1
"ทำอย่างไรจึงจะรักษาความอยากเรียนรู้เอาไว้ได้ครับ" ผมเอ่ยปากถามผู้บริหารใหญ่วัยห้าสิบกว่าซึ่งใช้เวลาสองชั่วโมงต่อสัปดาห์ไปกับการเรียนเขียนหนังสือ ลงเรียนคอร์สต่างๆ อยู่เสมอ รวมถึงฝึกปรือวิ่งโดยมีโค้ชคอยแนะวิธีพัฒนาการวิ่งแบบใกล้ชิด ไม่บ่อยนักที่จะพบคนระดับผู้บริหารอาวุโสซึ่งเก่ง แหลมคม และประสบความสำเร็จเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ โดยเฉพาะจากคนที่เด็กกว่า
2
พี่วู้ดดี้-ธนพล ศิริธนชัยคิดอยู่ครู่หนึ่งก่อนตอบว่า "ผมอยากรู้ในสิ่งที่ผมไม่รู้" ผมถามต่อ "แต่มันไม่ง่ายที่คนโตๆ แล้วจะยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ ยิ่งเป็นคนที่เป็นหัวหน้า คนที่มีอำนาจ" พี่วู้ดดี้ยิ้มแล้วบอกว่า "ต้องหัดพูดบ่อยๆ จะพูดว่า 'ผมไม่รู้' ครั้งแรกมันอาจจะยาก แต่พอพูดบ่อยๆ แล้วมันจะกลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรที่เราจะไม่รู้"
3
"ผมไม่รู้" นี่แหละคือประตูทางเข้าของความรู้ สาเหตุที่เราไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่เพราะเรามักด่วนบอกตัวเองหรือคนอื่นอยู่เสมอว่า "รู้แล้วน่า" พอรู้แล้วก็เลยอดรู้เพิ่ม จบอยู่ในกะลาความคิดแคบๆ ใบเดิมของตัวเอง "ผมไม่รู้ / ฉันไม่รู้" ทันทีที่พูดคำนี้ออกมา คนที่รู้จะยินดีบอกวิชาให้เราได้รู้ ทันใดน้ันปัญญาก็งอยเงย
4
เวลาสนทนากับผู้คน เพียงฟังไม่กี่ประโยคเราก็รู้ทันทีว่าคนตรงหน้ายังเรียนรู้อยู่หรือ 'จบการศึกษา' ไปแล้ว เรื่องตลกก็คือคนที่ตั้งใจฟังเหมือนไม่ค่อยรู้อะไรมักเป็นคนฉลาด เพราะทุกครั้งที่สนทนาเขาจะได้ความรู้ใหม่อยู่เสมอ ขณะที่คนซึ่งดูฉลาดพูดเยอะแต่ไม่ค่อยฟังใครมักจบการสนทนาไปด้วยความรู้เท่าเดิม
5
คนโง่จึงฉลาดขึ้น และคนฉลาดมักจะโง่ลง
6
ชุนริว ซูซูกิ ปรมาจารย์เซนเรียกจิตใจที่เปิดกว้างโดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่ตัวเองรู้แล้วว่า 'จิตของผู้เริ่มต้น' หรือ 'beginner's mind' อาจลองคิดถึงสภาพจิตใจของเด็กน้อยที่มองเห็นโมเมนต์ถัดไปเป็นสิ่งใหม่เสมอ สวยงาม สดใหม่ น่าตื่นเต้น เห็นสิ่งต่างๆ ด้วยดวงตาบริสุทธิ์ ไม่ตัดสินด้วยความรู้เดิมที่สะสมไว้จากประสบการณ์ส่วนตัว ทุกสิ่งจึงน่าสนุกและน่าเรียนรู้ไปหมด
7
จิตของผู้เริ่มต้นจะไม่ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสินเรื่องราวต่างๆ แต่ตระหนักเสมอถึงความรู้น้อยของตน รู้อยู่เสมอว่ายังมีอะไรอีกมากในจักรวาลอันยิ่งใหญ่ลี้ลับที่เรายังไม่ล่วงรู้ Seung Sahn ปรมาจารย์เซนชาวเกาหลีสอนให้ตระหนักถึงคุณค่าของสภาพจิตเช่นนี้โดยเรียกว่า 'จิตไม่รู้' หรือ 'don't know mind'
8
เมื่อท่านถามลูกศิษย์ว่า "ความรักคืออะไร" "สติคืออะไร" "ชีวิตมาจากไหน" "พรุ่งนี้จะเป็นยังไง" ลูกศิษย์ตอบว่า "ผมไม่รู้ครับ" ท่านอาจารย์จะตอบว่า "ดีมาก รักษาจิตไม่รู้นี้ไว้ เพราะมันเป็นจิตที่เปิดกว้าง และบริสุทธิ์"
9
จิตของผู้เริ่มต้น จิตไม่รู้ เป็นเรื่องเดียวกับจิตที่ไม่มีอัตตา เมื่อไม่มีอัตตาจึงเปิดกว้าง พร้อมเรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนใหม่ที่ชีวิตหรือผู้คนจะมอบให้
10
ไม่เพียงความรู้ ทักษะในเรื่องต่างๆ หรือความลี้ลับของจักรวาลนี้เท่านั้น กระทั่งคนใกล้ตัวเราที่สุดอย่างพ่อแม่ พี่น้อง คนรัก ลูก หรือเพื่อน สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับเขาอาจเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เรายังไม่รู้เรื่องราวอีกมากที่ซ่อนอยู่ภายในใจ บาดแผลที่เราไม่เห็นและเขายังไม่เคยเล่าให้ฟัง ความรู้สึกลึกๆ ที่เขาเก็บไว้ส่วนตัว ประสบการณ์วัยเด็กที่ผ่านเรื่องร้ายใดๆ มา แต่เรามักตัดสินหรือสัมพันธ์กับผู้คนใกล้ชิดด้วยความคิดว่า "ฉันรู้จักเธอดี" โดยไม่รู้เลยว่านั่นคือการใช้มุมมองของเราที่มีต่อเขาไปตัดสิน ควบคุม บงการ โดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
11
เมื่อบอกว่า "ฉันรู้จักเธอดี" แปลว่าเราปิดโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งที่เขาเป็นให้มากกว่าเดิม เรามองเขาด้วยแว่นตาของเรา แต่เขาอาจมีแง่มุมอื่นอีกมากที่เรายังไม่เคยมองหรือรับรู้มาก่อน
12
จิตของผู้เริ่มต้นอาจเปิดโอกาสให้เราทำความรู้จักเขาราวกับเพิ่งได้พบกันครั้งแรก เมื่ออัตตาเล็กลง เราจะรับฟังเขามากขึ้น ปล่อยให้เขาเป็นอย่างที่เป็นมากขึ้น ทำความเข้าใจมากขึ้น
13
อันตรายของความสัมพันธ์ใกล้ชิดคือ เราคิดว่าเรารู้ทุกอย่าง และนั่นอาจเป็นกำแพงขนาดยักษ์ทำให้เราไม่ได้รู้อะไรใหม่เลย ซึ่งเมื่อวันเวลาผ่าน ตัวเขาอาจเปลี่ยนไปจากที่เราเคยรู้จักไปมากแล้วก็เป็นได้
14
เราสามารถใช้จิตของผู้เริ่มต้นหรือจิตไม่รู้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนได้เช่นเดียวกับเรื่องอื่น เคลียร์ความรู้เก่าที่มาพร้อมอัตตาออก อยู่กับคนตรงหน้าอย่างเปิดกว้าง รับฟัง เรียนรู้สิ่งใหม่จากเขา ในช่วงเวลาที่เราเรียนรู้กันและกันอย่างเปิดใจ ภายในของเราจะเติบโตไปพร้อมกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเราก็เติบโตงอกงาม
15
'ความรู้' เมื่ออยู่ติดตัวนานๆ จะกลายร่างเป็น 'ความคิดเห็น' โดยไม่รู้ตัว เราใช้ 'ความคิดเห็น' ไปตัดสินเรื่องราวและผู้คนโดยนึกว่าเป็น 'ความรู้' ปัญหาคือโลกยังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมาก เมื่อใช้ความรู้เดิมไปปฏิสัมพันธ์กับทุกอย่างโดยไม่เปิดใจจึงนำมาซึ่งทุกข์ เพราะเราคิดว่าสิ่งที่เรารู้คือ 'ถูก' เมื่อคนอื่นรู้ไม่ตรงกันเขาจึง 'ผิด'
16
'ความรู้' แบบนี้ปิดโอกาสเรียนรู้ และนำมาซึ่ง 'ความทุกข์' ความรู้ที่ดีควรนำมาซึ่งความสุข ความรู้ที่ดีควรขยายขนาดหัวใจมากกว่าหดมันให้แคบลง นั่นหมายความว่า--รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้
17
เปิดใจกว้างๆ พร้อมรับทุกสิ่งที่เข้ามามอบ 'ความเข้าใจใหม่' โดยไม่ยึดติดกับ 'ความรู้เก่า'
18
อาจารย์ชาเคยยิ้มแล้วบอกกับลูกศิษย์ว่า "เธอมีความคิดเห็นเต็มไปหมด และก็เป็นทุกข์หนักจากความคิดเห็นพวกนั้น ทำไมไม่ปล่อยมันไปบ้าง"
19
ยากที่เราจะยอมรับว่าเราไม่รู้ แต่ถ้าฝึกยอมรับบ่อยๆ ว่า "ฉันไม่รู้" พูดออกมาให้ตัวเองได้ยิน ให้คนอื่นได้ยิน แทนที่จะแสดงความโง่ เปล่าเลย, คำนี้เหมือนคาถาที่เพียงเอ่ยออกมาก็ลดอัตตาไปได้มากมาย
20
เช่นนี้จึงไม่ควรเรียกคนที่ไม่รู้ว่าคนโง่ เพราะคนทุกข์น้อยย่อมไม่โง่ และคนที่เอ่ยคาถานี้บ่อยๆ ย่อมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
21
การเรียนรู้ที่ดีมิได้ทำให้เราฉลาดกว่าคนอื่น แต่มันทำให้เราเข้าใจคนอื่นหรือสิ่งอื่นมากขึ้น ยิ่งรู้ยิ่งตัวเล็กลง ยิ่งตัวเล็กลงยิ่งใจกว้าง ยิ่งใจกว้างก็ยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้นไปอีก ยิ่งเรียนรู้มากขึ้นไปอีกก็ยิ่งเติบโต
มิได้เติบโตเพื่อฉลาดกว่าใคร
แต่เติบโตภายในเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
22
"ทำอย่างไรจึงจะรักษาความอยากเรียนรู้เอาไว้ได้"
"ผมไม่รู้"
「สติคืออะไร」的推薦目錄:
สติคืออะไร 在 Roundfinger Facebook 的最讚貼文
1
"ทำอย่างไรจึงจะรักษาความอยากเรียนรู้เอาไว้ได้ครับ" ผมเอ่ยปากถามผู้บริหารใหญ่วัยห้าสิบกว่าซึ่งใช้เวลาสองชั่วโมงต่อสัปดาห์ไปกับการเรียนเขียนหนังสือ ลงเรียนคอร์สต่างๆ อยู่เสมอ รวมถึงฝึกปรือวิ่งโดยมีโค้ชคอยแนะวิธีพัฒนาการวิ่งแบบใกล้ชิด ไม่บ่อยนักที่จะพบคนระดับผู้บริหารอาวุโสซึ่งเก่ง แหลมคม และประสบความสำเร็จเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ โดยเฉพาะจากคนที่เด็กกว่า
2
พี่วู้ดดี้-ธนพล ศิริธนชัยคิดอยู่ครู่หนึ่งก่อนตอบว่า "ผมอยากรู้ในสิ่งที่ผมไม่รู้" ผมถามต่อ "แต่มันไม่ง่ายที่คนโตๆ แล้วจะยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ ยิ่งเป็นคนที่เป็นหัวหน้า คนที่มีอำนาจ" พี่วู้ดดี้ยิ้มแล้วบอกว่า "ต้องหัดพูดบ่อยๆ จะพูดว่า 'ผมไม่รู้' ครั้งแรกมันอาจจะยาก แต่พอพูดบ่อยๆ แล้วมันจะกลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรที่เราจะไม่รู้"
3
"ผมไม่รู้" นี่แหละคือประตูทางเข้าของความรู้ สาเหตุที่เราไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่เพราะเรามักด่วนบอกตัวเองหรือคนอื่นอยู่เสมอว่า "รู้แล้วน่า" พอรู้แล้วก็เลยอดรู้เพิ่ม จบอยู่ในกะลาความคิดแคบๆ ใบเดิมของตัวเอง "ผมไม่รู้ / ฉันไม่รู้" ทันทีที่พูดคำนี้ออกมา คนที่รู้จะยินดีบอกวิชาให้เราได้รู้ ทันใดน้ันปัญญาก็งอยเงย
4
เวลาสนทนากับผู้คน เพียงฟังไม่กี่ประโยคเราก็รู้ทันทีว่าคนตรงหน้ายังเรียนรู้อยู่หรือ 'จบการศึกษา' ไปแล้ว เรื่องตลกก็คือคนที่ตั้งใจฟังเหมือนไม่ค่อยรู้อะไรมักเป็นคนฉลาด เพราะทุกครั้งที่สนทนาเขาจะได้ความรู้ใหม่อยู่เสมอ ขณะที่คนซึ่งดูฉลาดพูดเยอะแต่ไม่ค่อยฟังใครมักจบการสนทนาไปด้วยความรู้เท่าเดิม
5
คนโง่จึงฉลาดขึ้น และคนฉลาดมักจะโง่ลง
6
ชุนริว ซูซูกิ ปรมาจารย์เซนเรียกจิตใจที่เปิดกว้างโดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่ตัวเองรู้แล้วว่า 'จิตของผู้เริ่มต้น' หรือ 'beginner's mind' อาจลองคิดถึงสภาพจิตใจของเด็กน้อยที่มองเห็นโมเมนต์ถัดไปเป็นสิ่งใหม่เสมอ สวยงาม สดใหม่ น่าตื่นเต้น เห็นสิ่งต่างๆ ด้วยดวงตาบริสุทธิ์ ไม่ตัดสินด้วยความรู้เดิมที่สะสมไว้จากประสบการณ์ส่วนตัว ทุกสิ่งจึงน่าสนุกและน่าเรียนรู้ไปหมด
7
จิตของผู้เริ่มต้นจะไม่ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสินเรื่องราวต่างๆ แต่ตระหนักเสมอถึงความรู้น้อยของตน รู้อยู่เสมอว่ายังมีอะไรอีกมากในจักรวาลอันยิ่งใหญ่ลี้ลับที่เรายังไม่ล่วงรู้ Seung Sahn ปรมาจารย์เซนชาวเกาหลีสอนให้ตระหนักถึงคุณค่าของสภาพจิตเช่นนี้โดยเรียกว่า 'จิตไม่รู้' หรือ 'don't know mind'
8
เมื่อท่านถามลูกศิษย์ว่า "ความรักคืออะไร" "สติคืออะไร" "ชีวิตมาจากไหน" "พรุ่งนี้จะเป็นยังไง" ลูกศิษย์ตอบว่า "ผมไม่รู้ครับ" ท่านอาจารย์จะตอบว่า "ดีมาก รักษาจิตไม่รู้นี้ไว้ เพราะมันเป็นจิตที่เปิดกว้าง และบริสุทธิ์"
9
จิตของผู้เริ่มต้น จิตไม่รู้ เป็นเรื่องเดียวกับจิตที่ไม่มีอัตตา เมื่อไม่มีอัตตาจึงเปิดกว้าง พร้อมเรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนใหม่ที่ชีวิตหรือผู้คนจะมอบให้
10
ไม่เพียงความรู้ ทักษะในเรื่องต่างๆ หรือความลี้ลับของจักรวาลนี้เท่านั้น กระทั่งคนใกล้ตัวเราที่สุดอย่างพ่อแม่ พี่น้อง คนรัก ลูก หรือเพื่อน สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับเขาอาจเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เรายังไม่รู้เรื่องราวอีกมากที่ซ่อนอยู่ภายในใจ บาดแผลที่เราไม่เห็นและเขายังไม่เคยเล่าให้ฟัง ความรู้สึกลึกๆ ที่เขาเก็บไว้ส่วนตัว ประสบการณ์วัยเด็กที่ผ่านเรื่องร้ายใดๆ มา แต่เรามักตัดสินหรือสัมพันธ์กับผู้คนใกล้ชิดด้วยความคิดว่า "ฉันรู้จักเธอดี" โดยไม่รู้เลยว่านั่นคือการใช้มุมมองของเราที่มีต่อเขาไปตัดสิน ควบคุม บงการ โดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
11
เมื่อบอกว่า "ฉันรู้จักเธอดี" แปลว่าเราปิดโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งที่เขาเป็นให้มากกว่าเดิม เรามองเขาด้วยแว่นตาของเรา แต่เขาอาจมีแง่มุมอื่นอีกมากที่เรายังไม่เคยมองหรือรับรู้มาก่อน
12
จิตของผู้เริ่มต้นอาจเปิดโอกาสให้เราทำความรู้จักเขาราวกับเพิ่งได้พบกันครั้งแรก เมื่ออัตตาเล็กลง เราจะรับฟังเขามากขึ้น ปล่อยให้เขาเป็นอย่างที่เป็นมากขึ้น ทำความเข้าใจมากขึ้น
13
อันตรายของความสัมพันธ์ใกล้ชิดคือ เราคิดว่าเรารู้ทุกอย่าง และนั่นอาจเป็นกำแพงขนาดยักษ์ทำให้เราไม่ได้รู้อะไรใหม่เลย ซึ่งเมื่อวันเวลาผ่าน ตัวเขาอาจเปลี่ยนไปจากที่เราเคยรู้จักไปมากแล้วก็เป็นได้
14
เราสามารถใช้จิตของผู้เริ่มต้นหรือจิตไม่รู้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนได้เช่นเดียวกับเรื่องอื่น เคลียร์ความรู้เก่าที่มาพร้อมอัตตาออก อยู่กับคนตรงหน้าอย่างเปิดกว้าง รับฟัง เรียนรู้สิ่งใหม่จากเขา ในช่วงเวลาที่เราเรียนรู้กันและกันอย่างเปิดใจ ภายในของเราจะเติบโตไปพร้อมกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเราก็เติบโตงอกงาม
15
'ความรู้' เมื่ออยู่ติดตัวนานๆ จะกลายร่างเป็น 'ความคิดเห็น' โดยไม่รู้ตัว เราใช้ 'ความคิดเห็น' ไปตัดสินเรื่องราวและผู้คนโดยนึกว่าเป็น 'ความรู้' ปัญหาคือโลกยังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมาก เมื่อใช้ความรู้เดิมไปปฏิสัมพันธ์กับทุกอย่างโดยไม่เปิดใจจึงนำมาซึ่งทุกข์ เพราะเราคิดว่าสิ่งที่เรารู้คือ 'ถูก' เมื่อคนอื่นรู้ไม่ตรงกันเขาจึง 'ผิด'
16
'ความรู้' แบบนี้ปิดโอกาสเรียนรู้ และนำมาซึ่ง 'ความทุกข์' ความรู้ที่ดีควรนำมาซึ่งความสุข ความรู้ที่ดีควรขยายขนาดหัวใจมากกว่าหดมันให้แคบลง นั่นหมายความว่า-\-\รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้
17
เปิดใจกว้างๆ พร้อมรับทุกสิ่งที่เข้ามามอบ 'ความเข้าใจใหม่' โดยไม่ยึดติดกับ 'ความรู้เก่า'
18
อาจารย์ชาเคยยิ้มแล้วบอกกับลูกศิษย์ว่า "เธอมีความคิดเห็นเต็มไปหมด และก็เป็นทุกข์หนักจากความคิดเห็นพวกนั้น ทำไมไม่ปล่อยมันไปบ้าง"
19
ยากที่เราจะยอมรับว่าเราไม่รู้ แต่ถ้าฝึกยอมรับบ่อยๆ ว่า "ฉันไม่รู้" พูดออกมาให้ตัวเองได้ยิน ให้คนอื่นได้ยิน แทนที่จะแสดงความโง่ เปล่าเลย, คำนี้เหมือนคาถาที่เพียงเอ่ยออกมาก็ลดอัตตาไปได้มากมาย
20
เช่นนี้จึงไม่ควรเรียกคนที่ไม่รู้ว่าคนโง่ เพราะคนทุกข์น้อยย่อมไม่โง่ และคนที่เอ่ยคาถานี้บ่อยๆ ย่อมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน
21
การเรียนรู้ที่ดีมิได้ทำให้เราฉลาดกว่าคนอื่น แต่มันทำให้เราเข้าใจคนอื่นหรือสิ่งอื่นมากขึ้น ยิ่งรู้ยิ่งตัวเล็กลง ยิ่งตัวเล็กลงยิ่งใจกว้าง ยิ่งใจกว้างก็ยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้นไปอีก ยิ่งเรียนรู้มากขึ้นไปอีกก็ยิ่งเติบโต
มิได้เติบโตเพื่อฉลาดกว่าใคร
แต่เติบโตภายในเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
22
"ทำอย่างไรจึงจะรักษาความอยากเรียนรู้เอาไว้ได้"
"ผมไม่รู้"
สติคืออะไร 在 Fit Junctions Facebook 的最佳貼文
ยิ่งอร่อย ยิ่งห้ามกิน... ห้ามกันจัง :(
ปัญหาหลักๆของคนที่อยากลดไขมัน ส่วนใหญ่มีแค่ไม่กี่เรื่อง และเรื่องกินก็เป็นเรื่องใหญ่ด้วย Fatfix Challenge วันนี้มาพูดถึงเรื่องอาหารกันบ้างดีกว่า
สิ่งที่เรามักจะคิดคือ "ห้าม" กินอาหารบางประเภท และปัญหาคือไอ้อาหารที่เราชอบกิน มักจะอยู่ใน List ของต้องห้ามเสมอ
ในเชิงจิตวิทยา การห้ามกินอาหารบางประเภท ทำให้เกิดสภาวะเครียด และมักจะทำให้เราตะบะแตก ไม่เร็วก็ช้า
ดังนั้นแทนที่จะห้ามตัวเองไม่ให้กินอาหารบางอย่าง เช่น... ผัดไท ข้าวหมูกรอบ ไอติม เราควรจะเริ่มทำตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้
1. กินอย่างมีสติ
เนี่ย ข้อเดียว! คำถามคือ "สติคืออะไร?"
อันนี้สิต้องตอบยาว
สติในการกินอาหาร คือเราต้องรู้ก่อนว่าอาหารที่เรากินมันมีส่วนผสมอะไรบ้าง คร่าวๆก็ได้ (ถ้ารู้ calorie ได้จะดีมาก) และคิดก่อนว่าเราจะกิน และหยุดกินเมื่อไหร่ และที่สำคัญ ถามตัวเองก่อนว่าหิวไหม หรือว่าแค่คันปาก
ลองไปทำกันดูครับ ลองมีสติกับการกิน กินให้อร่อย แล้วคุณจะลืมไปเลยว่าการคุมอาหารมันทรมาน
Tag เพื่อนที่ชอบทรมานตัวเองด้วยการ "ห้ามตัวเอง" มาอ่านกัน :)
#tanitafatfix
สติคืออะไร 在 สติคืออะไรแล้วการมีสติดีอย่างไร? พุทธวจน (ธรรมะจากพระโอษฐ์)... 的推薦與評價
" สติคืออะไร แล้วการมีสติดีอย่างไร? พุทธวจน (ธรรมะจากพระโอษฐ์) เว็บไซต์ข้อมูลเพิ่มเติม : http://watnapp.com ศึกษาดูพระสูตรเพิ่มเติม :... ... <看更多>
สติคืออะไร 在 สติคืออะไร? ทำอย่างไรไม่ให้ขาดสติ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช 的推薦與評價
ถ้าดูคลิปแล้วอย่าลืมกดติดตามเพื่อ ถ้ามีคลิปใหม่มาจะได้ดูได้ทันนะครับ ขอบคุณสำหรับผู้ติดตาม กดติดตามช่อง #ปลดล็อค #ฟังธรรม ... ... <看更多>