ชื่อรายงานการวิจัย: กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาททางอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน
ชื่อผู้วิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ
เดือน ปีที่ทำวิจัยแล้วเสร็จ : กรกฎาคม 2553
บทคัดย่อ
การระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนจะมีหลักการอยู่ที่ผู้เสียหายและผู้ต้องหาได้มีโอกาสประนีประนอมยอมความกัน เมื่อผู้ต้องหาสำนึกผิดและยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขณะเดียวกันผู้เสียหายได้รับการเยียวยาและได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายโดยรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นและไปตามหลักนิติสมบัติ (Rechtsgut) หรือหลักคุณธรรมทางกฎหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีแก่คู่กรณีและสังคมมากกว่า เพราะสามารถลดระยะเวลาและความยุ่งยากซับซ้อนในกระบวนการยุติธรรม ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงาน และลดงบประมาณภาครัฐ อีกทั้งส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ตามทฤษฎี “อาชญาวิทยาแนวสันติวิธี” (Peacemaking criminology) ซึ่งเป็นกระบวนการค้ำชูผู้มีส่วนร่วมได้เสียในการกระทำความผิด ได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อร่วมกัน ระบุชี้และจัดการความเสียหาย ความต้องการของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สามารถฟื้นฟูเยียวยา (Restoration) ทำให้ความเสียหายกลับคืนได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
ผู้วิจัยทำการศึกษาวิจัยถึงหลักการทั่วไปเกี่ยวกับยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และแนวทางวิธีปฏิบัติที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งของต่างประเทศและของไทยโดยการศึกษาวิเคราะห์ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน ตามประมวลกฎหมายอาญาและตามพระราชบัญญัติจาราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่มีเอกชนเป็นผู้เสียหายและมีเอกชนเป็นผู้เสียหายร่วมกับรัฐ ซึ่งเป็นคดีเล็กๆน้อยๆไม่ควรจะนำคดีอาญาดังกล่าวขึ้นสู่ศาล ควรใช้กระบวนการเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน รวมทั้งศึกษาจากตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารจากการสัมมนาต่างๆ วารสาร ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ดังกล่าวข้างต้น
จากการศึกษาวิจัยพบว่าจากผลการศึกษาวิจัยที่รับข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การประชุม สัมมนา การรับฟังความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ให้มีการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน มีข้อสรุปได้ดังนี้
1. ควรที่จะมีกฎหมายใหม่มารองรับเป็นข้อยกเว้นหรือเป็นการเบี่ยงเบนคดีในคดีอาญาบางประเภทที่ไม่สมควรที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก (Mainstream Justice)
2. ความผิดอาญาประเภทที่ควรนำมาใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ดังนี้
1) คดีอาญาอันยอมความได้
2) คดีลหุโทษ
3) การกระทำความผิดโดยประมาท ซึ่งรวมไปถึงการกระทำโดยประมาทในคดีจราจรด้วย
4) คดีอาญาอันยอมความมิได้ที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
3. เมื่อมีการดำเนินการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว ไม่ควรจะดำเนินการกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ควรให้เป็นเหตุอายุความในการดำเนินคดีอาญาสะดุดหยุดอยู่
4. รูปแบบและองค์กรที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน แยกพิจารณาสรุปออก 2 ประเด็น คือ
1) รูปแบบการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-เหยื่อผู้กระทำความผิด (Victim-offenders Mediation (VOM))
2) องค์กรที่เป็นคณะอำนวยการไกล่เกลี่ยกับผู้ไกล่เกลี่ย
5. การที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ไม่ควรให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้เข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาท (ไกล่เกลี่ย) คดีอาญา
6. การติดตามและการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน นั้นต้องกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กระทำความผิดต้องปฏิบัติ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อผู้กระทำความผิดได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงครบถ้วนแล้ว
การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนนั้นจะทำให้กระบวนการยุติธรรมของไทยมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปในลักษณะแบบ Win-Win ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการะบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวน ดังนี้
Win ที่ 1 เป็นประโยชน์แก่ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในการได้รับแก้ไขเยียวยา รวมทั้งการปรับสามัญสำนึกการให้อภัยแก่ผู้กระทำความผิด
Win ที่ 2 เป็นประโยชน์กับผู้กระทำความผิดที่สำนึกในการกระทำความผิด การชดใช้ค่าเสียให้กับผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายให้อภัยกับผู้กระทำความผิด
Win ที่ 3 ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงาน และลดงบประมาณภาครัฐ
Win ที่ 4 เป็นการส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
Win ที่ 5 เป็นการรองรับการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอัยการ
Abstract
A research report. : Restorative Justice and The Compromise of Criminal Disputes at the
Police Interrogation Stage
A Researcher.: Assistant Professor Sittikorn Saksang et al.
M0nths of the research was completed: July B.E. 255
Dispute Resolution in the stage of criminal investigation is the principle that an injured person and an alleged offender should have an opportunity to compromise. When the alleged offender remorseful and willing for behavior modification and while the injured person were bound to receive damages as soon as possible with respect to the legal property or legal integrity (Rechtsgut), which will be beneficial to both parties and the society because it can reduce time and complexity in the process of legal justice, cases in courts, conflicts in the community, official corruption and the government budget. It also affects people at all levels with their participation in the administration of justice and prevent conflicts in the community to build a peaceful society as of "Criminology Style Peace" (Peacemaking Criminology). This process sustains stake-holders’ interest in the offence to be involved as much as possible to jointly identify and manage damage of each party’s demand in order to be able to restore healing (Restoration) damage back as much as possible.
Researchers study the general principles on restorative justice practices and guidelines that currently exist in both foreign countries and Thailand by analysis of restorative justice and dispute resolution in criminal inquiry stage under the Penal Code Act and Traffic Act B.E.2522 which private persons and co-victim of private & state in such small cases should not be brought up to the courts. Restorative process should be used to alternatives dispute resolution in criminal inquiry stage. Researchers also study from educational books, thesis, researches, documents from various seminars, journals and the Internet in connection with aforesaid restorative justice.
From the study, it found out from the results of research obtaining from documents, seminars and hearing from such opinions of those associated with the criminal justice process that the use of dispute resolution and restorative justice in criminal investigation are in conclusions as follows;
1. it should have new law to support as an exception or a deviation in certain
types of criminal cases not appropriate to be brought into mainstream criminal justice process.
2. some types of criminal offense that should be used dispute resolution and restorative justice in criminal investigations are as follow:
1) criminal compoundable cases;
2) misdemeanor cases;
3) criminal negligence cases, including the negligence in traffic cases;
4) criminal uncompromised cases not exceeding 5 years imprisonment.
3. when the process of restorative justice and dispute resolution in criminal investigations is conducted, it should not take the process of mainstream justice and it should be in the event of criminal process extinguished.
4. models and organizations use of restorative justice and dispute resolution in criminal investigations are considerably summarized into 2 issues.
1) mediation models of Victims – Offenders Mediation (VOM),
2) any organization as the Board of Mediation and mediators.
5. the use of restorative justice and dispute resolution of criminal
investigations should not allow a police official to attend in restorative justice (mediation).
6. to monitor and audit restorative justice and dispute resolution in criminal
inquiry stage, it shall set conditions for the alleged offender in order to be complied with their practices. Prosecution of criminal cases shall be settled when the offenders have fully complied with conditions in the agreement.
Using restorative justice in criminal cases will allow Thai justice system potentially with very much improvement. This is a Win-Win solution for all parties involved in dispute resolution and restorative justice in the investigation.
Win No.1: It is beneficiary to the sufferers or victims of crimes to obtain remedy, including its common sense of forgiveness to the offenders.
Win No.2: It is beneficiary to the offenders who acknowledge their guilty with some payment reparation to victims and victims forgive offenders.
Win No.3: It can reduce cases in courts, conflicts in the community, official corruption and government budget.
Win No.4: It is expressing to people at all levels to participate in the administration of justice and prevent conflicts in the community to build a peaceful society.
Win No.5: It supports the use of dispute resolution power in restorative justice in criminal cases of police official and public prosecutor.
Search