MR.DIY ร้านขายสินค้าจิปาถะ แสนล้าน จากประเทศมาเลเซีย /โดย ลงทุนแมน
ในช่วงที่ผ่านมา มีโมเดลร้านขายสินค้าจิปาถะ แบบราคาไม่แพง เกิดขึ้นมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น, จีน, ไทย
แต่ถ้าถามว่าร้านไหน ที่มีพื้นที่ร้านขนาดใหญ่มากที่สุด มีสินค้าให้เลือกซื้อมากที่สุด
ก็คงไม่พ้นร้าน “MR.DIY” ที่มาพร้อมกับโลโกตัวการ์ตูนรูปค้อน (มีตาและแขน) กำลังยกนิ้วโป้งให้
MR.DIY เป็นร้านค้าปลีกอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านและสินค้าจิปาถะต่าง ๆ จากประเทศมาเลเซีย
และปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 190,200 ล้านบาท
ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 20 ในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย
หลังจากดำเนินธุรกิจมาได้เพียง 16 ปี
แต่กว่าจะมาเป็น เชนร้านค้าปลีกสินค้าจิปาถะ รายใหญ่ในอาเซียน ทุกวันนี้
MR.DIY เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2548
ชาวมาเลเซีย นามว่าคุณ Tan Yu Yeh ได้สังเกตเห็นปัญหาหนึ่งของผู้คนในมาเลเซีย ที่ต้องการซ่อมบ้านด้วยตัวเอง
ว่ากว่าจะซ่อมบ้านได้แต่ละครั้ง ต้องเสียเวลาทั้งวัน เพื่อไปตามหาซื้ออุปกรณ์จากหลาย ๆ ร้าน
เพราะในตอนนั้น ยังไม่มีร้านที่รวบรวมอุปกรณ์ต่าง ๆ แบบครบครัน มาไว้ในที่เดียว
คุณ Tan Yu Yeh จึงตัดสินใจเปิดร้าน MR.DIY สาขาแรกขึ้น ที่กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย เพื่อต้องการแก้ปัญหาตรงนี้ และอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ให้เจอสินค้าที่ต้องการ ครบจบในร้านเดียว
ซึ่งโลโกรูปค้อนของร้านที่คิดค้นขึ้น ก็เพื่อจะสื่อว่า เป็นร้านขายอุปกรณ์ซ่อมบ้าน นั่นเอง
ช่วงแรก ๆ ร้านจะเน้นขายสินค้าพวกฮาร์ดแวร์ก่อน เช่น อุปกรณ์ซ่อมบ้าน, อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก
แต่เมื่อได้เสียงตอบรับที่ดีจาก ลูกค้ากลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน
ร้านจึงได้เพิ่มหมวดสินค้า ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
พร้อมกับขยายสาขาเพิ่มเป็น 3 สาขา หลังจากเริ่มกิจการมาได้เพียง 1 ปี
หลังจากนั้น คุณ Tan Yu Yeh ก็หันมาลองขยายสาขา MR.DIY ในศูนย์การค้า เพื่อดูว่ากระแสตอบรับจะเป็นอย่างไร จากเดิมที่มีเพียงสาขาแบบสแตนด์อโลน
เช่น เปิดสาขาแรกในศูนย์การค้า AEON MALL Taman เมื่อปี พ.ศ. 2552
เปิดสาขาในศูนย์การค้า Tesco Setia Alam เมื่อปี พ.ศ. 2553
ซึ่งผลลัพธ์ปรากฏว่า
คุณ Tan Yu Yeh ได้ค้นพบอีกสูตรลับ แห่งความสำเร็จ..
เพราะร้านที่เปิดในศูนย์การค้านั้น ได้สร้างผลตอบรับและยอดขาย เกินกว่าที่เขาคาดไว้มาก
และนับจากนั้นมา เขาก็เลยหันมาโฟกัส กับการขยายสาขาตามศูนย์การค้าต่าง ๆ
จุดเด่นของร้าน MR.DIY
คือ การรวบรวมสินค้าให้มีความหลากหลายมากที่สุด ในราคาที่จับต้องได้
สินค้าที่วางขาย มีตั้งแต่ราคาไม่ถึงสิบบาท ไปจนถึงหลักพัน
โดยร้านมีสินค้าให้เลือกมากกว่า 16,600 รายการ ครอบคลุมตั้งแต่หมวด
ฮาร์ดแวร์, เครื่องใช้ในครัวเรือน, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน, อุปกรณ์ประดับยนต์, เครื่องเขียนและอุปกรณ์กีฬา, ของเล่น, ของขวัญ, อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ, เครื่องประดับและเครื่องสำอาง
การมีสินค้าที่หลากหลาย ทำให้ร้าน MR.DIY ส่วนใหญ่
มีพื้นที่สาขาเฉลี่ยกว่า 10,000 ตารางฟุตต่อร้าน เลยทีเดียว
ซึ่งอีกข้อได้เปรียบของร้านคือ การมีพื้นที่ร้านขนาดใหญ่ วางสินค้าได้เยอะ กับจำนวนสาขาที่มาก
ทำให้ MR.DIY สามารถต่อรองกับซัปพลายเออร์ได้มาก ด้วยการซื้อสินค้าเป็นจำนวนเยอะ ๆ ในแต่ละครั้ง
ส่งผลให้ร้านได้สินค้ามาในราคาที่ถูกลง จึงตั้งราคาขายให้กับลูกค้า ในราคาต่ำ ๆ ได้ นั่นเอง
ปัจจุบัน MR.DIY มีสาขาทั้งหมด รวมกว่า 1,268 สาขา
ในมาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย, บรูไน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา
แต่เฉพาะแค่มาเลเซีย MR.DIY ก็มีจำนวนสาขา ปาไปแล้ว 734 สาขา
หรือเกินกว่าครึ่งของจำนวนสาขาทั้งหมด
ซึ่งในตลาดค้าปลีกอุปกรณ์ตกแต่งบ้านของมาเลเซีย ในปี 2563
MR.DIY สามารถครองส่วนแบ่งตลาดไปได้กว่า 34.6%
แล้วผลประกอบการเป็นอย่างไร ในช่วงที่ผ่านมา ?
บริษัท MR D.I.Y. Group
ปี 2562 มีรายได้ 17,240 ล้านบาท กำไร 2,406 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ 19,390 ล้านบาท กำไร 2,554 ล้านบาท
สัดส่วนรายได้ ในปีล่าสุด มาจากสินค้าหมวด
- เครื่องใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน (Household & Furnishing) 39.5%
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 17.7%
- เครื่องใช้ไฟฟ้า (Electrical) 10.2%
- เครื่องเขียนและอุปกรณ์กีฬา (Stationery & Sports) 7.4%
- อื่น ๆ 25.2%
แม้ปี 2563 จะเป็นปีที่ต้องประสบกับวิกฤติโควิด 19
แต่บริษัทก็สามารถเติบโตสวนกระแสได้อย่างงดงาม
ซึ่งเป็นผลมาจาก การขยายสาขาเพิ่มในประเทศต่าง ๆ
บวกกับอานิสงส์ที่ผู้คนอยู่บ้านกันมากขึ้น จึงจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ซ่อมบ้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน
สำหรับประเทศไทย
MR.DIY เริ่มเข้ามาตีตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยเปิดสาขาแรกที่ ซีคอนบางแค
ซึ่งไทยเป็นประเทศแรก ที่ MR.DIY ได้ออกมาเปิดสาขาในต่างประเทศ
และเสียงตอบรับในไทย ก็ไม่แพ้ประเทศบ้านเกิดอย่างมาเลเซีย
เพราะภายใน 1 ปี หลังจากเปิดตลาด ก็สามารถขยายสาขาไปได้ถึง 50 สาขา
โดยปัจจุบัน เปิดไปแล้วกว่า 200 สาขา และกำลังขยายสาขาไปทั่วประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ทำเลส่วนใหญ่จะอยู่ในศูนย์การค้าอย่าง เซ็นทรัล, โลตัส, บิ๊กซี รวมไปถึงศูนย์การค้าท้องถิ่น
ซึ่งทุกสาขาบริหารจัดการโดย MR.DIY เอง ไม่มีสาขาแฟรนไชส์
บริษัท มิสเตอร์. ดี.ไอ.วาย. เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
ปี 2561 มีรายได้ 1,722 ล้านบาท กำไร 57 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 2,572 ล้านบาท กำไร 38 ล้านบาท
จากเรื่องทั้งหมดที่เล่ามา ด้วยความสำเร็จของ ธุรกิจร้านขายสินค้าจิปาถะ มูลค่าแสนล้าน นี้เอง
จึงทำให้คุณ Tan Yu Yeh ผู้ก่อตั้ง MR.DIY ได้กลายเป็นเศรษฐีหมื่นล้าน
ซึ่งเขาถูก Forbes ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน อยู่ที่ 56,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.mrdiy.com/th/
-https://en.wikipedia.org/wiki/MR.DIY
-https://vulcanpost.com/719677/mr-diy-history-malaysia-home-improvement/
-https://bit.ly/3vPpKT3
-https://www.insage.com.my/Upload/Docs/MRDIY/MRDIY-Annual%20Report%202020.pdf#view=Full&pagemode=bookmarks
-https://mgronline.com/business/detail/9620000072089
-https://www.forbes.com/profile/tan-yu-yeh/?list=billionaires&sh=496954916b7b
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
home improvement wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก HMPRO หุ้นแห่งทศวรรษ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าหนึ่งในหุ้นแห่งทศวรรษของตลาดหุ้นไทยที่ทำผลงานได้โดดเด่นมีบริษัทไหนบ้าง
คำตอบน่าจะมีชื่อของ HMPRO (โฮมโปร) รวมอยู่ด้วย
ปี 2010 Market Cap ของ HMPRO เท่ากับ 12,700 ล้านบาท
ปี 2020 Market Cap ของ HMPRO เท่ากับ 206,000 ล้านบาท
มูลค่ากิจการของบริษัทเพิ่มขึ้น 16 เท่า ในรอบ 10 ปี หมายความว่า ถ้าเราลงทุนในหุ้น HMPRO 1 ล้านบาท เงินของเราจะเพิ่มเป็น 16 ล้านบาท
แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงมาหลายปี ดูเหมือนว่ากำไร HMPRO หลายปีมานี้ ยังเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
HMPRO ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 โดยเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH และบริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH เพื่อขายวัสดุการก่อสร้าง ตกแต่งและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแบบครบวงจร
ปี 2539 HMPRO เริ่มเปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ในตอนนั้นการเติบโตของ HMPRO ได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการเปลี่ยนรูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่มาอาศัยแบบชุมชนเมือง (Urbanization) มากขึ้น
ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า
ปี 2539 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทย 88,000 บาท
ปี 2562 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทย 242,000 บาท
เรื่องนี้ทำให้หลายธุรกิจที่พึ่งพากำลังซื้อจากผู้บริโภคเติบโต โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ รวมทั้ง HMPRO จึงทำให้ธุรกิจขายสินค้าและวัสดุตกแต่งบ้านขยายตัวตามไปด้วย
ณ สิ้นไตรมาส 1/2563 HMPRO มีสาขารวมทั้งสิ้น 113 สาขา
โดยธุรกิจของ HMPRO สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่ม Home Improvement ซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกสินค้าสำหรับก่อสร้าง ตกแต่งและซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยในประเทศไทยจะมีทั้งหมด 93 สาขา และต่างประเทศที่มาเลเซีย 6 สาขา
2. กลุ่ม Home Center ในชื่อเมกาโฮม จำนวน 14 สาขา โดยเป็นธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งวัสดุก่อสร้าง สินค้าเกี่ยวกับบ้าน และของใช้ในครัวเรือน โดยคู่แข่งในกลุ่มนี้ เช่น ไทวัสดุ โกลบอลเฮ้าส์ โฮมเวิร์ค ดูโฮม
3. ธุรกิจอื่นๆ เช่น การบริหารพื้นที่ให้เช่า การบริหารจัดการคลังสินค้าและให้บริการขนส่งสินค้า
อย่างที่รู้กันว่า การเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเวลาเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง อสังหาริมทรัพย์ จะเป็นสินทรัพย์แรกๆ ที่ผู้บริโภคมักเลื่อนการซื้อออกไป เนื่องจากราคาที่สูง
แน่นอนว่า เรื่องนี้ได้ส่งผลกระทบต่อ HMPRO บ้าง แต่ไม่มากเท่ากับบริษัทที่ทำเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เพราะกลุ่มลูกค้าของ HMPRO ไม่ได้มีเพียงกลุ่มลูกค้าที่ซื้อหรือสร้างบ้านใหม่ แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มลูกค้าที่มีที่อยู่อาศัยอยู่แล้วเช่นกัน
โดยกลุ่มหลังนั่นคือ กลุ่มลูกค้าหลักของ HMPRO ในปัจจุบัน โดยลูกค้ากว่า 80% เป็นลูกค้าที่มีบ้านอยู่แล้ว ส่วนอีก 20% เป็นกลุ่มลูกค้าบ้านใหม่
นอกจากนั้นบริษัทยังมีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี รวมไปถึงการขายสินค้าที่ผลิตโดยบริษัทเองเพื่อเพิ่มอัตรากำไรมากขึ้น
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ผลประกอบการของ HMPRO ยังเติบโต ได้อย่างสม่ำเสมอ
รายได้และกำไรของ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
ปี 2560 รายได้ 64,234 ล้านบาท กำไร 4,886 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 66,049 ล้านบาท กำไร 5,612 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 67,423 ล้านบาท กำไร 6,177 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากมาตรการล็อกดาวน์ในวิกฤติ COVID-19 ก็น่าจะกระทบผลประกอบการของ HMPRO ในปีนี้อยู่บ้าง แต่ในระยะยาว ผู้คนก็ยังต้องซื้ออุปกรณ์ตกแต่ง วัสดุก่อสร้างอยู่ดี โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ผู้คนต่างหันมาให้ความสนใจกับการตกแต่งบ้านให้น่าอยู่มากขึ้นในช่วง Work from Home
ปัจจุบัน HMPRO มีมูลค่ากิจการสูงกว่า 206,000 ล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ในตลาดหลักทรัพย์
ที่น่าสนใจคือ HMPRO เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่า ผู้ร่วมก่อตั้ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ถ้าเราเอามูลค่ากิจการของ บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) และ ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) มารวมกันจะมีมูลค่าประมาณ 115,000 ล้านบาท คิดเป็นเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่า HMPRO ในวันนี้เท่านั้นเอง..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน), คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค 2563
-แบบ 56-1 รายงานประจำปี 2562, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
-http://hmpro.listedcompany.com/misc/form/56-1_2010.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=TH
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)_per_capita
home improvement wiki 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
home improvement wiki 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
home improvement wiki 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
home improvement wiki 在 Home Improvement Wiki - Fandom 的相關結果
Home Improvement Wiki is a fan created encylopedic wiki site which aims to, eventually, cover all the different aspects of the hit television series, ... ... <看更多>
home improvement wiki 在 Tim Allen - Home Improvement Wiki 的相關結果
Home Improvement is an American television sitcom starring Tim Allen that aired on Syndication from April 10. 2017, to April 10. ... <看更多>
home improvement wiki 在 Home Improvement (TV series) - Wikipedia 的相關結果
Home Improvement is an American television sitcom starring Tim Allen that aired on ABC from September 17, 1991 to May 25, 1999 with a total of 204 half-hour ... ... <看更多>