กรณีศึกษา คนอุรุกวัย รวยสุดในอเมริกาใต้ /โดย ลงทุนแมน
หากเอ่ยถึง “ทวีปอเมริกาใต้”..
เราคงเคยได้รับรู้ถึงเรื่องราวความถดถอยทางเศรษฐกิจตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
ของหลายประเทศในทวีปแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา บราซิล
เอกวาดอร์ หรือเปรู
แต่ในทวีปแห่งนี้ ก็ยังมีอยู่ประเทศหนึ่ง ที่เศรษฐกิจเติบโตสวนทางกับประเทศอื่น
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา นั่นคือ “อุรุกวัย”
ในปี 2019 ชาวอุรุกวัยมี GDP ต่อหัวสูงที่สุดในอเมริกาใต้
ถึงแม้จะเจอวิกฤติโควิดในปี 2020 แต่เศรษฐกิจของอุรุกวัยก็หดตัวเกือบจะน้อยที่สุด
อะไรที่ทำให้อุรุกวัยมีเส้นทางเดินที่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านในทวีปเดียวกัน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 17
อุรุกวัย มีจุดเริ่มต้นจากการเป็น “พื้นที่กันชน” ของมหาอำนาจยุโรปที่เข้ามาล่าอาณานิคม
ในทวีปอเมริกาใต้ คือ สเปนกับโปรตุเกส
สเปนซึ่งครอบครองดินแดนอาร์เจนตินา ได้ขยายพื้นที่มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ
รีโอเดลาปลาตา และสร้างเมือง “มอนเตวิเดโอ” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ให้เป็นเมืองท่าคู่กับเมืองบัวโนสไอเรส ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน
เช่นเดียวกับโปรตุเกส ที่ได้ขยายดินแดนลงมาจากบราซิล และได้สร้างเมือง
“โคโลเนีย เดล ซาคราเมนโต” ให้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเดียวกัน ไม่ไกลจากมอนเตวิเดโอ
เมื่อต่างฝ่ายต่างขยายดินแดนมาเรื่อย ๆ ทั้ง 2 มหาอำนาจก็ปะทะกันในที่สุด
จนสุดท้าย ดินแดนอุรุกวัยก็ตกเป็นของสเปน และถูกนำไปปกครองรวมกับอาร์เจนตินา
โดยใช้ชื่อว่า “เขตอุปราชแห่งรีโอเดลาปลาตา”
สเปนครอบครองดินแดนแห่งนี้ เพราะหวังจะพบแร่เงิน
แต่เมื่อไม่พบ ทำให้ไม่ค่อยได้รับความใส่ใจ
จนเมื่ออำนาจของสเปนอ่อนแอลง อาร์เจนตินาจึงประกาศเอกราชจากสเปน
แต่ท้ายที่สุดก็เสียดินแดนอุรุกวัยไปให้กับโปรตุเกส
หลังจากถูกรวมกับอาร์เจนตินา
คราวนี้อุรุกวัยถูกนำไปรวมกับบราซิลของโปรตุเกส..
จนเมื่อโปรตุเกสอ่อนแอลง และบราซิลประกาศเอกราช
อุรุกวัยจึงประกาศแยกตัวจากบราซิล และก่อตั้งประเทศในปี 1828
โดยมีกรุงมอนเตวิเดโอ เมืองท่าสำคัญเป็นเมืองหลวงของประเทศ
ถึงแม้ว่าอุรุกวัยจะไม่มีทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ เหมือนกับที่อื่นในอเมริกาใต้
แต่ดินแดนแห่งนี้ ก็ตั้งอยู่บนที่ราบปัมปัส ซึ่งเป็นที่ราบที่มีความอุดมสมบูรณ์
มีทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงวัวและแกะ เนื้อวัวและขนแกะจึงกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ
ด้วยความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ราว 176,000 ตารางกิโลเมตร
แต่กลับมีประชากรเริ่มต้นไม่กี่แสนคน
ชาวอุรุกวัยจึงมีฐานะดี เพราะตลาดยุโรปต้องการผลผลิตจากวัวและแกะเป็นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงราว 70 ปีหลังการได้รับเอกราช อุรุกวัยกลับเต็มไปด้วยปัญหา
ทั้งปัญหาคอร์รัปชัน และความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ พรรคเสรีนิยมกับพรรคอนุรักษนิยม
จนก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองอยู่หลายครั้ง
ผลจากสงครามกลางเมืองที่กินระยะเวลาหลายปี เศรษฐกิจของอุรุกวัยจึงเข้าสู่ภาวะถดถอย
จนกระทั่งเวลาผ่านมาถึงปี 1903 เมื่อ José Batlle y Ordóñez ได้เป็นประธานาธิบดีของอุรุกวัย
บุคคลผู้นี้คือรัฐบุรุษของอุรุกวัย ที่ปฏิรูปสังคมและการเมือง ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น โดยเน้นถึงการมีเสรีภาพของคนภายในชาติ และความเท่าเทียมของคนในสังคม โดยไม่สนว่าคนนั้นจะเป็นเพศอะไร หรือจะเป็นชนกลุ่มน้อยหรือไม่
และเป็นคนแรกที่ได้นำรัฐสวัสดิการมาใช้ในภูมิภาคแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาและสาธารณสุข ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ รวมถึงมีการนำกฎหมายแรงงานมาใช้ เพื่อไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ ทั้งระบบประกันสังคมและบำนาญ จึงทำให้ชาวอุรุกวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อรวมกับการส่งออกเนื้อวัวที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ชาวอุรุกวัยจึงมีฐานะมั่งคั่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี จนได้รับฉายาว่าเป็น
“สวิตเซอร์แลนด์แห่งอเมริกาใต้”
ดึงดูดผู้อพยพชาวยุโรป โดยเฉพาะชาวอิตาลีให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานหลายแสนคน
โดยเฉพาะเมืองหลวงกรุงมอนเตวิเดโอ ที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างครบครัน
ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟ โรงพยาบาล โรงเรียน และสนามกีฬา
เมื่อมีการจัดแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก ในปี 1930 ในเวลานั้น หลายชาติในยุโรปกำลังวุ่นวายอยู่กับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ด้วยความพร้อมที่มี กรุงมอนเตวิเดโอของอุรุกวัย จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งในปีนั้นฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัย ก็สามารถคว้าชัยชนะได้อีกด้วย
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อุรุกวัยเป็นชาติแรกของโลก ที่เป็นทั้งเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก
แต่สวัสดิการที่ดีเยี่ยมของอุรุกวัยก็นำปัญหามาสู่ประเทศ เมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ “Great Depression” ในช่วงทศวรรษ 1930s..
ความต้องการเนื้อสัตว์และขนสัตว์ของยุโรปลดลงอย่างมาก ทำให้อุรุกวัยขาดแคลนรายได้ รัฐบาลที่เต็มไปด้วยการคอร์รัปชัน ไม่มีรายได้เพียงพอสำหรับจ่ายเป็นค่าสวัสดิการต่าง ๆ
เกิดการกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศ และแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรที่นำมาสู่ปัญหาเงินเฟ้อ
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนจำนวนมากออกมาประท้วง สังคมอุรุกวัยเข้าสู่ความตกต่ำ ความขัดแย้งในสังคมทำให้มีขบวนการก่อการร้ายเกิดขึ้นในเมืองหลวง ทั้งฆ่าและลักพาตัวชาวอุรุกวัยและชาวต่างชาติ เมื่อรัฐบาลพลเรือนประสบความล้มเหลวในการควบคุม
ทหารก็ทำการยึดอำนาจหลายต่อหลายครั้ง
ปี 1973 อุรุกวัยเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารที่ยาวนานถึง 12 ปี..
รัฐบาลเผด็จการได้กวาดล้างปราบปรามขบวนการก่อการร้าย และศัตรูทางการเมืองอย่างรุนแรง จนทำให้คุกของอุรุกวัยเต็มไปด้วยนักโทษการเมืองมากมาย
จากฉายา “สวิตเซอร์แลนด์แห่งอเมริกาใต้”
ต้องถูกเปลี่ยนเป็น “ห้องโถงแห่งการทรมานของลาตินอเมริกา”
หลังจากทหารปกครองประเทศอยู่ 12 ปี ในที่สุดชาวอุรุกวัยก็ได้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง
จนประเทศได้กลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย และได้พัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเต็มตัว
แต่สิ่งที่รัฐบาลเผด็จการได้ทิ้งไว้ให้ คือปัญหาคอร์รัปชันที่หนักกว่าเดิม..
จนกระทั่งในปี 2004 กลุ่มพรรคการเมืองหลายพรรคที่มีอุดมการณ์สังคมนิยม
สามารถคว้าเสียงข้างมากในสภาไว้ได้ และได้เสนอให้ Tabaré Vázquez เป็นประธานาธิบดี
รัฐบาลของ Tabaré Vázquez ได้เล็งเห็นแล้วว่า สิ่งที่กัดกร่อนความก้าวหน้าของอุรุกวัย
มาตลอดหลายร้อยปี ก็คือ “การคอร์รัปชัน”
นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจังของอุรุกวัย
ในปี 2008 รัฐบาลได้ออกกฎหมายเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของรัฐ หรือ Freedom Open Information Act (FOIA) ซึ่งสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน
ควบคู่ไปกับการออกกฎหมายต่อต้านการคอร์รัปชัน ซึ่งรวมไปถึงการฟอกเงิน
ใครก็ตามที่ทำผิดกฎหมายนี้จะต้องถูกดำเนินคดีอาญา
กฎหมายทั้งสอง คือจุดเปลี่ยนสำคัญของการบริหารประเทศ
เมื่อการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐสู่สาธารณชน ทำให้เกิดการตรวจสอบได้
เมื่อพบความผิดปกติ ผู้กระทำผิดก็ต้องรับผิดชอบด้วยการรับโทษตามกฎหมาย
ความโปร่งใสของอุรุกวัยจึงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด..
ในปี 1999 อุรุกวัยมีดัชนีความโปร่งใสอยู่ที่ 44 ไม่แตกต่างกับประเทศส่วนใหญ่ในอเมริกาใต้
ระยะเวลาเพียง 10 ปี
ในปี 2009 อุรุกวัยมีดัชนีความโปร่งใสอยู่ที่ 69 ซึ่งทำให้อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีดัชนีนี้สูงที่สุดในภูมิภาค
เมื่อความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลก็ทุ่มเทไปกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งการรักษาวินัยทางการคลัง ลอยตัวค่าเงิน ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และแก้ปัญหาการว่างงาน
เวลาผ่านมาจนกระทั่ง José Mujica ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2010
เขาก็ได้สานต่อเจตนาของพรรค ที่เน้นความโปร่งใสทางการเมือง คุณภาพชีวิตของคนในชาติ ความปลอดภัย และแก้ปัญหาความยากจน
ซึ่งในขณะที่ José Mujica ดำรงตำแหน่ง ได้รับฉายาว่าเป็นประธานาธิบดีที่จนที่สุดในโลก
เพราะเขาบริจาคเงินมากกว่า 90% ให้กับองค์กรการกุศลต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้เป็นประจำ
แล้วเศรษฐกิจของประเทศนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ?
สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของอุรุกวัย จะมีความคล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาร์เจนตินา
คือ เนื้อวัว อุรุกวัยเป็นประเทศที่ส่งออกเนื้อวัวได้เป็นอันดับ 10 ของโลก
นอกจากเนื้อวัว ยังมีผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง ขนแกะ และธัญพืช ซึ่งสินค้าจากภาคเกษตรกรรมเหล่านี้ คิดเป็นสัดส่วน 50% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมดของอุรุกวัย
นอกเหนือจากภาคการเกษตรแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สร้างเม็ดเงินให้กับอุรุกวัย โดยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 อุรุกวัยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากถึง 3.5 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนประชากรอุรุกวัยที่ 3.5 ล้านคน
สร้างเม็ดเงินให้ประเทศได้ราว 65,000 ล้านบาท
แต่อุรุกวัย เป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมัน
ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานมาจากอาร์เจนตินาเป็นจำนวนมาก
อุรุกวัยจึงขาดดุลกับประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเวลานาน
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ทางรัฐบาลอุรุกวัย ได้วางแผนที่จะหาทางออกในการลดค่าใช้จ่าย
ในการนำเข้าพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งทางออกที่ว่านั่นก็คือ การลงทุนใน “พลังงานหมุนเวียน”
ถึงแม้อุรุกวัยจะมีแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าอยู่ประมาณ 50% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
แต่ก็ต้องหาทางกระจายไปสู่แหล่งพลังงานอื่น เพื่อจะได้กักเก็บน้ำไว้สำหรับภาคการเกษตร
ในช่วงหน้าแล้ง โดยไม่ต้องนำมาผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ภาครัฐและภาคเอกชนจึงเน้นการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ โดยเฉพาะพลังงานลม
ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วน จนเป็นเกือบ 40% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ปัจจุบัน อุรุกวัยสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เป็นพลังงานสะอาดได้เกือบ 100%
ซึ่งนอกจากจะใช้เพียงพอภายในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปยังอาร์เจนตินาได้อีกด้วย
ที่น่าสนใจคือ รัฐบาลอุรุกวัย ยังมีการสนับสนุนการลงทุน เพื่อก่อตั้งศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีและการเงิน ที่มีชื่อว่า “Zonamerica” ในกรุงมอนเตวิเดโอ
ซึ่งเป็นเขตปลอดภาษี เพื่อที่จะดึงดูดบริษัทจากต่างประเทศ ให้มาตั้งสำนักงานที่อุรุกวัย
ปัจจุบัน Zonamerica เป็นที่ตั้งของบริษัทมากถึง 350 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น CITI, Deloitte, KPMG, PwC, Airbus และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง
ปี 2019 อุรุกวัย มีมูลค่า GDP ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท
เมื่อหารด้วยจำนวนประชากร จะทำให้อุรุกวัยมี GDP ต่อหัวเท่ากับ 490,000 บาทต่อปี
ซึ่งถือเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
ปัจจุบัน อุรุกวัยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มีดัชนีความโปร่งใสในปี 2020 อยู่ที่ 71 ซึ่งเป็นอันดับที่ 21 ของโลก
ซึ่งเป็นอันดับที่ดีกว่าฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ เสียอีก
ส่วนเมืองหลวงอย่างกรุงมอนเตวิเดโอ ก็ได้รับการจัดอันดับจาก Mercer
ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในอเมริกาใต้
ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ ล้วนเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า
และสร้างรายได้อย่างมหาศาล แต่เศรษฐกิจกลับประสบความถดถอยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า “คอร์รัปชัน”
แต่อุรุกวัยกลับเลือกเส้นทางที่แตกต่าง
การแก้ปัญหาอย่างตรงจุด และเปลี่ยนการบริหารประเทศไปสู่ความโปร่งใส
ทำให้ประเทศที่เคยเต็มไปด้วยการทุจริตและความขัดแย้งทางการเมืองไม่จบสิ้น
เป็นประเทศที่ประชาชนตรวจสอบการบริหารได้ งบประมาณจากภาษีก็ถูกนำไปแก้ไขปัญหา
และพัฒนาอย่างจริงจัง
เพราะเลือกเส้นทางที่ไม่เหมือนใคร
อนาคตของอุรุกวัยจึงสดใสที่สุด ภายใต้ความมืดมนของอีกหลายประเทศ ในทวีปเดียวกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.cepal.org/sites/default/files/pr/files/table_press_gdp_preliminaryoverview2020-eng.pdf
-https://www.archdaily.com/914434/these-are-the-20-most-livable-cities-in-latin-america-in-2019
-https://www.britannica.com/place/Uruguay/Sports-and-recreation#ref407712
-https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Uruguay
-http://motherearthtravel.com/uruguay/history.htm
-https://www.vox.com/identities/2018/8/20/17938416/marijuana-legalization-world-uruguay-canada-netherlands
-https://www.zeweed.com/jose-mujica-the-first-president-to-legalise-weed/?c=13ac35fba0ac
-https://tradingeconomics.com/uruguay/corruption-index
-https://thaipublica.org/2014/10/latin-america-corruption-perception-2/
-https://www.trade.gov/knowledge-product/uruguay
-https://ourworldindata.org/co2-emissions
-https://www.worlddata.info/america/uruguay/tourism.php
-https://www.fdiintelligence.com/article/76412
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過1,700的網紅holadieuuyen,也在其Youtube影片中提到,#duhochalan #nijmegen #holadieuuyen Hola mọi người, mình là Uyên hiện đang du học tại Hà Lan. Lí do mình có kênh youtube này vì mình muốn ghi lại nhữn...
cities in netherlands 在 黃之鋒 Joshua Wong Facebook 的最讚貼文
【國際連動 聲援十二港人】
今天是十二名港人被送中第60日,全球三十個城市在這個週末將有不同活動,以聲援十二港人。
最後,呼籲大家留意12港人關注組,今個星期日晚上八時出席網上集會,與家屬同行,毋忘十二手足。
[Global Solidarity Campaign]
23rd October marks the 60th day that the 12 Hongkongers have been sent to China. Various Campaigns will be held globally in different cities to support the 12 Hongkongers and demand the Authorities for their early release.
23/10
達蘭薩拉(印度) Dharamshala, India
Students for a Free Tibet - India
11:00: https://fb.me/e/1OOIUFXP9
三藩市(美國) San Francisco, US
Hong Kongers in San Francisco Bay Area
09:00 PDT: https://fb.me/e/4GvgvnnqY
San Francisco Hong Kongers bot - 三藩市香港人公海bot
19:30 PDT: https://fb.me/e/2SQyMKuXt
愛丁堡(蘇格蘭) Edinburgh, Scotland
Democracy for Hong Kong in Scotland
14:00: https://fb.me/e/3h8UwDN3h
哥德堡(瑞典) Gothenburg, Sweden
16:30 CET
24/10
紐約(美國) New York, US
NY4HK - New Yorkers Supporting Hong Kong FreeKazakhs Students for a Free Tibet Keep Taiwan Free Lion Rock Café
15:00 EDT: https://fb.me/e/318qlzlbU
波士頓(美國) Boston, US
波士頓香港人權組織 Hong Kong Social Action Movements in Boston Frances Hui 許穎婷
14:00 EDT: https://fb.me/e/4qFET2Ljx
西雅圖(美國) Seattle, US
Lamp Of Liberty Hong Kong Democracy & Human Rights Association at UW Seattle Hong Kong Students Alliance 西雅圖香港學生聯盟
14:00 PDT: https://fb.me/e/3L3YfyxfV
聖地牙哥(美國) San Diego, US
15:00 PDT: https://fb.me/e/6Zwy9WFVa
華盛頓(美國) Washington DC, US
DC4HK - Washingtonians Supporting Hong Kong
14:00 EDT: https://fb.me/e/3v4LqZ4sQ
洛杉磯(美國) Los Angeles, US
洛杉磯香港論壇 Hong Kong Forum, Los Angeles - Public
13:30 PDT: https://fb.me/e/3G4LPWqZ5
溫哥華(加拿大) Vancouver, Canada
思政學陣 VHKPoActs
15:30 PDT: https://fb.me/e/4rljtGM85
多倫多(加拿大) Toronto, Canada
Canada-Hong Kong Link
14:00 EDT: https://fb.me/e/3N3CRmap0
哈里法斯(加拿大) Halifax, Canada
Halifax-Hong Kong Link
16:00 AST: https://fb.me/e/3fboSqbQ4
倫敦(英國) London, UK
Fight for Freedom. Stand with Hong Kong. Democracy for Hong Kong - D4HK
14:00: https://fb.me/e/4Y7Cv1Por
曼徹斯特(英國) Manchester, UK
Manchester supports Hong Kong 曼徹斯特撐香港
13:00: https://fb.me/e/1E2WFFJ4d
錫菲(英國) Sheffield, UK
Sheffield stands with Hong Kong
13:00: https://fb.me/e/1gdpF9ieY
海牙(荷蘭) The Hague, Netherlands
Netherlands for Hong Kong
14:30: https://fb.me/e/4Mm2JV4nl
斯德哥爾摩(瑞典) Stockholm, Sweden
Befria Hongkong - Liberate Hong Kong
12:30: https://fb.me/e/1L1pu20Tw
亞德萊德(澳洲) Adelaide, Australia
Adelaide - Stand with Hong Kong
14:00: https://fb.me/e/1AdrQMEVt
首爾(韓國) Seoul, South Korea
다이얼로그 차이나 한국대표부 Dialogue China_Korea
14:00: https://www.facebook.com/102745644456264/posts/405756837488475
25/10
台北(台灣) Taipei, Taiwan
香港邊城青年 Hong Kong Outlanders 台灣人權促進會 Taiwan Association for Human Rights 經濟民主連合 永社 Taiwan Forever Association 台灣公民陣線 公投護台灣聯盟 民間司法改革基金會
14:00: https://fb.me/e/cJsEiGcvG
31/10
基督城(紐西蘭) Christchurch, New Zealand
Yellow Power NZ
11:00: https://fb.me/e/3Rl5anzW6
其他快閃或聲援行動地區 Other Cities Joining the Campaign
芝加哥(美國) Chicago, US
紐賓士域(美國) New Brunswick, US
芝加哥(美國) Chicago, US
渥太華(加拿大) Ottawa, Canada
滿地可(加拿大) Montreal, Canada
溫尼伯(加拿大) Winnipeg, Canada
卡加利(加拿大) Calgary, Canada
愛民頓(加拿大) Edmonton, Canada
利載拿(加拿大) Regina, Canada
悉尼(澳洲) Sydney, Australia
墨爾本(澳洲) Melbourne, Australia
布里斯本(澳洲) Brisbane, Australia
柏林(德國) Berlin, Germany
奧斯陸(挪威) Oslo, Norway
日內瓦(瑞士) Geneva, Switzerland
東京(日本) Tokyo, Japan
*參加者請留意當地防疫政策
*Participants please notice the local policies about the COVID-19
#save12hkyouths
🌎爭你一個!立即參與全球聯署👉https://bit.ly/3008r4c
cities in netherlands 在 IELTS Fighter - Chiến binh IELTS Facebook 的最佳解答
- Luyện đọc tìm từ vựng nhé.
Bài đọc hôm nay là: THE GROWTH OF BIKE-SHARING SCHEMES AROUND THE WORLD
How Dutch engineer Luud Schimmelpennink helped to devise urban bike-sharing schemes
A. The original idea for an urban bike-sharing scheme dates back to a summer's day in Amsterdam in 1965. Provo, the organisation that came up with the idea, was a group of Dutch activists who wanted to change society. They believed the scheme, which was known as the Witte Fietsenplan, was an answer to the perceived threats of air pollution and consumerism. In the centre of Amsterdam, they painted a small number of used bikes white. They also distributed leaflets describing the dangers of cars and inviting people to use the white bikes. The bikes were then left unlocked at various locations around the city, to be used by anyone in need of transport.
B. Luud Schimmelpennink, a Dutch industrial engineer who still lives and cycles in Amsterdam, was heavily involved in the original scheme. He recalls how the scheme succeeded in attracting a great deal of attention - particularly when it came to publicising Provo's aims - but struggled to get off the ground. The police were opposed to Provo's initiatives and almost as soon as the white bikes were distributed around the city, they removed them. However, for Schimmelpennink and for bike-sharing schemes in general, this was just the beginning. 'The first Witte Fietsenplan was just a symbolic thing,' he says. 'We painted a few bikes white, that was all. Things got more serious when I became a member of the Amsterdam city council two years later.'
C. Schimmelpennink seized this opportunity to present a more elaborate Witte Fietsenplan to the city council. 'My idea was that the municipality of Amsterdam would distribute 10,000 white bikes over the city, for everyone to use,' he explains. 'I made serious calculations. It turned out that a white bicycle - per person, per kilometre - would cost the municipality only 10% of what it contributed to public transport per person per kilometre.' Nevertheless, the council unanimously rejected the plan. 'They said that the bicycle belongs to the past. They saw a glorious future for the car,' says Schimmelpennink. But he was not in the least discouraged.
D. Schimmelpennink never stopped believing in bike-sharing, and in the mid-90s, two Danes asked for his help to set up a system in Copenhagen. The result was the world's first large-scale bike-share programme. It worked on a deposit: 'You dropped a coin in the bike and when you returned it, you got your money back.' After setting up the Danish system, Schimmelpennink decided to try his luck again in the Netherlands - and this time he succeeded in arousing the interest of the Dutch Ministry of Transport. 'Times had changed,' he recalls. 'People had become more environmentally conscious, and the Danish experiment had proved that bike-sharing was a real possibility.' A new Witte Fietsenplan was launched in 1999 in Amsterdam. However, riding a white bike was no longer free; it cost one guilder per trip and payment was made with a chip card developed by the Dutch bank Postbank. Schimmelpennink designed conspicuous, sturdy white bikes locked in special racks which could be opened with the chip card- the plan started with 250 bikes, distributed over five stations.
E. Theo Molenaar, who was a system designer for the project, worked alongside Schimmelpennink. 'I remember when we were testing the bike racks, he announced that he had already designed better ones. But of course, we had to go through with the ones we had.' The system, however, was prone to vandalism and theft. 'After every weekend there would always be a couple of bikes missing,' Molenaar says. 'I really have no idea what people did with them, because they could instantly be recognised as white bikes.' But the biggest blow came when Postbank decided to abolish the chip card, because it wasn't profitable. 'That chip card was pivotal to the system,' Molenaar says. 'To continue the project we would have needed to set up another system, but the business partner had lost interest.'
F. Schimmelpennink was disappointed, but- characteristically- not for long. In 2002 he got a call from the French advertising corporation JC Decaux, who wanted to set up his bike-sharing scheme in Vienna. 'That went really well. After Vienna, they set up a system in Lyon. Then in 2007, Paris followed. That was a decisive moment in the history of bike-sharing.' The huge and unexpected success of the Parisian bike-sharing programme, which now boasts more than 20,000 bicycles, inspired cities all over the world to set up their own schemes, all modelled on Schimmelpennink's. 'It's wonderful that this happened,' he says. 'But financially I didn't really benefit from it, because I never filed for a patent.'
G. In Amsterdam today, 38% of all trips are made by bike and, along with Copenhagen, it is regarded as one of the two most cycle-friendly capitals in the world - but the city never got another Witte Fietsenplan. Molenaar believes this may be because everybody in Amsterdam already has a bike. Schimmelpennink, however, cannot see that this changes Amsterdam's need for a bike-sharing scheme. 'People who travel on the underground don't carry their bikes around. But often they need additional transport to reach their final destination.' Although he thinks it is strange that a city like Amsterdam does not have a successful bike sharing scheme, he is optimistic about the future. 'In the '60s we didn't stand a chance because people were prepared to give their lives to keep cars in the city. But that mentality has totally changed. Today everybody longs for cities that are not dominated by cars.'
original (adj): đầu tiên
scheme (n): kế hoạch
activist (n): nhà hoạt động xã hội
perceived (adj): nhận biết; threat (n): mối đe dọa
consumerism (n): sự bảo vệ quyền lợi người tiêu dùng
struggle (v): đấu tranh
opposed (adj): phản đối
initiative (n): sáng kiến
symbolic (adj): tượng trưng
seize (v): nắm bắt
elaborate (adj): phức tạp
municipality (n): thành phố tự trị
unanimously (adv): đồng lòng, nhất trí
glorious (adj): huy hoàng
deposit (n): tiền đặt cọc
arouse (v): đánh thức
conscious (adj): nhận thức
conspicuous (adj): đáng chú ý
vandalism (n): hành động cố ý phá hoại
theft (n): hành vi trộm cắp
abolish (v): hủy bỏ
profitable (adj): có lợi
pivotal (adj): chủ chốt, then chốt
characteristically (adv): một cách đặc trưng
decisive (adj): kiên quyết
unexpected (adj): bấtt ngờ
boast (v): khoe khoang
optimistic (adj): lạc quan
mentality (n): tâm tính
Các bạn cùng lưu về tham khảo nha.
cities in netherlands 在 holadieuuyen Youtube 的精選貼文
#duhochalan #nijmegen #holadieuuyen
Hola mọi người, mình là Uyên hiện đang du học tại Hà Lan. Lí do mình có kênh youtube này vì mình muốn ghi lại những khoảnh khắc và chia sẻ với các bạn về cuộc sống du học của mình.
Vì thành phố nơi mình học tập khá là nhỏ nên vào những ngày nghỉ mình thường tranh thủ đi tham quan và khám phá những thành phố khác, hôm nay mình sẽ dẫn các bạn đến thành phố xinh đẹp Nijmegen! Nếu bạn đang có ý định đi du lịch hay học tập tại Nijmegen, mình mong video này sẽ giúp ích cho bạn. Đây là video đầu tiên của mình, nếu có thiếu sót thì mong mọi người thông cảm nha :P
Hello everyone, I am Uyen and I am currently studying in the Netherlands. The reason why I have this youtube channel because I want to capture all moments and share with you guys about my study abroad life.
Because the city where I study is quite small, I often explore other cities on holidays, so today I will take you to the beautiful city - Nijmegen! If you are planning to travel or study in Nijmegen, I really hope this video will be helpful for you.
Hope you guys enjoy this video!
---
? Instagram: https://www.instagram.com/holadieuuyen/?hl=en
? Facebook: https://www.facebook.com/dieuuyenhihi
---
Địa điểm mình đến ở Nijmegen / Locations are mentioned in my video
1. Stadscafé Jan: http://www.stadscafejan.nl/
2. Saint Stephen’s Church
3. Kronenburgerpark: historic park with a landmark tower
4. Farmers Market on Saturday
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/AGi8CGpBXvk/hqdefault.jpg)