได้สะท้อนอุดมการณ์เบื้องหลังของประเทศเช่นกัน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับผู้ถ่ายภาพอย่างมาก โดยหากเปรียบเทียบกันในประเด็นเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ สามข้อที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า การถ่ายภาพบุคคลในที่สาธารณะนั้นไม่จำเป็นต้องขออนุญาต และการเผยแพร่นั้นก็ไม่จำเป็นเช่นกัน แต่ในส่วนของการใช้ภาพถ่ายที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะนั้นต้องดูไปในรายละเอียดของแต่ละรัฐ
.
โดยคำตัดสินของศาลก็ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับอุดมการณ์ดังกล่าว อย่างเช่นในกรณีของชายชาวยิวที่ชื่อว่า Erno Nussenzweig ที่ได้ฟ้องช่างภาพที่ชื่อว่า Philip-Lorca Dicorcia หลังจากที่เขาเห็นภาพของตนเองถูกจัดแสดงอยู่ในแกลเลอรี่โดยที่เขาไม่ยินยอม อย่างไรก็ตามศาลเห็นว่างานของ Dicorcia เป็นการแสดงออกทางศิลปะให้ Dicorcia ชนะคดีไป และในกรณีของช่างภาพ Thomas Hoepker ที่ได้ถ่ายภาพของ Barbara Kruger และหลังจากนั้น Babara Kruger ได้ใช้ภาพของเธอเองที่ถูกถ่ายโดย Hoepker เพื่อใช้ประกอบงานศิลปะโดยไม่ได้รับคำยินยอมจาก Hoepker ทำให้ Hoepker ผู้ที่เป็นช่างภาพฟ้อง Kruger ที่ได้นำภาพไปใช้ แต่ในกรณีนี้ศาลตัดสินให้ Kruger ชนะโดยให้เหตุผลว่าการใช้ภาพนั้นไม่ได้เป็นไปในเชิงพาณิชย์แต่เป็นการใช้ในฐานะศิลปะ และอีกหนึ่งตัวอย่างคือข้อพิพาทระหว่างนิตยสาร The New York Times กับนาย Clarence Arrington ในปีค.ศ. 1982 หลังจากที่เขาได้เห็นภาพถ่ายของตนเองขณะที่กำลังเดินอยู่บนถนนในเมืองนิวยอร์กลงบนหน้าปกของนิตยสารโดยไม่ได้มีการขออนุญาตเขาก่อน เขาจึงได้ทำการฟ้องร้องต่อศาล และศาลได้ติดสินว่า The New York Times ไม่ผิดโดยอ้างหลัก First Amendment ที่เน้นเสรีภาพในการแสดงออกที่อยู่เหนือสิทธิส่วนบุคคล จากทั้งสามกรณีจะเห็นได้ว่าศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับสิทธิในการแสดงออกมากกว่าสิทธิส่วนบุคคล
.
ประเทศญี่ปุ่น การถ่ายภาพมีข้อจำกัดที่ค่อนข้างมีลักษณะที่โดดเด่น ถ้าหากกล่าวโดยสรุปจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อหลักคือ การถ่ายภาพของบุคคลในที่สาธารณะต้องได้รับคำยินยอม, การตีพิมพ์ภาพบุคคลที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะต้องได้รับคำยินยอมเช่นกัน และการใช้ภาพที่ถ่ายบุคคลในพื้นที่สาธารณะในเชิงพาณิชย์ต้องได้รับคำยินยอมเสมอ
.
ในกรณีข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพในที่สาธารณะของญี่ปุ่นนั้นอาจจะสามารถเห็นได้จากคำตัดสินของศาลโดยมีหนึ่งกรณีที่โด่งดังที่เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1969 ที่ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น (supreme court of Japan Grand Bench) ได้ตัดสินกรณีที่ผู้ประท้วงถูกถ่ายภาพขณะที่ประท้วงโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ประท้วงไม่ยินยอมให้ถ่าย โดยศาลสูงสุดได้ตัดสินให้การถ่ายภาพแม้จะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่หากไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถูกถ่ายและไม่มีเหตุผลที่ดีพอในการถ่ายให้ถือว่าขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญและไม่อนุญาต และอีกหนึ่งกรณีของการถ่ายภาพในที่สาธารณะในกรณีของบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ คือกรณีที่เกิดขึ้นในปีค.ศ. 2005 ที่มีการฟ้องร้องจากผู้ต้องหาที่ถูกถ่ายภาพโดยนิตยสารเล่มหนึ่ง โดยมีภาพของเขาที่ถูกตำรวจจับกุมและใส่กุญแจมือไขว้หลังอยู่โดยศาลได้ตัดสินว่าภาพถ่ายที่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ในพื้นที่ของนิตยสารนั้นมีความผิดเพราะทำให้บุคคลเสื่อมเสียเกียรติ (the picture taken is content that hurts the honorary feeling of the person) นี้คือกรณีหนึ่งที่ทำให้เห็นได้ว่าศาลยังยึดตามหลักการสิทธิส่วนบุคคลและมีความพยายามในการที่จะปกป้องสิทธิส่วนบุคคลอยู่
.
จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนความท้าทายที่วงการถ่ายภาพสตรีทเผชิญอยู่ และต้องมาหาทางออกร่วมกันว่าจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร และจะมีทางออกหรือบรรทัดฐานใหม่เพื่อสร้างให้งานภาพถ่ายแบบ street นั้นเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้คนได้อย่างไรต่อไป
.
.
แหล่งที่มา
https://themomentum.co/thailand-personal-data-protection-a…/
http://www.streetviewphotography.net/b-spvsdp/
https://law.photography/law/street-photography-laws-in-japan
https://streetbounty.com/should-street-photography-be-ille…/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「barbara kruger supreme」的推薦目錄:
- 關於barbara kruger supreme 在 2how Facebook 的精選貼文
- 關於barbara kruger supreme 在 意義衣 22e Facebook 的最佳貼文
- 關於barbara kruger supreme 在 Hills Select Facebook 的精選貼文
- 關於barbara kruger supreme 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
- 關於barbara kruger supreme 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於barbara kruger supreme 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於barbara kruger supreme 在 Supreme's Billion Dollar Rip-Off - YouTube 的評價
- 關於barbara kruger supreme 在 Barbara Kruger - Pinterest 的評價
- 關於barbara kruger supreme 在 Canaille Nous - Barbara Kruger 🖤 Supreme collage artist... 的評價
barbara kruger supreme 在 意義衣 22e Facebook 的最佳貼文
【🤚🏻🖐🏻#十編冷知識】
相信係呢5年間,Supreme 呢個名已經講到悶。係人人都知的情況下,相信有很多關於Supreme既冷知識大家就未必知道(本身知道的就幫手講得deep D比大家知🤙🏻)
所謂的Box Logo,其實不是Supreme原創的, Supreme創辦人James Jebbia一早承認係向Barbara Kruger致敬的,而取材自這位女性藝術家的作品,所以唔好再話人地抄襲,要本身知道來源同設計因由啊~~~
其實仲有好多品牌都有本身既故事,大家比D時間了解都會覺得令「衣服變得更有意義」
**淺談only,專業者自然行留CM講更多比大家知😝
By #擼遜 @kashun7🤡
-
👇🏻「#玩命直擊中國十編」👇🏻
https://youtu.be/12enfyH1oGQ
barbara kruger supreme 在 Hills Select Facebook 的精選貼文
『Hills Select 』
SUPREME BOX LOGO概念,
取樣於美國女藝術家Barbara Kruger之作品。
-
.
➡️Hills Select Shop Taipei:
台北市萬華區昆明街96巷22號2樓 (02)2371-5236
-
➡️Hills Select 官方網站:
hills-select.com/home.html
barbara kruger supreme 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
barbara kruger supreme 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
barbara kruger supreme 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
barbara kruger supreme 在 Barbara Kruger - Pinterest 的推薦與評價
Dec 27, 2017 - Résultat de recherche d'images pour "barbara kruger supreme" ... <看更多>
barbara kruger supreme 在 Canaille Nous - Barbara Kruger 🖤 Supreme collage artist... 的推薦與評價
Barbara Kruger Supreme collage artist So few words that speak so much- ... <看更多>
barbara kruger supreme 在 Supreme's Billion Dollar Rip-Off - YouTube 的推薦與評價
... supreme -james-jebbia-extended-interview https://wp.nyu.edu/fogdv2/2018/11/27/appropriating-design-a- barbara - kruger -and- supreme -case-study ... ... <看更多>