กรณีศึกษา ทำไมคนญี่ปุ่น ชอบถือเงินสด มากกว่าลงทุนในหุ้น /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1878 หรือเมื่อ 143 ปีที่แล้ว และมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากกว่า 2,000 บริษัท ในปัจจุบัน
และรู้หรือไม่ว่า ต้นปี 2021 มูลค่าของตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นสูงกว่า 190 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
หลายคนอาจคิดว่า คนญี่ปุ่นคงชอบลงทุนในหุ้น มากกว่าสินทรัพย์อื่น
แต่ความจริงแล้ว กลับไม่เป็นเช่นนั้น..
แล้วคนญี่ปุ่นเมื่อมีเงินแล้ว พวกเขาเอาไปเก็บไว้ที่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เราลองมาเทียบกันดูก่อนว่า ส่วนใหญ่แล้วคนญี่ปุ่นชอบถือครองสินทรัพย์อะไร และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป มีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ข้อมูลจากธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ในปี 2018 ครัวเรือนญี่ปุ่น ถือครองสินทรัพย์มูลค่ารวมกันกว่า 558 ล้านล้านบาท
โดยจำนวนนี้ ถ้าแบ่งตามสัดส่วนจะเป็น
- เงินสดและบัญชีเงินฝาก 52%
- ประกันและบำนาญ 28%
- หุ้นและกองทุนรวม 15%
- อื่น ๆ 5%
ที่น่าสนใจคือ เมื่อเทียบกับคนยุโรปและคนอเมริกัน ที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ต่อมูลค่าสินทรัพย์ถือครอง เท่ากับ 28% และ 31% ตามลำดับ
จึงแสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยสนใจการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวมมากนัก และยังชอบถือครองเงินสด ด้วยการฝากเงินไว้ในธนาคารจำนวนมากอีกด้วย
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในญี่ปุ่นนั้น อยู่ในระดับที่ต่ำมาต่อเนื่องหลายปี แม้กระทั่งในปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณ 0%
คำถามสำคัญก็คือ ทำไมคนญี่ปุ่น ยังเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคารจำนวนมาก แทนที่จะนำเงินไปลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ?
เหตุผลที่อธิบายเรื่องนี้ สามารถสรุปออกมาได้ 3 ประเด็น คือ
1. ประสบการณ์ที่เลวร้ายจากเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น
หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าสู่ระยะของการฟื้นฟูประเทศ ช่วงหลังจากนั้นเป็นต้นมา เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เติบโตแบบก้าวกระโดด
ในช่วงปี 1961-1971 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยกว่า 9% ต่อปี และเติบโตมาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงในช่วงทศวรรษ 1980
ในตอนนั้น ผลกำไรของบริษัทในญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท และธนาคารหลายแห่งมีการปล่อยกู้ให้แก่บริษัทจำนวนมาก
การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ทั้งบริษัทและผู้คนในญี่ปุ่นต่างร่ำรวย จนเกิดการเข้าไปเก็งกำไรราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์
ราคาหุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ดัชนี Nikkei ที่สะท้อนตลาดหุ้นญี่ปุ่น พุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง จนเกือบแตะ 40,000 จุด ในปี 1989 จากระดับประมาณ 8,000 จุดในปี 1982
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.5% ในปี 1989 มาอยู่ที่ 6% ในปี 1990 เพื่อเพิ่มต้นทุนการกู้ยืม ไม่ให้เกิดการกู้ไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่าง ๆ
จนสุดท้าย เมื่อแรงเก็งกำไรเริ่มอ่อนลง ก็ถึงคราวฟองสบู่ลูกใหญ่ระเบิดออก
ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ และราคาอสังหาริมทรัพย์ ก็เริ่มปรับตัวลดลง และลดลงเรื่อย ๆ จนหลายคนเจ็บตัวอย่างหนักจากการลงทุน
วิกฤติฟองสบู่ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังจากนั้นมาหลายสิบปีแทบจะหยุดอยู่กับที่ และเป็นแบบนี้มาแล้วราว 3 ทศวรรษ
ซึ่งนี่เองเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก รู้สึกขยาดกับการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้น รวมทั้งยังปลูกฝังความคิดนี้มายังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อ ๆ มา จนถึงตอนนี้
2. ภาวะเงินเฟ้อฝืด
ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลโดยตรงต่อภาคครัวเรือน
รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของคนญี่ปุ่นนั้นลดลง จากการที่หลายคนต้องตกงาน ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า ในช่วงปี 1990-2020
ญี่ปุ่นประสบกับภาวะเงินฝืด (เงินเฟ้อติดลบ) ทั้งหมด 14 ปี
ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืด นั่นหมายความว่า ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะลดลง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ชาวญี่ปุ่นจึงเกิดแรงจูงใจในการถือเงินสด มากกว่าที่จะนำเงินออกไปใช้จ่าย หรือชะลอการใช้จ่ายออกไปก่อน เพราะพวกเขาเชื่อว่า ในอนาคตเงินจำนวนเท่าเดิมนั้นจะสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากกว่าในปัจจุบัน และนำเอาเงินไปฝากกับธนาคารไว้ก่อนนั่นเอง
3. ความรู้ ความเข้าใจด้านการเงิน ของคนญี่ปุ่น
หลายคนคงแปลกใจถ้าบอกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น มีคนจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ด้านการเงิน
ซึ่งเรื่องนี้ มีผลการสำรวจของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ประชาชนชาวญี่ปุ่นนั้นมีความรู้ด้านการเงินน้อยกว่าประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
การขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการเงิน ทำให้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก กลัวการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง และชอบในการเก็บเงินออมด้วยการฝากธนาคารที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
นอกจากนี้ โรงเรียนในญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องการลงทุนเท่าที่ควร โดยศาสตราจารย์ Nobuyoshi Yamori ที่สอนสาขาวิชาเศรษฐกิจและธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยโกเบ ระบุว่า
“โรงเรียนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น ใช้เวลาสอนเรื่องการเงินการลงทุนให้นักเรียนน้อยมาก ขณะที่ครูที่มาสอนวิชาดังกล่าวก็ไม่ได้รับการฝึกอบรม หรือมีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการเงินการลงทุนที่ดีมากนัก”
จึงทำให้เด็กญี่ปุ่นจำนวนมากขาดความรู้ด้านการเงิน ซึ่งส่งผลให้เมื่อทำงานมีรายได้แล้ว พวกเขาเลือกที่จะฝากเงินกับธนาคาร มากกว่านำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ โดยเฉพาะหุ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะเข้าใจว่าทำไมที่ผ่านมา คนญี่ปุ่นจำนวนมากตัดสินใจถือเงินสด หรือฝากเงินไว้กับธนาคารอย่างมากและไม่ค่อยชอบการลงทุนในหุ้นมากนัก ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่มีตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่าปัจจุบัน เงินเยนของญี่ปุ่น เป็นสกุลเงินที่ถูกใช้ซื้อขายบิตคอยน์มากที่สุดอันดับที่ 2 ของโลก เป็นรองเพียงแค่เงินดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเราอาจบอกได้ว่า แม้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก จะไม่ชอบสินทรัพย์เสี่ยงสูง และนิยมฝากเงินไว้ในธนาคาร
แต่ในทางกลับกันก็มีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย ที่หันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง อย่างบิตคอยน์
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.stat.go.jp/english/data/handbook/pdf/2020all.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tokyo_Stock_Exchange
-https://www.statista.com/statistics/710680/global-stock-markets-by-country/
-https://tradingeconomics.com/japan/deposit-interest-rate
-https://en.wikipedia.org/wiki/Demographics_of_Japan
-https://data.worldbank.org/country/JP
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decades
-https://www.statista.com/statistics/270095/inflation-rate-in-japan/
-https://www.fsa.go.jp/frtc/kenkyu/event/20150305/s3_2.pdf
-https://www.investopedia.com/tech/top-fiat-currencies-used-trade-bitcoin/
-https://globalriskinsights.com/2021/06/japans-cryptocurrency-market-set-to-bloom-or-wither/
同時也有10部Youtube影片,追蹤數超過5,140的網紅寶博士,也在其Youtube影片中提到,【來賓:Justine Lootex 共同創辦人】錄音時間2020.06.18 📍看《一級玩家》搞懂區塊鏈 https://medium.com/p/6c3d028471d 📍Knight Story https://knightstory.io/ 📍《Love Plus Every》手遊宣布倒閉...
market wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุปเรื่อง M&A การควบรวมกิจการ คืออะไร? ครบจบในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ยุคสมัยนี้ การแข่งขันในโลกธุรกิจ ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าอดีตอย่างมาก
หลายบริษัทเจอความท้าทายต่าง ๆ
ทั้งเศรษฐกิจที่ผันผวน และการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม
บริษัทจำนวนไม่น้อย จึงเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า Mergers and Acquisitions หรือ “M&A” เพื่อความอยู่รอด หรือแม้แต่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจตนเอง
M&A คืออะไร และมีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
M&A ย่อมาจาก 2 คำ คือ “Mergers and Acquisitions”
โดย Mergers นั้นหมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
เป็นผลให้ทั้งบริษัทเหล่านั้น ถูกยุบรวมและเหลือเพียงแค่บริษัทใหม่เกิดขึ้น และบริษัทเดิมทั้งสอง (หรือมากกว่า 2) ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็คือ การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต จนกลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB
ส่วนคำว่า Acquisitions นั้นหมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง
กรณีแรกคือ Share Acquisition คือผู้ที่เข้ามาซื้อ
จะได้หุ้นของบริษัทที่ถูกซื้ออาจจะบางส่วนหรือทั้งหมด
ซึ่งผู้ซื้อจะได้มาซึ่งสิทธิ์ในการออกเสียงในการประชุม หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF
อีกกรณีคือ ผู้ซื้อจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน, หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด ของกิจการที่ถูกซื้อ ซึ่งกรณีนี้เราเรียกว่า Asset Acquisition หรือ Business Acquisition
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็เช่น กรณีที่ MAKRO รับโอนกิจการทั้งหมดของ LOTUS แล้วออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับเจ้าของเดิมที่เป็นบริษัทในเครือซีพี เพื่อชำระเป็นค่าโอนกิจการ
ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีเหตุผลสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่นิยมหยิบกลยุทธ์ M&A มาใช้
- เสริมการเติบโตให้กับบริษัท
เมื่อธุรกิจของบริษัทเติบโตมาถึงจุดหนึ่ง การที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เช่น หากธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ขนาดตลาดเริ่มไม่เติบโตแล้ว การจะขยายส่วนแบ่งตลาดอาจทำได้ลำบาก
กรณีนี้บริษัท ก็จะต้องพึ่งการเข้าไปควบรวมกิจการคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันนั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ทันที โดยไม่ต้องไปเสียเวลาลงทุนพัฒนาสินค้า ทดลองตลาด หรือจ้างพนักงานเพิ่ม
หรือแม้แต่ถ้าธุรกิจเดิมของบริษัทนั้นเริ่มอิ่มตัว การเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นที่อยู่ในธุรกิจใหม่ ก็สามารถสร้างการเติบโตจากภายนอกกิจการ หรือ Inorganic Growth ได้เช่นกัน
- เพิ่มอำนาจ และผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ ให้กับบริษัท
เมื่อบริษัทมีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เพิ่มอำนาจและผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ เพราะบริษัทที่ควบรวมสามารถใช้ทรัพยากร รวมไปถึงจุดแข็งของแต่ละบริษัทร่วมกัน ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมให้ลดลงอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การควบรวมกันของธุรกิจค้าปลีก
ที่สามารถเพิ่มอำนาจซื้อและต่อรองกับซัปพลายเออร์ จนอาจได้รับส่วนลด และช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง
- เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีหลายบริษัทที่ปรับตัวไม่ทัน ต้องประสบปัญหา บางบริษัทขาดสภาพคล่อง เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนสูงพยายามเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดเล็กหลายแห่งที่ยังมีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่กำลังประสบปัญหาอยู่
ซึ่งการควบรวมกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่กำลังประสบปัญหานั้นมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น
และหากมองในมุมของ รูปแบบการควบรวม เราก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. การควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration)
เป็นการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลประโยชน์จากการควบรวมแบบนี้คือ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
จากการที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดคู่แข่ง รวมไปถึงการเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดจากการแชร์เทคโนโลยี ทรัพยากร และบุคลากรร่วมกัน
ตัวอย่างดีลแบบนี้ ก็เช่น The Walt Disney ที่มีส่วนธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์รายใหญ่ ได้เข้าซื้อกิจการของ 21st Century Fox สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ชื่อดัง ด้วยมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในปี 2019
2. การควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และจัดการกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น
เช่น ในปี 2012 Google ได้เข้าซื้อกิจการของ Motorola Mobility ที่แยกตัวออกมาจาก Motorola และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาสมาร์ตโฟน Android ด้วยมูลค่ากว่า 406,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามดีลนี้ของ Google ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะตลาดโทรศัพท์มือถือมีการแข่งขันกันที่รุนแรง
3. การควบรวมกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomerate Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้เพื่อ สร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ รวมไปถึงความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงเพื่อไม่ให้กิจการมีรายได้หลักมาจากธุรกิจเดิมเท่านั้น
ตัวอย่างของบริษัทที่เกิดจาก Conglomerate Integration เช่น กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี
ที่มีการควบรวมกิจการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาอยู่ในเครือมากมาย เช่น ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ประกัน การเงิน และธุรกิจการเกษตร
ทั้งหมดนี้ก็คือ สรุปกลยุทธ์ M&A
ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในทางธุรกิจ ที่ทำให้เราเข้าใจว่า
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจที่ผ่านมา มันจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง M&A ในหลายเรื่อง
และในอนาคต เราก็จะได้เห็นการ M&A ของธุรกิจต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ ตราบใดที่บนโลกนี้ยังมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย แนวคิดทุนนิยม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/ask/answers/why-do-companies-merge-or-acquire-other-companies/
-https://www.set.or.th/th/market/files/mna/Final_MnA.pdf
-https://www.investopedia.com/ask/answers/051315/what-difference-between-horizontal-integration-and-vertical-integration.asp
-https://www.npr.org/2019/03/20/705009029/disney-officially-owns-21st-century-fox
-https://en.wikipedia.org/wiki/Motorola_Mobility
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_largest_mergers_and_acquisitions
market wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุปเส้นทาง เว็บเบราว์เซอร์ จาก Netscape สู่ Google Chrome /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงการท่องโลกอินเทอร์เน็ต สิ่งที่เป็นเหมือนประตูบานแรกที่ทุกคนต้องเดินผ่าน ก็คือ “เว็บเบราว์เซอร์”
รู้ไหมว่า ความสำคัญของเว็บเบราว์เซอร์นั้น ได้นำไปสู่การต่อสู้เพื่อแย่งชิงฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างดุเดือด ซึ่งเหตุการณ์ก็ยืดเยื้อมานานเกือบ 30 ปี และพลิกผันอยู่หลายครั้ง จนทำให้ผู้ชนะในศึกแรก ๆ กลับกลายเป็นผู้แพ้ในท้ายที่สุด
สงครามระหว่างผู้ให้บริการเว็บเบราว์เซอร์ มีเรื่องราวเป็นอย่างไร
แล้วตอนจบ ใครเป็นผู้ชนะ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของมหากาพย์ ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 1993
เว็บเบราว์เซอร์หลายเจ้า ถูกคิดค้นขึ้นและนำมาใช้กันแพร่หลาย และถือเป็นประตูบานสำคัญ ที่ทำให้มนุษย์ได้รู้จักกับโลกออนไลน์
ในขณะนั้น เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมมากสุด คือ “Mosaic” ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์การประยุกต์ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา
ต่อมา ก็มีหลายบริษัทขอซื้อลิขสิทธิ์ของ Mosaic ไปสร้างเป็นเว็บเบราว์เซอร์ของตัวเอง โดยหนึ่งในนั้น คือ บริษัท Netscape Communications Corporation ของคุณ Marc Andreessen ซึ่งปัจจุบันเป็นนักลงทุนชื่อดังของวงการ Venture Capital
เว็บเบราว์เซอร์ของ Netscape มีชื่อว่า “Netscape Navigator” ซึ่งได้รับความนิยมในทันที เพราะใช้งานง่าย และแสดงผลการค้นหาได้ดีกว่าเจ้าอื่น ทำให้บริษัทยึดครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 80% ในช่วงปี 1995
ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ Netscape สามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ แม้เพิ่งก่อตั้งมาเพียงปีเดียว และยังถือเป็นการ IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดของตลาดในเวลานั้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต ก็ดึงดูดให้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง “Microsoft” เข้ามาสู่ธุรกิจเว็บเบราว์เซอร์ จนเกิดเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า “สงครามเว็บเบราว์เซอร์ครั้งที่ 1”
หลังจาก Netscape เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ 15 วัน บริษัท Microsoft ก็เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ ชื่อว่า “Internet Explorer”
เนื่องด้วย Microsoft เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ที่มีเงินทุนจากการขายซอฟต์แวร์ จึงทำให้สามารถทุ่มทรัพยากรเพื่อพัฒนา Internet Explorer จนมีฟีเชอร์ก้าวตาม Netscape ทัน ภายในเวลาไม่นาน
และในปี 1997 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสงคราม เมื่อ Microsoft ตัดสินใจผูกโปรแกรม Internet Explorer ไว้เป็นเว็บเบราว์เซอร์เริ่มต้นของระบบปฏิบัติการ Windows แบบฟรี ๆ
หมายความว่า คนที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ไปใช้ จะกดเข้า Internet Explorer ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปดาวน์โหลดหรือหาซื้อเว็บเบราว์เซอร์ใหม่
ซึ่งขณะนั้น Windows ครองส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กว่า 90% ส่งผลให้การใช้งาน Internet Explorer เพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก
จนในปี 2002 Netscape Navigator ก็มีส่วนแบ่งตลาดน้อยมาก
จากข้อมูลของ TheCounter.com
Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 93.9%
Netscape Navigator ส่วนแบ่งตลาด 2.3%
บทสรุปของสงครามเว็บเบราว์เซอร์ครั้งที่ 1 ผลปรากฏว่า Microsoft เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด..
ส่วนผลการดำเนินงานของ Netscape ก็ถดถอยลง และตัดสินใจขายกิจการให้กับบริษัท America Online ในปี 1998 ก่อนที่จะหยุดให้บริการเว็บเบราว์เซอร์ ในเวลาต่อมา
ถึงแม้การต่อสู้ศึกนี้จบลงแล้ว แต่สงครามในสนามรบเว็บเบราว์เซอร์ ยังไม่ปิดฉากลงง่าย ๆ
พอไร้คู่แข่ง ดูเหมือนว่า Microsoft จะตายใจ และแทบไม่ได้พัฒนา Internet Explorer ต่อสักเท่าไร หลักฐานที่ชัดเจนคือ ระหว่างปี 2001-2006 มีการอัปเดตเบราว์เซอร์แค่เวอร์ชันเดียวเท่านั้น
แต่ความประมาทและความตายใจของ Microsoft นี่เอง ที่กลายเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ ที่ทำให้เกิด “สงครามเว็บเบราว์เซอร์ ครั้งที่ 2”
เพราะหลังจาก Netscape พ่ายแพ้ พวกเขาก็ได้เปิดเผยข้อมูลโคดทิ้งไว้ ซึ่งต่อมา องค์กร Mozilla Foundation ได้นำเอาไปพัฒนาเป็นเว็บเบราว์เซอร์ตัวใหม่ ที่ชื่อว่า Mozilla Firefox หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “Firefox”
Firefox ได้มุ่งเน้นพัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่เริ่มเบื่อหน่ายกับประสิทธิภาพการทำงานของ Internet Explorer
จึงทำให้ Firefox สามารถแสดงผลของเว็บไซต์รุ่นใหม่ได้ดีกว่า รวมทั้งเพิ่มฟีเชอร์ลูกเล่นให้กับเบราว์เซอร์อีกมากมาย ส่งผลให้คนเริ่มสนใจลองดาวน์โหลด Firefox ไปใช้งานแทน Internet Explorer
ส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ ในปี 2009 จากข้อมูลของ StatCounter
Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 60.1%
Firefox ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
จะเห็นได้ว่า Firefox แย่งชิงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไปจาก Internet Explorer พอสมควร ถึงขนาดที่หลายฝ่ายมองว่าอาจถึงขั้นแซงขึ้นเป็นเจ้าตลาด
แต่มันก็ไม่ทันได้เกิดขึ้น..
เพราะสงครามครั้งนี้ ยังมีตัวละครอื่นเข้าร่วมวงต่อสู้อีก
ซึ่งตัวละครใหม่ที่ว่า นั่นก็คือ “Google”
Google เป็นเจ้าตลาดเซิร์ชเอนจิน และมีผลิตภัณฑ์ออนไลน์อื่น ๆ มากมาย ซึ่งมีความต้องการจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศบริษัทเพิ่มเติม จึงได้พัฒนาและเปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ ชื่อว่า “Google Chrome” ขึ้นมา และเริ่มเปิดให้ใช้งานในปี 2008
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้บริการทุกอย่างของ Google ผ่านเบราว์เซอร์ Google Chrome ได้อย่างสะดวกสบายและครบวงจรในที่เดียว
รวมทั้ง Google ยังมีความพร้อมด้านทรัพยากรและเงินทุน ที่สนับสนุนให้ทีมงานมีการอัปเดตฟีเชอร์ใหม่ ๆ ของเบราว์เซอร์ อยู่ตลอดเวลา จนรายอื่นเริ่มขยับตามได้ยาก
ด้วยเหตุนี้ ฐานผู้ใช้งาน Google Chrome จึงเติบโตแบบก้าวกระโดด และแซงหน้าขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา
นอกจากนั้น ในยุคสมาร์ตโฟน ผู้เล่นอีกรายหนึ่งที่มาแรง คือ “Apple”
ในช่วงหลัง พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนไปอยู่บนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น ซึ่ง Apple ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ส่งผลให้เว็บเบราว์เซอร์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ iOS ของตัวเครื่อง อย่าง “Safari” ถูกเปิดใช้งานเพิ่มขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง จนสามารถก้าวขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ตั้งแต่ช่วงปี 2015
แล้วในปัจจุบัน สถานการณ์ของสงครามนี้ เป็นอย่างไร ?
ส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ เดือนพฤษภาคม ปี 2021 จากข้อมูลของ StatCounter
- Google Chrome ส่วนแบ่งตลาด 64.8%
- Safari ส่วนแบ่งตลาด 18.4%
- Firefox ส่วนแบ่งตลาด 3.3%
- Internet Explorer ส่วนแบ่งตลาด 0.6%
เราคงพอสรุปได้ว่า Google Chrome คือผู้คว้าชัยชนะ ของสงครามเว็บเบราว์เซอร์ ในตอนนี้
ในขณะที่ ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตอย่าง Internet Explorer ได้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปแล้ว ซึ่งทำให้ Microsoft เตรียมยกเลิกโปรแกรมในเดือนมิถุนายน ปี 2022 และมุ่งพัฒนาเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ชื่อว่า “Microsoft Edge” ขึ้นมาแทน
นี่คงเป็นแง่คิดที่ดีว่า การเป็นผู้ชนะนั้นยากแล้ว แต่การรักษาตำแหน่งผู้ชนะอาจเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า
เพราะเมื่อไรที่เราหยุดพัฒนา ก็อาจพลิกมาเป็นผู้แพ้ในสักวัน จนไม่มีโอกาสแก้ตัวใหม่ ก็เป็นได้..
ปิดท้ายด้วยประเด็นที่หลายคนอาจสงสัยว่า
Google Chrome กับ Safari ที่ดูเหมือนเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกันที่สุดในตอนนี้ ความจริงแล้วเขาทั้งสอง เป็นพันธมิตรกันในบางส่วน
เพราะในทุก ๆ ปี Google ตกลงยอมจ่ายเงินมหาศาลให้กับ Apple เพื่อขอให้ Google เป็นเว็บไซต์ค้นหาเริ่มต้นบนเบราว์เซอร์ Safari
โดยในปี 2021 คาดว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.9 แสนล้านบาท
ถ้าถามถึงเหตุผล ก็คงเป็นเพราะ Google ให้ความสำคัญกับการครองส่วนแบ่งตลาดเซิร์ชเอนจินมากกว่า เรื่องเบราว์เซอร์ เพราะตัวสร้างรายได้ให้ Google จะอยู่ที่เซิร์ชเอนจินเป็นหลัก
Google อยากได้แทรฟฟิกการค้นหาข้อมูลเบราว์เซอร์ Safari เพื่อปิดประตูไม่ให้ผู้เล่นรายอื่น เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดเซิร์ชเอนจินไป ถึงแม้จะรู้ว่า ทำให้มีคนใช้งาน Safari เพิ่มมากขึ้นก็ตาม
ส่วนฝั่ง Apple คงเลือกรับเงินดีกว่า เพราะอย่างไร คนส่วนใหญ่ก็จะเข้า Safari แล้วไปค้นหาใน Google อยู่ดี
ซึ่งอาจพอตีความได้ว่า ตอนนี้ทั้งคู่เลือกที่จะอยู่ร่วมกันบนโลกออนไลน์ แบบเป็นพันธมิตรกัน มากกว่าทำสงคราม แล้วต้องมีใครสักคนบาดเจ็บหนัก..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://acodez.in/browser-wars/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Browser_wars
-https://en.wikipedia.org/wiki/Usage_share_of_web_browsers
-https://gs.statcounter.com/browser-market-share#monthly-201201-202105
-https://www.reuters.com/technology/microsoft-unplug-internet-explorer-it-seeks-edge-browser-war-2021-05-20/
-https://9to5mac.com/2021/08/25/analysts-google-to-pay-apple-15-billion-to-remain-default-safari-search-engine-in-2021/
market wiki 在 寶博士 Youtube 的精選貼文
【來賓:Justine Lootex 共同創辦人】錄音時間2020.06.18
📍看《一級玩家》搞懂區塊鏈 https://medium.com/p/6c3d028471d
📍Knight Story https://knightstory.io/
📍《Love Plus Every》手遊宣布倒閉 https://www.ettoday.net/dalemon/post/50469
📍NFT:Non-fungible token 非同質代幣 https://en.wikipedia.org/wiki/Non-fungible_token
📍「V神」曾為《魔獸世界》哭過 https://www.ettoday.net/news/20180815/1235667.htm#ixzz6Qq4USdeS
📍about me Vitalik Buterin https://about.me/vitalik_buterin
📍ENJIN https://enjin.io/
📍寶博士的迷戀貓 https://medium.com/@daaab/528a1095ff71
📍Gods Unchained https://godsunchained.com/
📍My Crypto Heroes https://www.mycryptoheroes.net/zh
📍F1 Delta Time https://www.f1deltatime.com/
📍Cheese Wizards https://www.cheezewizards.com/
📍NBA TopShot https://www.nbatopshot.com/
📍NBA TopShot 預告片 https://youtu.be/FlxYFM1VzAA
📍NFT 周排行 https://nonfungible.com/market/history
📍六角恐龍 https://g.co/kgs/2ZbR3y
📍Metaverse:元宇宙 https://en.wikipedia.org/wiki/Metaverse
📍SuperRare https://superrare.co/
🔆高大威猛又多金的Fenix | Diss DApp 的男人 https://player.soundon.fm/p/a15ce25e-2627-48ca-9587-d4cf5e98f3a1/episodes/5d1250ed-df3e-474f-9f20-593cec106483
👀歡迎下載「天下雜誌」App,行動閱讀天下的最佳幫手 https://www.cw.com.tw/webaccess
⭐葛如鈞(寶博士)
Facebook▶️https://www.facebook.com/dAAAb
YouTube▶️https://youtube.com/c/dAAAb
- - - - - -- - - - - -
📣訂閱SoundOn
APP▶️http://www.soundon.fm/download
Facebook⏩https://reurl.cc/1QxXzQ
官網▶️https://www.soundon.fm
Instagram▶️ https://reurl.cc/XX6Z3j
- - - - - -- - - - - -
🎵片頭:Music from https://icons8.com/music/author/savvier Fame Inc by SAVVIER
🎵片尾:Music from https://icons8.com/music/author/ NORDGROOVE
- - - - - -- - - - - -
主持:北科大互動設計系 專任助理教授 葛如鈞/寶博士
感謝:北科大創新思考與區塊鏈應用社群計畫補助|北科大互動設計系 https://ixd.ntut.edu.tw |北科大創新創業情報站 https://fb.com/ntuticorner
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/mSPTyhPujdU/hqdefault.jpg)
market wiki 在 SiennyLoves Drawing Youtube 的最佳解答
Rendang Chicken from Malaysia ??
While unable to travel even around my own home country ~ Malaysia, I actually craved for Rendang Chicken during the Movement Control Order (MCO) period, unsure my craving reason ?? Though I'm not a spicy foodie, however I love foods with spices& thick gravy. Lol...Ha...Ha...?❤
Rendang chicken is a spicy & spices stewed dish originated from Minangkabau, Indonesia. Specifically, this is a speciality of Batusangkar & Bukittinggi, Indonesia. Rendang not just to cook with chicken, it can be with beef (Rendang Beef), lamb (Rendang Lamb) etc. Read more via ? https://en.wikipedia.org/wiki/Rendang
In Malaysia ??, rendang dishes are traditionally served among the Malay community. So, whenever you're travelling across the different states around Malaysia, rendang dishes can be easily spotted at either roadside stalls, cafes or restaurants as well as a famous home cooking dish for the Malay, actually non Malay too. You can enjoy the rendang dish with steamed rice, noodles, bread etc. Hmm...The rendang cooking styles, ingredients & taste may be different from state to state within Malaysia. That's the unique cultures of Malaysians
Do enjoy this cooking vlog via https://youtu.be/YUrE1B30RxI which being captured (by Sienny Yong aka SiennyLovesDrawing) from my mum's home cooking of chicken rendang during MCO to ease my craving, yeah!! It's now much easier to prepare rendang dishes with ready to cook sauces in the market. In this vlog, my mum was using the Gillies Rendang from AYA Real Food (? https://ayarealfood.com/product/gillies-rendang-120g/). The sauce ingredients are Split Gill Mushroom, Coconut Milk, Onion, Oil, Sugar, Garlic, Coconut Paste, Lemongrass, Ginger, Galangal, Dried Chili, Salt, Turmeric Leaves, Lime Leaves & Spices
Whenever you're travelling to Malaysia, do remember to taste a rendang dish during your trip
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/YUrE1B30RxI/hqdefault.jpg)
market wiki 在 Herman Yeung Youtube 的最佳解答
蘇聯五年計劃
https://zh.wikipedia.org/wiki/%E8%98%87%E8%81%AF%E4%BA%94%E5%B9%B4%E8%A8%88%E5%8A%83
Note download 筆記下載 : https://hermanutube.blogspot.hk/2016/01/youtube-pdf.html
------------------------------------------------------------------------------
Economics 所有 videos 的 Playlist 可看: https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8o8H4_PAK1oLM_vhUpd0Xk9
分類的 Playlist 可看:
A. Basic Economics Concepts 基本經濟概念 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8qqV5XGkWjbTy23XwkqNE0I
B. Firms & Production 廠商與生產 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8qrlkuI1wdJUa3UZs0txvjN
C. Market & Price 市場與價格 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8oOWHDRwYI8hvuUhNp9qcQk
D. Competition & Market structure 競爭與市場結構 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8q982crii7XomNNjIx-f8rd
E. Efficiency, Equity & the role of government 效率、公平和政府的角色 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8onmTnt7Dghh4pVud9e3PPU
F. Measurement of Economic Performance 經濟表現的量度 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8qIHKIc6pUHUIfTXc3Cmjv3
G. National Income Determination & Price Level 國民收入決定及價格水平 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8pkBABdTOtjs_8aPoTdUf61
H. Money & Banking 貨幣與銀行 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8oFN6Fe_5aEk0mnJpfBe0S1
I. Macroeconomic Problems & Policies 宏觀經濟問題和政策 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8onndGtdUUvNQpcmax7a1VX
J. International trade & finance 國際貿易和金融 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8poqrVsbrWDq5V2-ZsNAwBi
E1. Elective I : Monopoly Pricing, Anti-competitive Behaviours and Competition Policy 壟斷定價、反競爭行為及競爭政策 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8r5Fz1mXcELz7CQ79Omr6nb
E2. Elective II: Extension of Trade Theory, Economic Growth and Development 貿易理論之延伸、經濟增長及發展 … https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8pesBkw164n1FW0G_UwoiT0
Notes Only Version : https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8pTsr5jwcpqD4fcPTQZetR8
Definition 背誦︰
中英對照︰ https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8ohGrOAWAsVQK3PFBqrXf2V
純英版︰ https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8pFSFPWu1LJvURZujQzVJvD
純中版︰ https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8odYV54ZMTkj2m7BWvMU9pB
電子書 (中英對照版 - 230頁) (HK$19.90)︰
https://play.google.com/store/books/details?id=ax3kDwAAQBAJ&rdid=book-ax3kDwAAQBAJ&rdot=1&source=gbs_vpt_read&pcampaignid=books_booksearch_viewport
電子書 (純英文版 - 159頁) (HK$19.90)︰
https://play.google.com/store/books/details?id=Xh3kDwAAQBAJ&rdid=book-Xh3kDwAAQBAJ&rdot=1&source=gbs_atb&pcampaignid=books_booksearch_atb
電子書 (純中文版 - 159頁) (HK$19.90)︰
https://play.google.com/store/books/details?id=Yh3kDwAAQBAJ&rdid=book-Yh3kDwAAQBAJ&rdot=1&source=gbs_vpt_read&pcampaignid=books_booksearch_viewport
_______________________________________________
HKDSE Econ Past Paper Solution : https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8rq7kTVAuDerVqrfT6WstsV
HKCEE Econ Past Paper Solution : https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8oVtFNEdJIya9ANc1X5nhTw
HKALE Econ Past Paper Solution : https://www.youtube.com/playlist?list=PLzDe9mOi1K8pXFnsqOlPtL3DtsDsb7w4l
------------------------------------------------------------------------------
Please subscribe 請訂閱 :
https://www.youtube.com/hermanyeung?sub_confirmation=1
------------------------------------------------------------------------------
HKDSE Mathematics 數學天書 訂購表格及方法︰
http://goo.gl/forms/NgqVAfMVB9
------------------------------------------------------------------------------
Blogger : https://goo.gl/SBmVOO
Facebook : https://www.facebook.com/hy.page
YouTube: https://www.youtube.com/HermanYeung
------------------------------------------------------------------------------
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/cuwPFa3pfiM/hqdefault.jpg)
market wiki 在 利基市場- 維基百科,自由的百科全書 的相關結果
利基市場(英語:niche market)也稱利益市場、小眾市場,是指由已有市場佔有率絕對優勢的企業所忽略之某些細分市場,並且在此市場尚未完善供應服務。 ... <看更多>
market wiki 在 MarketsWiki 的相關結果
Wiki Stats. Pages: 27,338. Articles: ... CARBON MARKET PIONEER CORINNE BOONE OF ACX PROVIDES A SHORT HISTORY OF THE CARBON MARKETS (PART 1). ... <看更多>
market wiki 在 Market - Wikipedia 的相關結果
Market · Market (economics), system in which parties engage in transactions according to supply and demand · Market economy · Marketplace, a physical marketplace ... ... <看更多>