ปรากฏการณ์ กับดักสภาพคล่อง ที่ประเทศไทยกำลังเจอ
กับดักสภาพคล่องคืออะไร และ ทำไมเศรษฐกิจประเทศไทยถึงกำลังติดกับดักสภาพคล่องนี้ ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
References:
-https://www.investopedia.com/terms/l/liquiditytrap.asp
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=31&language=TH
-https://en.wikipedia.org/wiki/Liquidity_trap
-https://www.scbam.com/th/knowledge/world-wide-wealth/world-wide-wealth-23052016
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=828&language=TH
-https://tradingeconomics.com/thailand/consumer-confidence
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decade_(Japan)
-https://thaipublica.org/2020/06/tmb-analytics-5-6-2563/
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過361萬的網紅Dan Lok,也在其Youtube影片中提到,Want Some Of Dan's Top Rules For Success? Download His Book, F.U. Money For FREE Here: http://jackmasrules.danlok.link Jack Ma has 9 top rules for su...
「confidence wiki」的推薦目錄:
- 關於confidence wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於confidence wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於confidence wiki 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的精選貼文
- 關於confidence wiki 在 Dan Lok Youtube 的最佳解答
- 關於confidence wiki 在 Dan Lok Youtube 的最佳解答
- 關於confidence wiki 在 Game Of Laughs - Now that's called confidence! Wiki of Thrones 的評價
- 關於confidence wiki 在 hapipal/confidence: Dynamic, declarative configurations 的評價
- 關於confidence wiki 在 Will Powers - Kissing With Confidence (Official Music Video) 的評價
confidence wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ปรากฏการณ์ กับดักสภาพคล่อง ที่ประเทศไทยกำลังเจอ /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่าวันนี้ สภาพคล่องในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนมาจากปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์นั้น สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน แต่ปัจจัยเหล่านี้ กลับไม่ได้เอื้อให้คนอยากนำเงินไปใช้จ่าย ไปลงทุน ไปขยายกิจการ หรือจ้างงานเพิ่ม ตามที่ฝ่ายนโยบายการเงินอยากจะให้เป็น
เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วย ปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ ที่เรียกกันว่า “กับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap)”
กับดักสภาพคล่อง คืออะไร และมันเกิดขึ้นเพราะอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
โดยทั่วไป เวลาจะบอกว่าสภาพคล่องในระบบการเงินสูงหรือไม่ เราก็จะดูได้จาก ปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ และอัตราดอกเบี้ยหน้าธนาคาร
ถ้าปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์มีมาก พร้อม ๆ กับ อัตราดอกเบี้ยหน้าธนาคารที่ต่ำ ก็หมายความว่า สภาพคล่องในระบบกำลังมีสูง
เพราะถ้าตามปกติแล้ว สถานการณ์ที่มีสภาพคล่องในระบบแบบนี้ มันจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้คนเอาเงินไปใช้จ่ายกันมากขึ้น เพราะฝากไปก็ได้ดอกเบี้ยต่ำ
เมื่อคนใช้จ่ายมากขึ้น บริษัทต่าง ๆ สามารถค้าขายได้ดี ก็จะไปกู้เงินมาขยายกำลังการผลิตและจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งสุดท้ายก็ทำให้เศรษฐกิจนั้นเติบโตต่อไป
พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าดอกเบี้ยนโยบายและดอกเบี้ยเงินฝากยิ่งลดลง ก็จะยิ่งกระตุ้นให้การใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศสูงขึ้นได้นั่นเอง
แต่.. เมื่อดอกเบี้ยลดต่ำลงจนถึงจุดจุดหนึ่ง จะเริ่มเกิดเรื่องตรงกันข้าม คือการใช้จ่ายของครัวเรือนและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจนั้น จะลดต่ำลงแทน
ในทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่า “กับดักสภาพคล่อง”
คำนี้ถูกอธิบายโดย จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ
เคนส์บอกไว้ว่า ในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้น เขาสนับสนุนให้รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ และลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายทางการคลัง
ส่วนธนาคารกลางก็ควรลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อให้ประชาชนเอาเงินออกมาใช้ เพราะปกติแล้วความต้องการถือเงินจะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย
ในด้านนโยบายการเงิน ตามทฤษฎีแล้วถ้าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น คนจะลดการใช้จ่ายและเอาเงินไปฝากธนาคารเพื่อรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ย
ในทางกลับกัน ถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลงคนจะไม่มีแรงจูงใจที่จะฝากเงิน และจะถอนเงินออกเพื่อไปใช้จ่ายมากขึ้น จนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นฟื้นตัวได้
อย่างไรก็ตาม เคนส์ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายการเงินที่ลดดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งจะไม่สร้างแรงจูงใจให้คนทั่วไปถอนเงินออกมาใช้จ่ายมากไปกว่านี้
โดยสาเหตุหลัก ๆ ก็เพราะ คนจำนวนมากเริ่ม “ขาดความเชื่อมั่น” ต่อภาวะเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่ เพราะเหตุการณ์ที่ดอกเบี้ยลดต่ำลงมาก ๆ มักเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำอย่างรุนแรง
เมื่อคนส่วนใหญ่เริ่มขาดความเชื่อมั่นในนโยบายลดอัตราดอกเบี้ย พวกเขาก็เลือกที่จะถือเงินสดไว้ก่อน แทนการที่จะนำเงินไปใช้จ่าย โดยเฉพาะคนที่กำลังขาดความมั่นคงในรายได้ปัจจุบันและรายได้ในอนาคต
การใช้จ่ายและการบริโภคที่ลดลงของคนส่วนใหญ่ จึงทำให้ไม่เกิดการลงทุนเพิ่ม และส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจยังคงไม่ฟื้นตัว แม้ผู้ควบคุมนโยบายการเงิน จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกแค่ไหนก็ตาม..
คำถามสำคัญต่อมาก็คือ แล้วตอนนี้ประเทศไทย กำลังตกอยู่ในภาวะกับดักสภาพคล่องหรือไม่ ?
เราลองมาดูข้อมูลเหล่านี้กัน
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 0.5% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
- ปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 14.4 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
- ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลงเหลือเพียง 118.8 จุด จาก 134.3 จุด ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19
- ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนคาดการณ์ของเดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 143.4 จุด ซึ่งอยู่ในระดับเท่าเดิมเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั้ง ๆ ที่ดอกเบี้ยนโยบายนั้นปรับลดลงมาตั้งแต่ 1.25% เหลือเพียง 0.5% ณ ตอนนี้
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2564) ลดลงเหลือเพียง 43.1 จุด ต่ำสุดในรอบ 22 ปี สะท้อนมุมมองของผู้บริโภคว่า ขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างมาก
จะเห็นว่า แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่สภาพคล่องในระบบก็อยู่ในระดับสูง แต่การลงทุนของภาคเอกชนในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้กระเตื้องขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม
ซึ่งนั่นก็ทำให้เรา พอจะสรุปได้ว่า ณ ตอนนี้ ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในภาวะกับดักสภาพคล่องแล้ว
และลำพังนโยบายการเงิน อย่างการลดอัตราดอกเบี้ยนั้น ไม่มีประสิทธิภาพพอจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในตอนนี้
กรณีศึกษาของการเกิด กับดักสภาพคล่อง ที่น่าสนใจเหตุการณ์หนึ่ง
ก็อย่างเช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่ญี่ปุ่นประสบกับวิกฤติฟองสบู่ราคาสินทรัพย์แตก จนทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
ธนาคารกลางของญี่ปุ่นจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงหลายครั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จากเดิมที่ระดับ 6% เมื่อปี 1990 ลงมาอยู่ที่ 0.5% ในปี 1995
แต่การลดลงของอัตราดอกเบี้ย กลับไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้คนญี่ปุ่นนำเงินออกมาใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่รัฐบาลหวังไว้ จนต้องหาวิธีอื่น ๆ อย่างเช่น การอัดฉีดเงินเข้าระบบ และการใช้จ่ายภาครัฐ มาช่วยเสริมแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ
สรุปแล้วก็คือ ปรากฏการณ์กับดักสภาพคล่อง หรือก็คือ การที่อัตราดอกเบี้ยลดลงจนถึงจุดที่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้แล้ว ปัจจัยสำคัญนั้นเกิดมาจาก การขาดความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจของคนในประเทศ
ดังนั้นวิธีแก้คือ ภาคนโยบายต้องหาวิธีทำให้คนในประเทศ มีความเชื่อมั่นและมั่นใจขึ้นให้ได้ ว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะกลับมาดี เพราะเมื่อคนเริ่มมั่นใจก็จะเริ่มทยอยกลับมาใช้จ่ายมากขึ้นเหมือนเดิม
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่จะทำให้คนในประเทศเกิดความมั่นใจ ก็คือ “รัฐบาล”
ซึ่งไม่เพียงแค่การใช้นโยบายการคลัง ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
แต่ยังต้องรวมไปถึงการสร้างบรรยากาศทางด้านสังคม การเมือง ที่เอื้อต่อการบริโภคและการลงทุนให้แก่นักลงทุนในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศให้มากที่สุดเช่นกัน
ไม่อย่างนั้นต่อให้อัตราดอกเบี้ยจะต่ำแค่ไหน
สภาพคล่องจะมากเท่าไร ก็คงไม่มีใครกล้าออกมาจับจ่ายใช้สอยอยู่ดี..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/terms/l/liquiditytrap.asp
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=31&language=TH
-https://en.wikipedia.org/wiki/Liquidity_trap
-https://www.scbam.com/th/knowledge/world-wide-wealth/world-wide-wealth-23052016
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=828&language=TH
-https://tradingeconomics.com/thailand/consumer-confidence
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decade_(Japan)
-https://thaipublica.org/2020/06/tmb-analytics-5-6-2563/
confidence wiki 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的精選貼文
คณิตศาสตร์ของ "หวย"
"หวย" น่าจะเรียกได้ว่าเป็น "กิจกรรมประจำชาติ" ของไทยอย่างหนึ่งที่เรามาร่วมกันโอดครวญกันเป็นประจำกับการถูกหวยแ-ก หวยไม่เพียงแต่เป็น national pastime ประจำชาติเพียงเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อวัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อของเรา และเนื่องจากนี่เป็นเพจวิทยาศาสตร์จึงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าหวยนั้นมีส่วนที่เหนี่ยวรั้งความพัฒนาสู่ scientific literacy ในประเทศเราไม่มากก็น้อย ดั่งที่เราทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดีกับลูกหมูพิการ ต้นกล้วยงอกกลางต้น รวมไปถึงท่อน้ำทิ้งจากส้วมที่แตกและผุดขึ้นมาบนดิน ที่แทบทุกเหตุการณ์ ทุกอุบัติเหตุ ทุกข่าว ทุกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้จะถูกตีความไปเป็น "ตัวเลข" เสียทั้งหมด
ในวันนี้เราจะมาลองดู "หวย" จากในแง่มุมของคณิตศาสตร์กันดูบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องของรางวัล "เลขท้ายสองตัว"
รางวัลเลขท้ายสองตัวนั้นมีความเป็นไปได้ทั้งหมดอยู่ด้วยกัน 100 แบบ โอกาสที่จะถูก จึงมีเพียงแค่หนึ่งในร้อย (ในขณะที่โอกาสที่จะถูกแดกกลับมีถึง 99%) ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่มาจากสมมติฐานว่าหวยทุกเลขนั้นมีโอกาสออกเท่ากันหมด ว่าแต่ว่าสมมติฐานนี้เป็นจริงหรือไม่?
จากกราฟบนในภาพ แสดงถึงการกระจายตัวของหวยเลขท้ายสองตัวตลอด 20 ปีที่ผ่านมา[1] ทั้ง "ตัวบน" และ "ตัวล่าง" รวมกันทั้งสิ้น 477 งวด จากการดูคร่าวๆ เราจะพบว่ารางวัลนั้นมีการกระจายตัวที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ไม่มีตัวเลขใดที่เด่นกว่าอย่างเห็นได้ชัดอาจจะมีบางตัวเลขที่ออกเยอะกว่าเลขอื่นบ้างเล็กน้อย แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ได้มากจนเกินไป
ในทางสถิตินั้น หากเราต้องการจะทราบว่าข้อมูลชุดหนึ่งมีการกระจายตัวที่สอดคล้องกับการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ (uniform distribution) หรือไม่ เราสามารถทำได้โดยการคำนวณค่า Pearson's chi-squared test ซึ่งหากเรานำข้อมูลรางวัลเลขท้ายสองตัวตลอด 20 ปีนี้มาคำนวณดู เราจะพบว่า ข้อมูลที่ได้นั้น มีค่า chi-squared อยู่ต่ำกว่า Upper-tail critical values of chi-square distribution ทั้งที่ 95% และ 99% confidence interval สำหรับทั้งตัวบนและตัวล่าง นี่หมายความว่า เราไม่สามารถ reject null hypothesis ได้ และไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันว่าข้อมูลชุดนี้มีการกระจายตัวที่ต่างออกไปจาก uniform distribution ด้วยความมั่นใจกว่า 99%
ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่ไม่ได้เป็นการยืนยันหรือปฏิเสธว่าหวยมีการล๊อคหรือไม่ เราบอกได้เพียงแค่ว่า เลขที่ออกนั้นมีการกระจายตัวที่ค่อนข้าง uniform และมีโอกาสลงทุกเลขอย่างใกล้เคียงกัน อยู่ที่ว่าเราจะเลือกเลขที่ถูกหรือเปล่า
วิธีหนึ่งที่เราอาจจะเลือกเลขที่จะแทง "หวย" ก็คือการ "สุ่ม" ด้วยตัวเราเองโดยการนึกเลขมั่วๆ ขึ้นมาหนึ่งตัวเลข อย่างไรก็ตาม วิธีนี้นั้นมีปัญหาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการศึกษามายืนยันเป็นอย่างมาก ว่าสมองของมนุษย์นั้นทำการสุ่มตัวเลขได้ค่อนข้างแย่ และตัวเลขที่เรา "สุ่ม" ขึ้นมาจากหัวนั้น ไม่สามารถเป็นเลขที่เกิดจากการ "สุ่ม" ได้อย่างแท้จริง
กราฟล่างซ้ายของภาพ เป็นกราฟที่ได้มาจาก reddit ที่เก็บข้อมูลที่ผู้เข้าร่วมมา "สุ่ม" ตัวเลขลงบนโซเชียลมีเดียกว่า 6750 ครั้ง จากกราฟเราจะพบว่ากราฟนี้ไม่ได้มีการกระจายตัวที่สม่ำเสมอทุกตัวเลขเท่ากัน ตัวเลขที่ได้รับการ "สุ่ม" มากที่สุดนั้นได้แก่เลข "69" (ด้วยเหตุผลบางประการ) "77" และ "7" ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าตัวเลขอื่นอย่างเห็นได้ชัด นอกไปจากนี้ ตัวเลขระหว่าง 1-10 ถูกเลือกมากกว่าตัวเลขอื่นอย่างมีนัยะสำคัญ ซึ่งนี่สอดคล้องกับการศึกษาทางจิตวิทยา และอีกการเก็บข้อมูลหนึ่งที่พบว่าเลข 7 จะถูกเลือกบ่อยที่สุดถึงกว่า 28% เมื่อเราให้คน "สุ่ม" เลขระหว่าง 1-10 ขึ้นมากว่า 8500 ครั้ง[5] เนื่องจากสมองของเรานั้นมีความรู้สึกว่าเลข "7" นั้นควรจะเป็นเลขที่ "สุ่ม" ที่สุด เราจึงเลือกกันแต่เลข 7 จนกลายเป็นเลขที่ไม่สุ่มอีกต่อไป
ซึ่งหากเรานำ Pearson chi-square test มาทดสอบกับข้อมูลชุดนี้ เราจะพบว่าค่า chi-square ที่ได้นั้นเกิน Upper-tail critical values of chi-square distribution ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ไปอย่างไม่เห็นฝุ่น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าเลขท้ายสองตัวที่ได้จากสมองมนุษย์นั้น ไม่ได้มีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอเหมือนอย่างที่หวยออกมาจริงๆ
แล้วการที่สมองมนุษย์ไม่สามารถ random เลขออกมาได้อย่างสม่ำเสมอนั้นมันสำคัญตรงไหน? เมื่อสมองมนุษย์ไม่สามารถ generate distribution แบบเดียวกันกับหวยได้ ก็ย่อมหมายความว่าต่อให้คนที่เชื่อว่ามี "สัญชาติญาณ" ดีที่สุดในการ "เดา" หวย ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะถูกหวยอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าเราไม่มีทางที่จะเดาหวยได้ถูกอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ในเมื่อหวยนั้นออกทุกเลขอย่างสม่ำเสมอ แต่สมองของเรานั้นไม่สามารถสม่ำเสมอได้
ซึ่งนี่นำไปสู่กลวิธีทุดท้ายที่เรามักจะนำมาเป็น "แรงบรรดาลใจ" ในการแทงหวย นั่นก็คือ การมองหาตัวเลขรอบๆ ข้างที่ไม่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้เสียชีวิต ลำดับประธานาธิปดี เวลาท้องถิ่นขณะที่นายกทุ่มโพเดี้ยม ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็มีปัญหาอีกเช่นกัน.... โดยเจ้าปัญหาที่ว่านี้ รู้จักกันในนามของ Benford's Law[6]
Benford's Law นั้นถูกค้นพบโดยบังเอิญโดย Simon Newcomb ในปี 1881 และอีกครั้งโดย Frank Benford ในปี 1938 โดยในยุคก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขของพวกเขานั้น การหาค่า Logarithm ทำได้โดยการเปิดสมุดเล่มหนาๆ เพื่อหาค่าจากในตาราง โดยนายทั้งสองคนนี้พบว่าหน้าแรกๆ ของสมุด logarithm table ของพวกเขานั้นเปื่อยเร็วกว่าหน้าหลังๆ เป็นอย่างมาก นาย Benford จึงตั้งสมมติฐานว่า ตัวเลขหลักหน้าของค่าที่พบในธรรมชาตินั้นอาจจะมีการกระจายตัวที่ไม่สม่ำเสมอกัน โดยที่ตัวเลขน้อยๆ ควรจะมีการพบได้บ่อยกว่า ตามกราฟแท่งสีน้ำเงินที่ด้านล่างขวาของภาพ และเขาได้ทดสอบกับตัวเลขในธรรมชาติที่ไม่ควรจะมีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ พื้นที่ผิวของแม่น้ำ 335 สาย, ประชากรของเมืองในสหรัฐ 3259 เมือง, ค่าคงที่สากลทางฟิสิกส์กว่า 104 ค่า มวลโมเลกุลกว่า 1800 โมเลกุล, ตัวเลขที่ได้จากคู่มือคณิตศาสตร์กว่า 5000 ตัวเลข, ตัวเลขที่พบในนิตยสาร Reader's Digest กว่า 308 เลข, บ้านเลขที่ของคนกว่า 342 คนที่พบใน American Men of Science และอัตราการเสียชีวิตกว่า 418 อัตรา รวมทั้งหมดนาย Benford ได้นำตัวเลขที่ได้มาแบบสุ่มกว่า 20,229 เลข และพบว่าเลขเหล่านั้นมีตัวเลขหลักหน้ากระจายตัวตาม Benford's Law
กราฟด้านล่างขวา แสดงถึง Benford's Law เทียบกับการกระจายตัวของตัวเลขหลักหน้าของค่าคงที่ทางฟิสิกส์ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการกระจายตัวสอดคล้องกับ Benford's Law เป็นอย่างมาก นอกไปจากนี้ Benford's Law ยังใช้ได้อยู่ ไม่ว่าเราจะแปลงค่าต่างๆ ที่พบไปเป็นเลขฐานใดๆ หรือหน่วยใดๆ ก็ตาม ตัวอย่างเช่น Benford's Law ทำนายเอาไว้ว่า ตัวเลขกว่า 30.1% จะขึ้นต้นด้วยเลข 1 ซึ่งหากเรานำความสูงของตึกที่สูงที่สุดในโลก 58 ตึก เราจะพบว่าตึกกว่า 41% นั้นมีความสูงในหน่วยเมตรขึ้นต้นด้วยเลข 1 และแม้ว่าเราจะเปลี่ยนหน่วยเป็นหน่วยฟุต เราก็ยังจะพบว่าตึกกว่า 28% นั้นมีความสูงในหน่วยฟุตขึ้นต้นด้วยเลข 1 ซึ่งมากกว่าเลขอื่นใดๆ
แล้วเพราะเหตุใดเราจึงไม่พบเลขในธรรมชาติในจำนวนที่เท่าๆ กันทุกเลข? คำอธิบายที่ง่ายที่สุดก็คงจะเป็นเพราะว่า สิ่งต่างๆ หลายสิ่งในธรรมชาตินั้นมีความสัมพันธ์เชิง logarithm ซึ่งหากเราแปลงเลขในฐานสิบให้อยู่ในสเกลของ logarithm เราจะได้เส้นจำนวนดังภาพล่างขวาในภาพ จากเส้นจำนวนนี้ เราจะพบว่าหากเราจิ้มตำแหน่งโดยสุ่มบนเส้นจำนวนนี้ โอกาสส่วนมากที่สุดนั้นจะตกอยู่ในเลขที่มีหลักนำหน้าเป็น 1 ตามด้วย 2,3,4 ลดหลั่นลงไป ตาม Benford's Law
Benford's Law นี้มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ในการตรวจจับการโกง เนื่องจากสมองของมนุษย์นั้นมีความคาดหวังที่จะให้ทุกตัวเลขตกลงเท่าๆ กัน ตัวเลขที่ได้จากการเมคข้อมูลของคนจึงไม่เป็นไปตาม Benford's Law ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานบ่งบอกว่ามีอะไรบางอย่างตุกติกเกิดขึ้นในข้อมูล
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดตัวอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลของจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เนื่องจากการติดเชื้อนั้นมีการแพร่กระจายตัวแบบ exponential ตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อนั้นจึงควรจะเป็นไปตาม Benford's Law ทีมนักวิจัยจึงได้มีการนำตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อที่รายงานในแต่ละประเทศมาเปรียบเทียบกับ Benford's Law[7] และพบว่าข้อมูลจากประเทศรัสเซียและอิหร่านนั้นไม่เป็นไปตาม Benford's Law ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อจาก สหรัฐ บราซิล อินเดีย เปรู อาฟริกาใต้ โคลอมเบีย เม็กซิโก สเปน อาร์เจนตินา ชิลี อังกฤษ ฝรั่งเศส ซาอุ จีน ฟิลิปปินส์ เบลเยี่ยม ปากีสถาน และอิตาลี เป็นไปตาม Benford's Law ไม่ผิดเพี้ยน
ทั้งหมดนี้ก็วกกลับมาที่ปัญหาหลักของการนำค่าที่พบในธรรมชาติมาทำนายหวย: ค่าที่พบในธรรมชาตินั้นไม่ได้มีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ แต่หวยนั้นกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ (ซึ่งยังไม่นับกรณีเช่นเอาวันที่ซึ่งไม่มีทางเกิน 31 มาแทง) ตัวเลขที่เราพบในธรรมชาตินั้นจึงเปรียบได้กับลูกเต๋าที่ถูกถ่วงน้ำหนักเอาไว้ให้ได้ค่าต่ำๆ คำถามก็คือ ลูกเต๋าที่ถ่วงน้ำหนักเอาไว้นั้น จะเป็นตัวแทนที่จะทำนายผลของลูกเต๋าที่มาตรฐานได้แม่นจำจริงหรือ?
ทั้งนี้ทั้งนั้น การเล่นหวยหรือไม่เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล และถึงแม้ว่าส่วนตัวในฐานะนักวิทยาศาสตร์นั้นจะไม่เห็นด้วยกับเรื่องงมงาย แต่การลงทุนหวยเพียงไม่กี่ร้อย และกับเสี้ยวเวลาเล็กๆ ที่จะได้ลุ้นถึงอนาคตที่ดีขึ้น บางทีก็อาจจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับคนหลายๆ คนก็ได้
หมายเหตุ: บทความนี้เราไม่ได้พูดถึง "โต๊ด" และ Benford's Law นั้นมีผลกับเลขหลักหน้าๆ มากกว่าหลักท้ายๆ แต่คำเตือนนี้ไม่ใช่การใบ้หวย...
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://horoscope.thaiorc.com/lottery/stats/lotto-years20.php
[2] https://en.wikipedia.org/wiki/Pearson%27s_chi-squared_test
[3] https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3632045/
[4] https://www.reddit.com/r/dataisbeautiful/comments/88m2mj/pick_a_number_from_1100_results_from_6750/
[5] https://www.reddit.com/r/dataisbeautiful/comments/acow6y/asking_over_8500_students_to_pick_a_random_number/
[6] https://en.wikipedia.org/wiki/Benford%27s_law
[7] https://www.researchgate.net/publication/344164702_Is_COVID-19_data_reliable_A_statistical_analysis_with_Benford's_Law
confidence wiki 在 Dan Lok Youtube 的最佳解答
Want Some Of Dan's Top Rules For Success? Download His Book, F.U. Money For FREE Here: http://jackmasrules.danlok.link
Jack Ma has 9 top rules for success. In this video, Dan Lok reveals some of the thinking and secrets behind how Jack Ma has become successful and the mindset that he has that has played a huge role in his success. Watch this video to discover Jack Ma's top 9 rules for success.
? SUBSCRIBE TO DAN'S YOUTUBE CHANNEL NOW ?
https://www.youtube.com/danlok?sub_confirmation=1
Check out these Top Trending Playlists -
1.) Boss In The Bentley: https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46OWsrbWGPnPW8mvDtjge_6-
2.) Sales Tips That Get People To Buy - https://www.youtube.com/watch?v=E6Csz_hvXzw&list=PLEmTTOfet46PvAsPpWByNgUWZ5dLJd_I4
3.) Dan Lok’s Best Secrets - https://www.youtube.com/watch?v=FZNmFJUuTRs&list=PLEmTTOfet46N3NIYsBQ9wku8UBNhtT9QQ
Dan Lok is a Chinese-Canadian business magnate and global educator. Mr. Lok is leading a global education movement spanning across 120+ countries where Mr. Lok has taught millions of men and women to develop high income skills, unlock true financial confidence and master their financial destinies.
Beyond his success in business, Mr. Lok was also a two times TEDx opening speaker. An international best-selling author of over a dozen books. And the host of The Dan Lok Show – a series featuring billionaire tycoons and millionaire entrepreneurs.
Today, Mr. Lok continues to be featured in hundreds of media channels and publications every year and is widely seen as one of the top business leaders by millions around the world.
★☆★ CONNECT WITH DAN ON SOCIAL MEDIA ★☆★
Podcast: http://thedanlokshow.danlok.link
Instagram: http://instagram.danlok.link
YouTube: http://youtube.danlok.link
Linkedin: http://mylinkedin.danlok.link
#DanLok #JackMa #Success
Please understand that by watching Dan’s videos or enrolling in his programs you’ll get results close to what he’s been able to do (or do anything for that matter).
He’s been in business for over 20 years and his results are not typical.
Most people who watch his videos or enroll in his programs get the “how to” but never take action with the information. Dan is only sharing what has worked for him and his students.
Your results are dependent on many factors… including but not limited to your ability to work hard, commit yourself, and do whatever it takes.
Entering any business is going to involve a level of risk as well as massive commitment and action. If you're not willing to accept that, please DO NOT WATCH DAN’S VIDEOS OR SIGN UP FOR ONE OF HIS PROGRAMS.
Image source here:
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Flickr_-_World_Economic_Forum_-_Jack_Ma_Yun_-_Annual_Meeting_of_the_New_Champions_Tianjin_2008_(1).jpg
Description: TIANJIN/CHINA, 28SEPT08 - Jack Ma Yun, Chairman and Chief Executive Officer, Alibaba Group, speaks during The Future of the Global Economy: The View from China plenary session at the World Economic Forum Annual Meeting of the New Champions in Tianjin, China 28 September 2008. Copyright World Economic Forum (www.weforum.org)/Photo by Natalie Behring
Date: 28 September 2008, 14:10
Source: Jack Ma Yun - Annual Meeting of the New Champions Tianjin 2008
Author: World Economic Forum from Cologny, Switzerland
This video is about Jack Ma's Top 9 Rules For Success
https://youtu.be/BeACT80tsX8
https://youtu.be/BeACT80tsX8
confidence wiki 在 Dan Lok Youtube 的最佳解答
Want Help On Your Path To Getting Rich At A Young Age? Download Dan's Book, F.U. Money For Free: http://youngandrich.danlok.link
In this video, you'll discover how to be rich at a young age. And you'll also discover the 4 stages everyone goes through financially. Watch this video to discover how to retire rich and get rich at a young age.
✒️Click Here to read the blog article✒️
https://danlok.com/how-to-retire-early-money-management-tips-and-financial-planning-for-millennials/
? SUBSCRIBE TO DAN'S YOUTUBE CHANNEL NOW ?
https://www.youtube.com/danlok?sub_confirmation=1
Check out these Top Trending Playlists -
1.) Boss In The Bentley: https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46OWsrbWGPnPW8mvDtjge_6-
2.) Sales Tips That Get People To Buy - https://www.youtube.com/watch?v=E6Csz_hvXzw&list=PLEmTTOfet46PvAsPpWByNgUWZ5dLJd_I4
3.) Dan Lok’s Best Secrets - https://www.youtube.com/watch?v=FZNmFJUuTRs&list=PLEmTTOfet46N3NIYsBQ9wku8UBNhtT9QQ
Dan Lok is a Chinese-Canadian business magnate and global educator. Mr. Lok is leading a global education movement spanning across 120+ countries where Mr. Lok has taught millions of men and women to develop high income skills, unlock true financial confidence and master their financial destinies.
Beyond his success in business, Mr. Lok was also a two times TEDx opening speaker. An international best-selling author of over a dozen books. And the host of The Dan Lok Show – a series featuring billionaire tycoons and millionaire entrepreneurs.
Today, Mr. Lok continues to be featured in hundreds of media channels and publications every year and is widely seen as one of the top business leaders by millions around the world.
★☆★ CONNECT WITH DAN ON SOCIAL MEDIA ★☆★
Podcast: http://thedanlokshow.danlok.link
Instagram: http://instagram.danlok.link
YouTube: http://youtube.danlok.link
Linkedin: http://mylinkedin.danlok.link
"Mark Zuckerberg Image by: Anthony Quintano" https://de.wikipedia.org/wiki/Datei:Mark_Zuckerberg_F8_2018_Keynote_(cropped).jpg
"Evan Spiegel Image by TechCrunch" https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Evan_Spiegel_at_TechCrunch_2.jpg
#DanLok #HowToBeRichYoung #Rich
This video is about How To Be Rich At A Young Age
https://youtu.be/aT8BoVfqQAk
https://youtu.be/aT8BoVfqQAk
confidence wiki 在 hapipal/confidence: Dynamic, declarative configurations 的推薦與評價
hapipal / confidence Public · Code · Issues 3 · Pull requests 0 · Actions · Projects 0 · Wiki · Security · Insights. ... <看更多>
confidence wiki 在 Game Of Laughs - Now that's called confidence! Wiki of Thrones 的推薦與評價
November 24, 2016 at 3:30 PM ·. Now that's called confidence! Wiki of Thrones · Like. Love. Haha. 1.6K. ·67 Comments·72 Shares. ... <看更多>